หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 200 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


วารสาร"ผู้ไถ่"ฉบับแรก...ประวัติศาสตร์ที่ขาดการบันทึก และภาพทรงจำที่หายไป พิมพ์
Wednesday, 08 June 2016

 

 

 

 

 

วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ ๑๐๐

๑๐๐ เล่ม วารสาร "ผู้ไถ่" กับการเปลี่ยนผ่าน

 




วารสาร "ผู้ไถ่" ฉบับแรก

...ประวัติศาสตร์ที่ขาดการบันทึก และภาพทรงจำที่หายไป

 

Imageชื่อวารสาร "ผู้ไถ่" นั้นดร.จำเนียรวรรัตน์ชัยพันธ์เล่าถึงที่มาของการเลือกใช้ชื่อ "ผู้ไถ่" ว่า "จำได้ว่าผมเป็นคนที่เสนอเองว่าน่าจะใช้คำว่า "ผู้ไถ่"มาจาก Liberatorดูเหมือนท่านบุญเลื่อน และคุณประนอมจะถาม ผมก็เลยบอกว่าขอให้ใช้คำว่า "ผู้ไถ่" เพราะตอนนั้นเป็นยุคของการกดขี่เบียนเบียนและอยุติธรรมอยู่ค่อนข้างโดดเด่นตอนนั้นอยู่ภายใต้สถานการณ์และความพยายามที่จะกอบกู้ ผู้กอบกู้และผู้ไถ่ ก็มาจาก Liberation Theology เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย เราเป็นกระบอกเสียงของผู้ที่ถูกกดขี่ เหมือนกับพระเยซูซึ่งเป็นผู้ไถ่ นั่นหมายความว่า สังคมถูกกดขี่ คนจน ผู้ยากไร้ถูกกดขี่ เราให้เขาได้ตระหนักว่า คนงาน ชาวสลัม หรือชาวไร่ชาวนา ถูกเอารัดเอาเปรียบด้านต่างๆ"

"ผู้ไถ่" ฉบับแรกเป็นเพียงกระดาษโรเนียวบรรจุเนื้อหาสาระจำนวน ๘ หน้า ที่กลายเป็นเพียงตำนานเล่าขานจากผู้จัดทำ เพราะต้นฉบับทั้งหมดนั้นถูกเผาทำลายไปด้วยความเกรงกลัวต่ออิทธิพลของรัฐบาลในยุคเผด็จการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙  ภาพประวัติศาสตร์ของ "ผู้ไถ่" ยุคก่อเกิดจึงถูกตัดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

 

Imageคุณรุ่งโรจน์ ตั้งสุรกิจผู้จัดทำวารสาร "ผู้ไถ่" ฉบับแรกเล่าถึงการทำ "ผู้ไถ่" ในยุคนั้นว่า"ตอนนั้นผมเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานจัดทำจดหมายข่าวจากสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา ซึ่งเป็นฉบับโรเนียว และได้ทำการเปลี่ยนโฉมมาเป็นฉบับเข้าโรงพิมพ์และเริ่มใช้ชื่อวารสาร "สังคมพัฒนา" [๑] ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ เอกสารต่างๆ ที่ออกมารวมทั้ง "ผู้ไถ่" ฉบับแรกๆ จะเป็นกระดาษโรเนียว ๒ คู่ คือ ๘ มาเปลี่ยนเป็นฉบับพิมพ์ ช่วงปี ๒๕๒๑ มีการใช้คำว่า "สังคมพัฒนาฉบับ ผู้ไถ่" เพราะตอนนั้นคณะกรรมการยุติธรรมและสันติ (ยส.) ยังไม่ได้แยกออกมา ยังไม่มีสำนักงานเป็นของตัวเอง"

ImageImageImage 

"เรามีการประชุมกัน มีท่านบุญเลื่อน คุณจำเนียร และคุณประนอม หลักๆ ๓ คนนี้ เป็น Editorial Board เป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ช่วยกันหาบทความจากต่างประเทศ ส่วนผมเป็น editor เป็นฝ่ายผลิตทั้งหมดในกระบวนการ คือ กองบรรณาธิการจะคุยกันหากเห็นว่าอะไรดี ผมก็ต้องรับมาทำ ยุคนั้นมีทั้งคำสอนของศาสนา มีสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิ เราหาคนเขียน มีการขอให้นักวิชาการในยุคนั้นช่วยเขียนบทความให้ และมีการขออนุญาตนำบทความมาเผยแพร่ใน "ผู้ไถ่" ไปติดต่อขออนุญาตถ้าเป็นบทความที่ตีพิมพ์แล้ว ส่วนใหญ่นักเขียนก็จะอยู่ในแวดวงของเราอยู่แล้ว จึงง่าย แล้วยุคนั้นงานแปลจะเยอะ เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศสมัยก่อนก็มีเยอะมาก เพราะรัฐบาลต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลเผด็จการ งานส่วนใหญ่ผมจึงเป็นคนแปล ผมอยู่ในช่วงยุคแรกที่ไม่ปรากฏชื่อ บทความผมใช้หลายนามปากกาแต่จำชื่อไม่ได้แล้ว"

จากการรื้อฟื้นทบทวนความทรงจำจากคุณรุ่งโรจน์ จึงได้รู้ว่า "ผู้ไถ่" ฉบับแรกทำเรื่อง "๑๔ ตุลาฯ"ซึ่งเป็นเรื่องราวของขบวนการนิสิตนักศึกษาและประชาชน ยุค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖  ส่วนฉบับที่ ๒ เรื่อง "รอยเลือดในกวางจู" พูดถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ ยุคที่ประธานาธิบดี ปัก จุง ฮี เป็นผู้นำรัฐบาลเผด็จการ และนักศึกษาเดินขบวนกันเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทั้งสองฉบับนี้ยังเป็นฉบับโรเนียว

ImageImageImage 

คุณรุ่งโรจน์ เล่าว่า"ผู้ไถ่ยุคนั้นออกเป็นรายสะดวก เวลามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ไม่ได้ออกทุกเดือน หรือออกเป็นเวลาประจำ ยุคแรกๆ จะลงเกี่ยวกับประเด็นนั้นอย่างเดียว ซึ่งที่ผมจำได้มี ๒ ฉบับแรก หลังจากนั้นจะออกเป็นระยะ แต่ยังไม่ใช่ฉบับตีพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม กลุ่มผู้อ่านคือ ส่งให้คุณพ่อตามวัดคาทอลิกต่างๆ ส่วนภาพปกวาดโดย คุณสมชาย ทองประดิษฐ์ ทุกฉบับผมต้องไปหาเขา แล้วบอกว่าเล่มนี้จะมีเนื้อหาสาระอะไร แล้วเขาก็วาดออกมา  จำนวนพิมพ์ไม่เยอะ ประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ ฉบับ ยุคที่เป็นฉบับโรเนียวยิ่งน้อย

ยุคแรกๆ จะลงเกี่ยวกับประเด็นนั้นอย่างเดียว อย่างเรื่องที่เกาหลี ผมคิดว่ามาจากคุณจำเนียร ซึ่งมีคอนเน็คชั่นเยอะ เขาทำ VOMPOT [๒] เอาหนังสือพิมพ์เกาหลีภาคภาษาอังกฤษมาเต็มเลย ผมแปลแล้วก็เลยได้ความรู้ และมีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาด้วย ที่ผมจำได้คือ เจ้าหน้าที่ของเกาหลีใต้ ของไต้หวัน เขาถูกส่งมาดูงานเรื่องสหกรณ์ และการพัฒนาชนบท แล้วไต้หวันนำไปทำ ปี ค.ศ. ๑๙๗๘ ผมไปไต้หวัน เขาพาไปดูสหกรณ์การเกษตรและเขายืนยันว่าได้แนวคิดมาจากไทย  เกาหลีเองก็สรรเสริญงานของประเทศไทยมาก ปัก จุง ฮี ก็นำไปทำสหกรณ์การเกษตรของเกาหลีซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ เซมาอุน อันดองเป็นต้นแบบที่เกาหลีได้จากประเทศไทย แต่นำไปใช้เพื่อสนับสนุนนโยบายกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ชนบท และต้นแบบของ SME ทั้งในไต้หวันและเกาหลี ซึ่งเป็นฐานรากของการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในเวลาต่อมา"

ImageImageImage 

กล่าวได้ว่า ดร.จำเนียร เป็นหนึ่งในผู้นำความคิด เป็นผู้จุดประกายความคิด และมีส่วนสำคัญในการส่งต่อแนวความคิดและข้อมูลที่น่าสนใจในยุคนั้นเพื่อนำมาสร้างสรรค์เนื้อหาสาระใน "ผู้ไถ่" ฉบับแรกๆ

ในเรื่องนี้ ดร.จำเนียรเล่าว่า"ส่วนใหญ่ผมก็เอาข่าวสารต่างๆ มาจากต่างประเทศ ผมเห็นบทความดีๆ ผมก็นำมาแจกจ่ายแบ่งปันให้กัน มีเอกสารดีๆ มาจากอินโดนีเซีย ผมก็มาแบ่งกันอ่านกับท่านบุญเลื่อนบ้าง ท่านบุญเลื่อนให้ผมอ่านบ้าง ส่วนใหญ่ผมเป็นคนที่ให้ข้อมูลต่างๆ นานา เรื่องเกาหลีก็ได้มาจากเอกสารที่เพื่อนส่งมา ผมอ่านเสร็จก็โอเคช่วยแปลหน่อยซิ คุณอุษณีย์ [๓] เป็นคนรวบรวม(ตั้งแต่ปี ๒๕๑๙)แต่ผมไม่ได้เขียน"

เป็นที่น่าเสียดายว่า "ผู้ไถ่" ฉบับแรกๆ ที่เป็นต้นฉบับงานพิมพ์แบบโรเนียวนั้นถูกเผาทำลายไปหมด ด้วยเหตุผลทางการเมืองยุคหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙  ประวัติศาสตร์ของ "ผู้ไถ่" ในช่วงนั้นจึงขาดการบันทึกไปในช่วงที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้



[๑] วารสาร "สังคมพัฒนา" เป็นวารสารของสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา นำเสนอสภาพปัญหาที่เกิดจากการพัฒนากระแสหลัก ผลกระทบที่มีต่อประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร ชุมชน สิ่งแวดล้อม ทั้งในประเทศและทั่วโลก บทวิเคราะห์ คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิก และหลักธรรมทั้งพุทธ และอิสลาม ประสบการณ์การพัฒนาของชาวบ้าน ซึ่งถือเป็นวารสารด้านการพัฒนาชุมชนฉบับแรกๆ และมีอิทธิพลทางความคิดและได้รับความนิยมจากนักวิชาการ ผู้ทำงานในองค์กรศาสนา และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ

[๒] VOMPOT :  Voluntary Movement forPeople's Organization in Thailand กลุ่มอาสาสมัครจัดระบบชุมชนในประเทศไทย ซึ่งทำงานส่งเสริมการรวมกลุ่มชาวบ้าน โดยเฉพาะชาวสลัม

[๓] คุณอุษณีย์  นานาศิลป์ เป็นหนึ่งในทีมงานจัดทำ "ผู้ไถ่" และมีตำแหน่งบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >