หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 178 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


การเคารพศักดิ์ศรี และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ในมิติสิทธิมนุษยชน : รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร พิมพ์
Wednesday, 02 December 2015

เส้นทางสิทธิมนุษยชนศึกษา

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร


                                            ภาพ : http://www.l3nr.org/                                           

 

การเคารพศักดิ์ศรี และคุณค่าของความเป็นมนุษย์

ในมิติสิทธิมนุษยชน

๑. สิทธิมนุษยชน คือ คุณธรรมสากลที่เน้นคุณค่าของมนุษย์ และยืนยันว่า มนุษย์ทุกคนมีความเสมอกันในศักดิ์ศรี และมีความเท่าเทียมกันในสิทธิ ไม่ว่าจะยากดีมีจน จะพิการ หรือมีความแตกต่างกันในเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด เพศ วัย หรือสีผิวก็ตาม สิทธิมนุษยชนจึงหมายถึง สิทธิความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มีคุณค่า มนุษย์ก็ต้องได้รับสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

            สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีความเป็นมายาวนานในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ถ้าเราได้ศึกษาจะเห็นว่า อารยธรรม ศาสนา และปรัชญาทั้งหลายในโลกที่ให้คุณค่ากับมนุษย์ได้มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่อมาได้ผ่านกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์ของสังคมในการประกัน "สิทธิ" ของความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชนจึงเป็นสิทธิทางกฎหมายทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ แนวคิด "สิทธิมนุษยชน" จึงปรากฏอยู่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของชาติต่างๆ ตลอดจนในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องสิทธิความเป็นมนุษย์ของบุคคลทุกคนในโลก

 

๒. แนวคิดสิทธิมนุษยชนมาจากศาสนา ถึงแม้คำว่า "สิทธิมนุษยชน" จะไม่ปรากฏอยู่ในหลักธรรมของศาสนาต่างๆ เพราะเป็นคำที่มนุษย์บัญญัติขึ้นในภายหลัง แต่ความหมายอันลึกซึ้งของสิทธิมนุษยชน มีอยู่ในทุกศาสนาที่เห็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์ ศาสนาเหล่านั้นจึงบัญญัติห้ามทำลายชีวิตมนุษย์ และต่างก็สอนถึงศักดิ์ศรีอันเท่าเทียมกันของมนุษย์ :

            คริสตศาสนา สอนว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงสร้างมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งสร้างที่ประเสริฐสุด เพราะทรงสร้างตามพระฉายาหรือภาพลักษณ์ของพระองค์ มนุษย์จึงมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับพระผู้สร้าง ทรงมอบหมายให้มนุษย์ดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง และสามารถใช้สรรพสิ่งเหล่านั้นเพื่อการดำรงชีวิต มนุษย์ในคริสตศาสนาจึงมีคุณค่าสูงเหนือสิ่งสร้างทั้งปวง คุณค่าที่กล่าวถึงนี้ คือ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ผู้หญิง หรือผู้ชาย เด็ก หรือผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเกิดที่ใด ผิวสีอะไร จนหรือรวย มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า หรือศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ชาวคริสต์ยังได้รับการสอนว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงรักมนุษย์ยิ่งนักและมนุษย์เป็นลูกของพระผู้สร้าง จึงเป็นพี่น้องกัน และพึงปฏิบัติต่อกันด้วยความรักฉันพี่น้อง

            ความเท่าเทียมกัน และ ความมีศักยภาพของมนุษย์ ชัดเจนในคำสอนของพุทธศาสนาที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในวรรณะใด ก็มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพราะวรรณะทุกวรรณะต่างเสมอกันโดยกรรม คือ ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว และยังสอนว่ามนุษย์มีศักยภาพสูง สามารถพัฒนาความรู้ สติปัญญา อย่างสูงสุดจนถึงขั้นนิพพานได้ นอกจากนั้นพุทธศาสนายังสอนว่า การดำรงชีวิตอย่างสมกับความเป็นมนุษย์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ และชีวิตจะดำรงอยู่ได้ต้องมี "ปัจจัยสี่" (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) ดังนั้น ปัจจัยสี่จึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

            สำหรับศาสนาอิสลาม พระ "อัลเลาะห์" เป็นผู้ประทานชีวิตแก่มนุษย์ มนุษย์มาจากบิดาองค์เดียวกัน จึงมีความสัมพันธ์กัน และมีคุณค่าของความเป็นมนุษย์ไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็ตาม มนุษย์มีชีวิตเพื่อทำความเข้าใจในสัจจะโดยมีคัมภีร์อัลกุรอานเป็นเครื่องนำทาง มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าใจถึงความจริง จนถึงความจริงที่อยู่เหนือธรรมชาติ สามารถที่จะมีความรู้ และสำนึกสูงขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และสากลจักรวาล

 

๓. สิทธิมนุษยชน คือ ชัยชนะของการต่อสู้กับความอยุติธรรม

ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา บรรดานักคิด นักปรัชญา และนักกฎหมายผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย มีความรู้สึกต่อต้าน เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความอยุติธรรม การใช้อำนาจโดยพลการ การทารุณกรรม และการเอาเป็นทาส จึงต่อสู้ สร้างกฎเกณฑ์ และบัญญัติเป็นกฎหมายให้มีผลบังคับใช้สำหรับบุคคลทั้งหลาย กระบวนการดังกล่าวเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ เพื่อต่อต้านอำนาจของกษัตริย์ โดยมีการร่างกฎหมายฉบับแรกที่เน้นเรื่อง "สิทธิ เสรีภาพของบุคคล" เมื่อ ค.ศ.๑๒๑๕ เรียกว่า Magna Carta ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ ตั้งแต่นั้นมา แนวคิดที่ว่า สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีของมนุษย์ ก็แพร่หลายในประเทศตะวันตก

            ต่อมาได้เกิดแนวคิด "กฎแห่งธรรมชาติ" นักคิดที่สำคัญๆ ของแนวคิดนี้ได้อ้างสมมติฐานว่า มนุษย์มีเสรีภาพ และเสมอภาคอย่างสมบูรณ์ในภาวะธรรมชาติ ซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ แนวคิดเรื่องกฎแห่งธรรมชาติได้พัฒนาไปเป็นการยอมรับว่า "สิทธิโดยธรรมชาติเป็นสิทธิทางกฎหมาย" การประกาศเอกราชของอเมริกา (American Declaration of Independence) ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ค.ศ.๑๗๗๖ ได้ประกาศรับรองสิทธิตามธรรมชาติของมนุษยชน ซึ่งรัฐบาลจะต้องเคารพ ปฏิญญาของฝรั่งเศสว่าด้วยสิทธิมนุษย์และสิทธิพลเมือง (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen) ใน ค.ศ.๑๗๘๙ ได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและบุคคลภายในรัฐ และเน้นว่าอำนาจของรัฐมาจากปัจเจกบุคคลที่เสรี

 

๔. ช่วงระยะเวลาที่มีความหมายที่สุดของประวัติศาสตร์สิทธิมนุษยชนในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ คือ ค.ศ.๑๙๔๕ (พ.ศ.๒๔๘๘) และ ค.ศ.๑๙๔๘ (พ.ศ.๒๔๙๑)

            สงครามโลกครั้งที่ ๒ (ค.ศ.๑๙๓๙-๑๙๔๕) ได้นำมาซึ่งการทำลายล้างชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างกว้างขวาง รุนแรง รวมทั้งความพยายามที่จะทำลายชนกลุ่มต่างๆ โดยอ้างเหตุแห่งเชื้อชาติ และศาสนา โดยเฉพาะการทำลายล้างชาวยิวโดยระบอบฮิตเลอร์  และการใช้ระเบิดปรมาณูทำลายเมืองฮิโรชิมา (วันที่ ๖ สิงหาคม ค.ศ.๑๙๔๕) และเมืองนางาซากิ (วันที่ ๙ สิงหาคม ปีเดียวกัน) ระเบิดปรมาณู ๒ ลูก ทำให้ผู้คนล้มตายนับแสน และเจ็บป่วยอีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ

            ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพราะการเคารพสิทธิมนุษยชนนับเป็นหนทางที่สำคัญอันจะนำไปสู่สันติภาพ ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น บรรดาผู้นำของสมาชิกดั้งเดิม ๕๐ ประเทศได้ร่วมลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ (the Charter of the United Nations) เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๕ โดยประกาศเป้าหมายหลักขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๔๕ ว่า : "เพื่อปกป้องคนรุ่นต่อไปจากภัยพิบัติของสงคราม และเพื่อยืนยันความศรัทธาในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในศักดิ์ศรี และคุณค่าของมนุษย์ ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี" มาตรา ๑ ของกฎบัตรสหประชาชาติระบุว่า จุดมุ่งหมายประการหนึ่งของสหประชาชาติ คือ "เพื่อบรรลุความร่วมมือระหว่างชาติในการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานสำหรับมนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา"

            แต่เนื่องจากกฎบัตรสหประชาชาติมิได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดยตรง หรือมีกลไกที่จะช่วยให้ประเทศสมาชิกปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงได้จัดตั้ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Committee on Human Rights) ขึ้น มีหน้าที่ร่างกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน จึงได้ร่าง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งสหประชาชาติมีมติรับรอง ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๔๘ (๑๐ ธันวาคม คือ วันสิทธิมนุษยชน)

 

. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถึงแม้ว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะมิได้มีผลบังคับทางกฎหมาย เช่นเดียวกับสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีพลังสำคัญทางศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม และมีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ทั่วโลกยอมรับ ข้อความในปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นพื้นฐานในการดำเนินงานของสหประชาชาติและเป็นแนวคิดในการร่างรัฐธรรมนูญของบรรดาประเทศที่มีการร่างรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ก็มีข้อความที่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เช่น ในมาตรา ๔ กล่าวว่า : "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง"

            ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย ข้อความ ๓๐ ข้อ และข้อแรกได้บัญญัติว่า : "มนุษย์ทั้งหลายเกิดมา อิสรเสรี และเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผล และมโนธรรม และพึงปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นพี่น้อง" (All human beings are born free and equal in dignity and rights. They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood.)

            คนส่วนใหญ่จะเน้นแต่ประโยคแรก คือ "มนุษย์เกิดมาอิสรเสรี และเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ" แต่ในความเป็นจริงความสำคัญอยู่ที่ประโยคหลังด้วย คือ "มนุษย์ได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผล และมโนธรรม และพึงปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นพี่น้อง" ข้อความสำคัญในประโยคหลังนี้ ทำให้เห็นว่า จิตตารมณ์ หรือ แนวความคิดของสิทธิมนุษยชน มาจากศาสนา ซึ่งขัดกับบรรดานักกฎหมาย ที่อ้างว่า : "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นปรัชญาทางมโนธรรมพื้นฐานในการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยการให้คุณค่ากับมนุษย์ ในฐานะที่เป็นมนุษย์ มิได้อ้างอิงอยู่กับคุณค่าทางศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ" (ซึ่งในความเป็นจริง ต้องการจะปฏิเสธว่า แนวคิดสิทธิมนุษยชนมาจากคริสตศาสนา)

            ในการอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชน สำหรับครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา ที่ผ่านมาเป็นเวลาหลายปี ข้าพเจ้ามักจะให้ เรื่องศาสนธรรมกับสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อสำคัญ โดยจะอ้างถึงคริสตศาสนา พุทธศาสนา และศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อจะเน้นว่า แนวคิดสิทธิมนุษยชนมาจากศาสนา

            การละเมิดศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ แม้ว่าจะมีกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในประเทศ เป็นหลักเกณฑ์ให้ยึดถือและปฏิบัติ แต่ถ้ามนุษย์ปฏิบัติต่อกันจากส่วนลึกของจิตใจ ด้วยความรัก เมตตา เอื้ออาทร ตามหลักศาสนธรรม ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลายเป็นพี่น้องกัน เราก็คงจะปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้องด้วยความยุติธรรม และเมตตาธรรม การละเมิดศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชน ก็ย่อมจะลดน้อยลง

 

------------------------------

จาก วารสารผู้ไถ่ ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๙๘
คุณค่า ศักดิ์ศรี และสิทธิ
ของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ ท่ามกลางพหุวัฒนธรรม



เว็บ 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >