หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 78 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ผิดหรือที่อยู่ป่า - ทำไมต้องกล่าวหาว่าเป็น "อาชญากรโลกร้อน" ? : จักรชัย โฉมทองดี พิมพ์
Wednesday, 02 March 2016

ผิดหรือที่อยู่ป่า - ทำไมต้องกล่าวหาว่าเป็น "อาชญากรโลกร้อน" ?

จักรชัย  โฉมทองดี

คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Working Group for Climate Justice)

 

            ในขณะที่ภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) ประชุมกันที่กรุงเทพฯ เพื่อเจรจากันต่อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  มีไม่กี่คนที่ทราบว่าในช่วงที่ผ่านมา รัฐไทยอยู่ในกระบวนการชี้เป้าหาตัว "อาชญากรโลกร้อน" เป็นประเทศแรก นั่นคือการฟ้อง "คดีโลกร้อน" กับประชาชนในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ เป็นผู้กล่าวหาในการฟ้องร้องชาวบ้าน ๓๔ คดี ว่าทำให้เกิดความเสียหายเนื่องจาก "อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น" และเรียกร้องค่าเสียหายจากชาวบ้านเหล่านั้นเป็นเงินหลายล้านบาท

             ความเสียหายตามข้อกล่าวหาถูกคำนวณโดยสูตรซึ่งจำแนกความเสียหายจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้น้ำสูญเสียไปจากพื้นที่จากการแผดเผาของดวงอาทิตย์ การทำให้ฝนตกน้อยลง การทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน การทำให้ดินสูญหาย และการสูญหายของธาตุอาหารในดิน รวมทั้งมูลค่าความเสียหายอื่นๆ ที่มีต่อป่าไม้ประเภทต่างๆ (ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) สูตรการคำนวณนี้ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงของเจ้าหน้าที่เพื่อให้ครอบคลุมถึงความเสียหายอันเนื่องมาจาก "การลดลงของความสามารถในการเก็บกักคาร์บอน" อีกด้วย

            ยิ่งไปกว่านั้น ตรรกะในการตีมูลค่าความเสียหายจากสูตรดังกล่าว ดูจะลักลั่นกับความจริง กล่าวคือ คำนวณความเสียหายจากอุณหภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น แล้วนำมาเทียบกับต้นทุนของกระแสไฟฟ้าที่สมมติว่าต้องใช้ในการเดินเครื่องปรับอากาศขนาดยักษ์เพื่อลดอุณหภูมิในพื้นที่นั้นๆ ลงให้อยู่ในระดับ "ก่อนที่ป่าจะถูกทำลาย" หรือเป็นอุณหภูมิฐาน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจวัดอุณหภูมิในช่วงกลางวันตามยอดไม้ในสถานีวิจัย ๑๖ แห่งทั่วประเทศ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา และนำมาใช้เป็นตัวแทนอุณหภูมิฐานสำหรับป่าในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

            สิ่งที่เป็นปัญหาอย่างมากของคดีโลกร้อนก็คือ ผู้ที่ตกเป็นจำเลยทั้ง ๓๔ คนเป็นเกษตรกรรายย่อย ซึ่งอ้างว่าพวกเขาเพียงแต่ทำกินในที่ดินของตนเอง และทางการได้ปฏิเสธสิทธิในการทำกินของพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม ในตอนนี้พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าไปในที่ดินของตน ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่พวกเขาเลี้ยงชีพตนเองได้ นอกจากนี้ยังจะต้องจ่ายค่าปรับโดยเฉลี่ยเป็นเงินจำนวน ๓๖๐,๐๐๐ บาท ซึ่งถ้าคิดตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐ บาทต่อวัน พวกเขาจะต้องทำงานทุกวันเป็นเวลาสามปีครึ่ง เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าปรับดังกล่าว

            การฟ้องคดีโลกร้อนในประเทศไทยนี้ ดูเหมือนจะเป็นกรณีสุดโต่งของการจับ "อาชญากรโลกร้อน" แบบผิดฝาผิดตัว

            รากเหง้าของปัญหานี้อย่างหนึ่งคือ การประกาศเขตอุทยานเกิดขึ้นโดยไม่มีส่วนร่วมของประชาชน  ในปัจจุบันมีการประกาศให้พื้นที่ ๖๔.๘๘ ล้านไร่ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ แต่ตัวเลขของกรมป่าไม้ในปี ๒๕๔๑ แสดงให้เห็นว่า มีประชาชนเกือบครึ่งล้านครัวเรือน หรือราว ๑.๓๘ ล้านคน อาศัยและทำกินอยู่ในพื้นที่เหล่านั้น แม้ชาวบ้านในหลายพื้นที่จะรวมตัวกันเป็นเครือข่ายป่าชุมชนและเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อเจรจากับรัฐ และยืนยันสิทธิที่พวกเขาอยู่ในป่ามาก่อน แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสให้กันพื้นที่ทำกินดั้งเดิมของตนเองออกจากพื้นที่อนุรักษ์ที่ประกาศใหม่ แม้จะผ่านไปกว่าสองทศวรรษ ก็ยังไม่มีทางออกให้กับความขัดแย้งนี้ 

            ยิ่งไปกว่านั้น การจับกุมผู้อาศัยอยู่ในป่าชุมชนดูจะเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เอ็นจีโอซึ่งทำงานในภาคอีสานประมาณว่า มีการจับกุมชาวบ้านในข้อหาบุกรุกพื้นที่อนุรักษ์โดยเฉลี่ย ๒๐ กรณีต่อวัน ในบางกรณี ชาวบ้านเข้าไปทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ในลักษณะที่เป็นวนเกษตร อย่างเช่น ที่เทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง ซึ่งเกษตรกรรายย่อยถูกจับกุมเมื่อพวกเขาโค่นต้นยางอายุ ๓๐ ปี ของตนเองเพื่อปลูกใหม่ การโค่นต้นเก่าเพื่อปลูกใหม่เป็นวิถีเกษตรทั่วไป และมักมีการโค่นต้นยางเมื่อไม่สามารถให้น้ำยางได้แล้ว ทำให้เกษตรกรได้เงินจากการขายไม้ และสามารถนำเงินที่ได้มาลงทุนปลูกยางรอบใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลาเจ็ดปีกว่าที่จะโตพอให้กรีดยางได้เป็นครั้งแรก

            เจ้าหน้าที่มองดูแผนที่หรือภาพถ่ายทางอากาศจากในสำนักงานซึ่งห่างไกลจากพื้นที่จริง จึงไม่น่าประหลาดใจที่พวกเขาจะตีเส้นแนวเขตพื้นที่อุทยานทับพื้นที่สวนยางเหล่านี้ด้วย เนื่องจากชาวบ้านทำการเกษตรแบบดั้งเดิมที่เรียกกันว่า "สวนสมรม" ซึ่งในระบบเช่นนี้ จะมีการปลูกต้นยางห่างๆ และปลูกพืชชนิดอื่น ๆ แทรกไปด้วย (ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ผลและไม้ท้องถิ่นอื่นๆ อย่างเช่น ทุเรียน มังคุด สะตอ ต้นหมาก และพืชผักกินได้ อย่างเช่น ใบชา ข่า) แม้ว่าผู้ทำสวนสมรมจะได้น้ำยางน้อยกว่าคนที่ทำสวนยางเชิงเดี่ยวซึ่งได้รับการส่งเสริมจากรัฐ แต่สวนวนเกษตรของพวกเขาก็ให้อาหารอย่างอื่นเป็นรายได้เสริม และยังทำให้ระบบนิเวศมีความหลากหลายทางชีวภาพ

            ในหลายประเทศ วิถีเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ แต่ในประเทศไทย กรมป่าไม้กำลังโค่นต้นยางและต้นมะพร้าวเล็กๆ ที่ชาวบ้านนำมาปลูกในพื้นที่พิพาท เจ้าหน้าที่ใช้ทั้งเลื่อยยนต์และใช้สารเคมีราดทำลายที่ตอไม้เพื่อไม่ให้งอกขึ้นมาได้อีก โดยอ้างว่าทำเพื่ออนุรักษ์ป่า

            กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว ภาคป่าไม้ของไทยไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันที่จริงในรายงานของประเทศไทยที่ส่งให้กับสหประชาชาติตามอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ระบุว่านับแต่ปี ๒๕๔๓ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและป่าไม้เป็นตัวดูดซับคาร์บอนสุทธิไว้เสียด้วยซ้ำ ในขณะที่ภาคพลังงานปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ของไทย (๗๐%) โดยประมาณสองในสามของการใช้พลังงานเกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่ง 

            ไทยไม่ได้เป็นประเทศแรกที่เอาผิดทางอาญากับเกษตรกรรายย่อยที่อาศัยอยู่ในป่า ในประเทศอินโดนีเซียและส่วนอื่นๆ ของโลกก็มีการตั้งข้อหา "บุกรุกพื้นที่อนุรักษ์" เช่นเดียวกัน แต่อย่างน้อยไทยก็น่าจะเป็นประเทศเดียวที่เจาะจงกล่าวหาว่าเกษตรกรที่มีรายได้น้อยและตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เป็นอาชญากรโลกร้อน

            ในเวลาเดียวกัน นักค้าไม้รายใหญ่ เจ้าของสวนป่าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ หรือบรรดาโรงงานอุตสาหกรรม อาคารขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มข้นอื่นๆ กลับไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีให้ต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยคาร์บอนหรือการทำลายสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด


------------------------------

จาก วารสารผู้ไถ่ ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๙๑
Blessed Are the Peacemakers "ผู้สร้างสันติ ย่อมเป็นสุข"



เว็บ 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >