หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 178 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ตัวเป็นของเรา แล้วใจล่ะเป็นของใคร : น้ำค้าง คำแดง พิมพ์
Wednesday, 11 November 2015

มุมเล็กเล็ก

น้ำค้าง คำแดง

ตัวเป็นของเรา แล้วใจล่ะเป็นของใคร

 

Imageเช้านี้อากาศดีจัง นั่งปลูกผักริมระเบียงห้องพักในแมนชั่นที่ฉันอาศัย ด้วยพื้นที่ของระเบียงอันน้อยนิดประมาณ ๑x๒ เมตร แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคสำหรับคนเมืองที่อยากปลูกผักกินเองเลยแม้แต่น้อย ปลูกไปก็คิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อยเปื่อย แล้วก็นึกถึงละครเรื่องนางทาส คิดว่าตัวเองกำลังนุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าแถบเก่าๆ สวมบทเป็น "อีเย็น" โดนเฆี่ยนจนหลังลาย เพราะปลูกผักช้า (หัวเราะ) ความจริงแล้วละครที่เขาทำย้อนอดีตก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างได้เหมือนกัน ไหนๆ ก็ชวนย้อนอดีตแล้วก็เลยตามเลยแล้วกันนะคะ มีบทเรียนจากการดูละครที่ฉันได้รับเสมอๆ เวลานึกถึงนางทาส คือความเจ็บช้ำทางจิตใจ การโดนดูถูก การตกเป็นทาสที่สืบต่อกันทางสายเลือดโดยไม่มีโอกาสได้เลือกที่จะเป็นในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ เรียกว่าขาดอิสรภาพตั้งแต่ลืมตาดูโลก ตัวเป็นของเจ้านายแม้ใจจะเป็นของเรา โชคดีเหลือเกินที่ฉันเกิดมาในยุคสมัยใหม่ที่ความเป็นทาสถูกยกเลิกไปแล้ว ไม่งั้นก็คงไม่ต่างอะไรกับตัวละครเหล่านั้น (อิงจากละครนะคะ) แต่จะว่าไปก็ใช่ว่าคนในยุคสมัยปัจจุบันจะไม่เป็นทาส ต่างกันที่เราเป็นทาสโดยสมัครใจ ไม่ต้องมองไปที่ไหนไกลว่าแล้วก็หยิบกระจกขึ้นมา นั่นไงชัดเลย! ฉันก็หนึ่งในหลายคนที่ตกเป็นทาสของยุคสมัยนี้

Imageด้วยประสบการณ์อันน้อยนิดของฉัน ฉันขออนุญาตหยิบบทวิพากษ์ทุนนิยม จากมุมมองของศาสนา โดยพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล มาตอนหนึ่ง"ทุนนิยมนั้นมีปรัชญาพื้นฐานอยู่ ๕ ประการ" และขอยกประการสุดท้ายมาสั้นๆ (ข้อมูลอ้างอิง http://www.visalo.org/article/budVipakTun.htm) ซึ่งพระอาจารย์ได้เขียนไว้อย่างน่าคิดตาม "ประการสุดท้ายคือเรื่องของจิตใจ ดังที่ได้พูดไว้แล้วว่า สิ่งหนึ่งที่ทุนนิยมปลูกฝังลงไปในใจของผู้คนก็คือ ความเชื่อว่าความสุขเกิดจากการบริโภค ความเชื่อเช่นนี้ทำให้เกิดโรคชนิดใหม่ขึ้นมาซึ่งเป็นโรคที่แก้ได้ยากยิ่งกว่าเอดส์ ในเมืองไทยเรามีคนเป็นโรคเอดส์ไม่ถึงล้านคน แต่ก็ยังน้อยกว่าคนที่เป็นโรคที่ว่า โรคนี้กำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก คนที่เป็นโรคนี้อาตมาเชื่อว่ามีไม่น้อยกว่า ๖,๐๐๐ ล้านคน โรคนี้คือ "โรคอยากรวย" โรคอยากรวยเป็นโรคที่กัดกร่อนมนุษย์มาก และบ่อนทำลายสังคมทั้งสังคม จะเห็นได้ว่าเดี๋ยวนี้ใครต่อใครคอร์รัปชั่นก็เพราะอยากรวย ตัดไม้ทำลายป่าก็เพราะอยากรวย แม้แต่ขายตัวก็เพราะอยากรวย หรืออยากมีเงินไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ค้าฝิ่นเฮโรอีนก็เพราะอยากรวย" สาธุค่ะ

และด้วยเนื้อหาจากบทความ (ตามลิงค์) ที่ฉันยกมาให้คุณได้อ่าน ทำให้ฉันเองก็ต้องกลับมานั่งคิดว่าความจริงแล้วฉันเองก็ยังเป็นทาส แต่เป็นโดยสมัครใจ "ทาสทางวัตถุนิยม" ชวนให้นึกถึงพี่ชาย ๒ คน ถือโอกาสแชร์เรื่องราวของพี่ชายทั้งสอง ให้ทุกคนได้อ่านนะคะ


คนที่ ๑ พี่ยงยุทธ อุทัยวรรณ์ หรือ พี่บี อายุ ๓๒ ปี อาชีพ เกษตรกร

Imageพี่บีเป็นคนต่างจังหวัดไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไร แต่มีความฝันที่แน่วแน่ที่จะมีที่ดินสักผืนของตัวเองเพื่อทำการเกษตรแบบดั้งเดิม แบบที่ปู่ ย่า ตา ยาย เคยทำมา ปลูกผัก ปลูกผลไม้ ขุดบ่อ แบบไม่ใช้สารเคมี และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชาวบ้านหรือคนที่สนใจเพื่อแบ่งปันความรู้ที่ได้สั่งสมมา ไม่ได้หวังที่จะร่ำรวยเงินทอง แค่หวังมีที่เล็กๆ เพื่อใช้ชีวิตในแบบพึ่งพาตนเอง นี่คือความมุ่งมั่นของคนหนุ่มวัย ๒๔ ปี (ตอนนั้น) พี่บีหาเวลาที่มีเข้าไปเรียนรู้เรื่องของการพึ่งพาตนเองในองค์กรต่างๆ โดยคิดเสมอว่ามีความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องลงมือปฏิบัติด้วย แต่จะทำอย่างไรในเมื่อไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง พี่บีเล่าว่า "พี่รู้ว่าพี่ชอบและมีความสุขที่ได้ทำสิ่งนี้ มันเหมือนเราค้นหาตัวเองเจอว่านี่คือสิ่งที่ใช่ แต่เราไม่มีที่ดิน พี่จึงหาโอกาสบอกเล่าเรื่องราวและแลกเปลี่ยนในสิ่งที่พี่คิด เผื่อมีบางคนที่คิดเหมือนพี่แล้วเขาเริ่มไม่ถูก ต้องการให้พี่ช่วย แล้วก็มีจริงๆ นะ เพื่อนๆ พี่ๆ เหล่านั้นให้พี่ไปทำความฝันในพื้นที่ของพวกเขาซึ่งพี่ยินดีและเต็มใจมาก แม้สุดท้ายที่ดินตรงนั้นจะไม่ใช่ของพี่ก็ตาม แต่มันเป็นการย้ำกับตัวพี่เองว่า ฉันรักสิ่งนี้จริงๆ และฉันทำมันได้ด้วยความรัก ยิ่งมีพื้นที่ให้พี่ทำมาก พี่ยิ่งรู้สึกว่าได้พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ เวลาหันกลับมามองในพื้นที่เหล่านั้นมันมีความสุข แต่เป็นสุขในแบบของพี่นะ ได้ใช้ศักยภาพที่เรามี บนวิถีแบบเรา ในพื้นที่พี่ๆ น้องๆ ที่เรารู้จัก" ฉันฟังแล้วก็อึ้งๆ ในความคิดของพี่บี ความสุขที่เกิดจากการสร้างสุขแม้ไม่ได้ครอบครอง แอบคิดว่าความสุขของพี่เกิดขึ้นง่ายจัง

ฉันถามต่อ "แล้วพี่บีไม่อายเพื่อนเหรอคะ ในขณะที่พวกเขาอาจจะเติบโตในหน้าที่การงาน กำลังตั้งหน้าตั้งตาเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว แต่พี่กลับคิดอีกแบบ" พี่บีหัวเราะก่อนตอบ "ความจริงคือพี่ได้ค่าตอบแทนจากการทำสิ่งเหล่านั้นแม้ไม่มากอะไรนัก แต่ความสุขของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ความต้องการในชีวิตพี่ไม่เยอะ พี่เลยไม่จำเป็นต้องแสวงหาอะไรมากนัก มีอะไรก็แบ่งกันไป เขามีที่ทาง มีเงิน พี่มีความรู้ มีต้นกล้า เราก็แลกกันไป ไม่ได้เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร พี่เคยนะที่พยายามดิ้นรนหาที่ทางของตัวเอง แล้วนั่นก็ทำให้พี่เป็นทุกข์ ต้องกลับมาตั้งคำถามใหม่ ว่าความจริงแล้วเราต้องการอะไร จริงอยู่การมีที่ดินคือความฝันของพี่ แต่ในเมื่อยังไม่มี ต้องมาดูว่าความสุขของเราคืออะไร ความสุขของพี่คือการปลูกต้นไม้ อยู่กับธรรมชาติ ดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และได้แบ่งปันสิ่งต่างๆ เท่าที่พี่มี"

ฉันถาม "นี่พี่กำลังสวนกระแสอยู่หรือเปล่า" พี่บีตอบ "ไม่นะ พี่ไม่ได้สวนกระแส แต่ละคนก็มีวิธีใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง ความแตกต่างมันทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ไม่จำเป็นต้องเหมือน มีความสุขกับอะไรก็ทำสิ่งนั้น ดีเสียอีกเราจะได้เป็นอีกทางเลือกของเขา ไม่ว่าคนจะสนใจวิถีของการพึ่งตนเองเพราะอะไร ขอแค่เขาคิดที่จะพึ่งตนเองก่อนนั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว พี่เองก็ยังเป็นคนปกติที่ใช้โทรศัพท์ ใช้คอมพิวเตอร์ ตามยุคสมัยเท่าที่จำเป็น เพียงแต่เราปรับวิถีชีวิตบางอย่าง พี่ก็แค่อยากมีอาหารที่ปลอดภัยไว้กิน มีที่อยู่อาศัยที่พอดีกับเรา มีอากาศที่ดีมีออกซิเจนเพียงพอไว้หายใจ พยายามใช้ตัวแปร(เงิน) ให้น้อยที่สุดและไม่ไปทุกข์กับมัน ใช้ชีวิตไปแบบช้าๆ"

(ตอนนี้พี่บีมาช่วยทำโครงการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช ที่ศูนย์การเรียนรู้ผู้ป่วยจิตเวชคืนสู่สุขภาวะโครงการสายใยเติมรัก ก้อนแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา)


คนที่ ๒ น.สพ.สมศักดิ์ สมจิตร หรือ พี่หมอรุทธ์ อาชีพ พิธีกร และเกษตรกร (ขออนุญาตแทนชื่อว่าพี่หมอนะคะ) พี่หมอ จบคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่สนใจที่จะเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ และมีโอกาสได้ทำงานที่บริษัททีวีบูรพา จำกัด ในฐานะพิธีกร ทั้ง "กบนอกกะลา" "แผ่นดินเดียวกันบ้านฉันบ้านเธอ" "คนค้นคน" "แผ่นดินไท" และอีกหลายรายการ

Imageจากพิธีกรสู่เกษตรกร มีที่มาที่น่าสนใจมากค่ะ พี่หมอเล่าให้ฟังว่า "พี่เป็นลูกหลานเกษตรกร ครอบครัวทำการเกษตรมาตั้งแต่รุ่นทวดหรืออาจจะก่อนรุ่นนั้น มันเป็นสายเลือด เราเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่ได้มีฐานะอะไร ตอนเด็กๆ ก็วิ่งตามท้องไร่ท้องนา วันหนึ่งมีโอกาสได้ดูโทรทัศน์เห็นชีวิตคนในนั้นดูดีจัง พวกเขาดูสนุก สบาย เพราะได้เห็นว่าเค้าสบายจึงรู้สึกว่าตัวเองลำบากทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้คิดอะไรนะ(หัวเราะ) เกิดการตั้งคำถามว่าทำไมเราไม่เหมือนกัน เริ่มรู้สึกอยากเป็นเหมือนเขา พี่เลยคิดเองว่าเราต้องเรียนสูงๆ แล้วหาเงินเยอะๆ จะได้สบาย อยากหางานดีๆ ทำ หาเงินเยอะๆ

พอเรียนจบก็ทำงานในสาขาอาชีพ แต่ก็นึกสนุกอยากทำรายการโทรทัศน์ วันหนึ่งมีโอกาสได้เข้ามาทำงานในบริษัททีวีบูรพา ได้ออกไปเจอโลกกว้างของจริงๆ ที่จริงกว่าที่เคยเจอ ได้สัมภาษณ์คนในท้องถิ่นต่างๆ มันค้นพบคำตอบบางอย่างในวัยเด็กที่คิดว่าเราลำบาก เราจน ความจริงแล้วอาชีพเกษตรกรไม่ได้จน แต่ที่ไม่รวยเพราะเรามีความอยากมากขึ้น อยากได้รายได้จากผลผลิตจึงใส่ปุ๋ยเคมี อยากให้ผักสวยจะได้ขายได้ราคาก็ฉีดยาฆ่าแมลง เราได้เงินมามากแต่เราก็เสียเงินไปมาก ในขณะเดียวกันเราเริ่มเรียนรู้ปัญหาวิกฤติการขาดแคลนอาหาร นั่นหมายความว่าแค่มีเงินอย่างเดียวไม่ได้ทำให้เราอยู่ได้ แต่อาหารต่างหากที่ทำให้เราดำรงชีวิตได้จริง พี่คิดต่อเลยว่าแล้วจะทำอย่างไร บังเอิญช่วงนั้นรายการที่ทำอยู่มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติ พี่เริ่มเห็นทางออก

อาจารย์ยักษ์ (อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ขับเคลื่อนทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นจริง) เคยกล่าวว่า "ผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้คือเกษตรกร" ฟังดูยิ่งใหญ่เนอะ นี่คืออาชีพที่พี่คุ้นเคย อาจารย์ยักษ์พยายามทำให้คนมีอิสรภาพ ปลดเงื่อนไขบางอย่างที่รับมาโดยการทำให้เห็น เชื่อสิว่าทำได้ พี่เริ่มกลับมานั่งคิด...เราเรียนรู้อะไรมาก็เยอะ บอกคนโน้นคนนี้ก็มาก ในฐานะพิธีกรเรานำเสนอเรื่องโน้นเรื่องนี้ แล้วตัวเราทำไมไม่ทำ นี่เรากำลังหลอกคนอื่นอยู่หรือเปล่า พี่เลยตัดสินใจกลับไปขอที่จากพ่อมาแปลงหนึ่ง (ได้ทั้งที่ดินได้ทั้งคำดูถูกเบาๆ) พี่เลือกจากแปลงที่แย่ที่สุด แล้วเดินตามคำสอนของในหลวง ตามที่ได้ไปฝึกมาจากอาจารย์ยักษ์ พี่ใช้เวลาจากวันนั้นถึงวันนี้ได้ ๓ปี อย่างค่อยเป็นค่อยไป พี่ต้องไปๆ มาๆ ระหว่างกรุงเทพ (ที่ทำงาน) กับจังหวัดสระแก้ว (ที่ดินของพี่) สิ่งที่พี่จะบอกคือ...สุดท้ายเราต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง"

"ถามจริงๆ นะพี่หมอ จากนายสัตวแพทย์ มาเป็นพิธีกร แล้วกลับสู่เกษตรกร พี่คิดว่าตัวเองกำลังเดินถอยหลังหรือเปล่า" พี่หมอหัวเราะอย่างอารมณ์ดีก่อนตอบ "ไม่นะ พี่ว่าพี่กำลังเดินไปข้างหน้า เดินไปรออยู่ข้างหน้า เตรียมทุกอย่างไว้เพื่อวันข้างหน้า อย่างที่ในหลวงท่านตรัสไว้ เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง พี่ค่อยๆ ทำ ให้มันเกิดอาหารให้พี่ได้กิน หากวันหนึ่งที่มันมีมากพอ ที่ดินนี้ก็จะเลี้ยงตัวมันเองได้เท่าที่มันไหว และอาจให้คนที่สนใจแวะมาดูตามศักยภาพที่มี ในอดีตเคยอยากมีทุกอย่างให้มากๆ แต่มาวันนี้พี่เริ่มคิดว่าควรมีให้น้อยเข้าไว้ มีเท่าที่เราพอกิน มีเท่าที่เราพออยู่ ไม่เบียดเบียนใครก็พอ"

Imageในขณะที่คนบางส่วนกำลังเดินไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุ ค่านิยม สร้างความสุขบวกความทุกข์อย่างไม่รู้เท่าทัน แต่ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งหันกลับไปดูวิถีในอดีต เพื่อลดพันธนาการบางอย่างลง ส่วนฉันตอนนี้หันกลับมาดูผักในมือตัวเอง แล้วนึกขำ ตอนที่ฉันเริ่มปลูกผักกินเองมีทั้งคนหัวเราะ มีทั้งคนอยากทำตาม มันเป็นความสนุก ความภูมิใจ ความท้าทาย และที่สำคัญมันคือการเรียนรู้ เราไม่จำเป็นต้องมีอะไรมาก นอกจาก "ความตั้งใจ" ฉันก็เป็นเด็กเมืองปกติที่อาศัยอยู่ในแมนชั่นเล็กๆ แต่ก็คงไม่ผิดกติกาที่แอบฝันอยากปลูกผักกินเอง ฉันไม่เคยปล่อยให้ความตั้งใจเป็นแค่ความฝัน คิดปุ๊บ ลงมือปั๊บ ฉันเฝ้ารอให้ต้นกล้าน้อยๆเติบโต ในที่สุดความตั้งใจก็เป็นผล เรียกว่าได้ผลดีเกินคาด ผักน้อยๆ ออกผลผลิตมามากมาย ในที่สุดก็เกิดการแบ่งปัน ถือเป็นเรื่องราวดีๆ น่ารักๆ ที่เพื่อนในเฟซบุ๊คของฉันหันมาปลูกผักกินเอง


ที่จริงบทความนี้ไม่ได้ตั้งใจให้คุณผู้อ่านหันมาปลูกผัก ขุดบ่อ หรือเตรียมดินหรอกนะคะ แค่อยากแชร์การใช้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง ในอดีตบรรพบุรุษของเราได้รับการเลิกทาสทางกายมานานมากแล้ว บางทีเราอาจจะต้องค่อยๆ กลับมาลดการเป็นทาสทางใจที่เราสร้างขึ้นเอง ความอยากมีอยากเป็น มักเล่นอยู่กับความโลภของใจคน หนทางของการเอาชนะคือการเดินตามแนวทางของพ่อ "เศรษฐกิจพอเพียง" ตัวอย่างของพี่ๆ เป็นการยืนยันว่าทำได้จริง หากนี่จะเป็นเทรนด์ใหม่ให้เกิดการทำตาม ฉันก็คิดว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี

แล้ว "อีเย็น" จะไม่คืนชีพอีกต่อไป หากเรารักษา "โรคอยากรวย" ให้กับใจตนเอง 

 

น้ำค้าง คำแดง เคยเป็นอาสาสมัครขบวนการตาสับปะรด ผู้ช่วยผลิตรายการ "ระเบียงหลังบ้าน" ช่อง TTV ๑ ผู้ดำเนินรายการ "ร่วมด้วยช่วยกัน" ทาง สวท.A.M.๘๙๑ KHz อาสาสมัครเพื่ออันดามัน สู่อาสาสมัครพัฒนาบ้านเกิด (We Volunteer) เคยได้รับรางวัลความเรียงเยาวชน "ผลงานดีเด่น" ลูกโลกสีเขียว และเคยเป็นทีมงานผลิตรายการของบริษัท ทีวีบูรพาและเป็นอาสาสมัครไม่มีสังกัด 

 

------------------------------

จาก วารสารผู้ไถ่ ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๙๗
ไม่มีทาสอีกต่อไป หญิงชายทั้งผองพี่น้องกัน



เว็บ 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >