หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 45 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


บทไตร่ตรอง พระสันตะปาปาฟรังซิส เรื่องสื่อในสังคมดิจิทัล : อัจฉรา สมแสงสรวง พิมพ์
Wednesday, 03 October 2018

Image

วารสารผู้ไถ่

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑๐๗ พ.ค. - ส.ค. ๒๕๖๑

 

บทไตร่ตรอง พระสันตะปาปาฟรังซิส เรื่องสื่อในสังคมดิจิทัล

อัจฉรา  สมแสงสรวง



เช้าวันศุกร์ที่ ๗ มีนาคม ค.ศ.๒๐๑๓ พระคาร์ดินัลท่านหนึ่ง ได้แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมสมัชชาบรรดาพระคาร์ดินัล ที่ Vatican Synod Hall ถึงพันธกิจของพระศาสนจักรในอนาคตว่า พระศาสนจักรคาทอลิกต้องออกจากฐานที่มั่นตนเอง ไปสู่เขตแดนชายขอบ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในเชิงภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นชายขอบในบริบทของความเป็นมนุษย์ นั่นคือกลุ่มคนที่ยังมีความทุกข์จากความบาป ผู้ที่มีความเจ็บปวดขมขื่น ผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรม ผู้ถูกทอดทิ้ง ผู้ที่ไม่มีศาสนา ผู้ขัดสน

 

...หากพระศาสนจักรไม่เดินออกจากฐานที่มั่น ไปช่วยเหลือ และร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพี่น้องผู้ทุกข์ยาก พระศาสนจักรก็กลายเป็นพระศาสนจักรที่คิดถึงแต่ตนเอง และฝ่อตายไปในที่สุด  สถาบันหรือองค์กรของศาสนจักรหลายแห่ง มีปีศาจแห่งการหลงทะนงตนเองฝังรากลึกอยู่ ในหนังสือวิวรณ์ (พระคัมภีร์เล่มสุดท้ายในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่)  พระเยซูเจ้าตรัสว่า เรากำลังยืนเคาะประตูอยู่ แม้โดยหลักฐาน เป็นการเคาะประตูจากด้านนอก เพื่อจะเข้าไปข้างใน แต่ข้าพเจ้าคิดว่าบ่อยครั้งที่พระเยซูเจ้า เคาะประตูจากข้างใน เพื่อว่า เราจะได้เปิดประตูหัวใจของเราและให้พระองค์ได้ออกมา พระศาสนจักรที่ห่วงแต่ตนเอง เป็นพระศาสนจักรที่ขังพระเยซูเจ้าไว้ข้างในตนเอง ไม่ปล่อยให้พระองค์ออกไปข้างนอก เป็นพระศาสนจักรที่หลงว่าตนเองเป็นแสงสว่าง และเปิดโอกาสให้ซาตานที่มีจิตฝักใฝ่ทางโลกมีอิทธิพลเหนือตนเอง...เป็นพระศาสนจักรที่อาศัยอยู่ภายในตนเอง ของตนเอง และเพื่อตนเอง ซึ่งตรงข้ามกับพระศาสนจักรที่ประกาศข่าวดี ซึ่งออกจากตนเองไปสู่ผู้อื่น ...

...พระสันตะปาปาองค์ใหม่ ควรเป็นบุรุษที่ดำเนินชีวิตด้วยการไตร่ตรองพิจารณาและเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระเยซูเจ้า และนำพาพระศาสนจักรออกไปสู่ผู้ที่อยู่ชายขอบ ช่วยให้พระศาสนจักรเป็นมารดาที่มีชีวิตชีวา ดำรงชีวิตด้วยความอ่อนหวานและนำความปิติสุขมาสู่ผู้เดือดร้อน... 

 

และแล้วเช้าวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๐๑๓ พระคาร์ดินัลท่านนั้น ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปาฟรังซิส และความคิดของพระองค์นั้นสรุปได้ว่า พระศาสนจักรคาทอลิกมีพันธกิจในการประกาศข่าวดี ต้องออกจากตนเอง  ไปพบปะ ไปรู้จัก เข้าใจความจริงของชีวิตผู้คนตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะผู้คนที่ดำรงชีวิตอยู่ตามชายขอบ ผู้เดือดร้อนไม่มีใครสนใจ และนับจากนั้น พระองค์ก็มีวาทะที่สั่นสะเทือนและท้าทายศาสนจักรคาทอลิกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ พระศาสนจักร ต้องเป็นโรงพยาบาลสนาม มิใช่เป็นพิพิธภัณฑ์ ... เราจำเป็นต้องได้กลิ่นของฝูงแกะ  ...พ่อต้องการพระศาสนจักรที่เต็มไปด้วยรอยฟกช้ำ บาดเจ็บ สกปรกมอมแมม เพราะออกไปช่วยเหลือผู้คนตามท้องถนน  มากกว่าพระศาสนจักรที่อ่อนแอ บอบบาง จากการที่ขังตัวเองหรือแขวนตัวเองไว้กับพื้นที่ปลอดภัยของตนเองเท่านั้น...

 

ในปี ๒๐๑๕ สมณสาสน์ Laudato Si ภาษาลาติน แปลว่า ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเน้นเรื่องการดูแลรักษาโลก ซึ่งเป็นบ้านส่วนรวมของทุกคน พระสันตะปาปา ฟรังซิส ย้ำชัดว่า ทุกๆ สรรพสิ่งนั้นสัมพันธ์กัน แต่สังคมดิจิทัลทุกวันนี้ เราแต่ละคนไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เรามีชีวิตอยู่ในลูกโป่ง (ความเพ้อฝัน ความจอมปลอม) ที่เราสร้างขึ้นมาปกป้องเราจากการรู้จัก สัมพันธ์กับคนอื่นๆ และไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ถึงความเจ็บปวด ความกลัว หรือความปีติยินดี ของพวกเขา รวมไปถึงความซับซ้อนโชกโชนของชีวิตที่บางคนมีประสบการณ์ พระสันตะปาปา เสนอทางเลือกเดียวต่อเรื่องนี้ คือการเสวนา (การพูดคุยเพื่อเข้าใจถึงความเป็นจริงแห่งชีวิตที่เพื่อนมนุษย์ประสบอย่างแท้จริง) ซึ่งไม่เฉพาะการเสวนาระหว่างมนุษย์ด้วยกัน แต่เป็นการเสวนากับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกด้วย และต้องตระหนักว่า ทั้งมนุษย์และทุกสรรพสิ่งในเอกภพนี้ สัมพันธ์กัน และต้องพึ่งพากัน หากมนุษย์ไม่เปิดตนเองออกไปสู่ผู้อื่น และดูแลรักษาธรรมชาติสรรพสิ่ง เราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี หวนกลับมาทำลายมนุษย์และธรรมชาติเข้าสักวันหนึ่ง

 

ตัวช่วยเหลือและอุปสรรค

ในสารวันสื่อมวลชนสากล ปี ๒๐๑๕ พระสันตะปาปาฟรังซิส เตือนทุกคนถึงสื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะเยาวชนคนหนุ่มสาว ว่า "สื่อสมัยใหม่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของชีวิตไปแล้วนั้น เป็นทั้งตัวช่วยเหลือและอุปสรรคในการสื่อสารของสมาชิกภายในครอบครัวและระหว่างครอบครัว สื่ออาจเป็นอุปสรรคขัดขวาง หากกลายเป็นวิธีที่จะหลบเลี่ยงการฟังผู้อื่น หรือหลีกเลี่ยงการติดต่อทางกายภาพ (ใช้การติดต่อด้วยการพิมพ์ข้อความแทนการหันหน้าพูดคุยกัน หรือการใช้หูฟังอยู่ตลอดเวลา ฯลฯ) การเสพสื่อจนทำให้ทุกช่วงเวลาของความเงียบสงบและการพักผ่อนหมดไป ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า "ความเงียบเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสื่อสาร หากไม่มีความเงียบ คำพูดที่อุดมไปด้วยเนื้อหาก็ไม่สามารถคงอยู่ได้" และต้องระลึกเสมอว่า การฟังเป็นเงื่อนไขแรกของการสื่อสาร เพียงแค่ไม่มีเสียงรบกวนอื้ออึงและหยุดเสียงซุบซิบนินทา การฟังก็เป็นไปได้แล้ว ขณะเดียวกัน สื่อก็มีคุณูปการ เมื่อเปิดโอกาสให้คนแบ่งปันเรื่องราวของตนเอง ได้ติดต่อกับเพื่อนที่อยู่ไกลๆ ได้ขอบคุณผู้อื่น หรือขออภัย และได้เปิดประตูสู่การพบปะใหม่ๆ"

 

วันสื่อมวลชนสากล ปี ๒๐๑๖ พระสันตะปาปาได้กล่าวย้ำอีกครั้งว่า การสื่อสาร มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสายสัมพันธ์ ช่วยให้มีการเผชิญหน้าพบปะพูดคุยและหลอมรวมของผู้คน คงจะเป็นความงดงามไม่น้อย หากผู้คนเจรจาและปฏิบัติต่อกันด้วยความห่วงใย เพื่อมิให้เกิดการเข้าใจผิด และรักษาบาดแผลแห่งความทรงจำ คำพูดที่สื่อสารออกมานั้นเชื่อมความสัมพันธ์ภายในสมาชิกในครอบครัว และในสังคม ทั้งในสังคมวัตถุนิยมและสังคมดิจิทัล คำพูดและการกระทำต่างๆ ควรเป็นตัวช่วยให้เราพ้นจากวงจรของการตำหนิประณามและความอาฆาตพยาบาท ที่เป็นหลุมพรางของความเกลียดชัง และการตอบโต้ด้วยความรุนแรง

 

และเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๐๑๘ นี้เอง โอกาสรำลึกถึงนักบุญโยเซฟ บิดาอุปถัมภ์ของพระเยซู และองค์อุปถัมภ์ของผู้ใช้แรงงาน พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ให้ข้อคิดแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหนังสือพิมพ์คาทอลิก Avvenire ว่า บุคลิกของนักบุญโยเซฟ เป็นเครื่องเตือนใจผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสาร ถึงความมีขันติ อดทน สงบเงียบ ไม่รีบร้อน ความเร็วของข้อมูลข่าวสารทุกวันนี้ ล้ำหน้าเกินกว่าขีดความสามารถในการไตร่ตรองของผู้คน หนังสือพิมพ์คาทอลิกไม่เพียงแค่ทำหน้าที่รายงานข่าวเพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน หรือเพื่อได้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ต้องเป็นสื่อให้ความรู้ ที่ช่วยให้ผู้อ่าน ได้คิดและตัดสิน ด้วยตนเอง

 

สังคมดิจิทัล กำลังท้าทายนัยใหม่ของความเสมอภาคเท่าเทียม ที่ใครๆ ก็สามารถสร้างเว็บบล็อก นำเสนอ ความคิดเห็นบทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ ผู้คนโลดแล่นเข้าไปในโลกอินเทอร์เน็ต ปิดประตูจากโลกความจริง สวมบทบาทสมมุติ ใช้จินตนาการ เข้าห้ำหั่นกับเหตุการณ์ที่สังคมเสมือนจริงสร้างขึ้น   เกมออนไลน์สามารถทำให้เด็กคนหนึ่งที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ สร้างเพื่อนชั่วคราวกับผู้อื่น ขณะเดียวกัน ก็สร้างชุมชนแห่งการช่วยเหลือกันได้อย่างรวดเร็วทันใจ หรือวัฒนธรรม "ฉันด้วย" แบบชั่วคราว หรือสามารถสร้างความแตกแยกขัดแย้งในชั่วไม่กี่อึดใจ 

 

ความสะดวกของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ก็ให้ผลลัพธ์สองด้าน ด้านหนึ่ง ทำให้โอกาสต่อการหวนกลับมาของเพื่อนเกลอ เพื่อนเก่าแก่ ที่ห่างหายกันไปนานนั้น เป็นไปได้ง่ายนิดเดียว และเพื่อนรักวัยเก๋าเหล่านั้น ได้เติมเต็มความสุขและสร้างสังคมเล็กๆ ระหว่างกันอีกครั้งทางเครือข่ายออนไลน์ อีกด้านหนึ่ง เพียงกดปุ่ม ‘ไลก์' หรือ ‘แชร์' เพียงครั้งเดียว ก็กลายเป็นอาวุธน่าสะพรึงที่ไปทำลายชื่อเสียง ใส่ร้าย กลั่นแกล้ง หรือหมิ่นประมาท ซึ่งการเรียกร้องถึงความรับผิดชอบและจรรยาบรรณ จากถ้อยคำหรือการกระทำที่ปล่อยออกมาและไปล่วงละเมิดผู้อื่น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย  

 

บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook, Line, Twitter ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้ช่วยให้ผู้คนมีสมาธิภาวนา หรือพิจารณาตรึกตรอง เพื่อสัมผัสความรู้สึกส่วนลึกและพบตัวตนของตนเองได้หรือไม่ ยังทำกิจกรรมร่วมกัน หันหน้ามาพูดคุยกัน ได้สัมผัส ได้ยินเสียงที่เปล่งออกมาหรือเปล่า หรือเป็นเพียงพื้นที่เปิดสาธารณะ ที่บรรดาสาวกยินดีเปิดเผยทุกสิ่งทุกอย่างของตัวเองอย่างไม่ยั้งคิดถึงผลกระทบ หรืออยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง และเมื่อเห็นแล้วก็กลับเพิกเฉย หรือไม่รู้สึกอะไรเลยต่อเรื่องบางเรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือ   วัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนหลงคิดว่าคำตอบที่รวดเร็ว ฉับพลัน ต่อคำถามที่ซับซ้อน คือคำตอบที่มีค่าที่สุด บางคนทำงานหนักเพื่อไล่ตามความสอดคล้องเหมาะสม แต่กลับต้องหมุนคว้างไปสู่ความไม่เหมาะสม หาตัวตนเองไม่เจอ ดังนั้น เราจึงต้องหลีกเลี่ยงอันตรายใหญ่หลวง หากเรายังวิ่งตามหาความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ เรามีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นเพียงแค่นักออกแบบท่าเต้นของความเร่งด่วน แต่เต็มไปด้วยความสับสน  มากกว่า ผู้ดำเนินชีวิตไปอย่างมั่นคงด้วยการใช้ภูมิปัญญาและการไตร่ตรอง  เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมของเราพัฒนาล้ำหน้าไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการตระหนักรู้ภายในตัวของเรา จะเติบโตไปพร้อมๆ กันอย่างเท่าทันได้หรือไม่ 

 

สนามรบดิจิทัล ไม่ใช่การต่อสู้กันด้วยเรื่องของเขตแดนหรืออาณาเขต ทว่าเป็นผู้คนที่เดินขวักไขว่หรือสัญจรอยู่บนถนนหนทาง กำลังหลงทางอยู่ในสนามรบดิจิทัล เพียงแค่นั่งเคาะแป้นพิมพ์ ใช้จอภาพ หรือใช้นิ้วสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ ล้วนมีบาดแผลทางด้านจิตใจที่ต้องการหน่วยพยาบาลสนามมาช่วยรักษา มาสมานบาดแผล และไกล่เกลี่ยปมความขัดแย้งระหว่างกัน พระศาสนจักรมิใช่สปาบำบัด และคริสตชนต้องมิใช่คริสตชนแบบไม่เต็มเวลา มิใช่คริสตชนในห้องโถงสังสรรค์ นั่งจิบเครื่องดื่ม สนทนาเรื่องศาสนาหรือเทววิทยา ที่ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อชีวิตผู้คนเลย และรวมทั้งพฤติกรรมแย่ๆ อื่นๆ ที่แฝงอยู่ในชีวิตคริสตชนจากการหลงติดอยู่ในหลุมดำของสังคมดิจิทัล เช่น ตีสองหน้า หลงตัวเอง สุขนิยม ที่ผู้นำทางด้านจิตใจของศาสนจักรคาทอลิกท่านนี้ วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงตรงไปตรงมา พระองค์ยังทรงเป็นห่วงเยาวชนที่เสียเวลาไปกับโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการเสพติด และตกเป็นทาส ซึ่งทำลายจิตวิญญาณและครอบงำอิสรภาพ มีการศึกษาวิจัยพบว่า สื่อดิจิทัลได้เบี่ยงเบนความสนใจของเยาวชน เยาวชนมีสมาธิเพียง ๓๑ วินาทีต่อการทำงานแต่ละช่วง และโดยเฉพาะอันตรายที่เยาวชนและเด็กเลือกเป็นเหยื่อของสื่อลามก

 

อุปมาชาวสะมาเรียผู้ใจดี : วัฒนธรรมการสื่อสาร

พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ย้ำว่า ในสังคมดิจิทัล มนุษยชาติจะเจริญชีวิตและเข้าใจซึ่งกันและกัน คือต้องมีภาวะสงบ ตรึกตรองอย่างรอบคอบ ต้องให้เวลาและความสามารถที่จะเงียบและฟัง เราต้องอดทน หากเราต้องการเข้าใจผู้ที่แตกต่างจากเรา คนเราจะแสดงออกถึงตัวตนของตนอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อพวกเขารู้ว่าพวกเขาได้รับการยอมรับอย่างแท้จริงจากผู้อื่น ไม่ใช่เพียงแค่ถูกฝืนใจยอมรับ....

 

แล้วการสื่อสารจะเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมที่แท้จริงของการเผชิญหน้าได้อย่างไร? เราจะเป็น "เพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน" ในการใช้สื่อเพื่อการสื่อสาร และในสภาพแวดล้อมใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างไร?  อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี เป็นอุปมาเกี่ยวกับการสื่อสาร ชายชาวสะมาเรียผู้ที่เดินทางผ่านมาและพบผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสข้างถนน เขาแสดงความรับผิดชอบต่อผู้อ่อนแอที่ปรากฏอยู่ข้างหน้า เขาได้ประชิดร่างกาย และใช้การสื่อสาร ทั้งการเพ่งมองดู การฟัง การพูดคุย และรีบช่วยเหลือชายผู้บาดเจ็บ ด้วยการสื่อสารซึ่งกันและกันนี้ ชายทั้งสองคนกลายเป็นเพื่อนมิตรกัน พระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนความเข้าใจของเรา ไม่ใช่แค่เห็นคนอื่นเป็นเหมือนตัวเอง แต่สามารถที่จะทำให้ตัวเองเป็นเหมือนคนอื่นได้ การสื่อสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตระหนักว่าเราทุกคนเป็นพี่น้องกัน เป็นเพื่อนบ้านกัน การสื่อสารคือพลังแห่งความเป็นมิตรที่ช่วยเหลือกัน  เป็นพลังเครือข่ายทางสังคมของมนุษยชาติอย่างแท้จริง


(บทความนี้ เป็นการประมวลความคิดของพระสันตะปาปาฟรังซิส ที่กล่าวถึงเรื่องสื่อในโอกาสต่างๆ)



 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >