หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 84 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยใจที่เปิดกว้างฯ พิมพ์
Wednesday, 22 March 2017

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยใจที่เปิดกว้าง
หลักเทววิทยาสำหรับพระศาสนจักรคาทอลิก
เรื่องการสื่อสารระหว่างศาสนาและความเชื่อที่แตกต่างกัน

 
คุณพ่อ Ignatius Ismartono S.J.

1. คำนำ
Imageความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือความเป็นเอกภาพที่เปิดกว้าง คือกุญแจสำคัญที่แสดงถึงวิสัยทัศน์และแนวทางของพระศาสนจักรคาทอลิกเรื่องการสื่อสารระหว่างศาสนา
และความเชื่อที่แตกต่างกัน ในการสื่อสารระหว่างศาสนาและความเชื่อที่แตกต่างกันนี้ ทุกฝ่ายควรรู้และตระหนักถึงความเชื่อที่ตนมี และควรรับฟังอย่างจริงจังถึงความเชื่อที่แตกต่างออกไปของพี่น้องชายหญิงของเขา การทำเช่นนี้ เป็นการให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีและสิทธิพึงมีของมนุษย์ทุกคน และยังเป็นการวางรากฐานในการสร้างความไว้วางใจต่อกันอีกด้วย

การสื่อสารระหว่างศาสนาและความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งกำลังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญในปัจจุบันนี้ มิได้กล่าวถึงในการเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระเยซูคริสต์ในพระธรรมใหม่ ในพระธรรมเก่าก็แทบจะไม่มีการกล่าวถึงเลย อย่างไรก็ตาม พระคัมภีร์ได้ให้แรงบันดาลใจที่เป็นรากฐานในการเสริมสร้างโลกและสังคม ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า สิ่งนี้คือสิ่งที่พระเยซูตรัสถึงในเรื่องพระราชัยสวรรค์ ซึ่งเป็นพระอาณาจักรแห่งสันติสุข และ ความเที่ยงธรรม ดังนั้น พระคัมภีร์จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เราเข้าใจ และให้แนวทางปฏิบัติเรื่องการสื่อสารระหว่างศาสนา และความเชื่อที่แตกต่างกัน ว่าควรจะมีพัฒนาการไปในรูปแบบใด

วิสัยทัศน์ทางเทววิทยา ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรคาทอลิกกับพี่น้องชายหญิงที่มิได้เป็นคริสตชน มีอยู่อย่างชัดเจนในสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 (1962-65) ผลของสภาสังคายนาครั้งนั้น กระตุ้นให้พระศาสนจักรหันมาพัฒนาความสนใจในเรื่องการสื่อสารระหว่างศาสนาและความเชื่อที่แตกต่างกัน

2. สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2
นับตั้งแต่สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เป็นต้นมา พระศาสนจักรคาทอลิกปฏิเสธอย่างชัดเจนในเรื่องการใช้วิธีการแบบปิดตัวเอง พระศาสนจักรเห็นว่าตนเองเป็นชุมชนที่เปิดกว้าง วิสัยทัศน์ของสภาสังคายนาวาติกัน ในเรื่องศาสนธรรมในชีวิตของพี่น้องชายหญิงที่มีความเชื่อที่แตกต่างกันสามารถเห็นได้จากเอกสารต่างๆ ได้แก่ ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร (Lumen Gentium - LG), กฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตของพระศาสนจักร (Ad Gentes - AG), คำแถลงเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา (Dignitatis Humanae - DH), คำแถลงเรื่อง ความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับบรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา (Nostra Aetate - NA), และธรรมนูญเรื่อง พระศาสนจักรในโลกสมัยใหม่ (Gaudium et Spes)

ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร (LG) กล่าวย้ำคำสอนเดิมเรื่องความรอดของผู้ที่อยู่นอกพระศาสนจักรว่า:

"ผู้ที่ไม่รู้จักพระวรสารของพระคริสตเจ้า โดยมิได้เป็นเพราะความผิดของตนเอง แต่เป็นผู้ที่แสวงหาพระเป็นเจ้าด้วยความจริงใจตามพระหรรษทานที่ได้รับ พยายามปฏิบัติภารกิจตามมโนธรรมของตนอย่างซื่อตรง พวกเขาเหล่านี้ก็อาจได้รับความรอดนิรันดรด้วย นอกจากนั้น พระญาณสอดส่อง จะไม่ปฏิเสธให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นเพื่อนำความรอดแก่ผู้ที่ไม่ทราบถึงพระเป็นเจ้าอย่างถ่องแท้ โดยที่มิใช่เป็นเพราะความผิดของตน รวมทั้งผู้ที่พยายามดำเนินชีวิตที่ดีตามพระหรรษทานของตน" (LG 16)

กฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตของพระศาสนจักร (AG) ยืนยันวิสัยทัศน์ของธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร(LG) โดยกล่าวถึงแผนการของพระเป็นเจ้าในการกอบกู้มนุษย์ว่า มิใช่เป็นเรื่องที่เก็บซ่อนอยู่ในจิตใจของมนุษย์ ทั้งมิได้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความเพียรพยายามเพียงอย่างเดียว หรือการปฏิบัติศาสนกิจ ด้วยวิธีการใดๆ เพื่อแสวงหา สัมผัสและพบพระเป็นเจ้า ทั้งๆ ที่พระองค์มิได้ประทับอยู่ไกลจากเราก็ตาม กฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตของพระศาสนจักร(AG) ตระหนักว่า มีพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าท่ามกลางประชาชาติทั้งหลาย และเรียกร้องคริสตชนทุกคนให้รู้จักประเพณีปฏิบัติของตนอย่างดี และให้ค้นหาเมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจาที่ซ่อนอยู่ในประเพณีปฏิบัติเหล่านั้นด้วยความยินดี และด้วยความเคารพ

ส่วนที่เกี่ยวกับคำแถลงเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา(Dignitatis Humanae) ระบุว่า:

“สภาสังคายนาวาติกันนี้ ประกาศว่ามนุษย์มีสิทธิในการนับถือศาสนา เสรีภาพที่ทุกคนมีนี้หมายถึง การที่มนุษย์ทุกคนสามารถปกป้องตนเองจากการถูกบังคับโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือโดยกลุ่มทางสังคม และจากอำนาจใดๆ ของมนุษย์ ในทำนองเดียวกัน บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถูกบังคับให้กระทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อของตนมิได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นไปในที่ลับหรือที่แจ้ง ไม่ว่าจะอยู่กันโดยลำพังหรือเป็นหมู่คณะก็ตาม สภาสังคายนายังประกาศอีกว่า สิทธิเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา มีรากฐานอยู่ในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และศักดิ์ศรีนี้ได้รับการเผยแสดงจากพระเป็นเจ้า สิทธิของมนุษย์เรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา จะต้องได้รับการรับรองในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งบ้านเมืองจะได้รับการปกครองตามกฎหมายนั้น และสิทธินี้ถือเป็นสิทธิพลเมืองประการหนึ่ง” (DH 2)

คำแถลงเรื่อง ความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับบรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา (Nostra Aetate) ได้กล่าวไว้ว่า:

“พระศาสนจักรคาทอลิกไม่ปฏิเสธสัจธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาต่างๆ พระศาสนจักรให้ความเคารพอย่างจริงใจในวิถีปฏิบัติและวิถีการดำเนินชิวิต ตลอดจนพระธรรมคำสอนที่แม้จะแตกต่างกับของพระศาสนจักรในหลายลักษณะ แต่บ่อยครั้งก็สะท้อนให้เห็นแสงแห่งความจริงที่ช่วยมวลมนุษย์ให้บรรลุธรรม” (NA 2) สภาสังคายนาหวังว่า “อาศัยการเสวนาและความร่วมมือกันกับศาสนิกของศาสนาต่างๆ ด้วยความรอบคอบ ความรัก และการเป็นพยานถึงความเชื่อและชีวิตคริสตชน พวกเขาจะตระหนัก รักษา และให้การสนับสนุนสิ่งดีๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิญญาณและศีลธรรม ตลอดจนคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมที่ฝังรากอยู่ในมวลมนุษย์” (NA 2)

คำแถลง NA ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ยังได้ให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งต่อทัศนคติของสภาสังคายนา วาติกัน:

“ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ได้เกิดการค้นพบว่าประชาชาติต่างๆ มีแนวคิดเดียวกันในเรื่องของพลังที่มองไม่เห็นซึ่งลอยอยู่เหนือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติของมนุษยชาติ บางครั้ง บางกลุ่มก็ถึงกับยอมรับว่ามีสิ่งสูงสุด หรือแม้กระทั่งพระบิดา แนวคิดและการยอมรับเช่นนี้หยั่งรากลึกลงในวิถีชีวิตด้วยความสำนึกในเรื่องศาสนาอย่างลึกซึ้ง

ส่วนบรรดาศาสนาที่เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมที่เจริญขึ้น ต่างก็พยายามจะตอบคำถามประเภทเดียวกันนี้ด้วยความรู้ที่ละเอียดกว่าและภาษาที่สละสลวยดีกว่า ดังนั้น ศาสนิกของศาสนาฮินดูต่างก็เพ่งพินิจถึงความลี้ลับแห่งการหยั่งรู้ และนำเสนอสิ่งเหล่านี้ด้วยเรื่องราวของเทพที่มีอยู่อย่างมากมาก และอาศัยการตอบคำถามในเชิงปรัชญาอีกด้วย พวกเขาแสวงหาการหลุดพ้นจากสภาพความทุกข์ทรมานจากความเป็นมนุษย์ โดยอาศัยการบำเพ็ญตบะต่างๆ หรือเจริญสมาธิอย่างลึกซึ้ง หรือการโบยบินสู่พระเป็นเจ้าด้วยความรักและความวางใจ

ส่วนศาสนาพุทธได้ตระหนักถึงความไม่จีรังในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พุทธศาสนาให้แนวทางแก่มนุษย์เดินไปถึงสภาวะที่เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์แท้จริง ได้ด้วยจิตใจที่มั่นคงและศรัทธา หรือบรรลุถึงความรู้แจ้งอย่างสูงสุดโดยอาศัยความเพียรพยายามของตนเอง หรือด้วยความช่วยเหลือที่มาจากเบื้องบน ในทำนองเดียวกัน ศาสนาอื่นๆ ก็พยายามตอบสนองเสียงเรียกร้องในจิตใจมนุษย์ในทุกแห่งหน ตามวิถีทางของตน ด้วยการนำเสนอ "แนวทางต่างๆ" ซึ่งได้แก่ พระธรรม คำสั่งสอน, กฎเกณฑ์การดำรงชีวิต, และจารีตพิธีต่างๆ

พระศาสนจักรคาทอลิก ไม่ปฏิเสธเลยในเรื่องที่เป็นสัจธรรมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาต่างๆ พระศาสนจักรให้ความเคารพอย่างจริงใจในวิถีการปฏิบัติตนของศาสนิกชน ตลอดจนพระธรรมและคำสอน ที่แม้จะแตกต่างกับของพระศาสนจักรในหลายลักษณะ แต่บ่อยครั้ง ก็นำแสงแห่งองค์ความจริงมาให้ ซึ่งส่องสว่างแก่มวลมนุษย์ทุกคน อย่างไรก็ตาม พระศาสนจักรประกาศและมีพันธะต้องประกาศอย่างไม่หยุดยั้งถึงองค์พระคริสต์ผู้ทรงเป็น “หนทาง ความจริงและชีวิต” (ยน. 14, 6) ในพระองค์ มนุษย์จะพบกับความครบบริบูรณ์ของชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ และในพระองค์นั้น พระเป็นเจ้าทรงได้รับทุกสิ่งกลับมาคืนดีกับพระองค์เอง (2 คร.5:18 - 19)
นับตั้งแต่สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เป็นต้นมา พระศาสนจักรคาทอลิกปฏิเสธอย่างชัดเจนในเรื่องการใช้วิธีการแบบปิดตัวเอง พระศาสนจักรเห็นว่าตนเองเป็นชุมชนที่เปิดกว้าง วิสัยทัศน์ของสภาสังคายนาวาติกัน ในเรื่องศาสนธรรมในชีวิตของพี่น้องชายหญิงที่มีความเชื่อที่แตกต่างกันสามารถเห็นได้จากเอกสารต่างๆ ได้แก่ ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร (Lumen Gentium - LG), กฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตของพระศาสนจักร (Ad Gentes - AG), คำแถลงเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา (Dignitatis Humanae - DH), คำแถลงเรื่อง ความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับบรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา (Nostra Aetate - NA), และธรรมนูญเรื่อง พระศาสนจักรในโลกสมัยใหม่ (Gaudium et Spes) ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร (LG) กล่าวย้ำคำสอนเดิมเรื่องความรอดของผู้ที่อยู่นอกพระศาสนจักรว่า: "ผู้ที่ไม่รู้จักพระวรสารของพระคริสตเจ้า โดยมิได้เป็นเพราะความผิดของตนเอง แต่เป็นผู้ที่แสวงหาพระเป็นเจ้าด้วยความจริงใจตามพระหรรษทานที่ได้รับ พยายามปฏิบัติภารกิจตามมโนธรรมของตนอย่างซื่อตรง พวกเขาเหล่านี้ก็อาจได้รับความรอดนิรันดรด้วย นอกจากนั้น พระญาณสอดส่อง จะไม่ปฏิเสธให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นเพื่อนำความรอดแก่ผู้ที่ไม่ทราบถึงพระเป็นเจ้าอย่างถ่องแท้ โดยที่มิใช่เป็นเพราะความผิดของตน รวมทั้งผู้ที่พยายามดำเนินชีวิตที่ดีตามพระหรรษทานของตน" (LG 16)กฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตของพระศาสนจักร (AG) ยืนยันวิสัยทัศน์ของธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร(LG) โดยกล่าวถึงแผนการของพระเป็นเจ้าในการกอบกู้มนุษย์ว่า มิใช่เป็นเรื่องที่เก็บซ่อนอยู่ในจิตใจของมนุษย์ ทั้งมิได้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความเพียรพยายามเพียงอย่างเดียว หรือการปฏิบัติศาสนกิจ ด้วยวิธีการใดๆ เพื่อแสวงหา สัมผัสและพบพระเป็นเจ้า ทั้งๆ ที่พระองค์มิได้ประทับอยู่ไกลจากเราก็ตาม กฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตของพระศาสนจักร(AG) ตระหนักว่า มีพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าท่ามกลางประชาชาติทั้งหลาย และเรียกร้องคริสตชนทุกคนให้รู้จักประเพณีปฏิบัติของตนอย่างดี และให้ค้นหาเมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจาที่ซ่อนอยู่ในประเพณีปฏิบัติเหล่านั้นด้วยความยินดี และด้วยความเคารพส่วนที่เกี่ยวกับคำแถลงเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา(Dignitatis Humanae) ระบุว่า:“สภาสังคายนาวาติกันนี้ ประกาศว่ามนุษย์มีสิทธิในการนับถือศาสนา เสรีภาพที่ทุกคนมีนี้หมายถึง การที่มนุษย์ทุกคนสามารถปกป้องตนเองจากการถูกบังคับโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือโดยกลุ่มทางสังคม และจากอำนาจใดๆ ของมนุษย์ ในทำนองเดียวกัน บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถูกบังคับให้กระทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อของตนมิได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นไปในที่ลับหรือที่แจ้ง ไม่ว่าจะอยู่กันโดยลำพังหรือเป็นหมู่คณะก็ตาม สภาสังคายนายังประกาศอีกว่า สิทธิเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา มีรากฐานอยู่ในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และศักดิ์ศรีนี้ได้รับการเผยแสดงจากพระเป็นเจ้า สิทธิของมนุษย์เรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา จะต้องได้รับการรับรองในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งบ้านเมืองจะได้รับการปกครองตามกฎหมายนั้น และสิทธินี้ถือเป็นสิทธิพลเมืองประการหนึ่ง” (DH 2)คำแถลงเรื่อง ความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับบรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา (Nostra Aetate) ได้กล่าวไว้ว่า: “พระศาสนจักรคาทอลิกไม่ปฏิเสธสัจธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาต่างๆ พระศาสนจักรให้ความเคารพอย่างจริงใจในวิถีปฏิบัติและวิถีการดำเนินชิวิต ตลอดจนพระธรรมคำสอนที่แม้จะแตกต่างกับของพระศาสนจักรในหลายลักษณะ แต่บ่อยครั้งก็สะท้อนให้เห็นแสงแห่งความจริงที่ช่วยมวลมนุษย์ให้บรรลุธรรม” (NA 2) สภาสังคายนาหวังว่า “อาศัยการเสวนาและความร่วมมือกันกับศาสนิกของศาสนาต่างๆ ด้วยความรอบคอบ ความรัก และการเป็นพยานถึงความเชื่อและชีวิตคริสตชน พวกเขาจะตระหนัก รักษา และให้การสนับสนุนสิ่งดีๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิญญาณและศีลธรรม ตลอดจนคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมที่ฝังรากอยู่ในมวลมนุษย์” (NA 2)คำแถลง NA ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ยังได้ให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งต่อทัศนคติของสภาสังคายนา วาติกัน:“ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ได้เกิดการค้นพบว่าประชาชาติต่างๆ มีแนวคิดเดียวกันในเรื่องของพลังที่มองไม่เห็นซึ่งลอยอยู่เหนือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติของมนุษยชาติ บางครั้ง บางกลุ่มก็ถึงกับยอมรับว่ามีสิ่งสูงสุด หรือแม้กระทั่งพระบิดา แนวคิดและการยอมรับเช่นนี้หยั่งรากลึกลงในวิถีชีวิตด้วยความสำนึกในเรื่องศาสนาอย่างลึกซึ้งส่วนบรรดาศาสนาที่เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมที่เจริญขึ้น ต่างก็พยายามจะตอบคำถามประเภทเดียวกันนี้ด้วยความรู้ที่ละเอียดกว่าและภาษาที่สละสลวยดีกว่า ดังนั้น ศาสนิกของศาสนาฮินดูต่างก็เพ่งพินิจถึงความลี้ลับแห่งการหยั่งรู้ และนำเสนอสิ่งเหล่านี้ด้วยเรื่องราวของเทพที่มีอยู่อย่างมากมาก และอาศัยการตอบคำถามในเชิงปรัชญาอีกด้วย พวกเขาแสวงหาการหลุดพ้นจากสภาพความทุกข์ทรมานจากความเป็นมนุษย์ โดยอาศัยการบำเพ็ญตบะต่างๆ หรือเจริญสมาธิอย่างลึกซึ้ง หรือการโบยบินสู่พระเป็นเจ้าด้วยความรักและความวางใจ ส่วนศาสนาพุทธได้ตระหนักถึงความไม่จีรังในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พุทธศาสนาให้แนวทางแก่มนุษย์เดินไปถึงสภาวะที่เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์แท้จริง ได้ด้วยจิตใจที่มั่นคงและศรัทธา หรือบรรลุถึงความรู้แจ้งอย่างสูงสุดโดยอาศัยความเพียรพยายามของตนเอง หรือด้วยความช่วยเหลือที่มาจากเบื้องบน ในทำนองเดียวกัน ศาสนาอื่นๆ ก็พยายามตอบสนองเสียงเรียกร้องในจิตใจมนุษย์ในทุกแห่งหน ตามวิถีทางของตน ด้วยการนำเสนอ "แนวทางต่างๆ" ซึ่งได้แก่ พระธรรม คำสั่งสอน, กฎเกณฑ์การดำรงชีวิต, และจารีตพิธีต่างๆพระศาสนจักรคาทอลิก ไม่ปฏิเสธเลยในเรื่องที่เป็นสัจธรรมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาต่างๆ พระศาสนจักรให้ความเคารพอย่างจริงใจในวิถีการปฏิบัติตนของศาสนิกชน ตลอดจนพระธรรมและคำสอน ที่แม้จะแตกต่างกับของพระศาสนจักรในหลายลักษณะ แต่บ่อยครั้ง ก็นำแสงแห่งองค์ความจริงมาให้ ซึ่งส่องสว่างแก่มวลมนุษย์ทุกคน อย่างไรก็ตาม พระศาสนจักรประกาศและมีพันธะต้องประกาศอย่างไม่หยุดยั้งถึงองค์พระคริสต์ผู้ทรงเป็น “หนทาง ความจริงและชีวิต” (ยน. 14, 6) ในพระองค์ มนุษย์จะพบกับความครบบริบูรณ์ของชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ และในพระองค์นั้น พระเป็นเจ้าทรงได้รับทุกสิ่งกลับมาคืนดีกับพระองค์เอง (2 คร.5:18 - 19)
ดังนั้น พระศาสนจักรจึงชักชวนให้ลูกๆ ของตน ทำการเสวนาและความร่วมมือกันกับศาสนิกของศาสนาต่างๆ ด้วยความฉลาดรอบคอบ ความรัก และการเป็นพยานถึงความเชื่อและชีวิตคริสตชน เพื่อว่าคริสตชนจะตระหนัก รักษา และให้การสนับสนุนสิ่งดีๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิญญาณและศีลธรรม ตลอดจนคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมที่ฝังรากอยู่ในคนต่างศาสนาเหล่านี้

พระศาสนจักรให้ความนับถืออย่างสูงแก่ชาวมุสลิม พวกเขาสรรเสริญพระเป็นเจ้าแต่เพียงผู้เดียว มีชีวิตและดำรงชีวิตอยู่ได้โดยผ่านทางพระองค์ ผู้ทรงความเมตตาและทรงสรรพานุภาพเป็นพระผู้สร้างสวรรค์และแผ่นดิน และผู้ตรัสแก่มนุษย์ พวกเขาถึงกับยอมเจ็บปวดด้วยความเต็มใจ เมื่อสิ่งนั้นเป็นพระประสงค์อันเร้นลับของพระองค์ เช่นเดียวกับท่านอับราฮัม ผู้ซึ่งศาสนาอิสลามกล่าวถึงด้วยความยินดี เพื่อเชื่อมโยงถึงการที่ศาสนายอมจำนนในองค์พระผู้เป็นเจ้า แม้ว่าศาสนาอิสลามไม่ยอมรับพระเยซูเป็นพระเป็นเจ้า แต่พวกเขาก็นับถือพระองค์ในฐานะที่เป็นประกาศก พวกเขาถวายพระเกียรติแด่พระนางมารีย์ ผู้ทรงเป็นพระมารดาพรหมจารี และในบางครั้ง พวกเขายังวิงวอนขอพระนางด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอีกด้วย ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังรอคอยวันพิพากษา เมื่อพระเป็นเจ้าจะให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่กลับฟื้นคืนชีพ เพราะฉะนั้น พวกเขาเทิดทูนการดำเนินชีวิตตามแนวทางของศีลธรรม และถวายคารวะกิจแด่พระเป็นเจ้า ด้วยการสวดภาวนา การให้ทาน และการอดอาหาร

หลายศตวรรษที่ผ่านมา มีความบาดหมางและการเป็นศัตรูกันระหว่างคริสต์กับมุสลิม สภา สังคายนาวาติกันเรียกร้องให้ทุกฝ่ายลืมเรื่องอดีต และหันมาพยายามทำงานร่วมกันอย่างจริงใจเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันซึ่งกันและกัน และเพื่อช่วยกันคุ้มครองและส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม และคุณค่าทางศีลธรรม ตลอดจนสันติสุขและเสรีภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติทั้งมวล (NA 3)

ส่วนในธรรมนูญเรื่อง พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (Gaudium et Spes) นั้น แสดงให้เห็นการใช้กระบวนการจากด้านล่าง กล่าวคือจากประสบการณ์และสภาพความเป็นจริงของชีวิต ดังนั้น คำสอนของพระศาสนจักรจึงมีความหมายในชีวิตจริงโดยอาศัยแรงบันดาลใจจากพระคัมภีร์ สภาสังคายนายังได้กล่าวถึงแผนการแห่งความรอดของพระเป็นเจ้าในการกอบกู้มนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าที่มีอยู่ในขนบประเพณีของทุกศาสนา ของทุกชาติ และเชื้อเชิญให้ผู้ที่เชื่อ มีความชื่นชม ให้ความเคารพ ตระหนักและค้นหาเมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจา การดำรงอยู่ของเมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจา หรือพระหรรษทานของพระเป็นเจ้านี้ ธรรมนูญ Gaudium et Spes เรียกว่า เป็นงานของพระจิตเจ้า พระจิตประทับอยู่และทำงานในสภาพการณ์ที่เป็นจริงหรือทำงานขณะที่ดำเนินชีวิตตามหลักศาสนธรรม (GS 22)

พระจิตมิได้ทำงานแต่ในบริเวณวัดหรือภายในพระศาสนจักรเท่านั้น แต่ยังทำงานภายนอกด้วย โดยอาศัยการสิ้นพระชนม์และการเสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้า มนุษย์ก็ได้รับพระจิตองค์เดียวกันที่ประทับอยู่ในองค์พระเยซูเจ้าด้วย พระจิตประทับและทำงานอยู่ในพระศาสนจักร ในสภาพที่เป็นจริงของมนุษย์ที่มีขอบเขตที่จำกัด แต่งานของพระจิตกลับแผ่ขยายออกไปภายนอกพระศาสนจักรด้วย พระศาสนจักรมิได้มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการเป็นเจ้าของพระคุณต่างๆ ของพระจิต และด้วยเหตุนี้เอง พระศาสนจักรจึงมีศักยภาพและมีหน้าที่ที่จะค้นหาผลงานของพระเป็นเจ้าที่มีอยู่ในทุกชุมชนที่มีความเชื่อ และในทุกที่ที่มีการชุมนุมกัน

รากฐานที่แข็งแกร่งที่สุดในการเสวนาระหว่างคริสตชนกับศาสนิกต่างศาสนา คือ การประทับอยู่ของพระจิตเจ้าผู้ทำงานเพื่อเราทุกคน แนวทางการของการพบปะกัน จึงเป็นการแสวงหาและติดตามงานของพระจิต แนวทางเช่นนี้ จะกลายเป็นกระบวนการไตร่ตรองและค้นหาร่วมกัน ซึ่งพลังแห่งจิตอันสูงส่งในการติดตามพระเป็นเจ้าด้วยความซื่อสัตย์

ยิ่งกว่านั้น การพบปะกันบนความเชื่อเช่นนี้ ยังพบได้ขณะที่เราพยายามเปลี่ยนแปลงวิถีดำเนินชีวิตให้มีความยุติธรรมและเปี่ยมด้วยความรัก เพื่อเห็นแก่ความเป็นพี่น้องของประชากรของพระเป็นเจ้า(GS 92) อานุภาพของพระจิตมิได้จำกัดอยู่แต่ในรูปแบบของการแสดงออกในกรอบศาสนาเท่านั้น แต่อยู่ในทุกกิจการของมนุษย์ที่กระทำลงไป เพื่อความเป็นปึกแผ่นของประชากรทั้งมวล คุณธรรมหลายประการที่มีอยู่ในพระวรสาร ก็เป็นคุณธรรมที่ชาวโลกแสวงหากันอยู่ เช่นคุณธรรมแห่งการมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเสรีภาพ เป็นต้น

พระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าที่พระเยซูทรงฝ่าฟันให้ได้มา ก็คือพระอาณาจักรแห่งความจริงและชีวิต เป็นพระอาณาจักรแห่งความศักดิ์สิทธิ์และพระหรรษทาน พระอาณาจักรแห่งความยุติธรรม ความรักและความสันติสุข บัดนี้ พระอาณาจักรก็ปรากฎอยู่ในการฝ่าฟันเพื่อให้ได้มาแล้ว และจะเป็นพระอาณาจักรที่สมบูรณ์เมื่อพระองค์เสด็จมาในพระราชัยของพระองค์ (GS 39) กิจการใดๆ ของมนุษย์ที่มีเหตุผลที่ดี และกระทำไปเพื่อทำให้โลกเป็นสถานที่น่าอยู่สำหรับมนุษย์แล้ว ล้วนแยกไม่ออกจากแก่นแท้ของการมีประสบการณ์ทางศาสนา ซึ่งก็เป็นประสบการณ์ทางความเชื่อ ธรรมนูญ Gaudium et Spes ยังกล่าวไว้ด้วยว่า หากผู้ใดแบ่งแยกความเชื่อออกจากกิจการอื่นในชีวิตประจำวัน เขาหรือเธอผู้นั้นก็ได้ดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดแล้ว. "การแยกความเชื่อที่ท่านทั้งหลายปฏิญาณออกจากกิจการต่างๆในชีวิตประจำวัน ต้องถือเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในยุคสมัยของพวกเรา" (GS 43) นอกจากนั้น ธรรมนูญนี้ยังได้กล่าวอีกว่า "คริสตชนที่ละเลยหน้าที่ต่างๆ ในทางโลกของตน ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ต่อเพื่อนบ้าน และแม้กระทั่งต่อพระเป็นเจ้า ความรอดนิรันดร์ของเขาก็ตกอยู่ในอันตรายด้วย" (GS 43)

ในปี ค.ศ.1991 พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ทรงออกพระสมณสาสน์ Centesimus Annus (CA) พระสมณสาสน์นี้ย้ำเตือนให้เห็นความสำคัญของการลงมือปฏิบัติว่ามีมากเพียงใดในการสื่อสารทางสังคม

"ยิ่งกว่าที่เคยมีมาก่อน ในทุกวันนี้พระศาสนจักรตระหนักดีถึงสารทางสังคมที่สื่อออกไป สารนั้นจะมีความน่าเชื่อถือโดยทันที ก็ต่อเมื่อมีประจักษ์พยานยืนยัน ซึ่งเป็นผลอันเกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติที่สมเหตุผลและมีแบบแผน การตระหนักของพระศาสนจักรเช่นนี้ ยังเป็นที่มาของการที่พระศาสนจักรให้ความสำคัญก่อนอื่นใดแก่ผู้ยากไร้ ผู้ซึ่งไม่เคยกีดกันหรือแบ่งแยกกลุ่มชนอื่นๆ " (CA 57)

ในปัจจุบัน คำสอนที่เป็นทางการของพระศาสนจักรคาทอลิก จะเน้นว่าการประกาศหรือปฏิบัติตามพระวรสารยังไม่ถือว่าสมบูรณ์ หากขาดการอุทิศตนต่อความชอบธรรม หากไม่สามารถค้นพบการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในท่ามกลางผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ผู้ทุกข์ทนและถูกทอดทิ้ง ดังนั้น ความพยายามทั้งสิ้นในกิจการที่นำเสนอ เพื่อหรือร่วมกับคนยากไร้ ได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติตามความเชื่อของพระศาสนจักรในเรื่องของสังคม และเป็นการทำให้พระศาสนจักรมีเอกลักษณ์ที่เป็นของคนยากไร้อย่างแท้จริง เป็นพระศาสนจักรที่ปรารถนาจะติดตามพระเยซูเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ พระเยซูทรงรักคนยากจนมาก ดังนั้นผู้ประพันธ์พระวรสารจึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิบัติต่อคนยากจนเทียบเท่ากับการปฏิบัติต่อองค์พระคริสตเจ้า หากผู้ใดไม่ใส่ใจคนยากจน ผู้นั้นก็จะไม่ได้รับการไถ่กู้ คนยากจนคือภาพลักษณ์ขององค์พระคริสตเจ้าเอง "แท้จริง เรากล่าวแก่ท่านว่า สิ่งใดที่ท่านละเลยที่จะปฏิบัติต่อคนใดคนหนึ่งในบรรดาผู้ต่ำต้อยนี้ นั่นคือท่านมิได้ปฏิบัติต่อเราเอง" (มธ. 25 : 45)

ดังนั้น พระศาสนจักรจึงได้ตระหนักมากยิ่งขึ้นว่า ตนเป็นผู้รับใช้ เพื่อให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ขึ้น ทั้งในมิติแห่งการเป็นพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า ตลอดจนมิติด้านสังคมและการเมือง การรับใช้ของพระศาสนจักร กระทำโดยผ่านระบบการสื่อสารที่รวบรวมอยู่ในความทรงจำที่มีร่วมกันของประชากร นั่นก็คือ ในคำสั่งสอน การโมทนาคุณพระเป็นเจ้า และชีวิตชุมชนที่ผนึกแน่นด้วยความบากบั่นในการสร้างสังคม อาศัยความพากเพียรเหล่านี้ ผู้มีความเชื่อทั้งหลาย พยายามทำความเข้าใจสภาพชีวิตที่แท้จริง และนำแนวทางเหล่านี้ไปปฏิบัติในชีวิตจริงๆ

3. พระศาสนจักรในอินโดนีเซีย
นับตั้งแต่ได้มีการริเริ่มขึ้นที่สภาสังคายนาวาติกัน ความชัดเจนได้ปรากฏขึ้น กล่าวคือ การเรียกร้องให้เกิดการเสวนากลายเป็นหัวข้อหลักที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนา เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่อยู่ในสภาสังคายนาวาติกันด้วย ตัวอย่างเช่น สหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย ซึ่งสภาพระสังฆราชอินโดนีเซียเป็นสมาชิกอยู่ ได้มอบหมายให้สำนักงานคริสตศาสนสัมพันธ์และกิจการระหว่างศาสนา จัดทำเทววิทยาการเสวนาขึ้น โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความปรองดองกันอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้เอง เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารระหว่างความเชื่อและระหว่างศาสนาในบทความฉบับนี้ จึงอ้างอิงจากแหล่งที่มาทั้งสองดังกล่าว แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งสอง ที่จริงก็มาจากแรงบันดาลใจจากพระคัมภีร์อีกทอดหนึ่ง

กฤษฎีกาของสภาสังคายนาวาติกัน ว่าด้วยความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับบรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา (Nostra Aetate) สะท้อนอยู่คำอ้างอิงในสารจากสภาพระสังฆราชอินโดนีเซียในเทศกาลมหาพรตฉบับล่าสุด ดังนี้

พี่น้องชายหญิงที่รัก

เราต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ต่อผู้อื่น เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนต่างศาสนาและต่างความเชื่อ หากยังมีความรู้สึกระแวงสงสัย ก็ขอให้เราเอาชนะความรู้สึกด้วยการหันหน้าเข้าหากันและพูดคุยกัน ให้เรารับฟังในสิ่งที่เขาห่วงใย และแบ่งปันความห่วยใยที่เรามี ให้เราแสวงหาและฟันฝ่าร่วมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความดีส่วนรวมละความผาสุก

มีหลายเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อและศีลธรรม ซึ่งทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับพี่น้องมุสลิมของเรา นับเป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว จวบจนทุกวันนี้ ที่ชาวคาทอลิกและมุสลิมในเมืองและหมู่บ้านต่างๆ นับพันแห่ง ดำเนินชีวิตเคียงข้างกันอย่างกลมเกลียวและสุขสงบ สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ยืนยันว่า พระศาสนจักรชื่นชมอย่างสูงต่อชาวมุสลิม ให้เราลืมความเป็นศัตรูและความบาดหมางต่างๆในอดีต และตั้งใจใหม่เพื่อจะได้มีชีวิตอยู่ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้เราร่วมมือกันฝ่าฟัน เพื่อรักษาและทะนุบำรุงคุณธรรมทางสังคม ความยุติธรรม และชีวิตในสังคม (NA 3)

แม้ว่าจะมีความขุ่นเคืองในความสัมพันธ์ของเราอยู่บ้าง ก็ขอให้เราอย่าลืมว่า ยังมีสิ่งที่ดียิ่งกว่าดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน และให้ตระหนักว่า มีมุสลิมอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผู้ที่เป็นผู้นำของพวกเขา ที่ให้ความเป็นมิตรต่อเรา ดังตัวอย่างในเหตุการณ์ Situbondo ซึ่งมีเรื่องน่าประทับใจเกิดขึ้น เมื่อพี่น้องชาวมุสลิมเข้าช่วยปกป้องและคุ้มครองพี่น้องชาวคาทอลิกไว้ ผู้นำชาวมุสลิมหลายคนได้ส่งสาร ตลอดจนยืนยันในความร่วมมือของพวกเขาในการบูรณะซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน ที่ถูกเผาผลาญและทำลายไปในเหตุการณ์นั้น

ขอให้เราเฝ้าระวังและใช้ความสุขุมรอบคอบ เพื่อจะได้ไม่ทำให้เรื่องศาสนากลายเป็นเรื่องการเมือง ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้พรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นจากพรรคใดก็ตาม ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

พร้อมกับพี่น้องชาวโปรเตสแตนท์ มุสลิม ฮินดู พุทธ และผู้มีความเชื่ออื่นๆ พวกเราจงร่วมมือกันแสวงหาความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิต ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อฝ่าฟันไปสู้อิสรภาพจากความกลัวและพันธนาการ อาศัยแนวทางแห่งความรักและความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า (NA 2)

ดังนั้น ขอให้เราพยายามจนสุดความสามารถเพื่อนำมาซึ่งการเสวนากับผู้ที่นับถือศาสนาต่างกันในทุกระดับชั้น ขอให้ผู้นำคาทอลิกไปมาหาสู่กับผู้นำศาสนาอื่นๆ ที่ใดที่มีคาทอลิกเป็นคนส่วนมาก ขอให้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นรู้สึกได้ถึงความปลอดภัยและการยอมรับพวกเขาอย่างแท้จริง ที่ใดที่เราเป็นคนส่วนน้อย ขอให้พวกเรามีจิตใจที่เปิดกว้าง โดยริเริ่มสร้างสัมพันธภาพและให้ความร่วมมือกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น รวมทั้งผู้นำของพวกเขา

เราต้องตระหนักว่า รัฐบาลสามารถริเริ่มการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างศาสนิกของศาสนาต่างๆ แต่ความสัมพันธ์จะเป็นจริงและพัฒนาขึ้นได้ย่อมขึ้นอยู่ที่ศาสนิกนั้นเอง ทัศนคติที่เปิดกว้างและจิตวิญญาณแห่งการร่วมมือกัน ย่อมมิใช่กลวิธีเพื่อสร้างความปลอดภัย แต่ในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศ ทัศนคติที่เปิดกว้างและจิตวิญญาณแห่งการร่วมมือกันเป็นสิ่งจำเป็นในการรังสรรค์และพัฒนาความเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติ และในฐานะที่เป็นคริสตชน สิ่งนี้ก็เป็นการปฏิบัติตามความเชื่อคาทอลิก (ความห่วงใยและความหวัง, สารสภาพระสังฆราชอินโดนีเซียในเทศกาลมหาพรต, จาลัล คัต มูเตียะ 10, จาการ์ตา 10340, อินโดนีเซีย, หน้า 11-12)

4. เทววิทยาว่าด้วยความปรองดองกันอย่างแท้จริงของพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งเอเชีย
Imageสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ได้ผ่านไป 40 ปีแล้ว ในช่วงเวลานี้ ได้มีประสบการณ์และการไตร่ตรองทางเทววิทยาเรื่องการปะทะสังสรรกันระหว่างคริสตชนกับศาสนิกต่างศาสนาและต่างความเชื่อเกิดขึ้นมากมาย วัดในท้องถิ่นต่างๆ ได้พยายามสร้างและใช้วิธีการเสวนากับผู้มีความเชื่อต่างศาสนา ตัวอย่างรูปแบบการดำเนินวิธีการของวัดต่างๆในเอเชีย มีปรากฏอยู่ในหน่วยงานเพื่อศาสนสัมพันธ์ ของสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย

ในปี ค.ศ 1988 ที่เมืองสุขภูมิ (Sukabumi) บนเกาะชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ในการประชุมหน่วยงานศาสนสัมพันธ์ของสภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย มีการจัดทำเทววิทยาว่าด้วยการเสวนาเพื่อความปรองดองกันอย่างแท้จริงขึ้น จากพื้นฐานของเอกสารดังกล่าวทำให้เกิดการไตร่ตรองทางเทววิทยาดังต่อไปนี้

ก่อนอื่น เป็นที่ยอมรับกันว่า มีพลังอำนาจที่ขวางกั้นเส้นทางสู่สันติสุขและการปรองดองที่แท้จริง และขณะเดียวกันก็มีพลังอำนาจที่ส่งเสริมการพัฒนา สันติสุข และการปรองดองที่แท้จริง สิ่งที่น่าเป็นห่วงยิ่ง ก็คือการที่บางประเทศในภูมิภาคเอเชีย ครอบงำศาสนาเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง การครอบงำก่อให้เกิดความหวาดระแวงและความไม่ปลอดภัย และในบางครั้งถึงกับปลุกปั่นให้เกิดกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงด้วย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสมาชิกในกลุ่มเหล่านี้ประกอบขึ้นด้วยศาสนิกที่ถูกกระแสน้ำแห่งความอยุติธรรมโหมกระหน่ำ ช่องว่างทางเศรษฐกิจก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ความตึงเครียด ความขัดแย้ง และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ก็อาจมีผลต่อการแตกร้าวและการใช้ความรุนแรงด้วย

นอกจากพลังอำนาจที่ส่งผลลบดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เราก็มีประสบการณ์อันเป็นเครื่องหมายแห่งความหวังในการอยู่ร่วมกันในชุมชน การกระหายหาสันติสุขที่แท้จริง การโหยหาการเคารพในสิทธิมนุษยชน ความปรารถนาที่จะสร้างความเป็นพี่น้องที่เท่าเทียมกัน และชีวิตในวิถีทางแห่งประชาธิปไตยในทุกระดับ สิ่งเหล่านี้คือขุมพลังแห่งการฝ่าฟันร่วมกัน การเสวนาและความร่วมมือกันระหว่างศาสนาที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ควรเป็นแรงกระตุ้นให้เราทุกคนมุ่งหน้าสู่สันติสุขและการปรองดองที่แท้จริง คุณค่าทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เช่นความอ่อนไหวในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และการหลุดพ้นของชีวิตภายใน ควรได้รับการบำรุงรักษาและพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น

แรงบันดาลใจจากพระคัมภีร์ในการสร้างสันติสุขและความปรองดองที่แท้จริง สามารถค้นพบได้ในพระธรรมเก่าและพระธรรมใหม่ พระเป็นเจ้าทรงสร้างจักรวาลและปรารถนาที่จะรักษาสิ่งสร้างของพระองค์ไว้ในสภาพที่ดี (ปฐก. 1: 1-13) พระเป็นเจ้าทรงอำนวยพรสิ่งสร้างทั้งหลายของพระองค์ ซึ่งได้แก่พืช นก สัตว์ และมนุษย์ เพื่อให้ทุกชีวิตเจริญเติบโต และอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น เนื้อหาเรื่องการสร้างของพระเป็นเจ้านั้น พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้คนทุกคนทุกเผ่าพันธุ์ ทุกเชื้อชาติ และทุกประเทศ เอาชนะความเห็นแก่ตัว การแตกแยกกัน และความยุ่งเหยิง เพื่อให้พวกเขาก้าวสู่ความครบครันของการสร้าง ซึ่งได้แก่ "สวรรค์ใหม่และโลกใหม่" (วว. 21:1) ที่ซึ่งทุกคนจะมีชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้าและกับสิ่งสร้างทั้งหลาย พระธรรมเก่าเขียนไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า เราทุกคนมีต้นกำเนิดเดียวกัน และเมื่อแรกเริ่มนั้น ทุกสิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างขึ้นล้วนเป็นสิ่งที่ดี เราจึงเห็นได้ว่า การที่จะมีชีวิตอย่างสมบูรณ์พร้อมด้วยความยุติธรรมทางสังคม มิใช่เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แม้ว่าเราจะต้องฝ่าฟันอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้มาก็ตาม

เมื่อพิจารณาแผนการของพระเจ้าในภาพรวมแล้ว จะเห็นว่าคริสตชนให้ความสนใจในองค์พระคริสต์จากวิถีชีวิตของพระองค์ จากคำสั่งสอนและกิจการต่างๆ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้ดำเนินชีวิต แต่ชีวิตของพระองค์นี้มีพระเป็นเจ้าเป็นผู้กำหนด ทรงเป็นผู้กุมอำนาจและครอบครองอย่างแท้จริง นี่คือพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้า ที่ซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถมีประสบการณ์แห่งสันติสุขในครอบครัวใหญ่ นั่นคือครอบครัวของพระเป็นเจ้านั่นเอง การสร้างสันติสุขและความปรองดองกัน มิใช่เรื่องที่โดดเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงไปสู่เรื่องอื่นๆ ในชีวิตมนุษย์ ในการเดินไปตามแผนการของพระเป็นเจ้า ที่เราได้รับการแนะนำมานั้น มีแนวทางอยู่ 2 ที่เราต้องฝ่าฟันไปให้ได้ แนวทางแรกควรเริ่มด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่ดี ที่มีอยู่ในใจของเรา และมีอยู่ในสังคม บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์นั้นด้วยความเที่ยงธรรม ด้วยสันติสุข และด้วยความชื่นชมในสิทธิมนุษยชน เมล็ดพันธุ์นี้ มีอยู่ในทุกศาสนาและในทุกชุมชนที่มีผู้มีความเชื่อ. แนวทางที่สอง คือการให้ความสำคัญต่อการประณามและละทิ้งความอยุติธรรม การกดขี่ข่มเหง และการใช้ความรุนแรง เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยแพร่กระจายบาปเข้าสู่โครงสร้างในวิถีชีวิตของมนุษย์ การมีส่วนร่วมในการสร้างพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้า นับเป็นการเชื้อเชิญให้เรารู้สึกสำนึกในสิ่งที่ผิดพลาดให้ต่อสู้กับอำนาจของบาปที่อยู่ในชีวิตมนุษย์และในสังคม และเพื่อความเป็นพี่น้องในครอบครัวเดียวกันของพระเป็นเจ้า เราถูกเรียกร้องให้ความสำคัญอันดับแรกแก่คนยากจน ผู้ถูกทอดทิ้ง ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของโครงสร้างบาป ผู้คนเหล่านี้มิได้มีอยู่แต่ในชุมชนทางศาสนาของเราเท่านั้น แต่มีอยู่ในทุกแห่งหน ทั้งนี้ เราต้องไม่บีบบังคับให้พวกเขาเปลี่ยนมานับถือศาสนาของเรา ดังนั้น ที่ใดก็ตามที่มีความสมานฉันท์ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ที่นั่นคือที่ซึ่งพวกเรามีส่วนในการสร้างพระอาณาจักรสวรรค์ของพระเป็นเจ้าด้วย

5. เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยใจที่เปิดกว้าง
ทางเลือกขั้นพื้นฐานที่ได้กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ "การเสวนาเพื่อสร้างความปรองดองที่เสแสร้ง" บทความนี้จะอธิบายความหมายของการเสแสร้งในลำดับต่อไป โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงการเสวนาเราจะต้องกล่าวถึงทัศนคติสามประการ ได้แก่ การเปิดรับเฉพาะกลุ่มและพวกพ้อง การเปิดรับทุกคนไม่ยกเว้นผู้ใด และการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย หากกล่าวโดยรวมแล้ว ทัศนคติแรกเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับ ส่วนทัศนคติที่สองและสามก็ยังไม่มีคำอธิบายที่สมเหตุผลและเป็นที่น่าพอใจ การที่จะอยู่มีชีวิตอยู่บนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยใจที่เปิดกว้าง จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ทัศนคติทั้งสามนี้อย่างละเอียด

ทัศนคติแรก คือ การเปิดรับเฉพาะกลุ่มและพวกพ้อง หากพิจารณาตามกรอบความคิดของทรรศนะดังกล่าว จะไม่มีใครได้รับความรอด หากคนเหล่านั้นไม่เชื่อในสิ่งที่ฉันเชื่อ หรือไม่เข้าเป็นศาสนิกในศาสนาของฉัน บางทีศาสนาอื่นอาจมีสิ่งที่ดีๆ แต่ศาสนาเหล่านั้นมิได้นำไปสู่ทางแห่งความรอด จะมีก็แต่เพียงศาสนาที่ฉันนับถืออยู่เท่านั้น ที่นำไปสู่ทางแห่งความรอดได้ หากนำแนวคิดเช่นนี้มาใช้กับคริสตศาสนา ก็หมายความว่าพระศาสนจักรคาทอลิกเท่านั้นที่เป็นทางนำไปสู่ความรอด ไม่มีความรอดภายนอกพระศาสนจักร ทัศนคติเฉพาะกลุ่มและพวกพ้องเช่นนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะทรรศนะดังกล่าวมองศาสนาอื่นๆ ในแง่ร้าย และยังไม่เห็นความสำคัญของความเชื่อหรือศาสนาอื่นอีกด้วย นอกจากนั้น ยังเป็นการไม่ตระหนักในความจริงที่ว่า การประกาศความเชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์ปฏิบัติ แต่มันก็มีข้อจำกัด

ทัศนคติที่สอง คือการเปิดรับทุกคนไม่ยกเว้นผู้ใด เป็นทัศนคติที่ให้ความสำคัญแก่การเผยแสดงที่ปรากฏในความเชื่อและศาสนาอื่นๆ ว่าเป็นเครื่องหมายไปสู่ทางแห่งความรอดเช่นเดียวกัน ความรอดเหล่านี้มีแต่สวรรค์เท่านั้นที่จะรู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เนื่องจากองค์ประกอบที่แน่นอนอันจะนำไปสู่ความรอดนั้น ได้ถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่การก่อกำเนิดของศาสนาเหล่านั้น หากนำมาประยุกต์ใช้กับคริสตศาสนา คริสตชนก็จะกล่าวว่า ศาสนิกต่างศาสนาจะได้รับความรอดโดยอาศัยพระเยซูคริสต์ แม้ว่าพวกเขาไม่รู้จักหรือจะปฏิเสธพระองค์ก็ตาม ดูเหมือนว่าทัศนคติรวมหมู่เช่นนี้จะแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจและพร้อมจะอ้าแขนรับผู้อื่น กระนั้นก็ดี ทัศนคติเช่นนี้ ก็มิได้ช่วยให้เกิดการปฏิบัติต่อศาสนิกต่างศาสนาตามประสบการณ์และความเชื่อที่ศาสนานั้นๆ ระบุไว้ ดังนั้น หากจะนำแนวคิดการเสวนามาใช้ ก็จะเห็นว่าทัศนคติรวมหมู่นี้จึงยังไม่เปิดกว้างพอต่อโอกาสที่จะทำความเข้าใจซึ่งกัน ดังนั้น ศาสนิกจะไม่ได้รับการเติมเต็มจากการพบปะกันระหว่างศาสนิกต่างศาสนา ยิ่งกว่านั้น ทัศนคติเช่นนี้ยังไม่ช่วยให้เกิดการตระหนักว่าเราเองก็มีข้อจำกัดในการที่จะเข้าใจเรื่ององค์ประกอบที่สำคัญทางศาสนาด้วย แต่โดยอาศัยการเสวนาระหว่างศาสนา คริสตชนจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของตนกับองค์พระคริสต์ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ทัศนคติที่สาม คือการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย หรือนักนิยมความหลากหลาย ซึ่งในกรณีนี้ ไม่มีใครแยกแยะความต่างระหว่างสองทรรศนะข้างต้น ลัทธิที่ยอมรับความหลากหลายนี้จะกล่าวว่า “ทุกศาสนาก็เหมือนกัน” และ “เป็นความหลากหลายที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเปิดกว้าง” การแยกแยะความต่างเป็นเรื่องสำคัญ เพราะความต่างที่มีอยู่จะได้รับการยอมรับ ขณะเดียวกัน การปฏิบัติศาสนกิจก็จะมีความหมายมากยิ่งขึ้น ทัศนคติที่ว่า ทุกศาสนาเหมือนกันนั้น มิได้ช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของศาสนาอย่างถ่องแท้ ดังนั้นมันจึงควรมีชื่อเรียกว่า "ลัทธิความหลากหลายที่ไม่ชัดเจนในเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกัน" ทัศนคติเช่นนี้ยอมรับว่า แต่ละศาสนาก็มีหนทางของตน ที่จะก้าวไปสู่ทางแห่งความรอด และเข้าถึงพระผู้สูงสุดหรือพระเจ้าได้ ดังนั้น พระเยซูคริสต์ก็คือหนทางความรอดสำหรับคริสตชน พระคัมภีร์กุระอ่านสำหรับมุสลิม, พระพุทธเจ้าสำหรับพุทธศาสนิกชน, พระกฤษณะหรือพระรามสำหรับชาวฮินดู ทุกศาสนาต่างก็เหมือนกัน และถ้าหากว่าแต่ละศาสนามีสิ่งที่แตกต่างกัน หรือแม้แต่สิ่งที่ตรงกันข้ามในเรื่องของวิสัยทัศน์หรือเป้าประสงค์ ก็จะไม่มีการกล่าวถึงดังที่ควรจะเป็นไปตามปกติ ความหลากหลายทางศาสนา ถูกมองว่าเป็นการแสดงออกที่แตกต่างกันของประสบการณ์อันเดียวกัน ทัศนคติเช่นนี้ค่อนข้างที่จะเปิดกว้างมาก แต่มันก็มิได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอต่อคุณลักษณะพิเศษที่มีเฉพาะในศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ได้สืบทอดต่อกันมาและมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง

ทัศนคติที่เหมาะสม คือการยอมรับความแตกต่างหลากหลายที่ให้ความสำคัญและยอมรับในคุณลักษณะพิเศษของแต่ละศาสนา แต่ขณะเดียวกัน ก็ยอมรับว่าแต่ละศาสนาต่างก็ต้องเรียนรู้จากกันและกันด้วย นี่คือทัศนคติที่เรียกว่า"เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยใจที่เปิดกว้าง" ทัศนคตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเสวนาที่หลากหลาย เป็นการเข้าสู่การเสวนาอย่างจริงจัง มีความชัดเจนและจริงใจต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นักนิยมความหลากหลายเช่นนี้ สามารถที่จะพูดได้ว่า ฉันเชื่อว่า ศาสนาของฉันและความเชื่อที่ฉันมีอยู่ คือสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับฉัน และสิ่งนี้เองอธิบายว่าทำไมฉันจึงนับถือศาสนานี้ด้วยความเต็มใจ แต่ฉันก็ตระหนักในความพิเศษที่มีเฉพาะในศาสนาอื่น ตลอดจนเสรีภาพของศาสนานั้นๆ ด้วย ดังนั้น เมื่อมีการเสวนากัน ฉันจึงสามารถแบ่งปันคุณค่าอันมากมายในความเชื่อของฉันได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ฉันก็จะได้เพิ่มเติมความรู้ที่ให้แก่ตนเองในเรื่องความเชื่อหรือศาสนาของผู้อื่นด้วย และนี่เองคือการพลังอันเข้มแข็งที่เกิดจากการทำงานร่วมกันด้วยความจริงใจ ทั้งนี้เพื่อสรรค์สร้างโลกให้น่าอยู่สำหรับมนุษย์

โดยอาศัยการอยู่ร่วมกับศาสนิกต่างศาสนา บรรดาผู้มีความเชื่อจะได้รับฟังการแบ่งปันความเชื่อของผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ได้พูดคุยในเรื่องความเชื่อของตนเองด้วย ผู้มีความเชื่อแต่ละคนพยายามที่จะเข้าใจ และเปิดใจที่จะเรียนรู้จากผู้อื่น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะต้องสูญเสียความเชื่อของตน หรือจะยึดเอาสิ่งที่ดีของศาสนาอื่นมาเป็นของตน ด้วยทัศนคติเช่นนี้ ทำให้หวังได้ว่า ผู้มีความเชื่อแต่ละคนจะสามารถแบ่งปันหลักธรรมแก่ผู้อื่นด้วยความจริงใจ และขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะเปิดใจรับหลักธรรมจากศาสนาอื่นด้วย เราเคารพในเอกลักษณ์ของศาสนาอื่นอย่างที่เขาเป็น โดยไม่พยายามลดทอนเอกลักษณ์ของเขา หรือหวังจะผนวกเขาเข้ากับเรา ผู้ที่มีทัศนคติเช่นนี้ย่อมจะต้องมีความเชื่อในศาสนาของตนอย่างดี และพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้เกิดการเสวนาและเพิ่มเติมความเข้าใจให้แก่กันและกัน ในท่ามกลางสังคมที่การสื่อสารสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น สังคมที่ผู้คนต่างศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันมากขึ้น การนำเสนอและพัฒนาวิสัยทัศน์และเอกลักษณ์ของศาสนาต่างๆ จึงสามารถกระทำได้ บนพื้นฐานของการเสวนาที่หลากหลาย การบรรจบกันระหว่างวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการดำรงชีวิตของสังคมย่อมพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ ทั้งยังเป็นการเสวนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นด้วย การดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อในยุคปัจจุบันจึงหมายถึงการอยู่ร่วมกันในระหว่างศาสนาที่แตกต่างกัน

 

6. ปัญหาและความสัมพันธ์ของศาสนาต่างๆ
ผู้ที่ศรัทธาต่างเชื่อว่าเป็นพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันที่ปรากฏในความเชื่อของศาสนาอันหลากหลาย นั่นคือผู้ที่ครบครัน ผู้มีความจริงแท้ ผู้ที่ดีพร้อม และผู้สูงสุด พระเป็นเจ้าคือผู้บริบูรณ์พร้อม ความบริบูรณ์นี้ มิได้ปิดกั้นตนเองจากการติดต่อใดๆ กับมนุษย์และโลก มนุษย์ถวายพระนาม สรรเสริญบูชา และถวายพระเกียรติแด่ความยิ่งใหญ่นี้ รวมทั้งวิงวอนขออาหารและขอการยกโทษ ขอสันติสุข และความยุติธรรม แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นผู้บริบูรณ์พร้อม แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า มนุษย์ผู้ที่ได้รับการไขแสดงด้วยพระองค์เองนั้น ต่างก็มีข้อจำกัดและไม่สามารถแยกตนเองออกจากประวัติศาสตร์ได้ การยอมรับขีดจำกัดของมนุษย์นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการเสวนาที่จริงแท้ แก่นแท้ของประสบการณ์ทางศาสนา คือการได้รับความรอด เสรีภาพ และชีวิตที่สมบูรณ์ ประสบการณ์เช่นนี้เชื้อเชิญผู้มีความเชื่อ ให้แสวงหาประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอเพื่อมอบให้แก่ชนรุ่นต่อไป สิ่งที่มอบให้นี้มิได้เป็นข้อผูกมัด แต่เป็นส่วนช่วยทำให้ความปรารถนาของพวกเขาที่จะสนิทสัมพันธ์กับผู้สูงสุดได้บรรลุผล ประสบการณ์เช่นนี้ปรากฎอยู่ในประวัติศาสตร์บางช่วงและในสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ความมีชีวิตชีวาของศาสนาขึ้นอยู่กับความสามารถในการแนะนำผู้ที่เชื่อและคนในรุ่นต่อไป ให้เข้าใจถึงประสบการณ์ที่เป็นแก่นแท้ของศาสนานั้นๆ

ประสบการณ์ที่เป็นแก่นแท้นั้นจะดำรงอยู่ได้ ก็ต่อเมื่อบรรดาผู้ที่เชื่อได้มีการจดจำประสบการณ์นั้นร่วมกัน ขนบประเพณีที่สืบเนื่องกันมามักแสดงออกในรูปแบบของคำสั่งสอนสัญลักษณ์ ในการถวายบูชา และธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นที่นิยม สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการสื่อสารเหล่านี้ ช่วยให้บรรดาผู้ที่เชื่อสามารถก้าวสู่ประสบการณ์ที่เป็นแก่นแท้ของศาสนา หากสถาบันศาสนาไม่สามารถสื่อสารและนำเสนอแก่นแท้ของศาสนาให้แก่ศาสนิกได้ ศาสนานั้นก็จะเสื่อมสลายไปปรัชญาในแขนงการตีความเรื่องพระผู้สร้างตามวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของมนุษย์ (hermeneutic) เป็นส่วนหนึ่งในระบบสื่อสารที่อาศัยการจดจำประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อให้สามารถจดจำและสื่อสารประสบการณ์ซึ่งเป็นแก่นแท้ได้ จึงจำเป็นต้องจัดหมวดหมู่เพื่อให้เข้าใจได้ เช่น สัญลักษณ์ คำสอน และจารีตพิธีในการถวายบูชา ดังนั้นประสบการณ์ที่เป็นแก่นแท้ของศาสนา ซึ่งสามารถย้อนไปได้ไกลที่สุดเท่าที่ความทรงจำจะอำนวย จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดจากการตีความที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะโดยแขนงต่างๆ ของปรัชญาหรือเทววิทยา

ความเชื่อเป็นศัพท์ทางเทววิทยา ที่เชื่อมโยงกับการเรียกประสบการณ์ที่เป็นแก่นแท้โดยผู้ที่เชื่อ ซึ่งได้แก่ประสบการณ์ที่ได้รับการสัมผัสจากผู้สูงสุด ผู้วินิจฉัย ผู้สร้าง ผู้หยั่งรู้ หรืออัลเลาะห์. ความเชื่อคือการตอบสนองของมนุษย์ต่อประสบการณ์นั้น เป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับสิ่งสูงสุด ในการสื่อสารนี้ เราจะยอมละตนเองโดยสิ้นเชิง เพื่อจะได้พบกับความหมายและแนวทางการดำเนินชีวิต การได้มาซึ่งความหมายและแนวทางนั้นขึ้นอยู่กับอำนาจสองประการที่มีอยู่ในโลกนี้ นั่นคือ อำนาจที่นำมนุษย์ไปสู่พระผู้เป็นเจ้า และอำนาจที่จะฉุดให้มนุษย์ออกห่างจากพระองค์ การที่เข้าใจว่า ความเชื่อเป็นความมุ่งมั่นซึ่งไม่มีสิ่งใดมาต่อรองได้นั้น สอดรับอย่างเหนียวแน่นกับประสบการณ์ที่เป็นแก่นแท้ในเรื่องความรอดและการปลดปล่อย

ประสบการณ์ทางศาสนาที่เป็นแก่นแท้ มีแง่มุมทางสังคมอันเป็นที่ประจักษ์ นั่นคือในขณะที่เป็นศาสนา ก็ยังเป็นสถาบันในเวลาเดียวกัน ศาสนาเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง กล่าวคือเป็นมโนภาพและรูปแบบของชีวิต ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่มุ่งไปยังมิติแห่งความหลุดพ้นและการหยั่งรู้

การเข้าถึงด้วยการเสวนานั้น จะไม่มีการประเมินผลด้วยคำถามที่ว่า ความเชื่อใดถูกหรือความชื่อใดผิด การเข้าถึงด้วยการเสวนานี้ สะท้อนภาพภายนอกหรือการแสดงออกทางสังคมของศาสนาในสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของศาสนานั้นๆ กล่าวให้ชัดขึ้นคือ การเสวนาให้คำตอบในเรื่องการแสดงออกของศาสนาโดยผ่านทาง ก) ชุมชนหรือการมีชีวิตร่วมกันของชุมชนนั้น ข) การตีความที่ให้ความหมายและแนวทางการดำเนินชีวิตจากคำสอนของศาสนา และ ค) การสรรเสริญบูชา ยิ่งกว่านั้น ยังอาจตั้งคำถามว่าเพิ่มเติมได้ว่า องค์ประกอบทั้งสามประการข้างต้นได้ช่วยปกป้อง ปลดปล่อย และนำชีวิตไปสู่ความสมบูรณ์ มาเป็นเวลายาวนานเพียงใด ง) บนความมุ่งมั่นแม้ในท่ามกลางโลกและสังคม ทุกบทบาทหน้าที่ของศาสนาที่ปฏิบัติกันอยู่ตามสภาพการณ์ที่แวดล้อมศาสนานั้นๆ ต่างก็เชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่นกับสถานการณ์ทางสังคม-วัฒนธรรม และการเมือง

ในบริบททางสังคม-วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองนั้น ความเชื่อทำหน้าที่ชี้นำให้ชีวิตทางสังคม-วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองมุ่งสู่พระผู้สูงสุด ด้วยการได้เรียนรู้คุณค่าของมนุษย์อย่างสม่ำเสมอ มนุษย์เหล่านี้เองต่างก็มีที่มาจากพระผู้สูงสุด ความเชื่อเรียกร้องให้ผู้คนแสวงหาวิถีทางในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ตระหนักและแสดงออกถึงความนับถือในตนเองมากยิ่งๆ ขึ้น ในกรณีนี้ ความเชื่อได้ทำหน้าที่ของตนอย่างสร้างสรรค์ ในประวัติศาสตร์ที่ความเชื่อมักกำหนดแต่ข้อจำกัด มนุษย์จึงมีพฤติกรรมที่เฉื่อยชาและมีแบบแผนที่ดูคล้ายกับว่ามั่นคง เมื่อเป็นเช่นนี้ วัฒนธรรมได้ทำให้มนุษย์หยุดนิ่งอยู่กับที่ ปฏิบัติตนอยู่แต่ในแบบแผนเดิมๆ และบ่อยครั้งถึงกับปิดตัวเอง และกลายเป็นผู้ต่อต้านการฟื้นฟูสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น เมื่อกรณีเช่นนี้เกิดขึ้น ความเชื่อจะแสดงบทบาทเป็นผู้ทำนาย หน้าที่สำคัญยิ่งของบทบาทนี้ก็คือ การปลดปล่อยมนุษย์ออกจากแอกของวัฒนธรรม บทบาทในทางเศรษฐกิจ คือการทำให้มนุษย์มีสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต แต่บ่อยครั้งมนุษย์มักจะไม่รู้จักขอบเขตความพึงพอใจของตน ความไม่รู้จักพอเป็นเหตุทำให้ครอบครัวอื่นๆ ต้องขาดแคลนสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตของพวกเขา ในกรณีนี้ ความเชื่อจะแสดงบทบาทด้วยการกล่าวว่า มนุษย์จะได้รับความพึงพอใจอันแท้จริงจากพระผู้สูงสุด และมนุษย์จะมีจิตวิญญาณที่ร่ำรวยขึ้น เมื่อมนุษย์ได้มอบสิ่งที่จำเป็นในชีวิตแก่ผู้อื่น

ชีวิตที่มีความเชื่อย่อมเปิดโลกทัศน์ให้มนุษย์มองเห็นว่า มนุษย์ไม่สามารถยึดตนเองเป็นศูนย์กลางได้ ไม่เฉพาะต่อผู้อื่นเท่านั้น แต่ในการใช้อำนาจของตนด้วย ชีวิตที่มีความเชื่อเรียกร้องให้มนุษย์ใช้ความเข้มแข็งและอำนาจเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น และมนุษย์พร้อมจะประณาม เมื่ออำนาจซึ่งเป็นของพระเจ้า ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ดังนั้น การมีส่วนร่วมและความยุติธรรมทางสังคมสำหรับทุกคน และสำหรับสมาชิกทุกคนในสังคม จึงต้องเป็นเรื่องหลักในวิถีชีวิตทางการเมือง

ชีวิตที่มีความเชื่อนั้นซึมซาบอยู่ในชีวิตจริง เป็นชีวิตที่ทุกศาสนาต้องร่วมกันแสดงบทบาทของตน แม้ว่าแต่ละศาสนาจะมีข้อแตกต่างกัน แต่ทุกศาสนาก็มีบทบาทเช่นเดียวกันในสังคม ดังนั้น ทุกศาสนาต้องเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์อันเดียวกัน

7. การส่งเสริมการเสวนาและความร่วมมือกัน
ที่ผ่านมาได้มีการกล่าวถึงอำนาจในเชิงลบซึ่งเป็นอุปสรรค และอำนาจในเชิงบวกซึ่งส่งเสริมสันติสุขและความปรองดองที่แท้จริงของศาสนิกต่างศาสนา เป็นที่แน่นอนว่าเราต้องเอาชนะอุปสรรค และในทางกลับกัน เราจะต้องฟันฝ่าให้ได้มาซึ่งสันติสุขและความปรองดองที่จะส่งเสริมมนุษย์ ความพยายามดังกล่าวนี้สามารถพบได้ในข้อตกลงร่วมกันซึ่งนำเสนอโดยบรรดาศาสนาต่างๆ เช่น แถลงการณ์ของสภาศาสนาแห่งโลก ในปี ค.ศ.1993 ที่นครชิคาโก สภาศาสนาแห่งโลกได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับจรรยาบรรณโลก จะไม่มีโครงสร้างใหม่ใดเกิดขึ้นในโลก หากไม่มีจรรยาบรรณโลกกำกับ ข้อเรียกร้องขั้นพื้นฐานต่อกรณีนี้ก็คือ มนุษย์ทุกคนควรได้รับดูแลที่ดี มีการเสนอแนวทาง 4 ประการได้แก่
1. มุ่งมั่นในวัฒนธรรมที่ไม่ใช้ความรุนแรง และวัฒนธรรมที่รับใช้ชีวิต
2. มุ่งมั่นในวัฒนธรรมแห่งการสมานฉันท์ และระเบียบทางเศรษฐกิจที่ยุติธรรม
3. มุ่งมั่นในวัฒนธรรมการอดกลั้น และชีวิตที่ซื่อตรงต่อความจริง
4. มุ่งมั่นในวัฒนธรรมแห่งสิทธิและความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศสภาพ

ที่สุด มีการออกประกาศยืนยันว่า โลกมนุษย์ไม่อาจฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ หากไม่มีการเปลี่ยนในแต่ละบุคคลและไม่มีสำนึกเพื่อสังคม ความมุ่งมั่นในเรื่องจริยธรรมเป็นรูปธรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความปรองดองระหว่างศาสนา

เพื่อให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น การสร้างความปรองดองระหว่างศาสนาและระหว่างความเชื่อ สามารถอธิบายได้เป็นกิจกรรม 4 ชนิด คือ
1. การเสวนาเรื่องชีวิต
2. การเสวนาเรื่องประสบการณ์ทางศาสนา
3. การเสวนาทางเทววิทยาและ
4. การเสวนาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและความร่วมมือกัน

1. การเสวนากลุ่มย่อย ของผู้ที่รู้จักกันในเรื่องการใช้ชีวิตในระหว่างศาสนาที่แตกต่างกัน การเสวนาเช่นนี้ มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เมื่อชายและหญิงต่างความเชื่อมีประสบการณ์ในสถานการณ์หนึ่งๆ ร่วมกัน ไม่ว่าจะในยามดีและยามร้าย ในความกังวลและความหวัง แล้วความห่วงใยที่มีร่วมกันก็ย่อมเกิดขึ้น บรรดาบ้านใกล้เรือนเคียงในละแวกชุมชนเดียวกัน ย่อมมีความต้องการหลายอย่างคล้ายๆ กัน เช่น น้ำสะอาด บ้านที่ถูกสุขลักษณะ การศึกษาที่เหมาะสม การมีงานทำ เป็นต้น สมาชิกในชุมชนเดียวกัน ย่อมมีความกังวลร่วมกัน เมื่อมีสถานการณ์ที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นแก่สมาชิกในชุมชน โดยไม่คำนึงว่าสมาชิกนั้นนับถือศาสนาใด พวกเขายังต้องช่วยกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมของตน เพื่อมิให้ถูกครอบงำโดยผู้แสวงหาประโยชน์ทางการค้า คนเหล่านี้ไม่เพียงแต่ละเลยผู้อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังจะทำลายธรรมชาติอีกด้วย การเสวนาเรื่องชีวิตมักเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และจะนำมาซึ่งเรื่องราวความห่วงใยร่วมกันของมนุษย์

2. การเสวนาเรื่องประสบการณ์ทางศาสนา ศาสนิกต่างศาสนาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความเชื่ออย่างลุ่มลึก ในระดับนี้ ศาสนิกสามารถช่วยกันและกัน ให้เข้าใจความหมายจากการตีความ และเข้าใจประสบการณ์จากความเชื่อได้อย่างดียิ่งขึ้น เมื่อทำได้เช่นนี้ การเสวนาระหว่างความเชื่อและระหว่างศาสนา จะนำไปสู่การร่วมกันค้นหาและค้นพบพระประสงค์ของพระเจ้าในสถานการณ์จริงที่เผชิญร่วมกันในชีวิต หากปราศจากประสบการณ์จริงนี้ การเสวนาก็จะกลายเป็นเรื่องผิวเผิน หากไม่เกิดการเสวนาในลักษณะดังกล่าวขึ้น การเป็นพยานของเราก็จะมีลักษณะก้าวร้าวและครอบงำผู้อื่น โดยมีแรงจูงใจมาจากอัตตาของบุคคลหรือของชุมชน และมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง

3. การเสวนาทางเทววิทยา ในระดับนี้ จะใช้การเสวนาเกี่ยวกับการแสดงออกและบทบาทหน้าที่ของศาสนาเป็นแบบฝึกหัด ผู้เข้าร่วมสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นประสบการณ์ร่วมกัน และศึกษาเทววิทยาในระดับพื้นๆ หรือระดับที่เป็นวิชาการ ให้มีการซักถามแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ยังมีข้อสงสัย เช่น เรื่องการพยายามให้คนต่างศาสนาหันมานับถือคริสต์ หรือเป็นมุสลิม ตลอดจนมุมมองและทัศนคติที่แตกต่างกัน รวมทั้งการตีความในเรื่องสถานการณ์สังคมที่เกิดขึ้นด้วย

4. การเสวนาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ การเสวนาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติหรือความร่วมมือกันในการฟันฝ่าให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม เสรีภาพ และสังคมมนุษย์ ในระดับนี้ ศาสนิกของศาสนาและความเชื่อต่างๆ จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคม เพื่อให้สังคมมีความเป็นธรรมมากขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น และมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น เพื่อว่าเอกภาพของสิ่งสร้างทั้งมวลจะได้รับการธำรงรักษาไว้ ในบริบทของความหลากหลายระหว่างศาสนาและความท้าทายจากปัญหาความยากจน เอกลักษณ์ของพระศาสนจักรในฐานะที่เป็นชุมชนก็คือ การดำรงอยู่เพื่อเป็นชุมชนแห่งการรับใช้ การเสวนา และการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับชีวิตที่ได้ลงลึกในเรื่องนี้เท่านั้น แต่จากการเป็นพยานด้วยความเชื่อ โดยมีการฝ่าฟันเพื่อความยุติธรรมและเพื่อเอกภาพของสิ่งสร้างทั้งมวลเป็นงานหลักที่มิอาจแบ่งแยกได้ ดังนี้ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนก็จะสืบทอดและดำเนินอย่างต่อเนื่องต่อไป

การเสวนาในระดับต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่คุ้นเคยสำหรับชาวอินโดนีเซีย เมื่อพิจารณาบนพื้นฐานของเหตุผลและความรับผิดชอบที่มีอยู่ พวกเราควรชื่นชมและนำมาพัฒนาใช้เพื่อให้บังเกิดผล

มีความคาดหวังว่าองค์ประกอบสำคัญในธรรมเนียมของคริสตชน ซึ่งได้แก่ การกลับใจ จะเกิดขึ้นในกระบวนการเสวนานี้ การกลับใจหมายถึง การที่บุคคลหนึ่งยอมรับความผิดบาปต่างๆ ที่ตนได้กระทำ และในขณะเดียวกันก็มีความเชื่อในพระเมตตาของพระเป็นเจ้าที่จะยกโทษให้อย่างไม่มีสิ้นสุด การกลับใจเป็นความหวังใหม่ เพราะผู้นั้นจะไม่ถูกจองจำอยู่กับอดีต เพราะอนาคตข้างหน้าเปิดกว้างอยู่ ประสบการณ์ที่ได้รับการยกโทษและการเกิดใหม่จะนำมาซึ่งความยินดีและเต็มใจที่จะยกโทษให้ผู้อื่น โดยไม่คำนึงถึงความเชื่อหรือศาสนาของผู้นั้น อาจกล่าวได้ว่า ความยินดีและเต็มใจที่จะยกโทษ คือเครื่องหมายที่แสดงว่า จิตใจของผู้นั้นพร้อมที่จะได้รับการยกโทษด้วย นี่คือเครื่องหมายอันยิ่งใหญ่กว่าที่แสดงว่าคนผู้นั้นได้แสดงความเคารพต่อพระเป็นเจ้า ในทางกลับกัน การไม่ยินดีและไม่เต็มใจที่จะยกโทษให้ผู้อื่น ก็เป็นเครื่องแสดงว่า ผู้นั้นยังไม่พร้อมที่จะรับพระเมตตาและการการยกโทษจากพระเป็นเจ้า ความเข้าใจเรื่องการกลับใจและการให้อภัย เป็นเรื่องสำคัญของขบวนการเสวนา การให้อภัยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ หนึ่ง ตระหนักถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต สอง ยอมรับว่าสิ่งใดคือความจริงในปัจจุบัน ไตร่ตรองว่าสิ่งใดดีและไม่ดี สาม พิจารณาถึงอนาคต ด้วยการลืมสิ่งที่ไม่ดี และพัฒนาสิ่งที่ดี ดังนั้น สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ดังที่ได้กล่าวไว้ ในคำแถลงเรื่องความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับบรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา (Nostra Aetate) จึงยอมรับว่า ในอดีตได้มีการทะเลาะวิวาทและเป็นศัตรูกัน แต่ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายลืมอดีต และให้ทำงานร่วมกันอย่างจริงใจเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันซึ่งกันและกัน และเพื่อช่วยกันรักษาและส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม คุณค่าทางศีลธรรม ตลอดจนความสงบสุขและเสรีภาพ เพื่อมนุษยชาติทั้งมวล

อันที่จริงบาปมิได้หยั่งรากลงในตัวบุคคลเท่านั้น แต่ยังขยายวงกว้างในโครงสร้างที่อยุติธรรมของสังคมอีกด้วย ยิ่งโครงสร้างการดำรงชีวิตของมนุษย์ถูกบาปเข้าครอบครองมากเท่าใด บาปส่วนบุคคลก็จะเกิดได้ง่ายยิ่งขึ้นเท่านั้น และผู้คนก็จะประสบกับความยากลำบากในการปฏิบัติความยุติธรรมและความรัก การกลับใจหรือการเปลี่ยนแปลงส่วนบุคคล มิใช่เป็นเรื่องที่จำกัดวงอยู่แต่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่จิตใจใหม่ของผู้นั้นจะเป็นสายธารแห่งความบากบั่นในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคม

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >