หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 57 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


"SLAPP to SLAP" : ฝ่ายสิทธิมนุษยชน (ยส.) พิมพ์
Monday, 20 November 2017
https://img-comment-fun.9cache.com/media/a4Yepod/aXXzzjrd_700w_0.jpg

 

"SLAPP to SLAP"

 

 

เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิมนุษยชน (ยส.) : เขียน


 
 


ปัจจุบันกระแสทุนนิยมกำลังคืบคลานเข้าสู่พื้นที่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย อันจะเห็นได้จากการที่มีโครงการการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าไปในพื้นที่เป็นจำนวนมาก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มทุนเพื่อเอื้อให้การดำเนินการของบริษัทเป็นไปได้ด้วยดี แต่การเข้าไปในแต่ละพื้นที่ก็ยังมีอุปสรรค เพราะการเข้าไปของบริษัทย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนในวงกว้าง เนื่องจากต้องมีการใช้พื้นที่ในบริเวณกว้างหรือการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกับชาวบ้านในชุมชน จนทำให้เกิดการเบียดบังทรัพยากรที่ชาวบ้านควรจะได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดให้ตกไปอยู่ในมือของบริษัท ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เปรียบได้กับเส้นเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงชุมชน เพราะชาวบ้านจะมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติและอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยดูแลซึ่งกันและกันมาอย่างยาวนาน ดังนั้น ย่อมทำให้เกิดกระแสการคัดค้านและกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างบริษัทกับชาวบ้านในพื้นที่ตามมา

เมื่อการลงทุนต้องใช้เงินจำนวนมากและอาจนำมาซึ่งกำไรมหาศาลทำให้บริษัทก็ไม่อาจเดินถอยหลัง และชาวบ้านก็ยังยืนยันในเจตนารมณ์เดิมที่ต้องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์สืบต่อไปให้ลูกหลาน อันนำมาซึ่งความขัดแย้งที่ไม่อาจหาข้อสรุปได้ ทำให้เราเห็นวิธีการหนึ่งที่บริษัทใช้ในการคุกคามกับชาวบ้านในพื้นที่ นั่นคือ การฟ้องSLAPP เพื่อยับยั้งการเคลื่อนไหวคัดค้านของชาวบ้าน เพื่อให้บริษัทบรรลุจุดประสงค์ได้ง่ายขึ้นโดยปราศจากคนขัดขวาง มีหลายครั้งที่เราเคยเห็นบริษัททุนยักษ์ใหญ่กลั่นแกล้งชาวบ้านโดยการฟ้องSLAPP ผ่านตามหน้าสื่อต่างๆ เช่น กรณีกลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านเหมืองทองคำที่ จ.เลย และ จ.พิจิตร หรือกรณีกลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านโรงงานน้ำตาลที่ จ.สกลนคร เป็นต้น

การฟ้องSLAPP (Strategic Litigation Against Public Participation - SLAPP) หรือการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน เป็นการฟ้องคดีเพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนไหวของประชาชน กล่าวคือ เป็นการฟ้องคนหรือกลุ่มคนที่พูดหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นอันเป็นประโยชน์สาธารณะ โดยใช้กระบวนการทางศาลขัดขวางคำพูดหรือการกระทำของบุคคลเหล่านั้นไม่ให้ราบรื่น ที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทนายแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายความอาวุโส ทนายความกรณีเหมืองทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย กล่าวว่า ในภาษากฎหมาย การฟ้องSLAPP มีชื่อเรียกเฉพาะว่า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของบริษัทเพื่อการกลั่นแกล้งชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ของชุมชน การฟ้องSLAPP ส่วนใหญ่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการชนะคดี แต่ทำเพื่อให้ชาวบ้านเกิดความยุ่งยากและเกิดความกลัว เนื่องจากในการฟ้องแต่ละครั้งจะมีการเรียกร้องค่าเสียหายในราคาสูง ซึ่งบริษัทเองก็รับรู้ว่าชาวบ้านไม่สามารถจ่ายได้อย่างแน่นอน

การฟ้องSLAPP อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยที่ยังคงต้องทำการศึกษาและร่วมกันหาทางแก้ไขว่าประเทศไทยจะมีมาตรการอย่างไรในการกลั่นกรองคดีที่ถูกฟ้องร้องขึ้นสู่ศาลว่ามิใช่คดีที่เป็นการฟ้องกลั่นแกล้งกัน เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทใช้กฎหมายไปในทางที่ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์แก่ชาวบ้าน ไม่ตรงเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่เป็นไปเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้เสียหาย เพราะในทางกลับกันเป็นการใช้กฎหมายเพื่อกลั่นแกล้งผู้เสียหายเสียเอง และไม่เป็นการใช้ทรัพยากรบุคลากรทางศาลอย่างสิ้นเปลือง ในคดีที่เป็นการปกป้องประโยชน์ของสาธารณะ ที่เป็นสิทธิที่ชาวบ้านพึงมีพึงใช้เพื่อรักษาประโยชน์ของตนเอง ซึ่งถือเป็นการใช้กระบวนการทางศาลในการกลั่นแกล้งประชาชน

ในการฟ้องSLAPP แต่ละครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นการฟ้องในคดีหมิ่นประมาทและมีการเรียกร้องค่าเสียหายให้ชาวบ้านต้องจ่ายในราคาแพง แม้บางคดีบริษัทจะมีการถอนฟ้องในภายหลัง แต่ช่วงที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีนั้นก็สร้างความยากลำบากให้แก่ชาวบ้านอย่างมหาศาลเช่นกัน เพราะทำให้ชาวบ้านสูญเสียทั้งเวลา ทุนทรัพย์ และส่งผลต่อด้านจิตใจด้วย มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีมักมีที่มาจากประเด็นประโยชน์สาธารณะ เมื่อมีการเคลื่อนไหวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสาธารณะ และกลุ่มผู้มีอำนาจไม่ต้องการให้ประชาชนรับทราบข้อมูลหรือวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้น เมื่อมีชาวบ้านออกมาเคลื่อนไหวก็จะถูกฟ้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาล โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการชนะคดี แต่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความยุ่งยากให้แก่ชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านเสียเวลา เสียเงิน เพราะการถูกดำเนินคดีแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งในเรื่องของค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าอยู่ ค่าใช้จ่ายในการดูแลทนายความ รวมถึงผลทางด้านจิตใจ คือ เสียสุขภาพจิต เสียกำลังใจ เป็นการข่มขู่ ข่มขวัญ ให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวและไม่กล้าออกมาต่อสู้คัดค้านดังเดิม ซึ่งเป็นการทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวและป้องกันชาวบ้านคนอื่นจะลุกขึ้นมาแสดงการต่อต้าน เนื่องจากเขาเห็นผลเสียจากการถูกดำเนินคดีแล้ว อีกทั้งขัดขวางเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทำให้ชาวบ้านไม่กล้าพูดหรือแสดงออก ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ เพราะกลัวว่าตนเองจะถูกดำเนินคดี กลัวว่าจะติดคุก คล้ายๆ กับเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดูนั่นเอง ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการขัดขวางไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยืนยันสิทธิของตนเอง

หนึ่งตัวอย่างของความโหดร้ายจากการที่ชาวบ้านถูกฟ้องSLAPP คือ กรณีการขึ้นศาลนัดสืบพยานของชาวบ้านที่ จ.เลย ในคดีที่อัยการเป็นโจทก์โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง (ส.อบต.เขาหลวง)
16 คน เป็นโจทก์ร่วม ฟ้องนางพรทิพย์ หงชัย กับพวกรวม 6 คน ในฐานความผิดร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายโดยร่วมกันกระทำตั้งแต่สามคนขึ้นไป, ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ และทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น โดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป, ร่วมกันทำให้ผู้อื่นกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จากเหตุการณ์ปาเก้าอี้ในที่ประชุมสภา อบต.เขาหลวง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 จากความขัดแย้งกรณีเหมืองทองขอต่ออายุหนังสืออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดยในการนัดสืบพยานครั้งนี้ใช้เวลาร่วมกว่า 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 7 - 10 พฤศจิกายน 2560 โดยใน 2 วันแรกเป็นการสืบพยานฝ่ายโจทก์ ซึ่งใช้เวลาในการสืบพยานตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงคืน และ 2 วันหลังเป็นการสืบพยานฝ่ายจำเลย แต่การสืบพยานดำเนินไปได้เพียง 3 วัน ทนายจำเลยขอเลื่อนนัดสืบพยานที่เหลือไปเป็นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 จะเห็นว่าการนัดสืบพยานครั้งนี้ใช้เวลาในการสืบพยานอย่างยาวนาน ทำให้ชาวบ้านต้องเวลาและเสียเงินจำนวนมาก อีกทั้งยังเกิดความเหนื่อยล้าเนื่องจากบางวันสืบพยานจนถึงเที่ยงคืน จนชาวบ้านนิยามการขึ้นศาลในครั้งนี้ว่า "ชีวิตติดศาล" เพราะชาวบ้านใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ศาลจนแทบไม่ได้กลับบ้านเลย

กล่าวได้ว่า บริษัทมีกลวิธีอันชาญฉลาดที่เลือกใช้กระบวนการดำเนินคดีทางศาลมาใช้เป็นอาวุธในการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นการระงับไม่ให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนลุกขึ้นมาต่อต้านหรือขัดขวางการดำเนินโครงการของบริษัท สุดท้ายก็ได้แต่ตั้งความหวังว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายในการคัดกรองคดีที่ฟ้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในลักษณะที่เป็นการกลั่นแกล้งมาบังคับใช้อย่างจริงจัง อย่างน้อยก็เพื่อการคืนสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่พวกเขา

-------------------------------

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://getcookie.com/p/aopmqlR1b

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก ประชาไท

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >