หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 64 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สันติไม่อาจมี หากย่ำยีเสรีภาพ : หัจญีประยูร วทานยกุล พิมพ์
Thursday, 21 April 2016

Image




สันติไม่อาจมี

หากย่ำยีเสรีภาพ


โดย หัจญีประยูร  วทานยกุล


วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๔ ถูกกำหนดให้เป็น วันสันติสากล พร้อมกันนี้ ก็ได้ตั้งคำจูงใจไว้ว่า "To serve peace, respect freedom" ซึ่งคณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทย ได้ถอดความเป็นภาษาไทยว่า "สันติไม่อาจมี หากย่ำยีเสรีภาพ" คำจูงใจนี้ไม่ผิดอะไรกับคำป่าวประกาศ ฟังแล้วทั้งกร้าวทั้งเตือนสติ จะว่าขู่ก็ขู่ จะว่าจริงจังก็จริงจัง จะว่าวิงวอนก็ใช่ แถมยังแฝงเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไว้ด้วย เป็นข้อความชัดแจ้งอ่านแล้วเข้าใจทันทีว่า ถ้าต้องการดำรงไว้ซึ่งสันติหรือความสงบในมวลมนุษย์ ก็้องเคารพในเสรีภาพของกันและกัน แม้จะเป็นคำเตือนใจที่เจาะจงจะปราบชนผู้เป็นฝ่ายปกครองมิให้ใช้อำนาจกดขี่ชนผู้อยู่ใต้ปกครองไม่ว่าในสังคมใดก็ตาม แต่ก็กระเดียดจะเป็นเรื่องทางการเมืองระหว่างผู้ปกครองประเทศกับผู้อยู่ใต้ปกครอง จะอย่างไรผมก็เห็นว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมะส่วนหนึ่งและจะขอกล่าวจากพื้นฐานของธรรมะ

ในศาสนาอิสลาม มีบทบัญญัติในคัมภีร์กุรอานว่า "ลาอิกเราะหฟิดดีน" แปลว่า "ห้ามการบังคับในความเชื่อถือ" ซึ่งบางท่านหมายถึงศาสนา ดังนั้นหากจะมีมุสลิมหรือมิใช่มุสลิมเข้าใจในศาสนาอิสลามว่าใช้การบังคับในเรื่องศาสนาซึ่งเท่ากับย่ำยีเสรีภาพแล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นความเข้าใจผิด ในอดีตชาวมุสลิมเคยถูกกล่าวหาว่า "มือหนึ่งถือคัมภีร์ อีกมือหนึ่งถือดาบ" เรียกว่าถ้าใครไม่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม ก็ต้องถูกฆ่าฟัน และก็เป็นไปได้ที่ชาวมุสลิมบางพวกก็กระทำเช่นนั้น อันเป็นที่มาของคำกล่าวหาซึ่งผมเห็นว่าเป็นการละเมิดศาสนบัญญัติ ที่จริงการก้าวก่ายเสรีภาพของคนอื่นไม่ว่าในกรณีใดแม้ในวงครอบครัว เป็นการกระทำที่ผิดครรลองธรรมชาติ ผู้กระทำเช่นนั้นนอกจากมิได้เอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วยังหลงไปว่าใจของคนบังคับกันได้ ซึ่งโดยเนื้อแท้ไม่มีใครแม้จะมีอำนาจราชศักดิ์เพียงใดจะสามารถบังคับใจคนนอกจากเจ้าตัวเอง เพราะใจของคนโดยธรรมชาติเป็นอิสระ จึงทำให้เกิดคติว่า ที่ใดมีการย่ำยีเสรีภาพ ที่นั่นก็ลุกเป็นไฟหาสันติมิได้

ความจริงผมน่าจะได้กล่าวสนับสนุนคำจูงใจข้างบนนี้แต่ถ่ายเดียวในฐานที่เป็นความเป็นจริงกับคนส่วนใหญ่ แต่ผมใคร่จะติในบางแง่เพื่อการสร้างสรรค์ เป็นที่รู้ว่าใครๆ ก็ต้องการสันติ รู้ว่ามันควรจะเป็นภาวะของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ในคำจูงใจจึงได้เน้นหนักในคำ "สันติ" ว่าจะต้องมีในสังคม แต่ไปตั้งเงื่อนไขไว้ว่าจะต้องไม่มีการย่ำยีเสรีภาพ โดยอ้างว่า ถ้าปราศจากเสรีภาพแล้ว สันติก็ไม่อาจมี ตรงนี้แหล่ะที่ผมจะต้องขอท้วง ในประโยคที่เป็นหัวข้อเรื่อง มีคำใหญ่ระดับโลกอยู่ ๒ คำคือ สันติกับเสรีภาพ เราจะได้ยินสองคำนี้ก้องอยู่เสมอ เป็นคำที่ไพเราะและศักดิ์สิทธิเสียด้วย ถ้าที่ใดมีได้ทั้งเสรีภาพและสันติ (เพราะไม่แน่ว่าเมื่อมีเสรีภาพแล้วจะมีสันติที่แท้จริงด้วย ?) ที่นั่นก็นับว่าเป็นอาณาจักรของพระในโลกมนุษย์โดยแท้ มนุษย์จะมีแต่ความร่มเย็น แต่โลกทุกวันนี้มิได้เป็นเช่นว่า มีสิ่งไม่พึงปรารถนาเข้ามาระเกะระกะในวิถีทางของชีวิต การตั้งข้อแม้ให้สันติกับเสรีภาพต้องเป็นของควบคู่กัน จึงมิใช่สิ่งที่ควรยึดถือ แม้คนส่วนมากจะเห็นว่าควรเป็นเช่นนั้น เพราะถ้าจะถือตามคำขวัญข้างบนนี้ ในโลกก็ไม่อาจมีสันติได้ เพราะอย่างไรก็ยังคงมีการย่ำยีเสรีภาพอยู่ไม่ขาด ที่จริงมิใช่คนจะไม่เห็นความสำคัญของเสรีภาพ เคยพูดกันก็แล้วอภิปรายกันก็แล้ว ซ้ำๆ ซากๆ และก็เข้าใจกันแล้วด้วยซ้ำไป แต่ผู้ที่อยากจะย่ำยีเสรีภาพของคนก็มีเหตุผลของตัวเองเป็นทางออก และไม่มีใครยอมรับว่าเป็นทางออกที่ไม่ถูกต้อง ความพยายามของมนุษย์ที่จะให้เกิดสันติทำให้ชาติทั้งหลายเคยตั้งองค์การสันนิบาตชาติมาแล้ว แต่ก็มีอันต้องล้มไป และบัดนี้ก็มีองค์การสหประชาชาติขึ้นมาแทน ซึ่งมีวัตถุประสงค์คล้ายๆ กัน แต่งานที่ดำเนินก็ไม่สู้จะแจ่มใสนัก ความยุ่งเหยิงเหล่านี้มิหมายความว่ามนุษย์จะต้องระส่ำระสายไปด้วยจนไม่อาจมีสันติของตัวรึ ? ผมเห็นว่าถ้ามนุษย์เอาตัวไปผูกมัดกับสิ่งภายนอกมากเท่าไหร่ ก็ไม่มีเวลาจะสำรวจตัวเอง รู้จักตัวเอง นั่นหมายความว่าจะไม่พบสันติระหว่างภาวะทั้งสอง คือ เสรีภาพกับสันติ ท่านผู้ใดเห็นอย่างไรแล้วแต่อัธยาศัย สำหรับผมจะต้องเลือกเอาสันติก่อน เพราะสิ่งนี้เป็นจุดหมายของทุกศาสนา มีคำบาลีกล่าวว่า "นัตถิ สันติปรํ สุขํ" แปลว่าสุขใดจะเท่าสันติเป็นไม่มี ความเป็นนักบุญเรียกว่าเป็นภาวะสูงสุดในคริสตศาสนา นักบุญก็คือ Saint ซึ่งตามภาษาศาสตร์ก็เป็นคำเดียวกับสันติ ทางศาสนาอิสลามเวลาเขาทักทายกัน เขาใช้คำว่า "อัสลามุ อะลัยกุม" แปลว่า ขอสันติพึงมีแก่ท่าน ก็เมื่อจุดหมายของศาสนาใหม่ๆ สอดคล้องกันดังนี้ สันติจึงเป็นความจำเป็นของมนุษย์เราจะต้องให้มีจงได้โดยไม่มีข้อแม้แต่อย่างใด คราวนี้ลองพิจารณาดู การย่ำยีเสรีภาพน่ะไม่หมดไปได้จากโลกดังเหตุที่ได้กล่าวมาแล้ว ชาวโลกอย่าไปฝันถึงเสรีภาพให้มากนัก แม้เสรีภาพจะเป็นที่หวงแหน มีอะไรหลายอย่างที่ชาวโลกพยายามจะให้มีขึ้นให้ได้เช่นสันติ และบางอย่างก็ไม่ต้องการให้มีเช่นสงคราม แต่แล้วสงครามก็มีขึ้นจนได้ สันติก็ยังไม่พบเพราะมัวแต่ไปควานหานอกกาย เราจะยอมให้ภาวะของความเป็นมนุษย์ต้องถูกกระทบกระทั่งโดยสิ่งนอกกายหรือ ? สันติเป็นเรื่องภายใน คนจะต้องให้มันปรากฏในใจจนได้จึงจะไม่เสียทีเกิด มิฉะนั้นชีวิตจะขาดทุนเปล่า ใจผมจึงอยากจะให้แยกสันติกับเสรีภาพออกจากกัน ให้มันไม่ต้องเกี่ยวโยงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ต้องให้สันติขึ้นอยู่กับเสรีภาพ พูดดังนี้จึงเท่ากับไปขวาง Slogan ที่ตั้งไว้ เรื่องมีอยู่ว่าเราจะสามารถทำให้เสรีภาพถาวรได้หรือไม่ ตราบใดที่มนุษย์ส่วนใหญ่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ก็เห็นจะต้องตอบว่าไม่มีทาง เหมือนกับว่าเราไม่มีทางให้โลกเป็นโลกของพระศรีอารย์นั่นเอง เราจะต้องไม่พร่ำเพ้อ แต่พูดในสิ่งที่เป็นไปได้ เมื่อคนบริสุทธิ์ถูกจองจำ บางทีก็จบชีวิต เสรีภาพของเขาหมดไปโดยปริยาย ถ้าจะถือตามคติดังกล่าว มิหมายความว่าเขาไม่อาจมีสันติรึ ? คนที่ถูกทั้งจำกัดและกำจัดเสรีภาพในโลกมีอยู่มากมาย ถ้าเพียงเข้าใจว่าจะจัดการอย่างไรกับตัวเองในเมื่อหมดเสรีภาพก็จะมีสันติได้ นักโทษบางคนที่มีสันติจะเห็นห้องแคบๆ เป็นโลกกว้าง ผู้ที่ต้องโทษจะต้องรีบหาสันติให้แก่ตัวเอง มิฉะนั้นจะต้องเป็นบ้าตายเพราะถูกกักขัง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อปราชญ์โสเครติสถูกบังคับให้ดื่มยาพิษท่านก็ปฏิบัติอย่างมีสันติ และยอดไปกว่านั้น เมื่อพระเยซูคริสต์ทรงถูกตรึงบนมหากางเขน พระองค์ทรงรับความทรมาน เสียทั้งชีวิตและเลือดเนื้อ ยิ่งไปกว่าสูญเสียเสรีภาพเป็นไหนๆ พระองค์มิได้ทรงอยู่ในสันติรึ ?

ผมขอยกเรื่องมาเปรียบเทียบ ท่านพุทธทาสภิกขุได้ให้ความหมายของคำศาสนาว่า "ศาสนาคือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเป็นอันเดียวระหว่างผู้ปฏิบัติกับสิ่งสูงสุด จะเรียกว่าพระเจ้าหรือนิพพานก็ได้" ซึ่งผมยอมรับว่าคำของท่านเข้าทีที่สุด ทำให้ขยายความไปได้ว่า ถ้าศาสนาต้องมีโบสถ์ สุเหร่า หรือวัดวาอาราม หรือศาสนาอยู่ที่พระไตรปิฎก คัมภีร์ไบเบิล หรือคัมภีร์กุรอาน หรือศาสนาต้องอาศัยพระภิกษุ นักบวชในกรณีที่ลัทธิบางลัทธิเข้ามามีอำนาจทำลายล้างสิ่งดังกล่าวราบไป ก็หมายความว่าศาสนาได้หมดไปด้วย เพราะศาสนาขึ้นอยู่กับสิ่งนอกกาย แต่ถ้าศาสนาเป็นทางปฏิบัติทางใจ เพื่อให้คนเข้าสู่พระเจ้าหรือนิพพานให้ใครมาทำลายล้างสิ่งที่เป็นของนอกกาย ศาสนาก็คงดำรงอยู่ คนถือศาสนาแบบนั้นนอกจากจะอิสระไม่ต้องการอะไรมากกมาย แล้วยังได้ปฏิบัติตรงกับเป้าหมายของศาสนาอีกด้วย ผมอยากจะลงท้ายด้วยคำขวัญอันตรงกันข้ามว่า "สันติจักต้องมี แม้ถูกย่ำยีเสรีภาพ"

 

------------------------------

จาก สังคมพัฒนา ฉบับ ผู้ไถ่
ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๓ มีนาคม ๒๕๒๔
วันสันติสากล



เว็บ 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >