หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 55 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


คนเก่าเล่าเรื่อง "ผู้ไถ่" พิมพ์
Wednesday, 01 June 2016

 

 

 

 

วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ ๑๐๐

๑๐๐ เล่ม วารสาร "ผู้ไถ่" กับการเปลี่ยนผ่าน

 


 

 

คนเก่าเล่าเรื่อง "ผู้ไถ่"

 

ImageImageImage

กว่า ๓๗ ปีที่ผ่านมา นับแต่การก่อเกิดวารสาร "ผู้ไถ่" สื่อสิ่งพิมพ์เล็กๆ ขององค์กรเล็กๆ อย่างแผนกยุติธรรมและสันติ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม ที่รู้จักกันในชื่อ ยส. หรือ คณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทย[๑] ชื่อในขณะนั้นที่ทำงานเสริมสร้างความยุติธรรมและสันติให้เกิดขึ้นในสังคมไทย สำหรับวารสาร "ผู้ไถ่" ที่ดำเนินมาถึงฉบับที่ ๑๐๐ กับขวบปีที่ ๓๗ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่สื่อสิ่งพิมพ์เล็กๆ ที่มีทั้งข้อจำกัดด้านเงินทุนและบุคลากร แต่ยังสามารถยืนหยัดผ่านกาลเวลาอยู่มาได้ยาวนานมั่นคง

กล่าวได้ว่า ฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้าตามแนวทางและเป้าหมายที่ได้วางไว้ นั่นคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละรุ่นที่ผลัดเปลี่ยนเข้ามาทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลงานความคิดที่แปรเป็นตัวอักษรบนหน้ากระดาษให้ออกมาเป็นวารสาร "ผู้ไถ่" แต่ละฉบับ ตั้งแต่ฉบับแรกกระทั่งถึงฉบับที่อยู่ในมือของท่านผู้อ่านขณะนี้

ในโอกาสนี้ เราจะนำท่านย้อนเวลากลับไปที่จุดเริ่มต้น กว่าจะมาเป็นวารสาร "ผู้ไถ่" เช่นทุกวันนี้ จากคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ซึ่งอดีตล้วนเกี่ยวข้องกับ "ผู้ไถ่"แต่ละท่านได้มาช่วยกันบอกเล่าความทรงจำที่มีต่อ "ผู้ไถ่"

 "ผู้ไถ่" บนเส้นทางแห่งสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรมและสันติ จากอดีตสู่ปัจจุบัน มีเรื่องราวน่าสนใจอย่างไร ภารกิจการไถ่กู้ในรูปแบบของสื่อวารสาร "ผู้ไถ่" เป็นอย่างไร ติดตามได้ นับจากบรรทัดถัดไป

  ImageImage

จุดก่อเกิดวารสาร "ผู้ไถ่"

"วารสาร "ผู้ไถ่" เป็นดำริของสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา (สคทพ.) หรือ CCTD - Catholic Council of Thailand for Developmentยุคนั้นยังไม่มีคณะกรรมการยุติธรรมและสันติ (ยส.) เป็นบทบาทของ CCTD ซึ่งทำงานพัฒนา รวมถึงงานด้านยุติธรรมและสันติด้วย เหตุผลที่ CCTD มาจับประเด็นเรื่องความยุติธรรมและสันติ เกิดจากคำสอนของพระสันตะปาปา ปอลที่ ๖ ในสมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ ซึ่งพระสันตะปาปา ปอลที่ ๖ ทรงพูดถึงแนวคิดเรื่องการพัฒนามนุษย์ในแนวทางของคาทอลิก และในสมณสาสน์ฉบับนี้ตอนท้ายๆ พูดถึงงานพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมว่า การพัฒนากับความยุติธรรมและสันติเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ งานพัฒนาก็จะต้องทำด้วย พอมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิ จึงมี "ผู้ไถ่" ออกมา"


Image

คุณรุ่งโรจน์  ตั้งสุรกิจ
หรือ พี่ฮุย กรรมการท่านหนึ่งของ ยส. ซึ่งในอดีตเป็นเจ้าหน้าที่ของสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา (สคทพ.) และเป็นผู้จัดทำวารสาร "ผู้ไถ่" ตั้งแต่ฉบับแรก พี่ฮุยทบทวนความทรงจำครั้งเก่าก่อนแล้วบอกเล่าให้ภาพปะติดปะต่อส่วนหนึ่งของการก่อเกิดวารสาร "ผู้ไถ่"

 

Imageพระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์[๒] ผู้ก่อตั้ง ยส. และผู้ให้กำเนิดวารสาร "ผู้ไถ่" ท่านได้เคยเล่าให้ทีมงาน "ผู้ไถ่" ฟังถึงที่มาการก่อเกิดวารสาร "ผู้ไถ่" ไว้ใน "ผู้ไถ่" ฉบับที่ ๘๑ เนื่องในโอกาสที่เข้าสู่ปีที่ ๓๐ [๓] ความว่า

"ในปี ๒๕๑๖ หลังเกิดเรื่อง ๑๔ ตุลาฯ ไม่นาน ก็เกิด "ผู้ไถ่" ขึ้น หลังจากฆ่ากันไม่กี่วัน พ่อและศูนย์กลางเทวา [๔] มาร่วมกันคิดว่าเราต้องทำอะไรกันแล้ว จึงได้มี "ผู้ไถ่" ขึ้น บรรยายเหตุการณ์ที่เราได้รู้ได้เห็นมาที่ผู้มีอำนาจได้กระทำต่อนิสิตนักศึกษาอย่างไม่ถูกต้อง เราก็ได้เล่าและบอกว่าเราไม่เห็นด้วยเพราะอะไร ทำเป็นแผ่นพับแจกในกลุ่มคาทอลิกตามวัดต่างๆหน้าปกเราคิดว่าจะทำยังไงดี พ่อเคยไปฟิลิปปินส์เห็นคนวาดรูปเต่าโผล่หัวออกมา ซึ่งคนทำอธิบายว่าถ้าเต่าหดหัวอยู่ในกระดองก็เดินไปข้างหน้าไม่ได้ ตราบใดที่เต่ายืดหัวออกจากกระดองก็จะเดินก้าวหน้าไปได้ ทีนี้ก็หาคนวาดคือ Imageคุณสมชาย ทองประดิษฐ์ ซึ่งทำงานอยู่ศูนย์กลางเทวา เขาบอกว่า กระดองเต่ากับหมวกทหารมันคล้ายกัน เราก็เห็นดีด้วยว่าหมวกทหารมันครอบประชาชนอยู่ ถ้าประชาชนไม่กล้ายื่นหัวออกจากอิทธิพลทหาร ก็จะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้"

วารสาร"ผู้ไถ่"จึงถือกำเนิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยกำลังประสบวิกฤติทางการเมืองและสังคม จากเหตุการณ์เดือนตุลาคม ปี พ.ศ.๒๕๑๖และ ๒๕๑๙ โดยมีกลุ่มคนเล็กๆ จำนวน ๓ - ๔ ท่านซึ่งตระหนักดีว่าเป็นความจำเป็นที่พระศาสนจักรคาทอลิกต้องอยู่ในความเป็นจริงของสังคม เข้าใจปัญหาและความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับประชาชน จากกรณีความขัดแย้งทางลัทธิอุดมการณ์  และเพื่อช่วยมิให้พระศาสนจักรถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง Imageหากสมาชิกพระศาสนจักรไม่เข้าใจว่าอะไรคือความเป็นจริง ความยุติธรรม และความถูกต้องที่แท้ของสังคมในขณะนั้น

สำหรับกลุ่มคนเล็กๆ ที่ให้กำเนิดวารสาร "ผู้ไถ่" นั้นประกอบด้วย คุณพ่อบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ คุณประนอม ศรีอ่อน หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ในสมัยนั้นสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา (CCTD) และคุณจำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ กรรมการ CCTDในขณะนั้น


ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์
  เป็นผู้หนึ่งที่ให้กำเนิดวารสาร "ผู้ไถ่" และมีบทบาทสำคัญต่อทิศทางและเนื้อหาใน "ผู้ไถ่" ยุคแรกๆ ในขณะนั้นท่านเป็นกรรมการของสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา และเป็นฆราวาสคนแรกที่ได้เป็นประธานของ ยส. ปัจจุบัน ดร.จำเนียร ดำรงตำแหน่งผู้แทนประจำประเทศไทย ขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN

ดร.จำเนียร ได้เล่าเหตุการณ์ในอดีตที่เป็นดังประวัติศาสตร์ในยุคสมัยนั้นซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาสได้รับรู้

Image"ตอนนั้นเป็นยุคของการกดขี่เบียนเบียนและอยุติธรรมอยู่ค่อนข้างโดดเด่น ตอนนั้นปี ค.ศ.๑๙๗๑ หรือ พ.ศ.๒๕๑๔ ผมเพิ่งกลับจากมาเลเซีย มาจากบ้านเณร มาทำงานกับชุมชนแออัดในสลัม เราใช้ออฟฟิศที่ศูนย์กลางเทวา และมี YCW -Young Christian Workers ที่มีคุณสนั่น วงศ์สุธี นักแรงงานที่ผมนับถือมากๆ เพราะสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่งท่านทำอยู่และไปสนับสนุน(ปัจจุบันท่านเสียชีวิตไปแล้ว)เพราะกลุ่มคาทอลิกทำเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน สิทธิเรื่องที่อยู่อาศัย

ท่านบุญเลื่อนทราบว่าผมทำงานอยู่ในองค์กร VOMPOT-Voluntary Movement for People's  Organization in Thailand กลุ่มอาสาสมัครจัดระบบชุมชนในประเทศไทย ผมเป็นคนแรกที่มาทำ และตอนนั้นมีพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร อาสาสมัครมาทำงานในสลัมด้วย และมีคุณไพศาล หรือพระไพศาล วิสาโล ในปัจจุบัน พวกเราเช่าบ้านอยู่ในสลัมพร้อมกับคุณพ่อจอห์น กีลวูธ์ ซึ่งอยู่ที่วัดฟาติมา พวกเราก็อาศัยพื้นที่ในโบสถ์ของฟาติมาเป็นการรวมตัวกัน ก่อนเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ ตอนนั้นรัฐห้ามเด็ดขาดในการรวมตัวเกิน ๕ คน ถูกจับแน่ๆ พวกเราก็หาที่หลบซ่อนเพื่อรวบรวมแนวคิด

หลังผมทำงานไปได้ ๑ ปี ก็ถามอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ว่ามีใครมาช่วยผมหน่อยได้ไหมใน VOMPOT อ.สุลักษณ์ก็เสนอ ๒ คน คือ คุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล และ อ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ก็ทำงานด้วยกัน ผมมอบหมายให้คุณเสกสรรค์ไปทำงานที่สลัมซอยสวนพลูที่ถูกขับไล่ ส่วน อ.จรัลไปทำงานกับครูประทีปที่สลัมคลองเตย และทำงานที่สลัมมักกะสัน  ช่วงนั้นเป็นช่วงที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกของจอมพลถนอม กิตติขจร"

ดร.จำเนียร เล่าว่า มีหนังสือ ๒ เล่มที่มีความหมายต่อท่านมาก และมีคุณค่าสำหรับคนที่ทำงานกับประชาชนซึ่งในยุคนั้น ยส. และสภาคาทอลิกฯ ได้ใช้หนังสือทั้งสองเล่มนี้ประกอบในการขับเคลื่อนงานและกิจกรรม

"มีหนังสืออยู่ ๒ เล่ม ที่ผมได้นำมาจากปีนัง และระหว่างการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดระบบชุมชน แนวคิดนี้เข้ามาเผยแพร่ เล่มแรกคือ Pedagogy of the Oppressed ของ PauloFreireคัมภีร์ของผู้ถูกกดขี่ ของ เปาโล แฟรร์ ซึ่งเป็นนักการศึกษาและทำงานกับคณะกรรมการยุติธรรมและสันติที่เรซิเฟ่ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลและตอนนั้นก็มีคุณพ่อบอนแนงค์ คณะเยสุอิตนำไปสอน เพราะเป็นหนังสือเกี่ยวกับการให้ความหมายของการสอนหนังสือไม่ใช่แค่เพื่อจะอ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่ต้องรู้ความหมายของชีวิตด้วย ยกตัวอย่าง การสอนคำว่า "สลัม" อ่านอย่างไร สลัมหมายถึงใคร ใครอยู่ในสลัม แล้วทำไมถึงอยู่ในสลัม สลัมเกิดขึ้นได้อย่างไร ตอนนั้นชาวสลัมถูกขับไล่ ก็มีการตั้งคำถามว่า ทำไมเราถึงถูกขับไล่ พวกเราไม่มีสิทธิในที่อยู่อาศัยหรือ นี่คือวิธีการตั้งคำถาม และให้เขาตอบ นี่คือตำราของ Pedagogy of the Oppressed  เพื่อจะให้คนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกดขี่ ช่วยกันตอบคำถามที่พวกเราพยายามให้เขาตอบ และพยายามหาทางออกด้วยกัน

เพราะฉะนั้นประสบการณ์ในระยะแรกๆ ที่พวกเราทำงานอยู่ในสลัมต่างๆ ก็มีการแปลหนังสือนี้เพราะเข้ายุคสมัยมาก ตอนนั้นผู้กดขี่ที่ชัดเจนคือ ระบบทหาร ที่ใช้คำว่า "ทรราช" ใครคือผู้กดขี่ และใครเป็นผู้ถูกกดขี่ แล้วกดขี่ด้วยวิธีใดบ้าง ตอนนั้นก็มีความชัดเจนมากในเรื่องรูปแบบของการกดขี่ ผู้กดขี่ก็มีคนเดียวและยังไม่มีความเข้าใจเรื่องระบบมากนัก เราก็เอาหนังสือนี้ไปให้อาจารย์กาญจนา แก้วเทพ ช่วยแปล หลังจากแปลแล้วเราก็พิมพ์ด้วยกระดาษโรเนียว ต่อมาจึงพิมพ์เป็นหนังสือ ก็แจกจ่ายกันในกลุ่มพวกเรา อ่านและช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ต่างๆ นานา

 แล้วก็มีประชา หุตานุวัตร ตอนนั้นเขาเรียนอยู่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เขาเชิญผมไปพูดคุย เพราะตอนนั้นสภาพบ้านเมืองยังคุกรุ่นอยู่ ผมมีโอกาสไปพูดคุยในกลุ่มเล็กๆ ตอนนั้นนิสิตนักศึกษาให้ความสนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนเข้ามาฟังกันค่อนข้างเยอะ รวมถึงอาจารย์หลายคน เช่น อ.กาญจนา นั่นคือหนังสือเล่มแรกที่พวกเราได้นำเนื้อหามา เพราะตอนนั้นสถานการณ์บ้านเราก็เหมือนในละตินอเมริกา เปาโล แฟลร์อยู่ที่บราซิล เขาเขียนภายใต้การกดขี่โดยทรราชแบบเดียวกัน"

ดร.จำเนียร กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นคัมภีร์เล่มหนึ่งสำหรับนักพัฒนาปลุกจิตสำนึก และคนที่จะออกไปทำงานกับชาวบ้านกับชุมชน ซึ่งท่านได้ใช้เป็นตำราในการทำงานร่วมกับนิสิตนักศึกษาและกลุ่มคนที่อยากกอบกู้สถานการณ์จากสภาพที่เป็นอยู่ในยุคนั้น ส่วนอีกเล่มหนึ่งก็เป็นหนังสือเพิ่มเทคนิคในการทำงานกับประชาชน เป็นแนวทางของการจัดระบบชุมชนเพื่อจะสร้างพลังให้แก่กลุ่มคน

Image"เล่มที่สองที่ผมนำมาด้วยคือ Rules for Radicals ของ Saul D.Alinskyที่ผมถือว่าเป็นกูรูเป็นครูที่สอนเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้คือ วิธีการทำงานจัดระบบชุมชน Community Organization เขาทำกันอย่างไร ทำงานโดยชาวบ้านอย่างไร พูดคุยกับชาวบ้านอย่างไร วิเคราะห์ผลกระทบชาวบ้านอย่างไร เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความตระหนัก เกิดสำนึกอยากจะเข้ามาแก้ไขปัญหาของเขาเอง และมีช่วงของการวิเคราะห์จากปัญหาหนึ่งไปอีกปัญหาหนึ่งอย่างไร อีกอันหนึ่งคือ วิธีการง่ายๆ ที่จะไปต่อรองกันอย่างไร วิธีการพูดคุยกับคนที่เอารัดเอาเปรียบเราอย่างไร ชักชวนให้เข้ามาวิเคราะห์ สังเคราะห์สถานการณ์ความเป็นผู้นำนี้อย่างไรบ้าง และใครเป็นผู้นำที่แท้จริง ใครเป็นผู้ติดตาม เราจะหาผู้นำได้อย่างไรบ้าง เหล่านี้มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ คือตำรา กฎของผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง"

ความทรงจำในอดีตพรั่งพรูออกมาให้เราได้มีโอกาสร่วมรับรู้ถึงการทำงานของกลุ่มคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้าที่มีอุดมการณ์อันแรงกล้าที่จะร่วมกันสร้างสังคมที่มีความยุติธรรมและสันติ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพด้วยอยู่ในสภาวะที่ถูกกดขี่จากผู้บริหารประเทศขณะนั้น

ดร.จำเนียรเล่าต่อว่า"พวกเรามีโอกาสมาทำงานร่วมกัน ภายใต้การนำของพระคุณเจ้าบุญเลื่อน ของทางคาทอลิก ตัวแทนจากพุทธก็คือ อ.สุลักษณ์ ตัวแทนจากคริสเตียนก็คือ อ.โกศล ศรีสังข์  ผมมีส่วนในกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม หรือ กศส. โดยเป็นผู้รวบรวมบุคคลต่างๆ โดยได้พูดคุยกับท่านบุญเลื่อนว่าจะเอาใครมาทำงาน มาเป็นกรรมการต่างๆ ไพศาล (ก่อนบวชเป็นพระไพศาล วิสาโล) ก็มาเป็นเจ้าหน้าที่ ตอนนั้นที่อยู่ในแนวคิดของพวกเราก็คือ จะพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องปัจเจก เรื่องการกดขี่ สำหรับผมก็เริ่มคิดแล้วว่า ส่วนที่ทำให้เสื่อมมากที่สุดและต้องกอบกู้ และโยงเข้ามาหากันก็คือเรื่องของจิตใจ การเอารัดเอาเปรียบไม่ใช่มาจากบุคคล ไม่ใช่มาจากโครงสร้างเท่านั้น แต่มาจากจิตใจที่อยู่ข้างใน จิตวิญญาณซึ่งเสื่อม เอารัดเอาเปรียบต่างหากที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการกดขี่และการเอารัดเอาเปรียบ เพราะฉะนั้นตัวนี้สามารถโยงเข้ามาหากันได้ เพราะมาจากบุคคล มาจากโครงสร้าง และมาจากจิตใจ ที่ต้องโยงเข้ามาหากัน

Imageเราได้ทำการดีเบตอยู่ค่อนข้างเยอะ เกี่ยวกับการที่ถูกกดขี่เยอะๆ แล้วพรรคพวกหลายคนบอกว่า เราต้องต่อสู้ด้วยอาวุธ ด้วยความรุนแรง ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบความรุนแรง ก็มีหลายคนแม้จะไม่ชอบ เขาก็ต้องหาที่สงบหาที่ปลอดภัย อย่างพวกนิสิตนักศึกษาถึงแม้เขาไม่อยากจับปืน แต่เขาก็ต้องเข้าป่า เพื่อหลบการถูกจับกุม บางคนบอกว่าถ้ามีความรุนแรงแบบนี้ คนก็ถูกฆ่า พวกเราก็ต้องถืออาวุธบ้างเพื่อไปกอบกู้ ก็มีการดีเบตอยู่ค่อนข้างเยอะมากว่าจะใช้ความรุนแรงไหม และตอนนั้นไพศาล พระประชา อาจารย์สุลักษณ์ และท่านบุญเลื่อนก็เข้ามาบอกว่าจะไม่ใช้ความรุนแรง แม้กระทั่งตอนนั้นในบางที่ เช่น ละตินอเมริกา พระสงฆ์ก็เห็นความจำเป็นที่จะใช้ความรุนแรงในการกอบกู้ ในประเทศไทยก็มีการถกเถียงกันเยอะมากว่ามีความจำเป็นด้วยหรือที่จะใช้ความรุนแรง  มีการพูดคุยเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น และนักสันติวิธีก็เข้ามาเพื่อพูดคุยกัน"

ด้วยสภาพสังคมการเมืองที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นยุคของการแสวงหาสันติวิธีการทำงานของ ยส.ในยุคนั้นจึงเข้มข้น มีการเข้าไปทำงานกับชุมชน ชาวไร่ชาวนา ชาวบ้าน ชาวชุมชนแออัด ตลอดจนผู้ใช้แรงงานค่อนข้างมาก สื่ออย่าง "ผู้ไถ่" จึงเกิดขึ้นเป็นสื่อขององค์กร ยส. เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิและสะท้อนปัญหาความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น ตลอดจนนำเสนอแนวทางสันติวิธีมาเป็นคำตอบให้แก่สังคม



[๑] ชื่อปัจจุบันคือ แผนกยุติธรรมและสันติ ในคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม

[๒] พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ ในขณะนั้น มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์สังคมพัฒนาแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสำนักเลขาธิการของ CCTD และมีบทบาทส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์สังคมพัฒนาในระดับสังฆมณฑลในเวลาต่อมา และในปี พ.ศ.๒๕๑๘ เมื่อสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ให้มีการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการในเวลาต่อมาท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกของคณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทย (ชื่อของ ยส.ในอดีต)

[๓] วารสาร "ผู้ไถ่" ฉบับที่ ๘๑ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๒ "ร่วมสร้างสังคมแห่งสันติสุข ด้วยการเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์"

[๔] กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา เครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งพระสังฆราชบุญเลื่อน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้ง วางแนวทางและการบริหารงาน ต่อมาใช้ชื่อว่า ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด



 ติดตามอ่าน ---> วารสาร "ผู้ไถ่" ฉบับแรก...ประวัติศาสตร์ที่ขาดการบันทึก และภาพทรงจำที่หายไป 
ในวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2559

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >