หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 58 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ความหมายและแนวคิดสิทธิมนุษยชน : รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร พิมพ์
Wednesday, 29 June 2016


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 87 "นโยบายขายฝัน"

คอลัมน์ เส้นทางสิทธิมนุษยชนศึกษา

 


ความหมายและแนวคิดสิทธิมนุษยชน

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร

 
 

ความหมายและแนวคิดสิทธิมนุษยชน

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร

สิทธิมนุษยชน คือ คุณธรรมสากล ที่เน้นคุณค่าของมนุษย์ และยืนยันว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอกันในศักดิ์ศรี และมีความเท่าเทียมกันในสิทธิ ไม่ว่าจะยากดีมีจน จะพิการ หรือมีความแตกต่างกันในเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด เพศ วัย หรือสีผิวก็ตาม สิทธิมนุษยชนจึงหมายความถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มีคุณค่า มนุษย์ก็ต้องได้รับสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  ถึงแม้ว่า "สิทธิมนุษยชน" เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างใหม่สำหรับเราชาวไทย แต่สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีความเป็นมายาวนานในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ถ้าเราได้ศึกษาจะเห็นว่า อารยธรรม ศาสนา และปรัชญาทั้งหลายในโลกที่ให้คุณค่ากับมนุษย์ ได้มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่อมาได้ผ่านกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์ของสังคมในการประกัน "สิทธิ" ของความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชนจึงเป็นสิทธิทางกฎหมายทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ แนวคิดสิทธิมนุษยชนจึงปรากฏอยู่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของชาติต่างๆ ตลอดจนในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องสิทธิของบุคคล หรือสิทธิความเป็นมนุษย์ของบุคคลทุกคนในโลก

 

ศาสนธรรมกับสิทธิมนุษยชน

ศาสนาสอนสัจธรรม สอนให้มนุษย์รู้ถึงความหมายและเป้าหมายของชีวิต และชี้ให้เห็นหนทางที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น เพื่อที่จะไปสู่เป้าหมายของชีวิต การดำรงชีวิตในปัจจุบันมีความสำคัญ การดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า คือการดำเนินชีวิตร่วมกันกับผู้อื่นอย่างดี มีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน แบ่งปันกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยความเมตตากรุณาฉันพี่น้อง ศาสนาทุกศาสนาสอนว่าชีวิตมีคุณค่า จึงบัญญัติห้ามทำลายชีวิตมนุษย์ ส่วนรากฐานที่สำคัญของสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิในการดำรงชีวิต จุดมุ่งหมายของสิทธิมนุษยชน คือการกำหนดและการประกันเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของมนุษย์

สำหรับความเท่าเทียมกัน และความมีศักยภาพของมวลมนุษย์ พระพุทธศาสนาสอนว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในวรรณะใด ก็มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน : "วรรณะทุกวรรณะต่างเสมอกันโดยกรรม คือ ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว" และยังสอนว่า มนุษย์มีศักยภาพสูงส่ง สามารถที่จะพัฒนาความรู้ สติปัญญา จนถึงขั้นนิพพาน มีความสุขอันสมบูรณ์ได้ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการดำรงชีวิตว่า การดำรงชีวิตอย่างสมกับความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ และชีวิตจะดำรงอยู่ได้ต้องมีปัจจัยสี่ ดังนั้น ปัจจัยสี่ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย และยารักษาโรค) จึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมี

ส่วนคริสตศาสนาสอนว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายา (Image) ของพระองค์ และมนุษย์มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับพระผู้สร้าง จึงมีศักยภาพเหนือสรรพสิ่งทั้งมวล และมีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ จนเป็นผู้ที่สมบูรณ์ใกล้เคียงกับพระผู้เป็นเจ้า ชาวคริสต์ยังได้รับการสั่งสอนว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงรักมนุษย์ และด้วยเหตุที่มนุษย์ได้รับความรักจากพระผู้สร้าง มนุษย์จึงต้องรักและปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง

ศาสนาอิสลามสอนว่า อัลลอฮ์ เป็นผู้ให้ชีวิต และความตาย มนุษย์มาจากบิดาเดียวกัน คุณค่าของความเป็นมนุษย์จึงไม่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็ตาม มนุษย์มีชีวิตเพื่อทำความเข้าใจในสัจจะ โดยมีอัลกุรอานเป็นเครื่องนำทาง มนุษย์ทุกคนจึงมีศักยภาพที่จะเข้าใจความจริง จนถึงความจริงที่อยู่เหนือธรรมชาติ สามารถที่จะมีความรู้สำนึกสูงขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า และสากลจักรวาล

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ความเสมอภาค และความรักที่มนุษย์พึงมีให้แก่กัน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง สมควรที่เราจะต้องตระหนักให้ลึกซึ้ง และส่งเสริมให้มีการปลูกฝังให้เกิดขึ้นในสังคม ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ เรื่องสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับเราโดยตรง เราคงอยากมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคม ที่มนุษย์ทั้งหลายมีคุณธรรมแห่งความรัก ความเมตตา เป็นพื้นฐาน มีการปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง สำนึกในศักดิ์ศรี และสิทธิของกันและกัน เห็นคุณค่าและความสำคัญของมนุษย์ด้วยกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน รู้จักแบ่งปันกัน ซึ่งเป็นคุณธรรม อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตระหนักรู้ และสามารถดำเนินชีวิตที่เห็นคุณค่าของมนุษย์ ความหมายของสิทธิมนุษยชนในเชิงกฎหมายเท่านั้นไม่เพียงพอ จำเป็นต้องศึกษาความหมายที่มีอยู่ในสังคม วัฒนธรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนธรรมด้วย ดังที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้เตือนไว้ในหนังสือเรื่อง "สิทธิมนุษยชนสร้างสันติสุข หรือสลายสังคม"  ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ในโอกาสฉลองครบรอบ ๕๐ ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ให้ตระหนักว่า ปฏิญญาสากลหรือกฎหมายต่างๆ เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ แต่มนุษย์ต้องพัฒนาตนไปมากกว่านั้น มนุษย์ย่อมไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ใช่เพียงเพราะเคารพตามกฎเกณฑ์ แต่มนุษย์ต้องปฏิบัติต่อกันจากส่วนลึกของจิตใจ ด้วยความเมตตา กรุณา ความรักและความเอื้ออาทรต่อกัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ปัญญา" หรือความเข้าใจที่ถูกต้องต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

 

สันติภาพกับสิทธิมนุษยชน

มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข แต่มนุษย์ก็ต้องเผชิญกับสงครามหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่สงครามกลางเมืองไปจนถึงสงครามทำลายล้างเผ่าพันธุ์ สงครามโลกครั้งที่สอง นับเป็นสงครามที่ทำลายล้างชีวิตและศักดิ์ศรีของมวลมนุษย์อย่างกว้างขวาง ประชาคมโลกจึงได้ประกาศยืนยันศักดิ์ศรี และสิทธิอันเป็นสากลของมนุษย์ ในช่วงที่สงครามสิ้นสุดลง เพื่อว่ามวลมนุษย์จะได้ดำรงชีวิตอยู่อย่างสันติโดยถ้วนหน้ากัน สิทธิทั้งหลายเหล่านี้ได้บรรจุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐาน และเป็นค่านิยมทางคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องวัดทัศนคติและการปฏิบัติของบุคคลทั้งหลายในโลก

สันติภาพและสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ เพราะสิทธิมนุษยชนย่อมไม่ได้รับการยอมรับในดินแดนที่กำลังเกิดสงคราม ท่ามกลางบรรยากาศของสันติภาพเท่านั้นที่มนุษย์จะเคารพกันและกัน และมีสิทธิในชีวิตของตนเองได้ และการยอมรับและเคารพสิทธิมนุษยชนย่อมนำไปสู่การปลูกฝังวัฒนธรรมสันติภาพในจิตใจของบุคคลได้ ด้วยเหตุนี้ ความปรารถนาสันติภาพ รังเกียจสงคราม และรู้สึกสะเทือนใจกับความทุกข์ทรมานอันเป็นผลของสงครามเท่านั้นย่อมไม่เพียงพอ แต่การเรียนรู้ ยอมรับ เคารพและปฏิบัติสิทธิมนุษยชนย่อมสามารถนำมนุษย์ไปสู่สันติภาพได้ เพราะการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนในชีวิต เป็นวิถีทางทำให้มวลมนุษย์รักษาความยุติธรรมและสันติภาพไว้ได้

สิทธิมนุษยชนศึกษามีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมไปถึงเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ดังนั้นในแง่ของการศึกษาแล้ว การเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนควรจะต้องรวมถึงเรื่องสันติภาพด้วย เพราะสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเป็นแนวความคิดที่แยกจากกันไม่ได้ และควรจะเรียนรู้รวมไปถึงปัญหาของสันติภาพและอุดมการณ์ของมนุษย์ ซึ่งอยู่ในบริบทของสิทธิมนุษยชนด้วย

 

ประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชน

ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนมีจุดกำเนิดร่วมกันในเชิงปรัชญา ความคิด คือเป็นหลักการที่ตั้งอยู่บนแนวคิดมนุษย์นิยม ที่เชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนาตนเองและสังคม หากได้รับเสรีภาพในการดำรงชีวิต ดังนั้นจึงต้องสร้างระบอบการเมืองการปกครองที่เปิดโอกาสให้มนุษย์มีเสรีภาพ เท่าที่จะไม่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น

สิทธิมนุษยชน การปกครองโดยกฎหมาย และประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอย่างแนบแน่น การเคารพสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมถึงเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร เป็นลักษณะเด่นของระบอบประชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมาย ซึ่งเป็นการปกครองที่ปฏิบัติตามกฎหมาย และการตรากฎหมายให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถือว่าเป็นลักษณะสำคัญของระบอบประชาธิปไตย หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ประกอบด้วย หลักสำคัญ ๓ ประการ คือ :

-  การกำหนดอนาคตตนเอง

-  การยอมรับความแตกต่าง

-  การดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างสันติ ซึ่งตรงกับหลัก เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ

 

การพัฒนากับสิทธิมนุษยชน

การพัฒนาที่ผ่านมาเน้นเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ได้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะแทนที่จะลดความหิวโหย ความยากจน การว่างงาน ความอยุติธรรม และปัญหาสิ่งแวดล้อม กลับเป็นการเพิ่มปัญหาต่างๆ เหล่านั้น อีกทั้งความอยุติธรรม และความไม่เสมอภาคดังกล่าว นำไปสู่ความรุนแรงในสังคมโดยทั่วไป สังคมที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน จะเป็นสังคมที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร?  การพัฒนาที่ยั่งยืนหมายถึง การมีวิสัยทัศน์ต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือการปรารถนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับทุกๆ คน รวมถึงคนรุ่นต่อๆ ไปด้วย โดยการประสานความสมดุลระหว่างความเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการสงวนรักษาสิ่งแวดล้อม

เพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องเน้นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องยืนยันว่าการศึกษาเป็นสิทธิ รวมถึงการเพิ่มความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้ขยายไปสู่ทุกคน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อย และชุมชนชายขอบ นอกจากนั้นจะต้องเน้นให้ตระหนักถึงสิทธิในการพัฒนา ซึ่งหมายถึงการส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์ในหลากหลายพื้นที่ให้สามารถยกระดับชีวิตและสังคมของตน ในรูปแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและฐานทรัพยากรที่ตนเองและชุมชนของตนมีศักยภาพ


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >