หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow รำพึงถึง "สารวันสันติภาพสากล" : รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 41 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

รำพึงถึง "สารวันสันติภาพสากล" : รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร พิมพ์
Wednesday, 10 May 2017

 

จากวารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 103 (มกราคม - เมษายน 2560)

 

 

รำพึงถึง "สารวันสันติภาพสากล"

รศ.ดร.วไล  ณ ป้อมเพชร

 



สารวันสันติภาพสากลในวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๒๐๑๗ ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองวันสันติภาพสากล ครั้งที่ ๕๐ ซึ่งพระองค์ทรงเน้นถึง "การเมืองที่ยึดหลักสันติวิธี คือวิถีสู่สันติภาพ" พร้อมทั้งทรงอ้างถึงพระสมณสาสน์ ‘สันติภาพในโลก' ของนักบุญยอห์น ที่ ๒๓ สมเด็จพระสันตะปาปา ผู้ทรงเน้นถึง "ความสำนึก และความรักในสันติภาพ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความยุติธรรม เสรีภาพ และความรัก" ซึ่งยังคงมีความสำคัญ และมีความจำเป็นอยู่ แม้จะล่วงเลยมาถึงห้าสิบปีแล้วก็ตาม  สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเรียกร้องให้ความรัก เมตตา และสันติวิธี เป็นสิ่งที่กำหนดวิถีที่เราแต่ละคนพึงปฏิบัติต่อกันและกันในสังคม และในประชาคมระหว่างประเทศ  ทั้งนี้เพราะโลกของเรามีความรุนแรงเกิดขึ้นทั่วไปในรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน และก่อให้เกิดความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวง การตอบโต้ความรุนแรงด้วยความรุนแรง จะนำไปสู่ความทุกข์ยากอย่างยิ่งใหญ่ และที่เลวร้ายที่สุดจะนำไปสู่ความตายทั้งทางร่างกาย และจิตวิญญาณของผู้คนจำนวนมาก

สมเด็จพระสันตะปาปายังทรงเตือนให้เรานึกถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรงดำรงชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่มีความรุนแรง  แต่พระองค์ได้ทรงเทศน์สอนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ถึงเรื่องความรักอันปราศจากเงื่อนไขของพระเจ้า พระองค์ทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ให้รักศัตรูของตน  พระองค์ทรงชี้หนทางแห่งสันติวิธี และทรงดำเนินชีวิตไปในเส้นทางนี้จนสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  ในฐานะที่เราเป็นศิษย์ของพระองค์ เราต้องยอมรับคำสอนของพระองค์เกี่ยวกับการไม่ใช้ความรุนแรง การรักศัตรูของเรา ซึ่ง "ถือได้ว่าเป็นกฎบัตรที่ยิ่งใหญ่ของสันติวิธีแบบคริสตชน"  ซึ่งมิได้เป็นความยอมจำนนต่อความชั่วร้าย หากแต่เป็นการตอบสนองความชั่วด้วยความดี (เทียบ รม ๑๒: ๑๗-๒๑)

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเตือนพวกเราว่า ความพยายามสร้างสันติภาพในนามของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความอยุติธรรม และความรุนแรง มิใช่มรดกที่พระศาสนจักรคาทอลิกสืบทอดแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นแนวทางปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในศาสนาอื่นๆ ด้วย ที่เน้นว่า "ความเมตตา และสันติวิธีเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ชี้นำวิถีชีวิต"

คำเตือนของสมเด็จพระสันตะปาปาในเรื่องนี้ ทำให้ข้าพเจ้าหวนกลับไประลึกถึงผู้นำศาสนาอื่นๆ ที่ข้าพเจ้าเคยรู้จัก และเคยร่วมงานด้วยกับบางท่าน เพื่อส่งเสริมเมตตาธรรม และสันติวิธี ในบรรดาผู้นำศาสนาที่เทศนาสั่งสอนเรื่องสันติภาพที่น่าประทับใจคือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)[๑] ผู้มีบทบาทในการสอนเรื่องการสร้างสันติภาพในโลก และสอนให้เด็กและเยาวชนมีความสุขในการให้อันก่อให้เกิดเมตตาธรรม บทเทศนาสั่งสอนของท่านในเรื่องนี้สร้างความประทับใจในระดับชาติ และนานาชาติ จนกระทั่งท่านได้รับการถวายรางวัล Education for Peace (การศึกษาเพื่อสันติภาพ) จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๙๔ (พ.ศ.๒๕๓๗)

ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจมาก ในขณะนั้น ข้าพเจ้าทำงานที่องค์การยูเนสโกในฐานะผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเพื่อสันติภาพ และได้ร่วมคณะของกระทรวงศึกษาธิการ เชิญท่านไปรับรางวัลที่กรุงปารีส  คำสั่งสอนเรื่องสันติภาพของท่านที่น่าประทับใจ เช่น: "หากเราหวังจะสถาปนาสันติภาพในโลกนี้ให้สำเร็จ เราจะต้องฝึกฝนพัฒนาตนเองให้สามารถประสบสันติสุขภายใน และความสุขที่เป็นอิสระ ด้วยความหลุดพ้นจากความใฝ่ทะยานหาสิ่งเสพบำเรอสุข ความใฝ่แสวงหาอำนาจ และบรรดาทิฏฐิที่ก่อให้เกิดความแก่งแย่ง และแบ่งแยกทั้งหลาย"

ส่วนเรื่องการศึกษาของเด็กและเยาวชน ท่านได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็ก และการศึกษาของเยาวชนโดยกล่าวว่า: "ต้องปรับให้เกิดความสมดุลในการศึกษา ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ควรจะต้องปลูกฝังจิตสำนึกในการให้ การฝึกให้รู้จักการให้จะสอนให้เด็กเกิดมีความสุขจากการให้ และก่อให้เกิดเมตตาธรรม เมตตาหรือความรักนี้ หมายถึงความปรารถนาที่จะให้คนอื่นมีความสุข ด้วยการศึกษาอย่างนี้ เราจะรู้จักมองคนอื่นเป็นเพื่อนมนุษย์ที่ร่วมสุขร่วมทุกข์ ตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเช่นเดียวกับเรา..."

นอกจากนั้น ท่านยังกล่าวถึงการเลี้ยงดูลูกๆ ของบิดามารดาว่า.. "พ่อ-แม่เลี้ยงลูกคือสร้างโลก  พ่อ-แม่เลี้ยงลูกดี เหมือนตามไปคุ้มครองโลก"  หมายความว่าทั้งบิดามารดา และครู สามารถช่วยเด็กและเยาวชนให้พัฒนาความรู้สึก ท่าที และทัศนคติต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม และต่อโลกในทางที่ดีได้  ดังที่ท่านได้บรรยายไว้ว่า.. "มองเพื่อนมนุษย์ด้วยท่าทีอย่างมิตร มีไมตรี  มองสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะธรรมชาติด้วยความรู้สึกซาบซึ้ง เห็นความงาม ความสงบ ความประณีต ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง น่ารู้ น่าศึกษา มีทีท่าของการสนองความใฝ่รู้ อยากศึกษา อยากค้นคว้าหาความจริงยิ่งขึ้นไป  มองความสัมพันธ์ของตนเองกับโลกและสังคม ด้วยท่าทีของการที่จะออกไปมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และแก้ปัญหา หรือพัฒนาทำให้ดีขึ้น"

การที่ยูเนสโกได้ถวายรางวัล "การศึกษาเพื่อสันติภาพ" แด่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นการแสดงว่า โลกได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในโลก ซึ่งตรงกับที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงย้ำเตือนเราว่า "ความพยายามสร้างสันติภาพ เป็นแนวทางปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในศาสนาอื่นๆ ด้วย"  ถ้าศาสนาทุกศาสนาพยายามสร้างสันติภาพด้วยการเทศนาสั่งสอนให้ "ความเมตตาและสันติวิธีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ชี้นำวิถีชีวิต" ตามข้อเสนอของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เราก็คงจะได้อยู่ในโลกที่ปราศจากความรุนแรง และมีสันติภาพอย่างแท้จริง

 


[๑] สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โปรดเกล้าฯ สถาปนา "พระพรหมคุณาภรณ์" ขึ้นเป็น "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" นับเป็นสมเด็จพระราชาแห่งคณะสงฆ์ไทย รูปแรกในสมัยรัชกาลที่ ๑๐        ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/802716

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ผลงานของท่านที่เป็นที่รู้จัก เช่น พุทธธรรม เป็นต้น ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยผลงานของท่านทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)


 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >