หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 68 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สิทธิมนุษยชนในบริบทความยุติธรรมในสังคมและความรัก พิมพ์
Wednesday, 18 May 2016


ผู้ไถ่ ฉบับที่ 41
กันยายน - ธันวาคม 2539

ส่งท้ายปีสากลแห่งการขจัดความยากจน 1996

 

 

สิทธิมนุษยชนในบริบทความยุติธรรมในสังคมและความรัก

คุณพ่อออกัสติน โมลิ่ง เอส.เจ


   

Imageคำว่า สิทธิมนุษยชน และ ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) เป็นศัพท์ใหม่ เราคาทอลิกปฏิเสธที่จะใช้ศัพท์ 2 คำนี้มานาน แต่พระสันตะปาปา Pius ที่ 11 ได้ใช้คำว่า Social Justice ในพระสมณสาสน์ Quadragesimo Anno (The Reconstruction of the Social Order) 40 ปีหลังจากที่ออกพระสมณสาสน์ Rerum Novarum ซึ่งในพระสมณสาสน์ฉบับนี้ ไม่ได้พูดถึง Social Justice เพราะถือว่า คำนี้มาจากลัทธิคอมมิวนิสต์ คำว่า สิทธิมนุษยชน ก็เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ในประเทศสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม บรรดาคนงานต่างลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนในเรื่องค่าจ้างค่าตอบแทนที่ไม่ยุติธรรม

คริสตชนในสมัยก่อนมีความเข้าใจว่ามนุษย์ไม่มีสิทธิ มีแต่หน้าที่ ดังที่ "พระเป็นเจ้าทรงสร้างเรามา และเรามีหน้าที่ที่จะเชื่อฟังพระเป็นเจ้า และไม่มีใครมาเรียกร้องสิทธิของตน" นอกจากนี้คำว่า "สิทธิมนุษยชน และความยุติธรรมในสังคม" (Social Justice) ก็ไม่มีปรากฏในพระคัมภีร์


เราเข้าใจความยุติธรรมและความรักอย่างไร

ปัจจุบันนี้ มีการให้คำนิยามและมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ต่อคำว่าความยุติธรรมและความรัก

ในพระคัมภีร์ของนักบุญมัทธิว 5:40 ที่กล่าวถึงเรื่องการฟ้องร้องเรื่องเสื้อผ้า การกู้เงิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของคนยากจนหรือกรรมกรที่ต้องหาเช้ากินค่ำ (ที่ควรจะได้รับค่าตอบแทนในตอนเย็นทุกๆ วัน มิใช่ได้รับทุก 15 วัน) และเมื่อต้องไปกู้เงิน ผู้ให้กู้จะขอของประกันเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่คนจนก็จะให้เอาเสื้อเป็นของประกันไว้ เจ้าของเงินกู้ ก็ต้องคืนเสื้อแก่คนยากจนก่อนจะพลบค่ำ เพราะตอนกลางคืนอากาศหนาว และคนจนนั้นอาจจะมีเสื้อเพียงตัวเดียว และยิ่งกว่านั้น เจ้าของเงินกู้ควรที่จะให้เสื้อนอกแก่คนจนด้วย

คำกล่าวเช่นนี้ใน Jerusalem Bible กล่าวไว้ว่า It is clear that the sentence is deliberately hyperbolic เหมือนกับในพระวรสารของนักบุญมัทธิว 19: 24 เรื่องอูฐลอดรูเข็ม คือเป็นการเปรียบเทียบในเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งในประโยคที่ว่า "จงให้เสื้อนอกแก่เขาอีกตัวหนึ่ง"  ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ถือตามตัวอักษร คนที่อธิบายเช่นนี้ เขาคิดคำนึงถึงเรื่องความยุติธรรมที่ผิดปกติ หรือจะกล่าวได้ว่ามาจากความคิดของอริสโตเติ้ล (ปราชญ์ชาวกรีก) และเข้ามาอยู่ในคำสอนของคาทอลิกโดยนักบุญโทมัส อาไควนัส ตามความคิดของนักบุญโทมัส ความยุติธรรมคือ เราไม่มีสิทธิที่จะเอาในสิ่งที่เป็นของของเขา หรือในภาษาลาติน Suum Culque หมายถึง "ให้แก่แต่ละคนในสิ่งที่เป็นของเขา"  เช่น หากจะเอาบทความของใครมาก็ต้องตกลงกันว่าจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์บทความเท่าใด และก็ต้องจ่ายให้แก่เจ้าของบทความนั้น หรือถ้ามีคนเอาเงินมาวางไว้บนโต๊ะของเรา เราจะเอาเงินนั้นมาไม่ได้ เพราะนั่นเป็นเงินของเขา หรือกรณีอาชญากรที่ทำความผิดก็ควรได้รับการลงโทษจากผลที่เขากระทำอย่างยุติธรรม (อย่างสาสม)

ทุกวันนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรื่องความยุติธรรมอยู่ที่ เรามิได้คำนึงถึงคน แต่เราคำนึงแต่ตัวหนังสือ และการใช้ความยุติธรรมตามตำราหรือตัวอักษร อาจจะเป็นการกระทำในสิ่งที่ไม่ยุติธรรมเลยก็ได้ การถือเด็ดขาดตามตัวอักษร หรือตามที่เราศึกษาและเข้าใจ ก็อาจจะทำให้ความอยุติธรรมเกิดขึ้น ดังในภาษาลาตินว่า Summa Iustitia, Maxima Injuria ความยุติธรรมสูงสุด นำไปสู่ความอยุติธรรมสูงสุดได้  ด้วยเหตุนี้ ความยุติธรรมเช่นนี้ไม่มีทางออก ฉะนั้น จะต้องแก้ไขความยุติธรรมด้วยความรัก หมายความว่า ต้องให้มากกว่านั้น เช่น พ่อค้าขายของเร่ขับรถยนต์คันเก่าๆ ไปชนกับรถเบนซ์ ซึ่งคนขับเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม และรถเบนซ์นั้นเสียหายมาก พ่อค้าขายของเร่ก็ยอมรับความผิด และจะต้องชดใช้ค่าซ่อมรถที่เสียหาย แต่เนื่องจากอะไหล่รถเบนซ์มีราคาแพงมาก ด้วยเหตุนี้ จะเป็นความยุติธรรมสำหรับพ่อค้าคนนั้นหรือไม่ ที่จะต้องไปหาเงินมาจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยการไปกู้เงินจากนายทุน ซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือน และครอบครัวของพ่อค้าผู้นี้ ก็พลอยได้รับความเดือดร้อนจากการที่ต้องเป็นหนี้ คำตอบต่อเรื่องนี้ คือไม่เป็นเรื่องที่ยุติธรรมต่อคนยากจนหากปฏิบัติกันตามตัวอักษร เพราะแท้ที่จริง สำหรับคนรวยที่ขับรถเบนซ์ เงินค่าซ่อมรถคงเป็นเงินเพียงเล็กน้อย และหากปฏิบัติความยุติธรรมด้วยความรัก คนขับรถเบนซ์ควรแก้ไขโดยที่เขาจะนำรถเบนซ์ไปซ่อมเอง แต่ตามคำสอนของพระเยซูเจ้า พระองค์สอนว่า "ซ่อมของตนเอง และควรซ่อมของเขาด้วย" เพื่อที่จะให้เกิด ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) นั่นคือ การแบ่งปัน และความรักเพราะนี่ไม่ใช่เรื่องที่พ่อค้าขายของเร่จะขับรถไปชนโดยเจตนา

ในพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 26 ได้กล่าวถึงเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง คนที่ตกเป็นทาสของเศรษฐกิจ ดังนั้น คนต้องทำงานเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ การเมือง เกิดการเปลี่ยนแปลงตามจิตตารมณ์ของพระเยซูคริสตเจ้า โดยการนำความยุติธรรมและความรักเข้าไปสู่ระบบดังกล่าว เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม แต่ต้องคำนึงเป็นอย่างยิ่งว่า ความยุติธรรมในสังคมในระบบเศรษฐกิจ ยังหมายถึง ไม่มีใครจะมีสิทธิที่จะรวยบนบ่าของคนอื่น

ในพระวรสารมักจะปรากฏเรื่องของความรักมากกว่าความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดี ความรักต้องมีความยุติธรรม เพราะถ้าเป็นความรักที่ไม่มีความยุติธรรมก็ไม่มีประโยชน์

ทุกวันนี้ มีคนพยายามให้คำนิยามแก่คำว่า ความยุติธรรม (Justice) โดยการเอาความหมายของความเมตตามาผนวกกับความยุติธรรม ปัญหาที่ตามมาคือ เราไม่เข้าใจว่าความรักคืออะไร จากคำสอนที่เราถูกสั่งสอนมาตลอดเวลาเกี่ยวกับเรื่องความรักว่า เราต้องรักทุกคน แม้แต่ศัตรู และต้องรักพระเป็นเจ้าด้วย สิ้นสุดจิตใจ (ดังนิทานเรื่องชาวสะมาเรีย)  แต่นักบุญออกัสตินบอกว่า จงรักตนเองและรักเพื่อนบ้าน และรักพระเป็นเจ้า หมายถึงว่า เมื่อเรารักตนเองอย่างถูกต้องและนักผู้อื่นแล้ว เราก็จะรักพระเป็นเจ้าด้วย การรักตนเอง มิได้หมายความว่า เรารู้สึกรักต่อตนเอง เช่นเห็นว่าตนเอง หล่อ สวย และรักรูปพรรณนั้น แต่การรักตนเอง คือ การรู้จักข้อบกพร่องของตนเอง และยอมรับความเป็นจริงของตนเอง การรักผู้อื่น คือ การยอมรับเขาในสิ่งที่เขาเป็น (เช่น เขามีนิสัยเช่นนั้น)  และมีสิทธิที่จะเป็นเช่นนั้น (เหมือนที่  "ตัวเรา" มีสิทธิที่จะเป็น  "ตัวเรา" เอง)  และพลอยยินดีกับความสำเร็จของเขานั้นด้วย เหมือนกับการที่คนในระดับเจ้านาย ต้องยอมรับว่า "กรรมกร" ก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเขา


พรหมวิหารสี่ กับ ความยุติธรรมและความรัก

ศาสนาพุทธมีหลักคำสอนเพื่อการปฏิบัติเรื่อง พรหมวิหารสี่ ที่สอดคล้องกับพระคัมภีร์ นั่นคือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เมตตา คือ ความรัก ความเอ็นดู ปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข

กรุณา คือ ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์

มุทิตา คือ มีจิตใจพลอยยินดีใน ลาภ ยศ สรรเสริญ ของผู้อื่น

อุเบกขา คือ ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง วางใจอยู่เฉย

พรหม แปลว่า ผู้ดี คนที่เรียบร้อย คนที่สมบูรณ์

วิหาร แปลว่า ห้องที่อาศัย

พรหมวิหาร คือ คนดีที่มีห้องปฏิบัติดีทั้ง 4 ห้อง (ข้อ)

บทสรุปของพรหมวิหารสี่ คือ ต้องคำนึงถึงว่าเขามาอย่างไร เขาต้องการอะไร และเราต้องช่วยเขา เช่น ถ้าเขามีความทุกข์เข้ามาหา เราต้องปลอบประโลมเขา ผ่อนคลายให้เขาพ้นทุกข์ หรือถ้ามาหาเราด้วยความสุขที่มากเกินไป เราก็ต้องช่วยปรับอารมณ์ของเขาให้เหมาะสม คือ ให้พอใจ ดีใจอย่างไม่ลืมตัว นี่คือเรื่องของความรัก ที่มิใช่การพยายามสร้างความรักจากตนเอง แต่เป็นการพยายามให้ตนเองมีอุเบกขาตลอดเวลา ให้เป็นคนใจเย็น วางใจอยู่เฉย เพราะถ้าหากเราเป็นคนที่อารมณ์รุนแรง เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจคนอื่นที่เข้ามาหา ฉะนั้น จึงต้องใจเย็น เพื่อที่จะพร้อมรับคนที่เดินเข้ามาหา และปรับตัวให้เข้ากับเขา

ในจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 ได้พูดถึงเรื่องของความรักว่า คนที่อยากรู้จักพระเป็นเจ้า ก็ต้องรักคนที่ไม่เคยรักจะไม่รู้จักพระเป็นเจ้า เพราะพระเป็นเจ้าทรงเป็นความรัก คนที่ไม่เคยรักพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือคู่รัก ก็จะไม่รู้จัก ไม่เข้าใจในพระเป็นเจ้า เพราะความรักถึงที่สุดแล้ว คือความปรารถนาที่จะให้เขามีความสุข แม้ว่าความสุขของตนเองจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม

ในประโยคภาษาอังกฤษที่ว่า Love is Blind หรือความรักทำให้คนตาบอด เป็นการตาบอดต่อตนเอง นั่นคือ รักจนลืมสัญชาตญาณของตนเอง ลืมว่าตนเองกำลังเดือดร้อน หรือกำลังเจ็บอยู่ เช่น การช่วยคนที่กำลังจมน้ำตาย และที่สุดก็ตายไปทั้งคู่ เหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยในสังคมไทย ดังคำสุภาษิตที่ว่า "เพื่อนตาย" คือการยอมตายแทนเพื่อน หรือตายด้วยกันกับเพื่อน

พระเยซูเจ้า พระองค์ไม่ได้สอนเรื่องพรหมวิหารสี่ แต่พระองค์ทรงสอนเรื่อง The Golden Rule of Mercy ในมัทธิว 7:12 "จงปฏิบัติต่อผู้อื่น ตามที่ท่านต้องการให้เขาปฏิบัติต่อท่าน" (Mercy ในความหมายของภาษาอังกฤษเอง คือ Compassion หรือ ความสงสาร ซึ่งแปลว่า "เมื่อเขาเจ็บ เรารู้สึกสงสารแต่ไม่ทำอะไร"  แต่พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า ต้องสงสารเขาและปฏิบัติต่อเขา เพื่อที่จะให้เขาพ้นทุกข์ ดังนั้นคำว่า Mercy ที่พระองค์สอน จึงมีความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่า หมายถึง การอภัยด้วย นั่นคือ "ถ้าเขาเสียใจ เราต้องอภัยให้เขา" (อย่างน้อย เราต้องพร้อมที่จะอภัยให้แก่เขาเสมอ)  เช่นในบทสวดข้าแต่พระบิดา "โปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้ายกให้แก่เขา" แปลว่า เขาได้ทำผิดต่อเรา และเสียใจ และมาขอโทษ เราก็ต้องอภัยให้แก่เขา ฉะนั้น The Golden Rule of Mercy ที่ว่า จงปฏิบัติต่อเขา เหมือนที่เราอยากให้เขาปฏิบัติต่อเรา คือ หากเรารู้ว่าเขาเสียใจอยากได้การอภัย เราก็ต้องอภัยให้แก่เขา และที่สำคัญ เราต้องอยู่ในห้องอุเบกขา (สภาพจิตใจที่พร้อมที่จะอภัยให้) และถ้าเขามาหาเพื่อที่จะขอโทษ เราต้องรับเขาที่ ห้องกรุณา  คือ การอภัยให้เขา ช่วยให้เข้าพ้นทุกข์

ฉะนั้น ถ้าเราเอาเรื่องดังกล่าวนี้ มาชี้วัดความสัมพันธ์ต่อเพื่อนบ้านเกี่ยวกับความยุติธรรม ก็พอจะชี้วัดได้ แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะเขียนเป็นตัวอักษรได้เสมอไป เพราะนี่เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ทุกครั้งไป เมื่อเราไปปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ

เช่น ถ้ามีคนขับรถมาชนรถของเรา เขามาขอโทษเพราะไม่มีเงินมาก เราต้องพิจารณาว่า จะต้องทำอย่างไร บางทีเราอาจจะจนพอๆ กับเขา ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมก็ตกลงกันว่า ต่างคนต่างนำรถของตนไปซ่อมเอง หรือถ้ารถของเรามีประกัน เราก็อาจจะแบ่งเงินค่าประกัน (ถ้ามีความเป็นไปได้) ไปช่วยซ่อมรถของเขา แต่ถ้าหากเขาขับรถมาชนรถของเราโดยเจตนา โดยมุ่งหวังให้เกิดความบาดเจ็บหรือเสียหาย เราอาจไม่ช่วยเหลืออะไร แต่ไปฟ้องเขา นี่เป็นเรื่องขอมโนธรรมสำนึกที่สะกิดเตือนเราว่า เราต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นการอธิบายถึงเรื่อง ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ที่มิได้มีการสอนในตำรา เป็นการพิจารณาเฉพาะกรณี แต่ในกระบวนการศาล การพิจารณาคดีจะเป็นไปตามตัวบทกฎหมายหรือตามลายลักษณ์อักษร ดังนั้นเรื่อง ความยุติธรรมในสังคม จึงไม่ค่อยปรากฏในนัยนี้

ในสังคมไทย เรายังพบปัญหาเกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) อยู่เสมอ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ เรื่องการสร้างถนน การสร้างเขื่อน ที่ต้องเวนคืนที่ดิน และรัฐบาลจ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้านที่เคยตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่ต้องถูกเวนคืนนั้น ในอัตราที่ต่ำมาก ดังนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุไปมากเพียงใด มีคนรวยอยู่เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่ประชาชนส่วนมากยังยากจนอยู่ ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ก็ไม่เกิดขึ้น

ดังนั้น ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) จะสัมฤทธิ์ผลได้ ก็ต้องคำนึงถึง มิติทางสังคม (สภาพของประชาชน) ด้วยมิใช่การยึดติดแต่ความถูกต้องทางกฎหมายเท่านั้น

 


  Image

ถาม - ตอบ


ถาม
  ปัจจุบันนี้ การแข่งขันทางการค้ามีส่วนทำลายความยุติธรรมในสังคมอย่างไร

ตอบ  สังคมทุกวันนี้ มีการแข่งขันกัน และมีความตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า Spirit of Competition ในแง่ของความยุติธรรม คงต้องพิจารณาว่า หากการแข่งขันจะทำให้สภาพเศรษฐกิจของสังคมดีขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำลง สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น ก็ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าที่มีราคาถูก คุณภาพดี แต่ในทางกลับกัน การแข่งขันที่มีการกดขี่ค่าแรงงานของผู้ที่เป็นกำลังผลิต ก็ไม่ได้ช่วยให้สังคมมีความยุติธรรม แต่ทว่าหากสังคมยังเป็นสังคมที่มีการผูกขาดการผลิต (Monopoly) ก็ยิ่งมีความอยุติธรรมมากกว่า เพราะนั่นเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในทุกระดับ


ถาม
  การแพร่ธรรมในโลกนี้ มีส่วนสร้างความยุติธรรมและสันติอย่างไร

ตอบ  การแพร่ธรรมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การแพร่ธรรมในศาสนจักร นั่นคือ การสอนคำสอนของพระเยซูเจ้า และการแพร่ธรรมในโลกนี้ คือ การสอนให้ผู้ที่มีหน้าที่ต่างๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ นักการเมือง นักเจรจาเพื่อสันติ ฯลฯ ให้ทำหน้าที่ของตนอย่างดี ตามจิตตารมณ์ที่ได้รับจากพระเยซูเจ้า เพื่อสร้างสังคมที่ดีขึ้น เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยศีลธรรม มีจรรยาบรรณ และมีมนุษยธรรม มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งสันติก็จะเกิดขึ้นในบริบทนี้ และก็จะถือว่าภารกิจการแพร่ธรรมในโลกเป็นภารกิจที่สำคัญของการแพร่ธรรมสำหรับพระศาสนจักรด้วย


ถาม  ความยุติธรรมกับสิทธิมนุษยชนจะเกิดควบคู่กันไปหรือไม่

ตอบ  ในพระคัมภีร์ มีการกล่าวถึงเรื่องหน้าที่มากกว่า ซึ่งเป็นการปฏิบัติต่อเพื่อมนุษย์ทุกคน และความยุติธรรมจะสมบูรณ์ ก็โดยการที่เราให้เขา เพราะเขามีสิทธิ เช่น สิทธิของคนที่ทำงานรับจ้าง ผู้เป็นเจ้านายจะต้องทำหน้าที่ให้ค่าตอบแทนในฐานะมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งจะต้องแบ่งปันแก่เขาตามสิทธิที่เขาพึงมีเขาพึงจะได้รับ และนอกจากนี้เรา (ผู้ที่มักคิดว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น) ต้องไม่ตัดสิน ผู้อื่นที่ต่ำต้อยกว่าหรือกีดกันเขาออกไปจากสังคมนี้


ถาม  ความยุติธรรมกับความชอบธรรมแตกต่างกันอย่างไรในปัจจุบัน

ตอบ  ความยุติธรรมเป็นเรื่องของการปฏิบัติ เป็นเรื่องที่บังคับได้หรือควบคุมได้ ตามกฎหมาย หากทำผิดตำรวจจับไปเข้าคุก ส่วนความชอบธรรมเป็นเรื่องของความเหมาะสม การเห็นสมควรหรือความน่าที่จะเป็นไป...... ซึ่งจริงๆ แล้วทางกฎหมายถือว่าไม่ได้

 

------------------------------

เว็บ 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >