หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 161 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สิทธิมนุษยชนนำสังคมสู่สันติสุข : ป่านแก้ว ศักดิ์ศรชัย พิมพ์
Wednesday, 27 July 2016

 

 

จาก วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 70
"สันติภาพ" ดำรงอยู่ในความจริง
 

 

สิทธิมนุษยชนนำสังคมสู่สันติสุข
โดย ป่านแก้ว  ศักดิ์ศรชัย

 
           

            "สิทธิมนุษยชน" หากกล่าวว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่โลกของเราขาดไม่ได้ ก็คงจะไม่ผิดนัก แล้วสิทธิมนุษยชน เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

           หากกล่าวว่าสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ที่จะปกป้องตนเอง อาจฟังดูไม่ค่อยเข้าที แต่ถ้ามาพิจารณาดูจริงๆ แล้ว ก็คงจะมีผู้เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ไม่มากก็น้อย ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีการบัญญัติไว้ในมาตราที่ 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพที่กล่าวถึงนั้น ก็คือสิทธิมนุษยชนนั่นเอง สิทธิมนุษยชนนี้ มนุษย์ทุกคนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิทธิที่จะดำรงชีวิตของตนตามที่ต้องการ ตราบใดที่อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม แต่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ ย่อมมีทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ไม่ดี ตามธรรมดาของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด ทุกคนต้องการสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตนเอง เกิดความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ แล้วในที่สุด ก็ต้องไปเบียดเบียนของผู้อื่น จากที่มนุษย์ควรมีสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกัน เลยกลายเป็นว่า เราจะมีสิทธิ เสรีภาพในการดำรงชีวิตได้มากเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราถูกลิดรอนสิทธิของเราไปมากหรือน้อยเพียงใด

            สรุปได้สั้นๆ ง่ายๆ ว่า มนุษย์ทุกคนถูกลิดรอนสิทธิ คำว่าสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมในสังคมปัจจุบัน กลับกลายเป็นวิมานในอากาศที่ยากจะเป็นจริงได้ ปัญหานี้ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่มีอยู่นานแล้ว และปัญหานี้เอง คือเหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงมีการจัดทำร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นในปีคริสตศักราช ๑๙๔๘ แต่เพียงแค่ลายเซ็นของผู้นำประเทศบนกระดาษแผ่นหนึ่ง เพียงแค่นั้นคงไม่พอที่จะคุ้มครองไม่ให้มนุษย์ลิดรอนสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกันได้ ใครที่กล่าวได้เต็มปากว่าสิทธิของตนไม่ถูกลิดรอนเลยนั้น คงไม่มี หรือถ้ามี คนผู้นั้นก็เป็นมนุษย์ที่โชคดีที่สุดในโลกแล้ว

            ปัญหาการลิดรอนสิทธิมนุษยชนนั้น มีตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงเรื่องใหญ่ที่นำไปสู่ความขัดแย้ง บ้างระหว่างชนต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อ บ้างก็บานปลายไปจนเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้น เรื่องเล็กๆ ที่ว่า ก็มีตั้งแต่การแซงคิวตามสถานที่สาธารณะต่างๆ หลายคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ให้อภัยกันได้ แต่มองอีกมุมแล้ว มันก็เป็นการลิดรอนสิทธิของเราในรูปแบบหนึ่ง เพียงแค่เราไม่ได้สังเกต ไม่ได้ใส่ใจเท่านั้นเอง จริงอยู่ที่มันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ที่ไม่น่าเก็บมาคิด แต่ก็เป็นเพราะความไม่ใส่ใจของพวกเราทุกคนนี่แหละ ที่นำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้น สำคัญขึ้น และส่งผลกระทบต่อคนหมู่มาก แล้วเมื่อปัญหาบานปลายขึ้นมาแล้ว พวกเราถึงจะเริ่มมาใส่ใจ มาสนใจว่า เอ๊ะ ปัญหานี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำไมเราไม่สังเกตมาก่อน ก็เพราะไม่มีใครสังเกตนี่แหละ มันถึงได้เกิดปัญหาขึ้นแต่แรก

            ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็นปัญหาในสามจังหวัดภาคใต้ของเราตอนนี้ จริงอยู่ที่ปัญหานี้หยั่งรากลึกลงไปเกินกว่าเรื่องของการลิดรอนสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อมองย้อนไปในอดีตจะพบว่า ชาวพื้นเมืองแถบปัตตานี ยะลา และนราธิวาสที่นับถือศาสนาอิสลามบางส่วนนั้น พื้นเพแต่เดิมแล้ว ไม่ใช่คนไทย หากแต่เป็นอาณาจักรปัตตานีซึ่งถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทย และแบ่งออกเป็นเขตจังหวัดในปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งการรวมแผ่นดินครั้งนั้น แน่นอนว่าคงไม่เป็นที่พอใจของชาวพื้นเมืองอิสลามอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็ยังสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข จนกระทั่งเริ่มมีกลุ่มบุคคลที่ต้องการเรียกร้องเสรีภาพให้กับอาณาจักรปัตตานีที่นับถือศาสนาอิสลาม ปัญหา ความขัดแย้ง ความกระทบกระทั่งจึงได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นเพียงคนกลุ่มน้อยเท่านั้น แล้วเหตุใดปัญหามันจึงบานปลายใหญ่โตมาจนถึงปัจจุบันได้ คำตอบของคำถามที่ว่าก็คงไม่น่าแปลกใจ มันเป็นเพราะว่า คนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับความเดือดร้อน ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำดังกล่าวนั้น ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ เพราะอะไร ก็เพราะมันไม่ใช่สิทธิมนุษยชนของพวกเขาที่ถูกลิดรอน แต่เป็นสิทธิมนุษยชนของใครก็ไม่รู้ที่พวกเขาไม่รู้จัก เมื่อแรกเริ่ม เมื่อความขัดแย้งยังอยู่ในระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล คงจะไม่มีใครที่จะมานั่งใส่ใจว่า วันนี้มีชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชน ถูกเบียดเบียนอย่างไรบ้าง นั่น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสิทธิขึ้น พวกเราซึ่งไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงอาจไม่รู้สึกอะไร แต่คนที่รู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมนั้นไม่ใช่ใครอื่น ก็คือเหล่าชาวบ้านอิสลามเหล่านั้นนั่นเอง จากเดิมที่พวกเขารักสงบ รักสันติ มีความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทย ใครจะทราบได้ว่า จนถึงปัจจุบัน ความคิดของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปในทางใดบ้าง บางคนอาจเลือกที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการแบ่งแยกดินแดน บางคนอาจทำไปด้วยความคะนอง บางคนอาจถูกบีบบังคับจนไม่มีทางเลือก พวกเราไม่อาจรู้ได้เลย เพราะอะไร เพราะพวกเราไม่เคยสนใจ ไม่เคยอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างจนกระทั่งเหตุการณ์มันบานปลายจนอาจมีผลกระทบกับพวกเราได้นั่นแหละ ถึงหันมาใส่ใจและหาวิธีแก้ปัญหาที่ควรจะแก้ไขได้เรียบร้อยมานานแล้ว ความไม่ใส่ใจของพวกเรานี่แหละ ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่จุดชนวนความขัดแย้ง และความไม่ไว้วางใจ เพราะเหตุใดชาวบ้านบางส่วนถึงปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์นักข่าวไทย ก็เพราะเขาเหล่านั้นไม่ไว้ใจพวกเราอีกต่อไป ความไว้วางใจที่เขาเคยฝากไว้กับคนไทยทั้งประเทศ จนบัดนี้ คงหมดสิ้นไปด้วยความไม่ใส่ใจของพวกเราทุกคน ยังดีที่นั่นเป็นเพียงชาวบ้านส่วนน้อยเท่านั้น ที่เหลือก็คงขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทยแล้ว ว่าจะร่วมแรงร่วมใจกันพาสามจังหวัดภาคใต้ ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ครั้งนี้ไปได้หรือเปล่า

             ดังที่ได้เกริ่นไว้แต่ต้นว่า "สิทธิมนุษยชน เกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ที่จะปกป้องตนเอง" หากมาพิจารณาดูกัน ก็คงเห็นได้ว่า การที่มนุษย์ไม่ให้ความสนใจกับปัญหาถูกลิดรอนสิทธิของผู้อื่นนั้น มีผลสืบเนื่องมาจากการที่มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่จะปกป้องตนเองก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ว่าในด้านสิทธิ เสรีภาพ หรือผลประโยชน์ ทุกคนล้วนแต่มองดูตนเองก่อน แล้วจึงหันไปมองผู้อื่น จริงอยู่ที่มนุษย์มีความต้องการจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ มากมายเพื่อให้มนุษย์แต่ละคนมีความเท่าเทียมกัน แต่จุดประสงค์เบื้องต้นของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนั้น ก็คงเพื่อต้องการคุ้มครองสิทธิของตนเองมากกว่า อาจฟังดูแล้วไม่สวยหรูเท่าเก่า แต่มันก็เป็นความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ในสังคมปัจจุบัน รอบตัวพวกเราทุกคนนี่เอง

            แล้วสิทธิมนุษยชนจะก่อให้เกิดสันติสุขได้อย่างไร นี่คงเป็นคำถามที่หลายๆ คนอยากรู้คำตอบ ถ้าหากมนุษย์ทุกคนยังคงมุ่งเพียงที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนของตนเองไม่ให้ถูกลิดรอน สันติสุขก็คงจะไม่เกิด และปัญหาต่างๆ ความขัดแย้งต่างๆ ก็คงจะไม่ถูกแก้ไขได้โดยง่าย หนทางที่จะนำพามนุษยชาติไปสู่ความสงบสุข และความสันติได้นั้นมีมากมาย แต่ถ้าพูดถึงประเด็นของสิทธิมนุษยชนแล้ว ก็คงจะเป็นการที่มนุษย์ทุกคนจะต้องหันไปมองรอบๆ และร่วมมือกันปกป้องสิทธิมนุษยชนของ "ทุกคน" ในสังคม ไม่ใช่แค่ตนเอง พ่อแม่พี่น้อง เพื่อนฝูง ครูอาจารย์ หรือคนรู้จัก แต่พวกเราทุกคนจะต้องสร้างความตื่นตัวในสังคม ให้ทุกคนตระหนักว่า สิทธิมนุษยชนเป็นของทุกคน และไม่มีใครเลยที่สมควรถูกลิดรอนสิทธิของพวกเขา ถึงแม้ผู้ที่กระทำความผิด ลักขโมย เบียดเบียนผู้อื่น สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม พวกเขาก็มีสิทธิมนุษยชนที่ควรได้รับอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น หลายคนอาจมองเพียงแค่ว่า บุคคลกลุ่มนี้สมควรที่จะได้รับการลงโทษ แต่กลับไม่มองว่า เมื่อได้รับการลงโทษแล้ว พวกเขาก็สมควรที่จะได้รับโอกาสให้พิสูจน์คุณค่าความเป็นคนของตน ได้รับโอกาสให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโดยไม่ถูกรังเกียจและกีดกัน นี่อาจเป็นเรื่องยากที่จะปลูกฝัง หากแต่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนิน การปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้อื่นเพื่อนำสันติสุขมาสู่สังคม

            สิ่งที่พูดมาอาจฟังดูเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องที่หากไม่ปฏิบัติก็คงไม่เกิดผลกระทบอะไรต่อเราโดยตรง แต่ก็เพราะการคิดแบบนี้นี่แหละ ที่ทำให้สันติยังไม่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์เสียที ท้ายที่สุดแล้ว มันก็คงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน ที่จะเปลี่ยน เริ่มที่ตัวของเราทุกคน เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนทัศนคติมุมมองโลกในแง่เดียวเสียใหม่ คิดไว้อยู่เสมอว่า มนุษย์ทุกคน มีเลือดเนื้อ มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึก มีความฝัน ทุกคนมีเส้นทางชีวิตของตนเอง ผิดบ้าง ถูกบ้างตามธรรมดาของความเป็นมนุษย์ ทุกคนมีสิทธิที่จะทำผิดพลาด และที่สำคัญที่สุด ทุกคนมีสิทธิมนุษยชน มีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำการใดๆ ก็ตามในขอบเขตที่เหมาะที่ควร อย่าแบ่งเขาแบ่งเรา ถ้าเรามีสิทธิ เขาก็มีสิทธิเหมือนกัน สิทธิของเราโดนลิดรอน สิทธิของเขาก็โดนลิดรอนเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น อย่ามุ่งแต่เพียงที่จะปกป้องสิทธิของตน แต่มุ่งปกป้องสิทธิของผู้อื่น เมื่อใดก็ตามที่คนในสังคมสามารถคิดได้แบบนี้ และนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน เมื่อนั้น สันติสุขก็จะเกิดขึ้นอย่างมั่นคง และยั่งยืน เกิดเป็นสังคมที่ไร้ซึ่งการเบียดเบียน สังคมที่ดูเหมือนเป็นได้เพียงความฝัน แต่แท้จริงแล้ว อยู่แค่เพียงเอื้อมมือ ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน ว่าจะร่วมใจกันคว้ามันมาทำให้เป็นความจริงหรือเปล่า เท่านั้นเอง

            As today we live in a world where nothing is out of reach. We have got everything we need to create peace among us. We have communicating devices and a mutual language, which can help us get to know one another. But the one thing we lack is love. It seems that we don't know how to create love for people with whom we're not acquainted. Most importantly, we are a part of one big global family, no matter what race, nationality, language, nor religion. Why discriminate people with whom we're not fully acquainted? May I ask of you all, to look beyond the borders that geography, culture, and religion have set up. With our best efforts, true love and deep understanding will grow most surely, beautifully, and peacefully.

            "Kia hohou taua ne teirongo e"

            So that all of us may live with equal rights, together, in peace.

                                        

คำกล่าวสุนทรพจน์ โดย นางสาวป่านแก้ว  ศักดิ์ศรชัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ แผนการเรียนอังกฤษ - ฝรั่งเศส โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "สิทธิมนุษยชนศึกษา เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย"  เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนสากล ระหว่างวันที่ ๗ -๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ ณ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ


____________________________________________

ผลงานของ ป่านแก้ว  ศักดิ์ศรชัย

๑.       กิจกรรมด้านเด็กและเยาวชนที่เคยเข้าร่วม

-           กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยไปทำกิจกรรมที่

มูลนิธิมิตรมวลเด็ก, บ้านพักคนชรา บางแค, โรงเรียนเศรษฐเสถียร, สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท

และสถานพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนบ้านเทพ

-           กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

-           กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โครงการโรงเรียนพี่ -โรงเรียนน้อง จ.ประจวบคีรีขันธ์

โดยไปเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรห้วยผึ้ง

-           โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม "Share and Care" ณ สถานกักกันคนเข้าเมือง กองตรวจคนเข้าเมือง

สวนพลู (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕)

-           เป็นผู้แทนยุวกาชาดไทย เข้าร่วมการประชุม Junior Red Cross/Red Cross Youth International Meeting

ที่ YMCA เชิงเขา Fujiyama ประเทศญี่ปุ่น ในโครงการแลกเปลี่ยนยุวกาชาดระหว่างประเทศ (International Youth Exchange Programme ๒๐๐๔) ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

-           เข้าร่วมโครงการเยาวชนยูซีอี. (Universal Cultural Exchange) โดยสอบคัดเลือกได้รับทุนเต็มจำนวนเพื่อไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ ๙ - ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๘

 

๒.       ผลงาน/รางวัลที่สำคัญ

-           ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดมารยาทไทยระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในงานมหกรรมการศึกษา ๒๐๐๐ ณ เมืองทองธานี

-           ได้รับเกียรตินิยมอันดับ ๒ จากการสอบเปียโนของสถาบัน Trinity College London เกรด ๕

-           คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ๔.๐๐

-           ทดสอบความรู้ทางวิชาภาษาอังกฤษ ของบริษัทเสริมปัญญา ได้อันดับที่ ๑ ของประเทศ ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ และปีการศึกษา ๒๕๔๗

-           ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดร้องเพลง M.D. Contest ๒๐๐๔ ประเภทขับร้องเดี่ยวเพลงสากล  

-           เป็นอาสาสมัครฝ่ายกองเลขาในงานประชุมสื่อมวลชนแคทอลิก (UCIP World Congress) ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๗ - ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๗

-           ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดสุนทรพจน์คณะศิลปศาสตร์ส่งเสริมประชาธิปไตย (ประเภทมัธยมศึกษา) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้หัวข้อ "บทบาทของเยาวชนไทยในการปกครองระบอบประชาธิปไตย" วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๘

-           สอบ CU - TEP ได้ ๖๖๖ คะแนน

-           สอบ TU - GET ได้ ๙๑๐ คะแนน

-           เป็นรองประธานการจัดงานละครเพลงภาษาอังกฤษ "The Wizard of Oz"  ณ หอประชุมโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย วันที่ ๓๐  กรกฎาคม ๒๕๔๘

-           ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จากการแข่งขันตอบปัญหาความรู้รอบตัวภาษาอังกฤษ วัน MUIC Quiz Day ที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล  วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๘

-           ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาการศึกษาและวิชาการ เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘

-           ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จากการแข่งขัน Inter-School Speech Contest ในงาน ACC Academic Day ของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ในหัวข้อ "Beyond Borders"

-           ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จากการแข่งขันตอบปัญหาความรู้รอบตัวภาษาอังกฤษ English Quiz ของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในงานวันจุฬาฯวิชาการ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >