หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง “ปฏิรูปการเมืองกับการมีส่วนร่วมของประชาชน”
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 76 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง “ปฏิรูปการเมืองกับการมีส่วนร่วมของประชาชน” พิมพ์
Monday, 29 May 2006


คุณรสนา โตสิตระกูลศาสนิกทุกศาสนาควรเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการเมืองที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ส่วนปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ต้องเป็นการเมืองของภาคประชาชนที่เข้มแข็งและสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจตรวจสอบและเอาผิดนักการเมืองฉ้อฉล จึงจะเปลี่ยนนักการเมืองให้มีคุณภาพได้  เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมได้อย่างแท้จริง

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง “ปฏิรูปการเมืองกับการมีส่วนร่วมของประชาชน” ที่อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา

       อัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ได้กล่าวถึงที่มาของการจัดเสวนาในครั้งนี้ว่า “ในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเห็นได้ว่าสถานการณ์สังคมได้ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจ ห่วงใย และติดตามความเป็นไปที่เกิดขึ้น ในฐานะที่เราเป็นคริสตชนซึ่งจะต้องให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม การมีภาวะทางการเมืองก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาพสังคมที่ปรากฏอยู่ด้วย เมื่อภาคการเมืองไม่สงบสุข ภาคสังคมก็ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งภาคสังคมก็หมายถึงพวกเราประชาชนด้วย จึงเห็นว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งของหลายๆ ขั้ว ตั้งแต่การลาออกของนายกฯ ก็นำไปสู่การเปิดเผยบาดแผลต่างๆ อย่างที่เรียกได้ว่าถูกซุกอยู่ใต้พรมมาตลอด แต่ก็ถือว่าเป็นบรรยากาศทางการเมืองที่ทำให้เราได้ใช้สำนึกของความเป็นคริสตชนในการตื่นตัวทางการเมืองและเข้าถึงความเป็นจริงให้มากที่สุดต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในแต่ละคู่ แต่ละฝ่าย นี่จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะได้เข้าถึงความเป็นจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพราะในบรรยากาศที่ผ่านมา ผู้ใช้อำนาจได้ใช้อำนาจกดผู้คนให้อยู่ในภาวะที่เป็นรอง เราจึงไม่สามารถเข้าถึงความเป็นจริงได้ จึงได้เชิญคุณรสนา  โตสิตระกูล มาเป็นผู้เปิดประเด็นให้กับพวกเรา เพราะต่อจากนี้บรรยากาศของการปฏิรูปการเมืองคงจะต้องใช้เวลาเป็นปี และคงจะต้องมีการถกเถียงและแสดงความคิดเห็นกันอีกมากมาย” 

คุณรสนา โตสิตระกูล       รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา วิทยากรในการเสวนาได้กล่าวถึงการปฏิรูปการเมืองว่า นับจากปี 2540 ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการปฏิรูประบอบการปกครองครั้งที่ 1 ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญที่เกิดจากประชาชน เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงและเชื่อกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในโลก แต่รัฐธรรมนูญปี 2540 กลับดีเพียงรูปแบบ คือทำได้เพียงแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองแบบเดิมๆ 

       “เมื่อปี 2535 เป็นยุคสิ้นสุดระบอบเผด็จการทหารอย่างเป็นทางการ แต่ยุคทุนนิยมเริ่มเข้มแข็งขึ้นมา ธนกิจทางการเมืองหรือนักการเมืองที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์หรือนักธุรกิจที่เข้ามาเป็นนักการเมืองเองก็เกิดขึ้น และรัฐธรรมนูญปี 2540 นี่ก็เหมาะมาก ส่วนหนึ่งเราได้คนอย่างทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเขาเป็นคนที่มีความสามารถในการใช้กลไกอันนี้มาบิดเบือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขามักจะอ้างเสมอว่าเป็นกติกาที่เขาไม่ได้ร่างขึ้นเอง แต่เป็นกติกาที่คนอื่นวางไว้ ในสมัยเด็กๆ เรามีคำถามที่ถามกันเล่นๆ ว่า “อะไรเอ่ย คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ทำ” ซึ่งตอนสมัยเด็กๆ เราจะตอบว่า “โลงศพ” แต่ปัจจุบันนี้คำตอบต้องเป็น “รัฐธรรมนูญ” เพราะคนทำไม่ได้ใช้ คนที่ใช้เขาก็บอกว่า เขาไม่ได้ทำ เขาทำตามกติกาคนอื่นตลอด” รสนากล่าว 

บรรยากาศการเสวนา       รสนาได้แสดงความเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 ยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจได้อย่างแท้จริง  “ รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แม้จะถูกออกแบบมาให้มีการคานดุลอำนาจกัน แต่ก็เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน และถึงแม้จะมีส่วนที่เปิดให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจทางตรงได้บ้าง เช่น ใช้ 50,000 รายชื่อ เพื่อถอดถอนนักการเมือง หรือเสนอกฎหมาย “แต่ว่าการใช้อำนาจอันนี้ถูกทำให้หมดสภาพในการเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการนักการเมืองได้ และตอนนี้ต้องบอกว่า 50,000 รายชื่อ เป็นเพียงไส้ติ่งในองคาพยพของการเมืองคือไม่มีหน้าที่ทำอะไรได้ ตลอดเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีใครใช้ 50,000 รายชื่อ เพื่อจัดการกับนักการเมืองได้อย่างแท้จริง” 

       เธอจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะต้องทบทวนให้ดีถึงเป้าหมายของการปฏิรูปการเมืองว่าเราต้องการปฏิรูปการเมืองเพื่อนำไปสู่สิ่งใด “เวลานี้ เมื่อเราพูดกันถึงเรื่องปฏิรูปการเมือง คนส่วนใหญ่มองเรื่องรูปแบบเยอะ ในขณะที่เราไม่ค่อยมองส่วนที่เป็นเนื้อหาว่าการปฏิรูปการเมืองเพื่อนำไปสู่อะไร เราพูดถึงให้มีรูปแบบประชาธิปไตย มีรูปแบบการเลือกตั้ง มีประชาชนเป็นคนเลือกตั้ง ซึ่งเหล่านี้เป็นเปลือก และเวลานี้ รัฐธรรมนูญถ้าเป็นเครื่องมือก็เป็นเครื่องมือที่ใช้การไม่ได้ ทั้งๆ ที่เราอ้างมาตรา 3 ที่บอกว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่สิ่งที่รัฐบาลพยายามบอกเราคือ การคืนอำนาจให้ประชาชนคือ เมื่อเขายุบสภา ประชาชนมีอำนาจอยู่ในมือเพียง 2 นาที ในคูหากาบัตรเลือกตั้ง แล้วพอกาเสร็จก็มอบอำนาจคืนให้อีกคนหนึ่ง” 

       ดังนั้นในการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่นี้ต้องทำให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง และสามารถใช้อำนาจในการตรวจสอบนักการเมืองเพื่อให้การเมืองมีคุณภาพมากขึ้น “ในการปฏิรูปการเมืองครั้งต่อไป เราต้องทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง และเมื่อภาคประชาชนเข้มแข็งแล้ว ถ้าประชาชนตื่นตัวมากพอ จะรู้ว่าเราเป็นผู้บริโภคที่กำลังบริโภคสินค้าการเมือง และกำลังโหวตให้กับสังคมที่เราอยากจะเห็นทุกวันผ่านการซื้อสินค้าของเรา และต้องมีวิธีคืนสินค้าการเมืองที่ไม่ได้เรื่อง ซึ่งเวลานี้ สินค้าการเมืองใช้แต่มาร์เก็ตติ้งอย่างเดียว แต่ไม่มีคุณภาพเลย ประชาชนต้องตื่นตัวให้มากขึ้นและทำให้สินค้าการเมืองต้องปรับตัวและมีคุณภาพ เราต้องทำคนเลวให้ท้อแท้บ้าง เพราะว่าคนเลวมีเยอะ ทำให้เราท้อแท้ เราต้องทำระบบให้คนเลวท้อแท้บ้าง” 

       “และการที่เราจะทำให้ ส.ส. หรือนักการเมืองมีคุณภาพ คุณภาพของประชาชนสำคัญที่สุด เราน่าจะทำกองทุนประชาชน ชื่อ “กองทุนพิฆาตทรราชย์” ขอให้ประชาชนบริจาคคนละ 1 บาท เดือนละ 30 บาท แค่ 1 ล้านคนก็พอ ซึ่งกองทุนนี้จะเข้าไปดูในประเด็นต่างๆ ที่ประชาชนถูกรุกรานสิทธิอย่างไม่เป็นธรรม เช่น รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่น แต่พวกมาเฟียท้องถิ่นหรือนักการเมืองกลับมาแสวงหาประโยชน์ และในปัจจุบันนี้ กฎหมายเป็นเหมือนอาวุธ และเป็นพันธนาการที่เราสู้ไม่ได้ ทำอย่างไรเราจะมีกฤษฎีกาภาคประชาชน และมีนักกฎหมายที่ต่อสู้เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง” รสนากล่าวไว้ 

พระคุณเจ้าบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์       ในเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้ พระคุณเจ้าบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ ประธานคณะกรรมการฝ่ายสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ได้แสดงความคิดเห็นว่า ศาสนาต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งการเมืองต้องการการเปลี่ยนแปลงมากกว่ารูปแบบ โดยต้องเปลี่ยนแปลงไปถึงเนื้อหา เนื้อหาของการเมืองซึ่งหลายคนบอกว่าเป็นสิ่งสกปรก โดยเฉพาะฝ่ายศาสนาส่วนใหญ่บอกว่า ไม่ควรเกี่ยวข้องกับการเมือง เดี๋ยวทำให้ศาสนามัวหมอง ซึ่งความคิดอย่างนี้ผิดอย่างมาก 

       “ถ้าการเมืองสกปรก ศาสนาจะต้องเป็นเกลือที่จะไปดองให้สะอาด ถ้าการเมืองนำไปสู่มุมมืด ศาสนาจะต้องเป็นความสว่างให้การเมือง และเป็นหน้าที่ของศาสนาที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการเมือง”  พระคุณเจ้าบุญเลื่อนกล่าว 

       นอกจากนี้ พระคุณเจ้าบุญเลื่อนยังแสดงความกังวลว่า การทำหน้าที่เป็นประจักษ์พยานของคาทอลิกในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากกว่าการเข็นครกขึ้นภูเขาอันเนื่องมาจากการได้รับอิทธิพลของธนกิจการเมืองไม่มากก็น้อยเช่นกัน

ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >