หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow สิทธิมนุษยชนศึกษาในอาเซียน : รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 158 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สิทธิมนุษยชนศึกษาในอาเซียน : รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร พิมพ์
Thursday, 14 June 2018

Image
วารสารผู้ไถ่

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑๐๖ ม.ค. - เม.ย. ๒๕๖๑

เส้นทางสิทธิมนุษยชนศึกษา

 

สิทธิมนุษยชนศึกษาในอาเซียน

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร


          โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา เป็นโรงเรียนแห่งแรกในประเทศไทยที่นำเรื่อง "สิทธิมนุษยชนศึกษาในอาเซียน" เข้าสู่โรงเรียน โรงเรียนอื่นอาจจะเล่นเรื่องอาเซียน แต่ก็เป็นในรูปของวัฒนธรรมการแต่งกาย การฟ้อนรำ หรือการสอนให้รู้จักภาษาบ้าง อันที่จริง การนำเรื่องสิทธิมนุษยชนศึกษาในอาเซียนเข้าสู่โรงเรียนน่าจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และจำเป็นที่สุด เมื่อท่านเข้าใจความหมายของสิทธิมนุษยชนศึกษาแล้ว ท่านก็จะเข้าใจว่า ทำไมจึงสำคัญ และจำเป็น

          ก่อนอื่น ขอทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า สิทธิมนุษยชนศึกษา หมายความว่าอย่างไร คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า สิทธิมนุษยชนศึกษา (Human Rights Education) คือ การเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ที่จริงแล้ว สิทธิมนุษยชนศึกษามีความหมายกว้างไกลไปกว่านั้น ซึ่งจะขออธิบายอย่างย่อๆ ไว้คือ เมื่อ ค.ศ.๑๙๙๔ (พ.ศ.๒๕๓๗) องค์การสหประชาชาติได้ประกาศ "ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนศึกษา" ค.ศ.๑๙๙๕-๒๐๐๔ (พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๔๗) และอธิบายความหมายของสิทธิมนุษยชนศึกษา มีรายละเอียดที่พอจะสรุปได้ดังนี้คือ :

          สิทธิมนุษยชนศึกษา หมายถึง การฝึกอบรม การถ่ายทอดความรู้ และให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้น สิทธิมนุษยชนศึกษา จึงมิใช่เพียงการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ ฝึกทักษะ และหล่อหลอมทัศนคติ เพื่อมุ่งให้เกิดสิ่งต่อไปนี้ คือ :-

๑. การเคารพสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

๒. พัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่

๓. ความเข้าใจ และความเคารพในความเสมอภาค และมิตรภาพระหว่างชนทุกชาติ ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และกลุ่มภาษา

๔. การมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมที่เป็นอิสระ

๕. การพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า และดำรงไว้ซึ่งสันติสุข

๖. การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มี "คน" เป็นศูนย์กลาง และเน้นความยุติธรรมในสังคม

          สิทธิมนุษยชนศึกษาในอาเซียน ก็คือ การร่วมมือกันเสริมสร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นในสังคมแห่งบรรดาประเทศในอาเซียน คือทำให้เกิดความเข้าใจ ความเคารพในความเสมอภาค และมิตรภาพระหว่างชนทุกชาติ ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และกลุ่มภาษาในอาเซียน พัฒนาสังคมอาเซียนให้ก้าวหน้า และดำรงไว้ซึ่งสันติสุข ข้อนี้คิดว่าคงจะตรงกับความปรารถนาของโรงเรียนดาราสมุทร

          โรงเรียนที่ผู้บริหาร และครูอาจารย์ เห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนศึกษา และนำหลักการสากลของสิทธิมนุษยชนเข้าสู่โรงเรียนแล้ว หมายความว่าได้สร้างบรรยากาศเกี่ยวกับความเคารพ ความรัก ความเอื้ออาทร เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ และไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ได้ทำให้คุณธรรมสิทธิมนุษยชนซาบซึ้งเข้าไปในจิตใจของครู นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน และสะท้อนออกมาทางวาจา และการปฏิบัติ สร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นในโรงเรียน คือให้คุณธรรมสิทธิมนุษยชน เป็นวิถีชีวิตของครู นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน คือโรงเรียนที่พร้อมที่จะเข้าร่วมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในอาเซียน

          ประเทศอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ มีโรงเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนศึกษามาแล้ว แต่จะมีจำนวนมากหรือน้อย ตลอดจนการรับรู้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสนใจ และบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละประเทศ ข้าพเจ้าเคยไปร่วมงานกับประเทศเหล่านั้นในฐานะผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ขององค์การ UNESCO เห็นว่าประเทศฟิลิปปินส์ก้าวหน้าไปไกลกว่าประเทศอื่นๆ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตามมา

          ประเทศไทยสู้เขาไม่ได้ เพราะกระทรวงศึกษาธิการไม่สนใจจริง เป็นเพราะผลการทำงานอันเข้มแข็งของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกยุติธรรมและสันติ สิทธิมนุษยชนศึกษาจึงได้เข้าสู่บรรดาโรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทย และได้ผลอย่างจริงจัง ดังตัวอย่างของโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ภายใต้การนำของคุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต

          เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ได้เชิญครูระดับมัธยมศึกษา ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ไปร่วมประชุม และเขียนแผนการเรียนรู้ (Lesson Plans) เรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ครูผู้ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนของประเทศไทย ๕ คน มาจากโรงเรียนคาทอลิก ๓ คน และโรงเรียนรัฐบาล ๒ คน ผลของการร่วมกิจกรรมสิทธิมนุษยชนศึกษาของบรรดาครูในประเทศอาเซียน ทำให้ได้เห็นความคล้ายคลึง และความแตกต่างกันของความคิด ค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมของแต่ละประเทศ รวมทั้งสร้างความเข้าใจ ความเห็นใจ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน กิจกรรมดังกล่าวนี้ น่าจะจัดให้มีเป็นครั้งคราว

          ขณะนี้เรื่องสิทธิมนุษยชนในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับ เป็นที่ยอมรับของบรรดาประเทศอาเซียน และต่างก็เป็นภาคีในสนธิสัญญาเหล่านั้น แต่พวกเราในที่นี้คงจะเห็นพ้องกันว่า ความหมายของสิทธิมนุษยชนในเชิงกฎหมายเท่านั้นไม่เพียงพอ จำเป็นต้องศึกษาความหมายในแง่ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนธรรม ดังที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้เตือนไว้ว่า : "กฎหมายต่างๆ เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ แต่มนุษย์ต้องพัฒนาตนไปมากกว่านั้น มนุษย์ย่อมไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ใช่เพียงเพราะเคารพกฎเกณฑ์ แต่มนุษย์ต้องปฏิบัติต่อกันจากส่วนลึกของจิตใจ ด้วยความเมตตา กรุณา ความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน"

          ถ้าพิจารณาดูปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งมีอยู่ ๓๐ ข้อ  ข้อแรกได้บัญญัติว่า : "มนุษย์เกิดมาอิสรเสรี และเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ มนุษย์ได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผล และมโนธรรม และพึงปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นพี่น้อง (spirit of brotherhood)" คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเน้นแต่ประโยคแรก แต่ข้อความในประโยคหลังมีความสำคัญ และทำให้เห็นว่า จิตตารมณ์ของสิทธิมนุษยชนมาจากศาสนา ซึ่งบรรดานักกฎหมายไม่ยอมรับว่าสิทธิมนุษยชนมีแนวคิดมาจากศาสนา

          ข้อความที่ว่า : "พึงปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณของความเป็นพี่น้อง" จะเตือนใจพวกเราว่า มนุษย์ทั้งหลายเป็นพี่น้องกัน จึงต้องปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง ต้องเป็นการปฏิบัติที่ออกมาจากจิตใจ ด้วยความรัก ความเมตตา กรุณา เอื้ออาทร ซึ่งเป็นคุณธรรมสากลที่มาจากศาสนธรรมของทุกศาสนา

          ถ้าเราเข้าใจสิทธิมนุษยชนในลักษณะเช่นนี้ และเราเน้นให้สิทธิมนุษยชนศึกษา พัฒนา เสริมสร้างค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านการฝึกปฏิบัติจนกลายเป็นคุณลักษณะส่วนหนึ่งของชีวิต นักเรียนของเราก็จะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่เราบ่มเพาะ มีความรัก ความเมตตา ความยุติธรรม ไม่ละเมิดผู้อื่น แต่พร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่น และเมื่อเติบโตขึ้นก็จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

          สรุป : สิทธิมนุษยชนในอาเซียนจะต้องสร้างภราดรภาพ (Brotherhood, Fraternity) ให้เกิดขึ้นในประเทศอาเซียน และ ภราดรภาพจะเป็นพื้นฐาน และหนทางสู่สันติภาพ (สารวันสันติสากล ๑ มกราคม ค.ศ.๒๐๑๔ ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส)

          ภราดรภาพ คือ หัวใจของสิทธิมนุษยชน ถ้ามนุษย์เราปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณของความเป็นพี่น้อง เราก็ย่อมจะไม่ละเมิดสิทธิของกันและกัน สิทธิมนุษยชนในอาเซียนต้องเน้นตรงนี้ ถ้าโรงเรียนดาราสมุทรของเรามีแผนการที่จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร ใช้วิธีการอย่างไร และได้ผลอย่างไร อยากจะขอให้เป็นแบบอย่างสำหรับโรงเรียนอื่นๆ ด้วย

          เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะเสนอให้ช่วยกันพิจารณา คือ เราคนไทยจะต้องเปิดใจให้กว้าง เพื่อเรียนรู้เรื่องของเพื่อนบ้าน ต้องแก้ไขความฝังใจที่ผิดๆ ที่มาจาก การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาตินิยม ความคับแคบทางความคิดและจิตใจ ทำให้เราไม่เข้าใจเพื่อนบ้านของเรา และมักจะรังเกียจ ดูแคลน เหยียดหยาม

          เมื่อได้ไปเยี่ยมโรงเรียนรัฐบาลที่จังหวัดระนอง ซึ่งมีลูกแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่มีสิทธิเข้าเรียนหนังสือ แต่เมื่อโรงเรียนรับเข้าเรียนกลับเกิดปัญหา คือผู้ปกครองเด็กนักเรียนไทย เอาลูกออกจากโรงเรียน และครูบางคนมีทัศนคติที่เป็นลบกับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกแรงงานชาวพม่า  อคติ จะต้องได้รับการแก้ไขให้หมดสิ้นไป โรงเรียน และ ศาสนา จะต้องมีบทบาทสำคัญในการแก้ไข  ขอฝากให้โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา และโรงเรียนศรีหฤทัย ขลุง ช่วยหาทางแก้ไขในการนำสิทธิมนุษยชนศึกษาในอาเซียนเข้าสู่โรงเรียน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >