หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 30 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ลูกจ๋า! อย่าเพิ่งมาขอเวลาแม่เปลี่ยนแปลงโลก...สักนิด : น้ำค้าง คำแดง พิมพ์
Wednesday, 24 February 2016

มุมเล็กเล็ก

น้ำค้าง คำแดง

ลูกจ๋า ! อย่าเพิ่งมาขอเวลาแม่เปลี่ยนแปลงโลก...สักนิด     

 Image 
                             ภาพ :  haamor.com                              

            ในระหว่างนั่งดูเฟซบุ๊คอ่านโน่นนี่ในโทรศัพท์มือถือ เห็นเพื่อนๆ ในวัยใกล้เคียงกัน (ยี่สิบปลายๆ) ลงรูปทารกเกิดใหม่กันหลายคน คงถึงวัยอันสมควรที่พวกเราต้องออกมาสร้างครอบครัว เปลี่ยนสถานะจากลูก กลายเป็นพ่อแม่คน เด็กๆ หน้าตาน่ารักไร้เดียงสาจะรับรู้ไหมหนอว่าโลกใบนี้มีอะไรให้เขาต้องต่อสู้มากมาย ก็นั่นสินะ! แล้วทำไมเราไม่ช่วยกันทำให้โลกมันน่าอยู่กว่านี้

            ฉันเริ่มต้นบทนำด้วยการตัดพ้อโลกซะแล้ว(อมยิ้ม) ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ฉันถูกตั้งคำถามแบบติดตลก "นี่ก็โตพอจะสร้างครอบครัวได้แล้ว เธอคิดจะมีลูกตอนอายุเท่าไหร่ เดี๋ยวพอเข้าอายุสามสิบคุณแม่ต้องตรวจสุขภาพเยอะนะ"

            ฉันนิ่งไปพักใหญ่ เคยแต่เป็นคนตั้งคำถาม ครั้งนี้ถูกตั้งคำถามบ้าง "เอาจริงๆ เลยนะเราก็อยากมี แต่สงสารเด็กโลกมันร้อนขึ้นทุกวันกว่าพวกเขาจะโตอุณหภูมิจะขึ้นไปถึง ๕๐ องศาได้มั้ง อีกอย่างดูสังคมสมัยนี้สิเรายังใช้ชีวิตยากเลย นับวันอันตรายยิ่งมีรอบด้าน" นี่คือคำตอบของฉัน

            เพื่อนๆ ทำหน้างงแล้วพูดว่า "คิดได้ยังไง ไม่อยากมีลูกเพราะโลกมันร้อน"

Image            ฉันไม่ได้ตอบคำถามแค่ให้ตลกแต่ฉันคิดอย่างนี้จริงๆ ก่อนที่ฉันจะมีอีกหนึ่งชีวิตเพิ่มขึ้นมา ฉันอยากสร้างฐานดีๆ ทางความคิดไว้รองรับเขาก่อนที่เขาจะต้องออกไปเผชิญหน้ากับโลกใบใหญ่เหมือนที่พ่อกับแม่ของฉันเคยให้แก่ฉัน คำสอนของท่านทำให้ฉันอยู่ในระเบียบ โชคดีที่ฉันเป็นเด็กไม่ดื้อกับพ่อแม่ทำตามที่ท่านสอน แต่ฉันไม่แน่ใจว่าถ้าฉันมีลูก แค่การสอนจะเพียงพอหรือเปล่า

            หลายครั้งเรามักบ่นว่าสังคมไม่ดี ฉันเองก็เช่นกัน และมันก็ถูกท้าทายกับตัวฉันเองว่า "ในเมื่อฉันคิดว่าไม่ดีแล้วตัวฉันเองล่ะจะทำอะไรได้บ้าง" ต้องออกตัวกับคุณผู้อ่านก่อนในบทความนี้ฉันขอเล่าเรื่องตัวเองเยอะสักหน่อย ฉันคิดว่าหลายคนอยากมีธุรกิจของตัวเองฉันก็เป็นหนึ่งคนที่คิดเช่นนั้น วันนี้ฉันเริ่มทำธุรกิจเล็กๆ ฉันตั้งใจที่จะทำการตลาดให้สินค้าของชาวบ้าน ทำตัวเองเป็นแม่ค้าคนกลาง นำสินค้าท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาและนำมาจัดจำหน่าย แต่มีเงื่อนไขว่าสินค้าที่ฉันเข้าไปทำต้องมีคุณสมบัติดังนี้

Image            ๑.  เป็นสินค้าของท้องถิ่น

            ๒.  มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านเพื่อจัดทำสินค้า

            ๓.  ต้องคิดชื่อแบรนด์ของตัวเอง

            ๔.  หลังจากที่ฉันเข้าทำการตลาด ท้องถิ่นต้องทำศูนย์เรียนรู้

            ๕.  เมื่อมีรายได้เข้ามาแล้ว ต้องยินดีให้ฉันนำความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และการวางแผนการเงินเข้าไปแนะนำ 


            เหตุผลของคุณสมบัติเหล่านี้คือ

Image            ๑.   สินค้าทั่วไปหรือผู้ประกอบการทั่วไปมีนักการตลาดเก่งๆอยู่แล้ว ฉันจึงเลือกที่จะทำการตลาดให้กับสินค้าท้องถิ่น ฉันเชื่อว่าประเทศเรามีของดีมีคุณภาพมากมาย เพียงแต่ผู้ผลิตและผู้บริโภคยังไม่เจอกัน ฉันจึงอยากทำหน้าที่เป็นคนกลางให้เกิดการจับคู่อย่างลงตัว

            ๒.   คุณสมบัติข้อนี้เพราะฉันอยากให้เกิดความเข้มแข็งในท้องถิ่น จริงอยู่ฉันเป็นเด็กเมืองแต่ฉันเคยสัมผัสวิถีท้องถิ่น ฉันเชื่อในพลังของกลุ่ม พลังของทีม ชาวบ้านผลิตสินค้าให้คนอื่นมากมาย แล้วทำไมจะมีแบรนด์ของตัวเองไม่ได้

            ๓.   ชาวบ้านต้องช่วยกันคิดชื่อแบรนด์ของตัวเอง ความภูมิใจในฐานะเจ้าของแบรนด์สามารถดึงดูดให้ลูกๆ หลานๆ สืบทอด หวงแหนในสิ่งที่คนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ทำไว้

            ๔.   ข้อนี้เกิดจากฉันเห็นคนวัยทำงาน ออกมาหางานทำในเมือง ฉันคิดถึงข้อนี้เพราะในท้องถิ่นมีผลิตภัณฑ์ที่ดีมาก จะทำอย่างไรให้พวกเขากลับไปอยู่กับพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และสืบทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นไม่ให้หายไปจากท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้น่าจะเป็นทางออกที่ดี

            ๕.   ฉันไม่อยากให้ใครเดินเข้าสู่การเป็นหนี้ เรามีคำสอนที่เป็นของจริงจากในหลวงของเราอยู่แล้วนั่นคือ เศรษฐกิจพอเพียง บวกกับการวางแผนการเงิน ฉันตั้งคำถามว่าทำไมชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าต้องจน ในเมื่อเขามีกำลังมากกว่าฉันซึ่งไม่มีพื้นที่ในการประกอบอาชีพ แล้วทำไมเราจะเห็นชาวบ้านลุกขึ้นมาเทรดหุ้น เล่นหุ้น หรือใช้เงินทำงานในระบบเศรษฐกิจไม่ได้

            เป้าหมายของฉันคือการทำบริษัทที่สร้างรายได้ให้ตัวเอง สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน ลดปัญหาการเข้ามาทำงานในเมือง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความภาคภูมิใจให้คนในท้องถิ่น ลดการเป็นหนี้ เกิดความยั่งยืน

            บางคนให้คำจำกัดความว่า นี่คือ ธุรกิจเพื่อสังคม

Image            ตัวฉันเองไม่มั่นใจว่าจะใช้คำนี้ได้หรือเปล่า ฉันแค่อยากทำธุรกิจตามที่พ่อของฉันเคยสอนไว้ "วันใดที่ลูกมีความรู้ ลูกอย่าลืมแบ่งปันให้คนอื่น อย่าเอาเปรียบ อย่าอยากเยอะ ลูกโชคดีที่มีโอกาสแต่จะเปล่าประโยชน์หากลูกไม่แบ่งปัน ดูแบบอย่างจากในหลวงนะลูก นำสิ่งที่พระองค์ท่านได้ทรงสอนไว้น้อมนำมาใช้ในชีวิต" แล้วฉันก็เริ่มลงมือทำ

            ฉันมีโอกาสได้นำเสนอสิ่งที่ฉันคิดให้กลุ่มต่างๆ ขึ้นเวทีบอกเล่าสิ่งที่ฉันกำลังลงมือทำ ฉันไม่กลัวหากจะได้ยินเสียงหัวเราะ อย่างน้อยฉันก็ได้ลงมือทำ

            ฉันมีเรื่องเล่าเล็กๆ ของน้องคนหนึ่งที่ได้เจอกันในการสัมมนาธุรกิจของคนรุ่นใหม่ พรพิมล มิ่งมิตรมี หรือ น้องหมิว อายุ ๒๖ ปี จบคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเอก เคมี มหาวิทยาลัยศิลปากร เด็กสาวจากต่างจังหวัดผู้มีความมุ่งมั่นที่จะกลับไปทำงานที่บ้าน ฉันได้เจอน้องในฐานะเจ้าของสวนในขวดแก้ว ธรรมชาติเล็กๆ ในขวดที่มาพร้อมความจริงใจ ความอ่อนโยน แววตาที่มุ่งมั่น

Image            น้องหมิวเล่าว่า "ที่บ้านหนูทำสวนอยู่แล้วอยู่ที่สกลนคร จึงคุ้นเคยกับป่ากับสวน พอได้เข้ามาเรียนทำให้คิดถึงบ้าน ด้วยความที่เรียนวิทยาศาสตร์จึงคิดที่จะประยุกต์ให้ขวดใบเล็กๆ แทนความคิดถึงผืนป่าที่บ้าน หนูลองทำแล้วก็ลองนำมาขาย จนทำให้มีรายได้ หนูยังได้นำความรู้เรื่องการจัดสวนในขวดไปสอนน้องๆ  ระดับประถม มัธยม อีกด้วย ฝึกให้เด็กๆ มีจินตนาการ อ่อนโยน รู้จักดูแลสิ่งของ มันทำให้เราภูมิใจที่ได้แบ่งปัน สร้างให้เด็กมีพัฒนาการทางจิตใจที่ดี แต่สวนขวดเป็นเพียงงานอดิเรกเท่านั้นนะคะ(หัวเราะ) จริงๆ แล้วหนูมีความฝันที่จะกลับไปทำงานที่บ้าน ไปอยู่กับครอบครัว นำความรู้ที่ได้มาใช้ในท้องถิ่น มันยากนะคะเราเรียนหนังสือแต่พอนึกว่าจะกลับไปอยู่บ้าน ก็เกิดคำถามว่าจะไปทำอะไร หนูไม่ได้หวังอยากจะรวย แค่อยากพอมีเงินเลี้ยงดูพ่อแม่ แค่นั้น หนูมีความสุขที่ได้อยู่กับต้นไม้ป่าเขาที่บ้านมากกว่า หนูคิดว่าชีวิตคนเราบางทีมันก็วุ่นวาย ดิ้นรน แข่งขัน หรือเราควรกลับ...สูงสุดคืนสู่สามัญ คือกลับไปใช้ชีวิตตามวิถีที่พ่อแม่ได้ทำก็น่าจะดี ถึงท่านไม่รวยแต่ท่านก็ไม่ทุกข์"

Image            แม้สิ่งที่ฉันกับน้องหมิวคิดอาจดูเป็นเรื่องฝันๆ ไปบ้าง แต่ก็อย่างที่เรารู้กัน คนๆ เดียวเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนตัวเองได้ และก็อาจจะทำให้ที่ๆ เราอยู่เปลี่ยนไปด้วย ถ้าวันนั้นใกล้เข้ามาถึงฉันคงยินดีหากจะได้ดูแลเด็กเล็กๆ สักคนที่ได้ชื่อว่า "ลูก" อย่างน้อยสังคมที่เขาอยู่ก็พอจะทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตมาอย่างมีคุณภาพ

            นี่คือโลกที่ฉันอยากส่งต่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ใช้ชีวิต ความก้าวหน้าจะมีประโยชน์อะไร หากจิตใจคนเดินถอยหลัง ยอมรับทุนนิยม ยอมเป็นหนี้สิน ยอมทิ้งประเพณี ยอมทิ้งวิถีชีวิต ฉันยืนยันในทุกๆ บทความว่า...เรารอใครไม่ได้ สังคมจะเปลี่ยนได้มันต้องเริ่มตั้งแต่ตัวเรา วันนี้ฉันดีใจที่ได้เดินทางมาเจอน้องหมิว อย่างน้อยเธอก็เป็นกำลังใจให้ฉันเชื่อมั่นในสิ่งที่กำลังทำ วันหนึ่งข้างหน้าเราสองคนอาจได้ร่วมแบ่งปันสิ่งงดงามด้วยกัน ฉันจะขอมากไปหรือเปล่า ถ้าจะจบบทความนี้ด้วยการขอกำลังใจจากคุณผู้อ่านที่รัก "เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะคะ"

 

น้ำค้าง  คำแดง เคยเป็นอาสาสมัครขบวนการตาสับปะรด ผู้ช่วยผลิตรายการ "ระเบียงหลังบ้าน" ช่อง TTV ๑ ผู้ดำเนินรายการ "ร่วมด้วยช่วยกัน" ทาง สวท.A.M.๘๙๑ KHz อาสาสมัครเพื่ออันดามัน สู่อาสาสมัครพัฒนาบ้านเกิด (We Volunteer) เคยได้รับรางวัลความเรียงเยาวชน "ผลงานดีเด่น" ลูกโลกสีเขียว และเคยเป็นทีมงานผลิตรายการของบริษัท ทีวีบูรพาและเป็นอาสาสมัครไม่มีสังกัด ปัจจุบันกำลังเริ่มทำธุรกิจกาแฟและผ้าไทย ทำการตลาดสร้างแบรนด์ให้ท้องถิ่น

 

------------------------------

จาก วารสารผู้ไถ่ ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๙๙
วัฒนธรรม ทิ้งขว้าง : Throwaway Culture

เว็บ 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >