หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 57 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

อุ้ม(หาย)ไปไหน ? : สนธยา ตั้วสูงเนิน พิมพ์
Tuesday, 15 August 2017

จากวารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ ๑๐๔ (พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๐)

  


อุ้ม(หาย)ไปไหน ?


สนธยา ตั้วสูงเนิน

ฝ่ายสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ยส. 

 



สืบเนื่องจากการที่มีโอกาสได้ไปร่วมงาน "รำลึกความทรงจำการหายตัว นายเด่น คำแหล้" เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงประวัติและการต่อสู้ของนายเด่น คำแหล้ และสะท้อนปัญหาของการถูกบังคับให้สูญหายให้สังคมได้ทราบ ซึ่งเป็นที่มาของบทความนี้ มีการเก็บข้อมูลโดย Protection International (PI) ทำให้ทราบว่า ในรอบ ๒๐ ปี ที่ผ่านมา มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกลอบสังหารหรือสูญหายแล้วกว่า ๕๙ ราย อีกทั้งในรอบ ๓ ปี ที่ผ่านมา มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นชาวบ้านถูกดำเนินคดีกว่า ๑๗๐ คน

และตั้งแต่มีการรัฐประหาร สถานการณ์การคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนพุ่งสูงขึ้นจากที่ผ่านมากว่า ๕๐๐ ครั้ง มีนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่ไร้ที่ดินทำกิน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนจนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด ถูกกระทำด้วยความรุนแรงหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการถูกจับเพื่อนำไปปรับทัศนคติ การถูกปลดออกจากงาน หรือการสูญเสียรายได้ การรณรงค์ป้ายสีว่านักปกป้องสิทธิฯ เป็นศัตรูของชาติ เป็นผู้ทรยศหรือเป็นผู้ที่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของต่างชาติ การใช้กฎหมายในการกลั่นแกล้งทั้งจากบริษัทเอกชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ซึ่งในบางกรณีก็เป็นการใช้อำนาจจากเจ้าหน้าที่รัฐในระดับประเทศอีกด้วย ในช่วงเร็วๆ นี้ ชื่อของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกบังคับให้สูญหายหรือถูกทำให้ตาย ที่เราพอคุ้นหูอยู่บ้างก็มีจำนวนไม่น้อย

เด่น คำแหล้ นักปกป้องสิทธิในที่ดินทำกินชุมชนโคกยาว อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ได้หายตัวไปขณะที่เข้าไปเก็บหาของป่าตามปกติ เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๙ จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการหายตัวไปได้ แม้จะมีการพบพยานหลักฐานต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายเด่น แต่ก็ต้องรอขั้นตอนในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ซึ่งต้องใช้เวลานาน หรือย้อนกลับไปเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๗ บิลลี่ หรือ พอละจี รักจงเจริญ ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจับกุมตัวและนำตัวไปสอบสวนโดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดหลังจากที่บิลลี่เข้าไปเก็บน้ำผึ้งป่า จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ทราบชะตากรรมของบิลลี่เช่นกัน ซึ่งเป็นเวลาล่วงมากว่า ๔ ปีแล้วจนถึงปัจจุบันที่บิลลี่หายตัวไป

มึนอ หรือ พิณนภา พฤกษาพรรณ และสุภาพ คำแหล้ ผู้หญิง ๒ คน ต่างวัย ต่างที่มา แต่มีสิ่งหนึ่งที่พวกเธอเหมือนกัน คือ สามีของพวกเธอถูกบังคับให้สูญหาย โดยที่ในขณะนี้ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าสามีของพวกเธอมีชะตากรรมเป็นเช่นใดบ้าง การหายไปของบุคคลผู้เป็นคู่ชีวิตก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตของเธอทั้งสองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกการเสียชีวิตหรือการหายตัวไปล้วนส่งผลกระทบต่อครอบครัวของพวกเขาทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งเพราะบุคคลเหล่านี้ดำรงฐานะเป็นเสาหลักของครอบครัว หลังการหายตัวไปของผู้ที่เป็นสามี พวกเธอต้องเผชิญกับความยากลำบากในการใช้ชีวิต ต้องแบกรับภาระที่หนักขึ้น

มึนอต้องแบกภาระในการดูแลลูกๆ ถึง ๕ คน หวาดกลัวไม่กล้าไว้ใจใคร นางสุภาพขาดเพื่อนคู่คิด เพราะหลังจากตกลงแต่งงานกับนายเด่นก็ใช้ชีวิตร่วมกันมาเพียงแค่ ๒ คน การหายตัวไปของทั้งบิลลี่และนายเด่นอย่างไม่รู้ชะตากรรม ความหวังที่จะได้เจอเขาทั้ง ๒ คน ก็ลดน้อยลงตามไปด้วย แม้วันนี้ความหวังที่มึนอและนางสุภาพจะได้เจอสามีลดน้อยลงจนแทบไม่เหลือ แต่ความหวังที่จะได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมยังคงมีอยู่ เพราะเรายังเห็นว่าเธอทั้งสองคนยังคงสู้และพยายามเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ตัวเองเรื่อยมา

"ธรรมชาติของคนเป็นผัวเมียกัน มันก็ต้องคิดถึงกันเป็นธรรมดา" คำพูดของนางสุภาพ ที่ยังดังอยู่ในห้วงความรู้สึก มันสะท้อนให้เห็นภาพของการขาดองค์ประกอบสำคัญในครอบครัวได้อย่างชัดเจน เพราะหากเราจะหานิยามของคำว่า ‘ครอบครัว' หลายคนคงให้ความเห็นที่คล้ายกันว่า ครอบครัว คือ การมีคนอยู่ร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เป็นการอยู่ร่วมกันของคนที่มีความรัก ความอบอุ่น ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน อยู่แล้วรู้สึกสบายกาย สบายใจ สำหรับนางสุภาพหลังจากที่นายเด่นหายตัวไปก็ต้องใช้ชีวิตเพียงลำพัง เมื่อเหลือเพียงคนเดียวเรายังสามารถเรียกว่าครอบครัวได้อีกหรือ?

ในขณะที่ครอบครัวของบิลลี่ตลอดระยะเวลากว่า ๔ ปี เด็กๆ ทั้ง ๕ คน เติบโตมาโดยที่ไม่มีพ่อของพวกเขาอยู่ด้วย ในพื้นฐานของความเป็นครอบครัว ลูกควรเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความรักความอบอุ่น ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากทั้งพ่อและแม่ เด็กๆ ควรเติบโตมาโดยที่พวกเขาไม่รู้สึกว่าขาดสิ่งใด เพราะเรามีความเชื่อว่าหากเด็กได้เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่สมบูรณ์และอบอุ่น ท่ามกลางความรักจากพ่อและแม่ย่อมส่งผลในทางที่ดีต่อจิตใจของเด็ก และเด็กจะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพที่ดีในอนาคตได้ แม้ว่าทั้งสองคนอาจเจอรูปแบบปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัวในแบบที่ต่างกัน แต่สุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับครอบครัวของเธอทั้งสอง ทำให้ครอบครัวกลายเป็นครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่เคยเป็นมา 

ณ ตอนนี้ สิ่งที่พวกเธอยังคงคาดหวัง คือ การทราบความจริงว่าสามีของพวกเธอหายไปไหน หายไปได้อย่างไร ใครเป็นคนทำ แม้คำตอบที่จะได้รับเกี่ยวกับสถานะของผู้เป็นสามี อาจจะเป็นสิ่งที่พวกเธอไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ตาม แต่เชื่อว่าพวกเธอเองก็คงมีการเตรียมใจกับคำตอบมาบ้างแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งหากมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตรงนี้ได้อย่างชัดแจ้งโปร่งใส เจ้าหน้าที่มีความจริงใจและตระหนักถึงปัญหาที่พวกเธอกำลังแบกรับ และแสดงความจริงใจในการช่วยเหลือและรีบเร่งหาความจริง ก็คงเป็นการคืนความเป็นธรรมให้แก่เธอทั้งสองได้บ้าง แม้ไม่อาจเทียบเท่ากับสิ่งที่พวกเธอได้สูญเสียไปเลยก็ตาม

การบังคับบุคคลให้สูญหายถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพราะถือเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิในชีวิต ร่างกาย การกระทบกระเทือนถึงจิตใจ ปัญหาการถูกบังคับให้สูญหายในประเทศไทย จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างเร่งด่วน เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่มีฐานความผิดมารองรับการกระทำ ดังนั้น เมื่อเกิดการบังคับบุคคลให้สูญหายเกิดขึ้น เราจึงไม่สามารถเอาผิดกับใครได้ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายที่มากำหนดฐานความผิดนี้ไว้

"การบังคับบุคคลให้สูญหาย" หมายความว่า การจับกุมคุมขังลักพาหรือกระทำการด้วยประการใด ที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพในร่างกายต่อบุคคล ซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับคำสั่ง การสนับสนุน หรือการรู้เห็นเป็นใจจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีการปฏิเสธว่ามิได้มีการจับกุม คุมขัง ลักพา หรือกระทำการด้วยประการใดที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพในร่างกายของบุคคลนั้น หรือปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลนั้น [๑]

จากความหมายนี้ เราสามารถตีความความหมายของการบังคับบุคคลให้สูญหายได้ว่า ๑. มีการบังคับบุคคลให้สูญหายโดยการจับ การควบคุมตัว การลักพาตัว หรือการกระทำอย่างอื่น  ๒. การกระทำเช่นว่านั้นเป็นการทำให้บุคคลนั้นสูญเสียอิสรภาพในตนเอง ๓. เป็นการกระทำโดยใช้อำนาจโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ มีความเกี่ยวข้อง รู้เห็นเป็นใจต่อการกระทำนั้น  ๔. มีการปฏิเสธการกระทำหรือไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของบุคคลนั้น นอกจากนี้ยังมีลักษณะสำคัญอีกประการของการบังคับให้สูญหาย คือ บุคคลต้องถูกบังคับให้ต้องตกอยู่นอกความคุ้มครองของกฎหมายหรือตกอยู่ในสถานะที่ไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ตามกฎหมายได้ [๒] ทำให้ญาติของบุคคลที่สูญหายไม่อาจยกสิทธิใดๆ มาอ้างเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เพราะยังไม่ทราบชะตากรรมที่แน่ชัดของบุคคลผู้สูญหาย

ปัจจุบัน หากมีการบังคับให้สูญหายเกิดขึ้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรม ส่งผลให้ครอบครัวของผู้สูญหาย ไม่ได้มีสถานะเป็นผู้เสียหาย เพราะไม่มีหลักฐานว่าผู้ที่สูญหายได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแล้ว ทำให้ครอบครัวของผู้สูญหายไม่สามารถเรียกร้องสิ่งใดหรือจัดการกับทรัพย์สินใดๆ ของผู้สูญหายได้ จนกว่าจะขอให้ศาลสั่งว่าเป็นคนสาบสูญ ซึ่งต้องรอให้ครบระยะเวลา ๕ ปี หรือ ๒ ปี ในกรณีที่มีเหตุการณ์พิเศษ และในระหว่างที่ยังไม่มีการออกกฎหมายเพื่อรองรับการกระทำความผิดนี้ ก็อาจจะเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบต่อไปได้

การหายตัวไปของบิลลี่และพ่อเด่น รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอีกหลายคนที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ สะท้อนให้เห็นถึงความหละหลวมของกฎหมายและการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ สืบเนื่องมาจากในประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่รองรับสำหรับการกระทำความผิดในข้อหาการบังคับบุคคลอื่นให้สูญหายอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น เมื่อเกิดกรณีที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหายตัวไป ทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เพราะไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

หลังจากที่นายเด่นหายตัวไป นางสุภาพก็เข้าแจ้งความเพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยดำเนินการค้นหา แต่เจ้าหน้าที่ก็ปฏิเสธโดยอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ในการช่วยติดตามค้นหาและตั้งข้อสันนิษฐานให้เพียงว่านายเด่นอาจจะถูกสัตว์ป่าทำร้าย หรือในกรณีของบิลลี่ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า มึนอไม่สามารถแจ้งความได้ เนื่องจากมึนอไม่ได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น มึนอจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย อีกทั้ง คนที่จับตัวบิลลี่ไป ก็คือ เจ้าหน้าที่อุทยาน ซึ่งทำให้การตรวจสอบยากขึ้นไปอีก แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะอ้างว่าปล่อยตัวบิลลี่มาแล้วก็ตาม

จาก ๒ กรณี มีความเหมือนกันในลักษณะของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คือ ไม่ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือ หากจะย้อนดูถึงสาเหตุของข้ออ้างนี้จริงๆ ก็คงจะย้อนมาที่โครงสร้างทางกฎหมายที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับ หากในประเทศไทยมีกฎหมายมารองรับ แม้จะแก้ปัญหาการอุ้มหายในประเทศไทยไม่ได้ทั้งหมด แต่หากเกิดกรณีการอุ้มหายเกิดขึ้น อย่างน้อยครอบครัวของผู้ถูกอุ้มหายก็ยังมีหนทางในการได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้บ้าง หรือในกรณีที่เกิดการสูญหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่เองก็อาจยังมีช่องทางให้ทำการตรวจสอบ ติดตามได้ 

แม้จะมีความพยายามในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพพยายามผลักดันในเรื่องนี้มาโดยตลอด อีกทั้งยังมีการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐเรื่อยมา แต่ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็มีการชะลอการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างไม่มีกำหนด โดยให้เหตุผลว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ใช้บังคับแล้ว โดยมีมาตรา ๗๗ ว่าด้วยเรื่องของการออกกฎหมายใหม่ที่จำกัดกรอบและเพิ่มขั้นตอนในการออกกฎหมายให้ยุ่งยากขึ้นไปอีก โดยก่อนการออกกฎหมายใดๆ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ประกอบในการพิจารณาร่างกฎหมายในทุกขั้นตอน ส่งผลให้จากเดิมที่เรากำลังจะมีกฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ เราจึงต้องกลับมาร่างกฎหมายฉบับนี้และยื่นเพื่อการพิจารณาใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นการทอดเวลาออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำลายความหวัง หรือสร้างความหวาดหวั่นให้แก่มึนอและนางสุภาพเลย เพราะเรายังเห็นเธอทั้งสอง แสดงความเข้มแข็งออกมาเสมอ

"พอใจและภูมิใจที่พ่อเด่นไปต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิทำกิน แม่เองก็ไม่ได้ขัดขวาง เพราะว่าไปเพื่อพี่น้อง ถึงตัวเองจะไม่มีลูกก็ช่าง ได้สิทธิในที่ดินมาแล้วไม่มีผู้รับมรดกก็ช่าง แต่ขอให้พี่น้องได้มีอยู่มีกิน เพราะบางคนที่มีลูก จะได้มีสืบไว้ให้ลูกให้หลานต่อไป" สุภาพ คำแหล้
"จากที่ได้รับฟังเรื่องราวของพ่อเด่น ทำให้รู้สึกว่า ทำไมนะ? บนโลกนี้ เหมือนคนดีๆ ไม่มีที่อยู่ แต่คนที่ไม่ดีมีที่อยู่มากมาย รู้สึกว่าตัวเองมีที่ยืนอยู่แค่นิดเดียว และรู้สึกว่าบิลลี่ พ่อเด่น หรือชัยภูมิ การกระทำที่เกิดขึ้นกับเขา รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่คล้ายๆ กัน ไม่แตกต่างกันเลย เกิดขึ้นจากการที่พวกเขาเรียกร้องสิทธิที่พวกเขาควรจะได้รับ อยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าคนทำดี ปล่อยให้เขาได้มีที่ยืนอยู่ต่อไปได้ไหม? ไม่ต้องทำให้เขาหายจากไปได้ไหม?" มึนอ พิณนภา พฤกษาพรรณ

การยอมรับในชะตากรรมที่ต้องเผชิญ หญิงคนหนึ่งอาจยังโชคดีกว่าหญิงอีกคนหนึ่ง เพราะแม้ว่าเธอจะสูญเสียสามีไป แต่เธอก็ยังคงเหลือลูกๆ ทำให้เธอไม่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว และลูกๆ ก็เปรียบเสมือนสิ่งแทนใจของสามีที่พอจะทำให้เธอรู้สึกเหมือนว่ายังมีสามีอยู่ข้างๆ ตลอดเวลา ต่างจากอีกคนที่ไม่มีใครเลย เธอต้องใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง ดำเนินชีวิตด้วยตัวคนเดียว แม้เธอจะแข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้ต่ออะไรง่ายๆ เธอทำให้ทุกคนเชื่อว่าเธอสามารถอยู่ได้โดยลำพัง แต่หากวันใดที่เธอรู้สึกเหนื่อยล้าหรือต้องการกำลังใจ แต่เธอกลับไม่พบคนที่เคยอยู่เคียงข้าง วันนั้นคงเป็นวันที่โหดร้ายสำหรับเธอจนเราไม่อาจคาดเดาความรู้สึกได้ สุดท้ายเราต่างก็มีความหวังว่าในวันหนึ่งกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายจะถูกใช้บังคับเสียที เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต และเพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ครอบครัวของผู้สูญหายโดยเร็ว อย่างน้อยเพื่อให้ครอบครัวของบุคคลเหล่านั้นได้รับความเป็นธรรมกลับคืนมาบ้าง



[๑] ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ.... ฉบับแก้ไขล่าสุด ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการ คุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘

[๒] โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw). (มิถุนายน ๒๕๕๖). เข้าใจความหมายของการ "อุ้มหาย" เขียนกฎหมายให้แก้ปัญหา. จากเว็บไซต์ : https://ilaw.or.th/node/2818

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >