หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 37 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


"ผู้สูงอายุ" ภูมิปัญญาของสังคม : วรพจน์ สิงหา พิมพ์
Wednesday, 26 August 2015

"ผู้สูงอายุ" ภูมิปัญญาของสังคม

วรพจน์ สิงหา เรื่อง/สัมภาษณ์

 ภาพจากเว็บ http://mandyleo.centerblog.net/rub-Fete-des-grands-meres.html  

"สังคมที่เราใฝ่ฝันจะเห็นมนุษย์วัยแตกต่างกัน จะเกิดเป็นจริงขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมนั้นอยู่บนพื้นฐานของการเคารพชีวิตในทุกช่วงวัย เราต้องยอมรับว่าการที่สังคมมีผู้สูงอายุจำนวนมากในโลกสมัยใหม่นี้ เป็นของขวัญ เป็นศักยภาพของมนุษย์และชีวิตจิตที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นนิมิตหมายแห่งกาลเวลา ซึ่งหากได้รับการยอมรับและเข้าใจอย่างครบถ้วนแล้ว ก็จะช่วยให้มนุษย์ร่วมสมัยทั้งชายและหญิงได้ค้นพบความหมายพื้นฐานของชีวิตเสียใหม่ ซึ่งจะก้าวพ้นจากความหมายที่ไม่ถูกต้องที่เกิดจากการสร้างภาพของพลังการตลาด โดยรัฐ และโดยทัศนคติที่มีอยู่ในปัจจุบัน"

(จากหนังสือ "พระศาสนจักรคาทอลิกกับผู้สูงอายุ" หน้า ๕๐)


ข้อมูลจากสื่อมวลชนระบุว่าประเทศไทยเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ อันเนื่องมาจากสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นและอายุขัยเฉลี่ยของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น คือผู้หญิงอายุขัยเฉลี่ย ๗๗ ปี และผู้ชายอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ ๗๐ ปี

...แต่อายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นนี้ จะไม่มีความหมาย หาก "คุณภาพชีวิต" ของผู้สูงอายุไม่ได้รับการเหลียวแล และที่สำคัญคือ "ทัศนคติ" เชิงลบของสังคมไทยที่มองว่า "คนชรา" คือภาระในครอบครัวและลูกหลาน คนชรามากมายถูกชิงชังรังเกียจและถูกผลักไสไล่ส่ง


ผู้สูงอายุเป็น "ผู้ให้" ไม่ใช่ "ผู้รับ"

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน เราคงต้องยอมรับว่า "ผู้สูงอายุ" คือกลุ่มคนที่หลายฝ่ายละเลยและไม่ได้ให้ความสนใจมากเท่าที่ควร การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ คงไม่ได้หมายถึงสวัสดิการทางสังคมเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือการสร้างทัศนคติเชิงบวกให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเรื่อง "ทัศนคติ" นี้กลับกลายเป็นงานที่ยากและต้องใช้เวลายาวนานมากกว่าเรื่องอื่นๆ

      
 บาทหลวงไพรัช  ศรีประเสริฐ 

บาทหลวงไพรัช ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการแผนกสุขภาพอนามัยและจิตตาภิบาลคณะอนุกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้สูงอายุ คุณพ่อไพรัชกล่าวว่า "ผู้สูงอายุไม่ได้เป็นผู้รับอย่างเดียว แต่เป็น "ผู้ให้" ด้วย ตรงนี้แหละที่เราทุกคนต้องเข้าใจ คือมองผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า เพราะวันหนึ่งข้างหน้าเราทุกคนก็ต้องแก่ชราด้วยกันทุกคน"

"มนุษย์ถูกสร้างตามพระฉายาลักษณ์ของพระเป็นเจ้า ตรงนี้เป็นคำสอนพื้นฐานเลย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยทำงาน หนุ่มสาว หรือวัยสูงอายุ ทุกคนมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในฐานะที่ถูกสร้างมาตามพระฉายาลักษณ์ของพระเป็นเจ้า เป็นลูกของพระเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ทุกสถานะ ทุกวัย มีบทบาทตามวัยของเขา ผู้สูงอายุมีบทบาทตามวัยของผู้สูงอายุเหมือนกัน เขาสามารถทำอะไรเพื่อสังคมได้"

"เราจึงต้องปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้วยความเคารพ ด้วยการให้เกียรติ และเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ ในฐานะที่เป็นผู้สั่งสมประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตหรือในเรื่องต่างๆ ในพระคัมภีร์กล่าวว่าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีปรีชาญาณ มีประสบการณ์ ผมหงอกหมายถึงผู้ที่มีภูมิปัญญา คนที่ผ่านประสบการณ์ การดำเนินชีวิต เห็นโลก เห็นธรรม สิ่งเหล่านี้มีกล่าวถึงในพระคัมภีร์บทปรีชาญาณ"

"ทุกวันนี้เราได้มีการจัดเวที จัดให้ผู้สูงอายุมีชมรม มีที่ของเขา คือรวมตัวผู้สูงอายุ สร้างเครือข่ายของเขา ให้ผู้สูงอายุได้ออกมาทำกิจกรรมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุ เพื่อผู้สูงอายุ เพราะหลายครั้งคนรุ่นใหม่มองว่าผู้สูงอายุ อายุมากแล้ว รอความช่วยเหลืออย่างเดียว อยู่ที่บ้านอย่างเดียว ไม่ต้องทำอะไร ไม่มองถึงว่าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีคุณค่า เพราะว่าเรามองด้วยสายตาแบบสมัยใหม่ นั่นคือผลประโยชน์ วัตถุ เงินทอง ใครที่ทำเงินได้ ใครที่ทำรายได้คือคนที่มีคุณค่า คนสมัยใหม่มองเรื่องวัตถุเรื่องเงินอย่างเดียว พอผู้สูงอายุทำงานได้น้อยหรือไม่ได้ทำงานแล้ว เหมือนหมดคุณค่า กลายเป็นผู้รับอย่างเดียวก็เป็นผู้ที่ไม่มีคุณค่า ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าที่ควร สังคมมองว่าผู้สูงอายุคือวัยที่ต้องรับอย่างเดียว แต่จริงๆ ไม่ใช่"


สร้าง "เครือข่ายผู้สูงอายุ" ...สถานสงเคราะห์คนชราไม่ใช่ "คำตอบ"

คุณพ่อไพรัชบอกว่าในมุมของพระศาสนจักรคาทอลิกได้มีการเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๙๙ และสิ่งสำคัญคือการสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุ เพื่อผู้สูงอายุ ให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ "จริงๆ ในระดับสากลตั้งแต่ปี ๑๙๙๙ พระศาสนจักรสากลบอกว่าให้สร้างเครือข่ายของผู้สูงอายุ เราเองก็ได้ตระหนักเรื่องนี้มานานแล้ว และในแผนทิศทางงานอภิบาลปี ๒๐๐๐-๒๐๑๐ ถ้าย้อนกลับไปดู มีการกล่าวถึงเรื่องผู้สูงอายุ เรื่องการสร้างเครือข่าย การรักษาคุณค่าวัฒนธรรมของไทยในเรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อผู้สูงอายุ และพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยได้ตระหนักเรื่องนี้มานาน ๑๐ กว่าปีแล้ว"

"ผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชรา หรือตามสถานสงเคราะห์ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในชุมชน อยู่ในครอบครัว ให้ครอบครัวและชุมชนดูแล และเมื่อพูดถึงการสร้างเครือข่าย หมายถึงว่าต้องสร้างผู้สูงอายุให้เกิดเป็นเครือข่าย จะทำอย่างไร เราก็สร้างชมรมผู้สูงอายุตามชุมชนวัดต่างๆ แต่เมื่อเราสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ เราก็สร้างกรรมการผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุ เพื่อผู้สูงอายุ คือเขาคิดว่าจะทำอะไร เพื่อพวกเขา เขาทำ เขาคิดเอง เราเป็นเพียงตัวเสริมให้เขาเท่านั้น"

"ปัจจุบันนี้ เรามีชมรมผู้สูงอายุอยู่ภายใต้เครือข่าย ๑๓๐ กว่าชมรม สมาชิก ๑๓,๐๐๐ กว่าคน ตามที่เขามี ในสังฆมณฑลต่างๆ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสงจะเยอะที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าสังฆมณฑลไหนคณะกรรมการเข้มแข็งมากน้อยแค่ไหน แต่งานนี้เริ่มมาแล้ว มีการนำร่องมาแล้วตั้งแต่ประมาณปี ๒๐๐๕"

"เราต้องสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุให้เข้มแข็ง เพื่อผู้สูงอายุจะได้ดูแลกัน และถ้ามีทุกพื้นที่ ทุกพื้นที่ก็จะดูแลกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปอยู่บ้านผู้สูงอายุ บ้านผู้สูงอายุไม่ใช่คำตอบ ถ้าเราสร้างบ้านผู้สูงอายุ สร้างเท่าไหร่ก็ไม่พอ เป็นปลายเหตุ เราจะเอาคนที่ไหนมาดูแลผู้สูงอายุ และการทำงานกับคนที่มีความถดถอยทางด้านร่างกาย มีความยากลำบากอยู่ คนรุ่นใหม่ไม่อยากทำงานแบบนี้"

"พระศาสนจักรคาทอลิกได้เตรียมเกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุมาพอสมควร และไม่ได้เตรียมเรื่องโครงสร้างอย่างเดียว แต่เตรียมในเรื่องของจิตใจ เรื่องของการรองรับกลุ่มของเขาเอง ยังมีหลายอย่างที่ต้องพัฒนา ต้องเติบโตในงานเรื่องผู้สูงอายุ ไม่ใช่เราจะสมบูรณ์แบบแล้ว แต่ได้ทำแล้ว เริ่มแล้ว"


แบบอย่างชีวิตผู้สูงอายุ...ผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระของสังคม

ทุกปีพระศาสนจักรคาทอลิกไทยจะมีการจัดงานวันผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุให้เกิดขึ้นในสังคมไทย คุณพ่อไพรัชเล่าให้ฟังว่า "เราพยายามสร้างความตระหนักให้กับคน ให้กับสังคมเรื่องผู้สูงอายุ ทุกปีเราจะมีการจัดงานผู้สูงอายุประจำปี ในระดับชาติเขาจัด ระดับคาทอลิกเราก็จัด จัดมา ๘ ครั้งแล้ว หมุนเวียนไปตามสังฆมณฑล ในงานวันผู้สูงอายุที่เราจัด ไม่ใช่เน้นเพียงให้เขามารวมกัน แต่เพื่อให้เห็นว่าเขาสามารถมาร่วมกิจกรรม และในวันนั้น มีการขอพรจากผู้สูงอายุ รดน้ำดำหัว เป็นการบูรณาการวัฒนธรรมไทย เพื่อให้เราเข้าใจว่าผู้สูงอายุคือภูมิปัญญา เป็นเครื่องหมายแสดงถึงพระพรของพระ อีกเรื่องที่สำคัญในโอกาสนี้ก็คือ เราอยากประชาสัมพันธ์ให้คนเห็นว่า ผู้สูงอายุเขามีพลังความสามารถที่จะจัดอะไรต่างๆ ได้"

ในงานวันผู้สูงอายุนี้จะมีการมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับ "ผู้สูงอายุคาทอลิกดีเด่น" และ "ลูกกตัญญู" ซึ่งบุคคลต่างๆ เหล่านี้สามารถเป็น "แบบอย่าง" ให้กับสังคมไทยได้ไม่มากก็น้อย

"ผู้สูงอายุคาทอลิกดีเด่น คือผู้สูงอายุที่ยังมีบทบาทออกมาทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เพื่อสังคมต่างๆ สิ่งนี้จะถูกประกาศให้คนรับรู้ว่าผู้สูงอายุมีเยอะแยะในพระศาสนจักรที่ไม่ได้แก่แล้วแก่เลย แต่ยังทำงานเพื่อสังคม อาจจะเป็นการสอนคำสอน อะไรต่างๆ ซึ่งต้องเป็นคนที่พอประกาศชื่อออกมาแล้ว ทุกคนยอมรับ ทุกคนเคารพ โดยมีขั้นตอนต่างๆ ในการคัดเลือก คนไหนเหมาะสมทั้งในเรื่องครอบครัว ช่วยเหลือสังคม นี่คือการสร้างความสำนึกให้คนรุ่นหลังได้เห็น เพราะฉะนั้นที่เราจัดงานแบบนี้ ครอบครัว ลูกหลานเขาได้เห็นว่าผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่จับต้องได้ เห็นจริง มีตัวอย่างทุกๆ ปี มีคนดีๆ ในสังคมเยอะแยะมากมาย"

"สองคือโครงการ "ลูกกตัญญู" เรามอบใบประกาศเกียรติคุณให้ลูกกตัญญู ซึ่งลูกกตัญญูอาจจะเป็นเด็กก็ได้ ผู้ใหญ่ก็ได้ บางคนอายุสามสิบสี่สิบปี เขายังเลี้ยงพ่อแม่เขาอยู่ เพราะมันเป็นสังคมของคนทุกวัย คุณค่าของความกตัญญู ไม่ใช่เรื่องเฉพาะของเด็กๆ"

"เราไม่มองในเรื่องของเงินหรือวัตถุ เราต้องการคนที่ให้เวลาแก่พ่อแม่ ซึ่งความกตัญญูคือต้องให้เวลาแก่กันและกัน บางคนยอมลาออกจากงานเพื่อดูแลพ่อแม่ พี่น้องคนอื่นก็ช่วยกันดูแล คนแบบนี้หลายคนต้องเสียสละอนาคตของตัวเอง คนแบบนี้น่ายกย่องน่าสรรเสริญ และน่าทึ่งที่มีคนแบบนี้ ซึ่งคุณค่าทางด้านจิตใจนั้นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก"

คุณพ่อไพรัชฝากข้อคิดไว้ว่า "อยากให้คนวัยอื่นๆ ให้โอกาสผู้สูงอายุได้มีเวทีของเขา ต้องส่งเสริมเขา ไปร่วมแสดงออก ร่วมกิจกรรมกับสังคม ชุมชน หรือวัด การมีกิจกรรมเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระของสังคมหรือครอบครัว ซึ่งนี่ใช้คำพูดที่ผิด หลายครั้งที่คนรุ่นใหม่พูดว่า เรามีภาระต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ ซึ่งพ่อเองคิดว่านี่เป็นบทบาทของเราที่เป็นลูกต้องดูแลท่าน เป็นหน้าที่ของลูก พ่อแม่ที่เลี้ยงเรามาเป็นภาระของลูกหรือ อยากให้มองเรื่องความรัก ความเคารพ ให้เกียรติ เอาใจใส่ อย่ามองผู้สูงอายุเป็นคนไร้ค่า อย่ามองท่านเป็นคนที่รอความช่วยเหลือ หรือขอจากสังคมอย่างเดียว หรืออย่ามองแต่ว่าทำงานได้ ทำเงินได้ ถึงจะมีคุณค่าและให้เกียรติ ให้เวลากับท่านให้มากๆ ซึ่งหลายครั้ง พอทำงานเหนื่อยๆ เราไม่มีเวลาให้กับท่าน ผู้สูงอายุต้องการอยู่กับลูกหลาน นี่คือความสุขของท่าน ได้เห็นหน้าลูกหลาน ไม่มีความสุขใดเท่ากับการได้เห็นหน้าลูกหลาน จะมากน้อยไม่เป็นไร ซึ่งไม่มีคนชราคนใดที่อยากจะไปอยู่ในบ้านผู้สูงอายุ ทุกคนอยากอยู่บ้าน อยากให้ทุกคนเข้าใจตรงนี้"

"ส่วนผู้สูงอายุเองก็ต้องเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ต้องเตรียมตัวทั้งทางสุขภาพร่างกายและจิตใจ ทั้งเรื่องการออกกำลังกาย ต้องเตรียมพร้อม เพื่อจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในเรื่องของกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น เข้าห้องน้ำ ทานข้าวเอง อาบน้ำเองได้ ไม่อย่างนั้นถ้าช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จะคับข้องใจ"

หลังจากพูดคุยกับคุณพ่อไพรัช สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนสำหรับผมก็คือ "ผู้สูงอายุ" คือภูมิปัญญาที่เราควรเคารพ หากเราเรียนรู้จากผู้สูงอายุที่มีทั้งประสบการณ์และวุฒิภาวะ สังคมไทยของเราน่าจะพัฒนาและก้าวหน้าอย่างมีสติมากกว่าที่เป็นอยู่

...ทุกวันนี้ ใช่หรือเปล่าว่า เราไม่เคยสนใจที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากคนรุ่นเก่า อีกทั้ง "ทัศนคติ" เชิงลบในสังคมไทยยังคงมองว่าคนชราคือภาระของสังคม ทำให้สังคมไทยผิดพลาดมากมายในหลายเรื่อง และถ้าสังคมไทยยังไม่สนใจที่จะเรียนรู้บทเรียนจาก "อดีต" ...อีกไม่นานประเทศไทยของเราก็คง "ไร้อนาคต"


------------------------------

จาก วารสารผู้ไถ่ ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๙๒
แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีความสุข



เว็บ 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >