หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 59 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ติดตามความคิดของพระสันตะปาปาฟรังซิส : อัจฉรา สมแสงสรวง พิมพ์
Wednesday, 23 March 2016

วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ ๙๓
ต่าง Gen ไม่ต่างใจ

โดย อัจฉรา  สมแสงสรวง

 

ติดตามความคิดของพระสันตะปาปาฟรังซิส  


 
Image
       ภาพ: danutm.files.wordpress.com       

ในช่วงเวลา ๘ เดือน แห่งสมณสมัยของพระสันตะปาปาฟรังซิส  พระองค์ได้สร้างแรงกระเพื่อมในสังคมของคริสตชนคาทอลิกเป็นอย่างมาก ด้วยภาพลักษณ์ของนักอภิบาลด้านสังคม มากกว่าผู้สอนหลักความเชื่อ ความห่วงใยทางสังคมที่ผู้นำศาสนจักรท่านนี้ถ่ายทอดออกมาสู่สาธารณะ เป็นผลกระทบของผู้คนจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของวัฒนธรรมเศรษฐกิจ "มาเร็ว กินเร็ว ทิ้งไว้ แล้วไป" ที่กำลังทำลายคุณค่าของมนุษย์ในสังคมทุกระดับ 

การใช้ชีวิตอย่างไม่สะทกสะท้านกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆข้างเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่พระสันตะปาปา ฟรังซิส เป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะท่ามกลางบรรยากาศเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้  "หากมีใครถามขึ้นมาว่า  ‘พี่น้องของท่านอยู่ไหน? ใครเป็นพี่น้องชายหญิงของท่านในสังคม?'  และนี่คือคำตอบ ฉันไม่มีพี่น้องร่วมในสังคม หรือมันไม่ใช่ธุระกงการอะไรของฉัน... ต้องเป็นคนอื่น หรือต้องเป็นใครสักคน แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่ฉัน... ที่ข้างทาง ริมถนน  ฉันเห็นคนบาดเจ็บทั้งทางกายภาพ หรือด้านจิตใจ แต่ก็พูดว่า แหม น่าสงสารจริงๆ แล้วก็เดินผ่านเลยไป พลางคิดว่า เดี๋ยวคนอื่นคงมาช่วย"

 

วัฒนธรรมใช้แล้วทิ้ง....วัฒนธรรมเพิกเฉย

ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรานิยมในปัจจุบัน ได้สร้างบางสิ่งบางอย่างใหม่ที่ไม่ใช่เป็นการขูดรีดเอารัดเอาเปรียบคน หรือกีดกันคนให้กระเด็นไปอยู่ที่ชายขอบสังคมแต่เพียงเท่านั้น แต่ได้ทำให้ชีวิตมนุษย์กลายเป็นสินค้า มนุษย์เป็นเสมือนกากเดนที่ไม่ต้องการ หมดคุณค่า และถูกทิ้งลงถังขยะไป  วัฒนธรรมแห่งความมั่งคั่งกำลังทำร้ายจิตใจของเรา ให้เป็นคนไม่รู้ร้อนรู้หนาว มุ่งแต่ความพึงพอใจส่วนตัว ไร้ความรู้สึกต่อการสะเทือนใจและเป็นทุกข์ระทมร่วมกับคนที่กำลังเผชิญความยากลำบาก และไม่มีสำนึกของการช่วยเหลือพวกเขา พระสันตะปาปา ฟรังซิส ได้หยิบยกปรากฏการณ์ด้านสังคมต่างๆ มาสะท้อนระบบทุนนิยมที่กำลังละเมิดความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ผู้อพยพชาวแอฟริกันหนีตายจากความอดอยากเข้าสู่ภาคใต้ของอิตาลีทางเรือ ประสบกับสภาพเรือแตก จบชีวิตอย่างน่าอนาถในทะเล สำหรับผู้ที่เล็ดลอดเข้าไปถึงประเทศต่างๆ ในยุโรปก็ถูกเลือกปฏิบัติเหมือนมิใช่มนุษย์ ซึ่งการอพยพนี้ก็เช่นเดียวกับชาวโรฮิงญา ประเทศพม่า ที่หนีจากการเลือกปฏิบัติทางเศรษฐกิจและสังคม เพราะความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา ผ่านไทยไปมาเลเซีย ความเป็นมนุษย์ของพวกเขาสิ้นสุดลงทันทีที่เงินก้อนสุดท้ายจ่ายไปให้กับนายหน้าแล้ว เขาก็ปลดทิ้งความสนใจไว้ที่ชายฝั่ง ปล่อยให้ผู้คนเหล่านี้ล่องเรือเผชิญชะตากรรมกับความตายกลางท้องทะเล และเมื่อได้รับการช่วยเหลือก็ยังถูกหมางเมินจากเจ้าหน้าที่รัฐที่เลือกใช้กฎหมายเป็นเครื่องตัดสินภาวะไร้ศักดิ์ศรีของมนุษย์มากกว่ามโนสำนึกด้านมนุษยธรรมเพียงเพราะเขาเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

พระสันตะปาปา วิพากษ์ทุนนิยมที่มิได้หยิบยื่นยาสำหรับแก้อาการป่วยไข้ทางสังคม  แต่กลับส่งยาพิษที่พยายามตักตวงกำไร โดยลดกำลังแรงงาน ลดค่าตอบแทนแรงงาน ซึ่งเป็นการตัดโอกาสของผู้ที่เป็นแรงงานออกจากมิติด้านอื่นๆ ของสังคม ในบัญญัติ ๑๐ ประการ ข้อที่ ๕ ห้ามฆ่าชีวิต หมายถึงห้ามกระทำในสิ่งที่ละเมิดต่อคุณค่าชีวิตมนุษย์ หรือให้ปกป้องคุณค่าชีวิตมนุษย์  ทุกวันนี้เศรษฐกิจได้ฆ่าชีวิตประชาชน เศรษฐกิจสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม  กีดกันคนจนส่วนใหญ่ออกจากการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ  ปล่อยให้คนตกงาน หรือหมดหนทางเลือกอื่นที่จะดำรงชีวิตรอด  เร่งให้คนตกเป็นเหยื่อของหนี้สิน ต้องเอาชีวิตของตนเข้าแลก เรานิ่งเฉยได้อย่างไร เมื่อสิทธิที่จะมีอาหารกินเพื่อการยังชีพของเด็กๆ ที่ยากจนถูกปล้นด้วยการกินทิ้งกินขว้างของคนมีอันจะกิน เราจะนิ่งดูดายได้อย่างไร เมื่อคอร์รัปชั่นเป็นตัวการขัดขวางการใช้ชีวิตอย่างผาสุกในสังคม ทุกคนรับรู้แต่ไม่อยากเข้าไปยุ่ง หรือได้แค่พูดว่า ‘โกงบ้างไม่เป็นไร ยอมรับได้'  เพราะต่างคนต่างใช้ตาชั่งของวัฒนธรรมแห่งดุลยพินิจเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นตัวตัดสิน 

อีกประเด็นที่พระสันตะปาปา เป็นห่วงมากที่สุดคือ เรื่องการทำแท้ง ความพึงพอใจส่วนตัวได้ปิดกั้นจิตสำนึกของคนจำนวนหนึ่ง โดยปฏิเสธว่าชีวิตน้อยๆ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในครรภ์มารดา ยังไม่มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  ซึ่งคู่พ่อแม่หนุ่มสาวสามารถเลือกที่จะปลิดชีวิตน้อยๆ ที่ยังไม่ได้ถูกคลอดออกมา รวมถึงบางประเทศที่เจริญก้าวหน้าก็ออกกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้  การปกป้องชีวิตที่ยังไม่ถือกำเนิดมาถือเป็นคุณค่าสำคัญสูงสุดของการปกป้องสิทธิของการเป็นมนุษย์ เพราะชีวิตมนุษย์เป็นชีวิตที่พระเจ้าประทานมา ดังนี้จึงเป็นชีวิตศักดิ์สิทธิ์ และล่วงละเมิดมิได้

     Image  
                   ภาพ: www.priestsforlife.org                     

ผู้สูงอายุ เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่พระสันตะปาปาให้ความสำคัญ  คนเหล่านี้กำลังถูกการุณยฆาตแบบแฝงเร้น เพราะหมดค่าแล้วในฐานะต้นทุนการผลิต เป็นดั่งสิ่งของที่ปลดระวาง พระองค์เรียกร้องสังคมให้หันกลับมาดูแลกลุ่มคนสูงวัย ผู้สร้างประวัติศาสตร์แก่เราในยุคปัจจุบัน  โดยฝากความหวังไว้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพราะพวกเขาเป็นพลังสำคัญต่ออนาคตของมนุษยชาติ และนับจากวันนี้เป็นต้นไป คนรุ่นใหม่ต้องรับภาระกับสังคมผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงเรียกร้องผู้ที่กำลังล่วงเข้าสู่วัยผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลางให้เร่งสืบทอดประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ความเชื่อ และส่งมอบคุณค่าที่ดีงามซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าแก่คนรุ่นใหม่สืบไป เพราะผู้สูงอายุเป็นเสมือนเหล้าองุ่นที่ถูกบ่มหมักมานาน จึงมีรสชาตินุ่มลิ้นยากที่จะลืมเลือน ที่สำคัญกว่าคือ พวกเขาเป็นตัวอย่างของผู้ดำเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มาอย่างยาวนาน

สำหรับพระศาสนจักรคาทอลิก สถาบันที่พระสันตะปาปาได้รับมอบความไว้วางใจให้เป็นผู้นำสูงสุด  พระองค์ต้องการเห็นพระศาสนจักรในยุคสมัยนี้เป็นพระศาสนจักรของคนยากจน เป็นพระศาสนจักรที่ออกจากตนเองไปสู่ผู้คนที่อยู่ชายตะเข็บของสังคม  ไปอยู่ท่ามกลางสมรภูมิแห่งการดิ้นรนเพื่อชีวิตรอดของคนยากไร้บนท้องถนน  เป็นพระศาสนจักรที่ผ่านสังเวียนแห่งการต่อสู้กับความอยุติธรรม  และเต็มไปด้วยบาดแผลฟกช้ำ มากกว่าพระศาสนจักรที่อ่อนแอ ขี้โรค และร่วงโรยลงไปเพราะหลงติดอยู่กับความปลอดภัยด้านชีวิตภายในส่วนตัว ความสะดวกสบายในรั้วสถาบัน หรือใช้อำนาจบารมีในการแช่แข็ง เสแสร้งต่อความอ่อนน้อม กระด้างกระเดื่องจนเป็นเหตุแห่งความแตกแยก และกลายเป็นบาดแผลภายในสถาบัน

ความสะดวกสบายที่ปิดกั้นเราจากการเห็น และรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวจากภายนอกกำลังเป็นวิกฤติของสังคมที่ไม่ควรจะรั้งรออีกต่อไป  พระสันตะปาปา ฟรังซิส ขอร้องทุกคนให้หยุดนิ่งฟังเสียงเคาะที่หัวใจตนเองด้วยพลังแห่งความเชื่อและเปิดประตูหัวใจออกมา ที่นั่น เราจะพบ ‘พี่น้องของท่าน' ทั้งผู้ที่รอคอยความช่วยเหลือ ผู้ที่รอการเข้าใจ ผู้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา และผู้ที่ยินดีจะเติมเต็มความสุขแก่เรา ผู้ที่พร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม พระองค์เตือนว่าการปฏิบัติงานช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่น มิใช่เป็นงานกุศลตามสั่ง การเลือกอยู่กับคนจนมิใช่เฉพาะการมีกิจกรรมด้านสังคมเพื่อช่วยเหลือ  หรืองานที่กระทำเพื่อบรรเทามโนสำนึกส่วนตัว หรือผ่อนคลายความรู้สึกผิดส่วนตัวเท่านั้น  เพราะนั่นเท่ากับเป็นการคอร์รัปชั่นทางจิตวิญญาณ แต่หมายถึงการจัดลำดับความสำคัญภายในของโครงสร้างหรือในสถาบันของพระศาสนจักร และของรัฐด้วย

และเนื่องจากขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ บ้านเมืองกำลังประสบกับความขัดแย้ง จากร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม อันเนื่องมาจากระบบเผด็จการรัฐสภา  ซึ่งหากประเทศไทยมีผู้นำรัฐบาลที่ดี มีคุณธรรม และมีจิตสำนึกทางการเมืองเพื่อความดีส่วนรวม เป็นผู้นำที่กล้าหาญยอมรับความบกพร่องของตนเอง และเสียใจกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น กล้าขออภัยและพร้อมที่จะแก้ไขเพื่อเริ่มต้นใหม่ สังคมโดยรวมก็จะก้าวต่อไปข้างหน้าได้ พระสันตะปาปา ฟรังซิส อดีตผู้นำพระศาสนจักรในประเทศอาร์เจนตินา พระองค์เองเคยประสบกับความผิดพลาดจากการเป็นผู้บริหารที่เชื่อมั่นในตนเอง ในช่วงทศวรรษที่ ๗๐ ที่อำนาจเผด็จการทหารคุกคามประชาชน และพระศาสนจักรถูกเบียดเบียน จนเกิดเป็นความแตกแยกระหว่างสมาชิกในหมู่คณะ แต่ด้วยจิตใจที่อาศัยพลังความเชื่อจากศาสนาเป็นรากฐานที่ยึดมั่นอย่างไม่สั่นคลอนนี้ พระองค์น้อมรับประสบการณ์ที่เจ็บปวดนี้เป็นบทเรียนที่สำคัญต่อการทำงานอภิบาล ทำให้พระองค์สามารถนำพาพระศาสนจักรในประเทศบ้านเกิดของตน เป็นพระศาสนจักรที่อยู่ร่วมกับคนยากจน และยังเป็นพันธกิจเอกพันธกิจเดียวที่พระองค์เรียกร้องคริสตชนทุกคนให้ปฏิบัติ

เช่นเดียวกัน หากผู้นำประเทศไทย และคณะผู้บริหารประเทศ ยอมรับความผิดพลาดที่เป็นเหตุแห่งความแตกแยกในสังคม และยอมให้หลักศีลธรรมทางศาสนามาชำระล้างความมืดบอดของจิตใจตนเอง  กลุ่มผู้บริหารประเทศก็จะเห็นถึงจิตใจที่อ่อนโยนของตน และเห็นจิตใจที่เดือดร้อนของผู้อื่นด้วย  ประสบการณ์ที่มีประชาชนเรือนล้านคนออกมาต่อสู้โดยมีคุณธรรมและศีลธรรมทางศาสนาเป็นทั้งพลังและอาวุธต่อสู้กับอำนาจของฝ่ายปกครองบ้านเมืองที่เอาเปรียบประชาชน  ดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน และไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ทุกยุคสมัย

 

------------------------------

จาก วารสารผู้ไถ่ ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๙๓
ต่าง Gen ไม่ต่างใจ



เว็บ 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >