หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 175 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


บทบาทของ ยส. ในด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา : รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร พิมพ์
Wednesday, 31 January 2018


วารสารผู้ไถ่

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑๐๕ ก.ย. - ธ.ค. ๒๕๖๐

 

บทบาทของ ยส. ในด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร

 



คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ได้ดำเนินพันธกิจในการส่งเสริมการเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ด้วยการปฏิบัติความยุติธรรม เคารพในสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมสันติภาพ มาครบ ๔๐ ปี (เริ่มก่อตั้งคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐) นับเป็นงานด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยที่มีความสำคัญ ดำเนินการตลอดมาถึง ๔ ทศวรรษ และจะมุ่งหน้าดำเนินพันธกิจต่อไปอย่างมั่นคงในอนาคต

บทความนี้ เน้นเฉพาะงานด้าน สิทธิมนุษยชนศึกษา (Human Rights Education) ซึ่งคณะกรรมการฯ ยุติธรรมและสันติให้ความสำคัญปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนเห็นผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ตลอดมาจนปัจจุบัน ในฐานะที่ได้ร่วมมือกับ ยส.ในการส่งเสริมงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษามาตั้งแต่แรก ตลอดจนได้ร่วมงานด้านนี้กับองค์กรอื่นๆ เช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงยืนยันได้ว่า ยส. เป็นองค์กรแรกที่ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย และประสบความสำเร็จจนได้รับเชิญเข้าร่วมงานกับองค์กรอื่นๆ ด้วย

เพื่อที่จะได้เข้าใจบทบาท และผลงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาของ ยส.ควรจะเริ่มด้วยข้อสังเกตบางประการต่อการรับรู้และยอมรับเรื่องสิทธิมนุษยชนของสังคมและชุมชนในประเทศไทยซึ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ เน้นถึง ศักดิ์ศรี สิทธิ และเสรีภาพ ของประชาชนชาวไทย คำว่า ศักดิ์ศรี สิทธิ และเสรีภาพ จึงเป็นคำที่คนในสังคมใช้กันมาก และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพื่อปกป้องตนเองจากการถูกละเมิด หรือเมื่อถูกละเมิดแล้วจะได้ร่วมมือกันต่อสู้เพื่อได้สิทธิกลับคืนมา ในขณะที่ผู้มีอำนาจไม่ยินดียอมรับเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะกลัวการเรียกร้องสิทธิจากผู้อยู่ใต้อำนาจ ดังจะเห็นได้ว่า ผู้บริหารโรงเรียน ตลอดจนครู อาจารย์ ไม่ปรารถนาให้นำเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าสู่สถาบันการศึกษา เพราะกลัวนักเรียน นักศึกษา เรียกร้องสิทธิของตน

การรับรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับรัฐบาล ผู้บริหารประเทศยังมีน้อย และการยอมรับยิ่งน้อยมาก ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยระบุไว้อย่างชัดเจน และประเทศไทยเป็นภาคีในสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลักรวมถึง ๗ สนธิสัญญา การเป็นภาคีในสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ หมายความว่า ประเทศไทยให้ความยินยอมปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาทุกประการ แต่กระทรวงศึกษาธิการก็ยังไม่ถือว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องสิทธิมนุษยชน และสิทธิเด็กปรากฏอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม แต่กระทรวงศึกษาธิการก็มิได้เตรียมครูผู้สอน ไม่มีการอบรมครู ไม่ได้เตรียมทำคู่มือครู หรือเอกสารประกอบการเรียนรู้ ผู้ที่ลงมือทำสิ่งดังกล่าวนี้คือ องค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติจึงได้รับเชิญเข้าร่วมงานกับหน่วยงานทั้งสอง ได้นำประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนไปแบ่งปันให้หน่วยงานดังกล่าวด้วย

การรับรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนของครู อาจารย์ และผู้บริหารการศึกษา ควรจะต้องชัดเจน และลึกซึ้งมากกว่าบุคคลอื่นๆ ในสังคม เพราะครู อาจารย์ และผู้บริหารการศึกษา ต้องเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ศิษย์ จึงมีหน้าที่ต้องแสวงหาความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่

เนื่องจาก ยส.เป็นองค์กรของพระศาสนจักรคาทอลิก ประเทศไทย จึงเน้นให้การอบรมสิทธิมนุษยชนศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก กระบวนการอบรมอย่างเป็นรูปธรรมเริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ด้วยการแต่งตั้ง "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนศึกษา" ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู อาจารย์คาทอลิกผู้มีประสบการณ์ด้านการอบรมครู และด้านสิทธิมนุษยชน นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็ก และเจ้าหน้าที่ของ ยส. จากนั้นก็ได้วางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มด้วย :

   ๑. การทำความเข้าใจร่วมกันถึงความหมายของสิทธิมนุษยชนศึกษา ซึ่งสรุปได้ว่า หมายถึง การฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ และให้ข้อมูลเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสากลแห่งสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นในสังคม สิทธิมนุษยชนศึกษาจึงมิใช่เพียงแค่การศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน หากแต่เป็นการใช้กระบวนการเรียนรู้ ฝึกทักษะ และหล่อหลอมทัศนคติ เพื่อมุ่งให้เกิดสิ่งต่อไปนี้ คือ :

  • การเคารพสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
  • พัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
  • ความเข้าใจ และความเคารพในความเสมอภาค และมิตรภาพระหว่างชนทุกชาติ ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และกลุ่มภาษา
  • การมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมที่เป็นอิสระ
  • การพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า และดำรงไว้ซึ่งสันติสุข
  • การส่งเสริมให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอย่างยั่งยืน เน้นความยุติธรรมในสังคม

    ๒.  การจัดทำคู่มือการเรียนการสอน "สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ"

    ๓.  จัดประชุมผู้บริหารโรงเรียน เพื่อแนะนำโครงการ "สิทธิมนุษยชนศึกษา"

    ๔.  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "สิทธิมนุษยชน" ให้แก่บรรดาครูผู้สอน และผู้สนใจ

    ๕.  ติดตาม และประเมินผลตามโรงเรียนที่ได้มีการอบรมครู

    ๖.  จัดพิมพ์ และเผยแพร่ หนังสือ "เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา"

    ๗.  สร้างเครือข่ายของบรรดาโรงเรียนที่มีโครงการ "สิทธิมนุษยชนศึกษาในโรงเรียน"

ในช่วงระยะเวลา ๑๐ ปีที่ดำเนินโครงการ (พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๕๐) "สิทธิมนุษยชนศึกษา" ได้เข้าสู่โรงเรียนคาทอลิก ๕๕ โรง ครูที่ได้รับการอบรมจนนำไปถ่ายทอดให้นักเรียนได้มีจำนวน ๑,๖๒๒ คน ครูส่วนใหญ่มีความเข้าใจ มีจิตสำนึก ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน  สถานศึกษาที่ร่วมงานกับ ยส. เพื่อนำ "สิทธิมนุษยชน" เข้าสู่การเรียนรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของการเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชน  และเชื่อมั่นว่า การศึกษามีภารกิจในการพัฒนาศักยภาพทุกมิติของเด็กและเยาวชนเพื่อให้เจริญชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเต็มภาคภูมิ จึงพยายามทำให้การเรียนรู้มีบรรยากาศของความรัก ความเมตตา เกื้อกูล เอื้ออาทรต่อกันและกัน และปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง

ในบรรดาสถานศึกษาดังกล่าว ขอยกตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในเรื่อง "สิทธิมนุษยชนศึกษา" เพราะผู้บริหารเชื่อในการปลูกฝังความเข้าใจ การตระหนักรู้ และส่งเสริมวิถีการดำเนินชีวิตที่เน้นคุณค่าของความเป็นคน โดยสืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ให้กำเนิดสถาบัน เช่น โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้เน้นเจตนารมณ์ของท่านบาทหลวงมงฟอร์ตในการอภิบาลเด็กและเยาวชน และให้ความสำคัญในการเฟ้นหาและฝึกอบรมครูที่ดี เพื่อสานต่องานอภิบาลเด็กและเยาวชน โดยยึดมั่นว่าการศึกษาช่วยให้ "บุคคลพัฒนาศักยภาพทุกมิติของตนเองอย่างเต็มที่ และเจริญชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเต็มภาคภูมิ" ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนมงฟอร์ตจึงทำให้การเรียนรู้มีบรรยากาศของความรัก ความเมตตา มีชีวิตชีวา และอุทิศตนรับใช้ผู้อื่นและสังคม อีกทั้งยังเน้นการศึกษาที่ให้คุณธรรม นำความรู้ สู่ความสุข

โรงเรียนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนวาสุเทวี ซึ่งมีเป้าหมายในการอบรมเด็กและเยาวชนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ตามปรัชญาที่ว่า : "อบรมเสริมคนให้ครบ ประสบธรรมอันสูงส่ง ปัญญาแตกฉานมั่นคง เสริมส่งเป็นคนจนสมบูรณ์" นักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จึงได้รับการอบรมสั่งสอนให้เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น รวมถึงเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน

โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ และโรงเรียนในเครือ ทั้งในกรุงเทพฯ เช่น เซนต์โยเซฟทิพวัล และในต่างจังหวัด เช่น โรงเรียนสันติวิทยา เป็นโรงเรียนที่คณะผู้ก่อตั้งเป็นคณะนักบวชชาวฝรั่งเศสผู้รวบรวมบรรดาสตรีเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ คนป่วย คนยากจน คนชรา และเด็กกำพร้าผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม จึงเน้นการอภิบาลผู้ป่วยและสอนหนังสือเด็กกำพร้าและเด็กยากจน  และเน้นแนวทางปฏิบัติซึ่งสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน คือ "ทำทุกอย่างเพื่อทุกคน" เมื่อมาสร้างโรงเรียนเพื่อสอนวิชาการและอบรมเยาวสตรี โรงเรียนในเครือเซนต์โยเซฟจึงเน้นสอนให้เด็กและเยาวชนรักการทำงานเพื่อผู้อื่นที่ด้อยโอกาส และดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ และไม่รังเกียจความยากจน

โรงเรียนอาเวมารีอา ซึ่งเป็นโรงเรียนสหศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ของจังหวัดอุบลราชธานี และโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์แห่งจังหวัดจันทบุรี ได้สืบสานงานแพร่ธรรมและดูแลให้การศึกษาแก่สตรีมาตั้งแต่สมัยที่มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเข้ามาในประเทศไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้ดำเนินการสร้างโรงเรียนเพื่ออบรมเยาวชน ได้มีการเน้นคุณธรรมนำความรู้ เช่นเดียวกัน ในขณะที่โรงเรียนส่วนใหญ่เน้นความรู้คู่คุณธรรม สถานศึกษาทั้งสองนี้อบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีความรัก ความเมตตา เสียสละ และช่วยเหลือแบ่งปันผู้ด้อยโอกาส เช่น ทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนตามชายแดน ตลอดจนรับเด็กยากจนจากโรงเรียนตามชายแดนมาเรียนในโรงเรียน

ที่สำคัญไปกว่านั้น สถานศึกษาบางแห่ง เช่น โรงเรียนดาราสมุทรศรีราชาได้พัฒนาสิทธิมนุษยชนให้เป็นวิถีชีวิต หรือวัฒนธรรมของสถานศึกษา ด้วยการบูรณาการคุณธรรมสิทธิมนุษยชนเข้าสู่โครงการและกิจกรรมของโรงเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในชั้นเรียน ภายในโรงเรียน และภายในชุมชนนอกโรงเรียน ที่บรรดานักเรียนได้ออกไปสัมผัสชีวิต ทำให้นักเรียนมีทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และการปฏิบัติคุณธรรมสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม

กระบวนการนำ "สิทธิมนุษยชนศึกษา" เข้าสู่โรงเรียนคาทอลิกดังได้กล่าวมาแล้ว จะได้รับความสำเร็จหรือไม่ หรือเมื่อสำเร็จแล้วจะดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืนเพียงใด ขึ้นอยู่กับคณะผู้บริหารโรงเรียนเป็นสำคัญ  ถ้าผู้บริหารให้การสนับสนุน ความต่อเนื่องอย่างยั่งยืนย่อมเกิดขึ้น แต่ปัญหาสำคัญคือ การเปลี่ยนผู้บริหารที่มีแนวความคิดและความสนใจต่างไปจากผู้บริหารเดิม และอาจจะไม่สนับสนุนโครงการที่ดำเนินอยู่ การเสริมสร้าง "วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน" ในโรงเรียนก็ย่อมล้มเหลว สิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนพึงกระทำคือพยายามให้คุณธรรมสิทธิมนุษยชนมีความหมายที่ชัดเจน และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ และปรัชญาของการศึกษา และเป็นเป้าหมายของการให้การศึกษาอบรม ถ้าเป็นเช่นนี้ได้ การเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษยชนก็จะเป็นวิถีชีวิตของสถานศึกษา

เพื่อจะได้เห็นภาพการดำเนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาของ ยส.อย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรก ขอนำบันทึกความเป็นมาของโครงการมาให้พิจารณาร่วมกันดังต่อไปนี้ :

 

ความเป็นมาและพัฒนาการ
งานการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ 

งานการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ หรือ โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา (ชื่อเดิม) ของแผนกยุติธรรมและสันติ (ยส.) เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘  จากการที่กลุ่มเจ้าหน้าที่ ยส.มีความเห็นร่วมกันว่า ยส.ต้องทำงานสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยการปลูกฝังคุณธรรมสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ผ่านระบบการศึกษาของสถาบันการศึกษาคาทอลิก  ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ยส.ได้ประสานความร่วมมือกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักการศึกษา และนักส่งเสริมสิทธิมนุษยชน กำหนดแนวทางที่เป็นไปได้ ในการจัดตั้งโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา พร้อมๆ กับมีกลุ่มคณะทำงานเล็กๆ ที่ร่วมกันเขียนคู่มือการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนและสันติขึ้นมา  และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๑ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวน ๑๑ คน ประกอบด้วย นักการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนสภาการศึกษาคาทอลิก และนักวิชาการ และจัดพิมพ์ "คู่มือการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ" สำหรับใช้ประกอบการอบรม

ปี พ.ศ.๒๕๔๒  ยส.เริ่มดำเนินการครั้งแรก ด้วยการจัดประชุมผู้บริหารโรงเรียนที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เพื่อแนะนำโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา มีผู้เข้าร่วมประชุม ๕๒ คน จาก ๒๒ โรงเรียน  และจัดสัมมนาผู้บริหาร เรื่องสิทธิมนุษยชน ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ ที่อาคารมูลนิธิเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วม ๔๙ คน จาก ๒๐ โรงเรียน

ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๓  ยส.ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษา แก่ครูตัวแทนกลุ่มสาระต่างๆ ในโรงเรียนคาทอลิกตามภูมิภาคต่างๆ แก่กลุ่มผู้นำลูกเสือรัตนโกสินทร์ และพัฒนาไปสู่การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ให้แก่ครูทั้งโรงเรียน  พร้อมกับได้ปรับกระบวนการอบรมเป็นระยะๆ และเพิ่มเติมเนื้อหาสันติภาพเข้าไปด้วย  เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษาและสันติภาพ เพื่อหลอมรวมเรื่องสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติสันติภาพให้เป็นเรื่องเดียวกัน

สำหรับคณะกรรมการโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ชุดแรก ได้ยุติบทบาทลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๐ ขณะที่ ยส.ยังคงดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษาต่อไป และมีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ และแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ งานการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒  ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ พระสงฆ์ นักบวชชายและหญิงที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก จำนวน ๑๐ คน  โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษา พร้อมกับร่วมเป็นทีมงานอบรมอย่างต่อเนื่อง

จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ.๒๕๖๐  มีโรงเรียนที่จัดอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพแก่ครู ทั้งสิ้น ๘๔ โรงเรียน จำนวนครูทั้งสิ้น ๓,๘๒๔ คน  นอกจากนี้ ยส.ยังได้ขยายงานอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษาไปสู่กลุ่มเยาวชน โดยมีการจัดอบรมสิทธิมนุษยชนแก่เยาวชนนักเรียนภายในโรงเรียน  และการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชนพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเรียนรู้ วิเคราะห์สถานการณ์สิทธิมนุษยชน ผ่านกระบวนการ See Judge Act อีกด้วย


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >