หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ฉัน และ ก๊ะ กับยะลาที่ฉันเห็น : สนธยา ตั้วสูงเนิน
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 184 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ฉัน และ ก๊ะ กับยะลาที่ฉันเห็น : สนธยา ตั้วสูงเนิน พิมพ์
Wednesday, 17 May 2017


จากวารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 103 (มกราคม - เมษายน 2560)

  


ฉัน และ ก๊ะ กับยะลาที่ฉันเห็น

 
สนธยา ตั้วสูงเนิน
ฝ่ายสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ยส. 

 



"ไปยะลา ไม่กลัวเหรอ? " "มันน่ากลัวนะ จะไปจริงๆ เหรอ?"

คำถามเดิมซ้ำๆ จากหลายๆ คนที่รู้ว่าเรากำลังจะไปยะลาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า แน่นอนว่าสาเหตุของการตั้งคำถามเหล่านี้ คงหนีไม่พ้นประเด็นเรื่องปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นตัวกำหนดให้ภาพลักษณ์ของภาคใต้ดูน่ากลัว และยะลาเองก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น จึงไม่แปลกที่หลายๆ คนจะเกิดความกังวลและห่วงใยในการเดินทางไปยะลาของเราครั้งนี้ หลายคนรับรู้เรื่องราวของยะลาผ่านทางสื่อจากข่าวต่างๆ ผ่านคำบอกเล่าที่สะท้อนมุมมองให้เห็นว่ายะลาเป็นพื้นที่อันตราย รวมถึงตัวเราด้วย

ก่อนที่เราจะได้มาสัมผัสกับยะลาด้วยตัวเอง เราก็เรียนรู้ยะลาจากสื่อและข่าวต่างๆ ที่ไม่ว่ากี่ครั้งก็จะถูกนำเสนอในประเด็นข่าวว่ามีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่แทบไม่เว้นแต่ละวัน แต่แปลก ที่เรากลับไม่ได้รู้สึกกลัว ที่ไม่รู้สึกเช่นนั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเราไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เรารู้สึก คือ เราอยากหาโอกาสไปจังหวัดชายแดนภาคใต้สักครั้ง จังหวัดไหนก็ได้ เราแค่อยากไปดู ไปสัมผัส เราอยากรู้ว่ามันน่ากลัวแบบที่ได้ยินมาหรือเปล่า และวันนี้เราก็มีโอกาสแล้ว เรากำลังจะได้ไปยะลา

เมื่อเข้าสู่ตัวเมืองยะลา สัมผัสแรกที่รู้สึกได้ คือ ยะลาดูเงียบสงบมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะช่วงที่ไปตรงกับวันตรุษจีน ห้างร้านบางส่วนปิดทำการ ทำให้ยิ่งรู้สึกว่าเงียบกว่าเดิม    

"ช่วงตรุษจีนมันก็เงียบแบบนี้แหละ เถ้าแก่ร้านเป็นคนจีนก็ต้องปิดร้านไปไหว้เจ้า ลูกจ้างที่เป็นมุสลิมเลยได้หยุดงานไปด้วย แต่ถ้าถึงวันสำคัญของมุสลิม เถ้าแก่เขาก็หยุดงานให้เรานะ"

 เสียงบอกเล่าจากคนในพื้นที่ แค่ประโยคสั้นๆ ก็ทำให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ของคนที่นี่ได้ในระดับหนึ่ง และนี่เองที่ทำให้เราเห็นถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมที่ผู้คนอยู่อาศัยร่วมกันอย่างเข้าใจและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เราเห็นว่าพวกเขาเลือกที่จะหาทางมาเจอกันระหว่างกึ่งกลางของความเป็นพหุวัฒนธรรม ทุกศาสนา ทุกวัฒนธรรม เข้าใจซึ่งความเป็นอัตลักษณ์ของกันและกัน และหาจุดร่วมกันอย่างลงตัว

เถ้าแก่ที่เป็นนายจ้างมีความเข้าใจในศาสนาและวัฒนธรรมของลูกจ้างที่เป็นคนมุสลิม เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา เถ้าแก่ก็อนุญาตให้ลูกจ้างหยุดงานได้ โดยไม่ได้ห่วงว่าตัวเองจะเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือวันตรุษจีนที่เป็นวันสำคัญของเถ้าแก่ เถ้าแก่ก็ให้ลูกจ้างหยุดงานได้ อีกทั้งยังมีอั่งเปาและของกินมากมายที่เตรียมเผื่อไว้สำหรับลูกจ้างด้วย บ่งบอกให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซ้อนทับกัน คือนอกจากเป็นนายจ้างกับลูกจ้างแล้ว พวกเขายังเหมือนเป็นพี่เป็นน้องกันด้วย

เราใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง และสุดท้ายเราก็มาจบที่การได้ไปไหว้ศาลหลักเมือง ระหว่างที่เดินทางไปศาลหลักเมือง เราได้พบเจอและพูดคุยกับคนยะลามากขึ้น คุณป้าที่บังเอิญเจอกันบนรถตุ๊กๆ ที่พูดคุยและบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองตลอดเส้นทางที่นั่งรถตุ๊กๆ ไปยังศาลหลักเมือง จนเกือบลืมไปว่าเราเพิ่งเจอกันครั้งแรก ลุงคนขับรถตุ๊กๆ ที่แสนจะใจดี ที่ให้เบอร์ติดต่อพร้อมกับบอกว่า "ถ้าอยากไปไหนโทรหาลุงนะ ที่นี่ไม่ค่อยมีรถประจำทาง ราคาเป็นกันเอง"  หลังจากไหว้ศาลหลักเมือง ขากลับเราถือโอกาสเดินเล่นรอบเมือง ตอนเดินผ่านสวนสาธารณะ เราเห็นพ่อแม่พาลูกมาพักผ่อน เห็นผู้คนพากันมาออกกำลังกาย เห็นความสะอาดตลอดเส้นทางที่เดินกลับที่พัก บนทางเดินเท้าหรือพื้นที่ข้างถนนแทบจะไม่เห็นขยะถูกทิ้งเกลื่อนกลาด ต้นไม้ตามข้างทางถูกตัดแต่งกิ่งอย่างสวยงามและเป็นระเบียบ บ่งบอกให้รู้ว่าได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ

และอีกเรื่องราวที่รู้สึกประทับใจ คือ ร้านนวดที่เรามีโอกาสได้เข้าไปใช้บริการ เราประทับใจตั้งแต่หน้าประตูร้านไปจนถึงห้องนวด ตั้งแต่ก้าวเท้าเข้าไปในร้าน เจ้าของร้านให้การต้อนรับอย่างดีและพูดคุยด้วยความเป็นมิตร พนักงานในร้านทุกคนดูสุภาพและอ่อนน้อม พูดจาน่ารัก เป็นกันเอง หลังจากที่เราเข้าไปในห้องนวด พี่ที่เป็นคนนวดให้เราก็พูดคุยกับเราก่อนที่จะเริ่มนวด

"เดี๋ยวก๊ะจะทำแบบนี้ก่อน ก๊ะจะนวดตรงนี้ก่อน ปวดตรงไหน? อยากให้ก๊ะเน้นตรงไหนไหม? เข้าใจคำว่าก๊ะไหม?  ‘ก๊ะ' ที่นี่แปลว่า พี่สาว แต่ถ้าไม่เข้าใจ พี่แทนตัวเองว่าพี่ก็ได้นะ" อาจเพราะเห็นว่าเราเป็นคนต่างถิ่น หรือเพราะเราเงียบไม่ตอบคำถาม พี่เขาเลยกลัวว่าเราจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด และพยายามที่จะปรับตัวเข้าหาเรา

"เข้าใจค่ะ พี่พูดแบบที่เคยพูดเลยค่ะ หนูเข้าใจ" เราไม่ได้ตอบเพื่อให้พี่เขาสบายใจ แต่เราตอบเพราะเรารู้สึกแบบนั้นจริงๆ เราชอบพี่เขาตอนที่เป็นตัวเองมากกว่า เราชอบตอนที่พี่เขาแทนตัวเองว่า ‘ก๊ะ' เราพูดคุยกันไปเรื่อยเปื่อย แล้วจู่ๆ พี่เขาก็มีคำถามที่ทำให้เราเองก็รู้สึกชะงักขึ้นมา

"ที่นี่น่ากลัวไหม?"  "มายะลาแล้วรู้สึกอย่างไร?"  พี่เขาบอกเราว่า เขาถามคำถามนี้กับทุกคนที่มาจากที่อื่น แต่พี่เขาไม่ได้บอกเราหรอกว่าคนอื่นตอบกลับมาว่าอย่างไรบ้าง แต่สำหรับเรา เรายิ้มให้พี่เขาก่อนที่จะตอบคำถามออกไป "ไม่กลัวค่ะ หนูกลับรู้สึกชอบที่นี่ด้วยซ้ำ ที่นี่ดูสงบ สะอาด ผังเมืองสวย และหนูอยากกลับมาที่นี่อีก"

และในช่วงเวลาที่เรามายะลา มีข่าวคราวน้ำท่วมทางภาคใต้หลายจังหวัดแล้ว แม้จะมีข่าวว่าน้ำเริ่มลดลงบ้างแล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่แน่นอน เสียงจากหลายๆ คนบอกเล่าว่าที่บ้านของตัวเองก็โดนน้ำท่วม พอน้ำแห้ง ทำความสะอาดบ้านเสร็จเรียบร้อย น้ำรอบใหม่ก็มาอีก เป็นแบบนี้วนไปซ้ำๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติ หลายคนเล่าให้ฟังแบบติดตลก อาจเป็นเพราะเคยชิน ด้วยสภาพภูมิอากาศและพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับหน้าฝนแทบจะตลอดทั้งปี ปัญหาน้ำท่วมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราไม่ได้เครียดเรื่องน้ำท่วมกันแล้ว แต่เราเครียดเรื่องการหาวิธีเก็บของหนีน้ำเวลาน้ำมาดีกว่า ว่าจะเก็บอย่างไรให้เร็วและเสียหายน้อยที่สุด

ขนาดรู้แบบนี้ เราก็ยังกล้าถามคำถามที่เราเองก็พอจะรู้คำตอบอยู่แล้วออกไป "ที่บ้านก๊ะน้ำท่วมไหมคะ"

"ท่วมจ้ะ ที่นาและสวนยางก็โดนน้ำท่วมเกือบมิดหัว ทำนาก็ไม่ได้ กรีดยางก็ไม่ได้ ก๊ะเลยคิดว่าอยากเรียนนวดเพื่อให้มีงานทำ และจะได้เอาไว้นวดเวลาอยู่ที่บ้าน อย่างน้อยก็ยังทำให้มีรายได้บ้าง ก๊ะขับรถจากบ้านที่อยู่อีกอำเภอหนึ่งเพื่อมาทำงานที่ร้าน" จากคำตอบของก๊ะ ทำให้เรายิ่งเห็นภาพว่าคนที่นี่เผชิญอะไรบ้าง ทั้งปัญหาความไม่ปลอดภัย ปัญหาน้ำท่วม การขาดอาชีพ และอีกต่างๆ นานา แต่เรากลับเห็นแววตาที่ไม่ได้แสดงถึงความหวาดกลัว ความท้อแท้ ตรงกันข้าม พวกเขาเองก็มีความเข้มแข็ง พยายามดิ้นรนและหาทางออกให้กับตัวเองเสมอ ก๊ะยังบอกอีกว่า "มันต้องทำ ต้องพยายามหาทาง เพราะเราต้องกินต้องใช้กันทุกวัน จะให้อยู่เฉยๆ แล้วรอกลับไปทำนา ทำสวนยางอีก ก็คงได้อดตาย"

ความเงียบครอบคลุมเราอยู่พักหนึ่งก่อนที่เสียงของก๊ะจะดังขึ้นมา "อายุยังน้อยๆ กันอยู่เลย ก็เจ็บก็ปวดกันแล้ว เราต้องระวังนะเรื่องอาหารการกิน กินของที่มีประโยชน์ กินผักกินผลไม้ กินนม อย่าไปกินมากนะ พวกอาหารสำเร็จรูป อาหารในร้านสะดวกซื้อ ก๊ะเข้าใจนะว่ามันสะดวกกับเราในช่วงวัยทำงาน แต่กินมากๆ มันก็ไม่ดีเหมือนกัน ยิ่งเป็นผู้หญิง โรคภัยต่างๆ มันเยอะ ตอนนี้เราอาจจะคิดว่าไม่เป็นอะไร แต่พอแก่ตัวไป อาการมันจะออกชัดเจนเลย" คำพูดที่เราเคยได้ยินมาบ่อยครั้ง และนี่เป็นอีกครั้งที่เราได้ยิน มันเป็นคำพูดที่รับรู้ได้ว่าก๊ะพูดเพราะหวังดี

"ก๊ะมีลูก ๔ คน เห็นก๊ะตัวเล็กๆ แต่เป็นคุณแม่ลูกดกนะ" พูดเสร็จแล้วก็ทำท่าเขินอาย

"ลูกคนโตเรียนจบเมื่อปีที่แล้ว เขาจะรับปริญญาปีนี้แหละ" ก๊ะดูมีกำลังใจเวลาที่ได้พูดถึงลูกตัวเอง

เราเล่าเรื่องราวของกรุงเทพฯ และที่อื่นๆ ให้ก๊ะฟังบ้าง เวลาที่ก๊ะถาม และมันเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า ก๊ะอยากมีโอกาสไปที่นี่ ที่นั่นบ้าง ก๊ะดูสนใจเวลาที่เราเล่าถึงที่ต่างๆ เหมือนกับที่เราสนใจฟังสิ่งที่ก๊ะพูด เรากับก๊ะมีเวลาอยู่ด้วยกันหนึ่งชั่วโมงครึ่ง และเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงครึ่งนี้ เราได้แลกเปลี่ยนอะไรซึ่งกันและกันหลายอย่าง ก๊ะบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้เราฟัง ก๊ะดูผ่อนคลายเวลาที่พูดคุย เหมือนก๊ะต้องการแค่คนรับฟัง คนที่ร่วมพูดคุย ก๊ะแค่อยากบอกเล่าเรื่องราวของเขาให้ใครสักคนรับรู้ และมันบังเอิญที่เราเองก็อยากฟังเช่นกัน ‘ก๊ะ' ที่แปลว่าพี่สาว ก๊ะคนที่เรายังไม่รู้จักชื่อด้วยซ้ำ แต่มิตรภาพก็สามารถเกิดขึ้นโดยที่เราไม่จำเป็นต้องรู้จักชื่อของกันและกัน

ก่อนที่เราจะออกจากร้าน ก็ได้รับคำแซวจากเจ้าของร้านให้ได้พอยิ้มๆ ให้กันบ้าง "อยู่กรุงเทพฯ แต่มานวดไกลถึงยะลา เราดีใจจริงๆ ที่ได้ให้การต้อนรับ" ก่อนที่จะปิดร้านและเราต่างก็แยกย้ายกันไป

ตลอดเวลาที่อยู่ที่ยะลา เรารับรู้ได้ว่าคนที่ยะลามีความน่ารัก พวกเขาดูมีกำลังใจ ดูเข้มแข็ง และยินดีที่รู้ว่าเราเข้าใจและไม่ได้รู้สึกหวาดกลัว การที่มีคนจากข้างนอกเข้าไปในพื้นที่ มันเหมือนกับการที่เราเข้าไปเยี่ยมเยียนพวกเขา ทำให้พวกเขารู้ว่ายังมีเราอยู่ข้างๆ เรายังคอยเป็นกำลังใจและห่วงใยเขาทุกครั้งที่ได้ยินข่าวว่าพวกเขากำลังเผชิญกับอันตราย การไปยะลาครั้งนี้ทำให้เรารู้สึกชอบยะลามากขึ้นกว่าเดิม เราชอบผังเมืองที่เป็นวงกลม ที่ถนนทุกสายมุ่งหน้าตรงสู่ใจกลางของจังหวัดที่เป็นแหล่งรวมของศูนย์ราชการ เราชอบคนที่นี่ เราชอบก๊ะคนที่เรายังไม่ทันได้รู้จักชื่อของเธอด้วยซ้ำ และเราตั้งใจไว้ว่าเราจะต้องหาโอกาสกลับไปที่ยะลาอีกครั้งให้ได้

หาโอกาสไปสักครั้ง ไปเถอะ! ไปดู ไปรับรู้ ไปให้ยะลาได้มีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านสิ่งที่เป็นยะลาจริงๆ อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่สื่อนำเสนอ อย่าเพิ่งฟังในสิ่งที่ใครเขาบอกมาว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้น่ากลัว ลองไปสัมผัสความสงบ สัมผัสมิตรภาพที่คนยะลามอบให้ จะทำให้เราเห็นว่าจริงๆ แล้วยะลาน่าอยู่กว่าที่คิด

 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >