หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 46 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 2004/2547 : การสอนสันติภาพ เป็นภารกิจสำคัญในยุคสมัยนี้ พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 2004/2547
การสอนสันติภาพ เป็นภารกิจสำคัญในยุคสมัยนี้

25 ปีในตำแหน่งพระสันตะปาปา เป็นช่วงเวลาแห่งการทำงานเพื่อสร้างสันติภาพและเรียกร้องให้มวลมนุษย์สร้างความดีงามพื้นฐานแก่กันและกัน

ในปัจจุบันมนุษยชาติมีความจำเป็นมากขึ้นที่จะแสวงหาเส้นทางแห่งความสมัครสมานไมตรี ซึ่งถูกครอบงำด้วยความเห็นแก่ตัวและความเกลียดชัง เพราะความกระหายในอำนาจและกิเลสของการแก้แค้น

สารฉบับปี 2004 นี้ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงกล่าวรำลึกถึงสมเด็จพระสันตะปาปา พอล ที่ 6 ซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นและปรารถนาเฉลิมฉลองวันที่ 1 เดือนมกราคมของทุกปี ให้เป็นวันสากลแห่งการภาวนาเพื่อสันติภาพ และยังทรงได้กำหนด “ศาสตร์แห่งสันติภาพ” ที่แท้จริง และมีสารวันสันติภาพสากลจำนวน 11 ฉบับของสมเด็จพระสันตะปาปา พอล ที่ 6 ที่ทรงมีถึงโลกมนุษย์ และทรงปูเส้นทางอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อบรรลุถึงสันติภาพที่เราใฝ่ฝัน

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวไว้ในสารฉบับนี้ว่า สารของสมเด็จพระสันตะปาปา พอล ที่ 6 เป็นคล้ายกับ “คำเตือนของประกาศก” โดยเฉพาะในเรื่องโศกนาฏกรรมแห่งสงครามที่เริ่มต้นในช่วงสหัสวรรษที่ 3

ตลอดระยะเวลา 25 ปีในตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 พระองค์ยังคงมุ่งไปตามเส้นทางแห่งสันติภาพ และพระองค์ใฝ่ฝันถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ในระยะเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงเรียกร้องและชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างสันติภาพ เพราะมนุษย์ทั้งชายและหญิงที่ต้องเผชิญหน้ากับโศกนาฏกรรมที่ยังคงทำร้ายมนุษยชาตินั้น ทำให้มนุษย์มีแนวโน้มที่จะยอมแพ้ต่อโชคชะตาและดูเหมือนว่าสันติภาพเป็นความใฝ่ฝันที่ไม่อาจเป็นจริงได้

สารฉบับปี 2004 ยังคงเน้นอย่างชัดเจนว่า “สันติภาพเป็นไปได้” และ “พระศาสนจักรไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยที่จะกล่าวซ้ำว่าสันติภาพเป็นหน้าที่” สันติภาพจะต้องสร้างบนเสาหลักสี่ประการ ที่บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ที่ 23 ได้กล่าวถึงในสมณสาสน์ของพระองค์ที่ชื่อ “สันติบนแผ่นดิน” คือ สัจธรรม ความยุติธรรม ความรัก และเสรีภาพ เพราะฉะนั้น หน้าที่ที่เราทุกคนที่รักสันติภาพได้รับ คือการสอนอุดมคติเรื่องสันติภาพแก่ชนรุ่นใหม่ เพื่อเตรียมอนาคตที่ดีกว่าสำหรับมนุษยชาติ

ในช่วงเวลาที่สมณสาสน์ฉบับนี้เกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาของสงครามในหลายสถานที่ และหลายฝ่ายกล่าวว่าองค์การสหประชาชาติเป็นเหมือนองค์การที่ขาดประสิทธิภาพในการระงับความขัดแย้ง แต่สมณสาสน์ฉบับนี้ระบุให้เห็นอีกแง่หนึ่งว่า แม้องค์การสหประชาชาติจะมีข้อจำกัดและความล่าช้าในการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความล้มเหลวของบรรดาประเทศสมาชิก แต่องค์การสหประชาชาติก็มีคุณูปการต่อการส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ เสรีภาพของประชาชาติและข้อเรียกร้องของการพัฒนาก่อให้เกิดการเตรียมเนื้อหาแห่งวัฒนธรรมและสถาบันเพื่อการสร้างสันติภาพ

สารฉบับปี 2004 กังวลต่อความรุนแรงจากการก่อการร้าย ซึ่งหายนะของการก่อการร้ายเกิดขึ้นมากมายในช่วงเวลาที่ผ่านไป การก่อการร้ายได้ก่อให้เกิดการสังหารอย่างเหี้ยมโหด และเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการเสวนาและการเจรจา และก่อให้เกิดความตึงเครียดและปัญหาที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ระบุไว้ในสารฉบับนี้ว่า “เพื่อเอาชนะการต่อสู้ การก่อการร้าย มิใช่จะต้องทำการตอบโต้ด้วยความรุนแรง แม้มีความจำเป็นก็ตาม แต่จะต้องเกิดจากการวิเคราะห์อย่างกล้าหาญและโปร่งใสต่อเหตุผลเบื้องหลังของการโจมตีของผู้ก่อการร้าย”

สารฉบับนี้ระบุว่า “การต่อสู้กับการก่อการร้ายจะต้องดำเนินการในระดับการเมืองและการศึกษาด้วยในด้านหนึ่ง โดยการขจัดสาเหตุของสภาพความอยุติธรรม ซึ่งมักจะทำให้ประชาชนสิ้นหวังและลงมือปฏิบัติด้วยความรุนแรง และในอีกด้านหนึ่งนั้น ความเป็นหนึ่งเดียวกันของเผ่าพันธุ์มนุษยชาติเป็นสภาพความเป็นจริงที่มีพลังมากกว่าการแบ่งแยกของปัจเจกบุคคลและประชาชน”

และชี้ให้เราเห็นว่า “ในการต่อสู้กับการก่อการร้ายที่จำเป็นนั้น ต้องมีการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกฎหมายระหว่างประเทศโดยการพัฒนาเครื่องมือทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน การติดตามผลและการปราบปรามอาชญากรรมไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม รัฐบาลประชาธิปไตยรู้ดีว่าการใช้กำลังต่อผู้ก่อการร้ายไม่อาจสร้างความชอบธรรมให้กับการละทิ้งหลักการของการใช้กฎหมายการตัดสินใจทางการเมือง อาจเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ หากเป็นการมุ่งแสวงหาความสำเร็จที่ไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เนื่องจากเป้าหมายไม่อาจสร้างความชอบธรรมให้กับวิธีการได้”

สารฉบับปี 2004 ระบุไว้ว่า การสร้างสันติภาพไม่อาจแยกขาดจากการเคารพระเบียบทางจริยธรรมและกฎหมาย และชี้อย่างตรงไปตรงมาว่า กฎหมายระหว่างประเทศจะต้องสร้างหลักประกันว่าจะไม่มีกฎหมายของผู้มีอำนาจมากกว่า วัตถุประสงค์สำคัญคือการแทนที่กำลังอาวุธด้วย “พลังทางศีลธรรมแห่งกฎหมาย”

สำหรับคริสตชนสารฉบับนี้กล่าวไว้ว่า คำสอนของพระศาสนจักรในรอบหลายศตวรรษได้มีคุณูปการที่สำคัญในการกำหนดกฎหมายระหว่างประเทศให้มุ่งไปสู่ความดีส่วนรวมของครอบครัวมนุษยชาติ โดยเฉพาะในระยะเวลาช่วงหลัง สมเด็จพระสันตะปาปาหลายพระองค์ไม่ลังเลในการที่จะเน้นความสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ ในฐานะคำมั่นสัญญาต่อสันติภาพ ด้วยความเชื่อมั่นว่า “การเก็บเกี่ยวความยุติธรรมนั้น เกิดจากการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพโดยผู้สร้างสันติภาพ” นี่คือหนทางที่พระศาสนจักร ได้อุทิศตนเพื่อปฏิบัติด้วยวิธีการที่เหมาะสมและด้วยแสงสว่างแห่งพระวรสาร และความช่วยเหลือที่ขาดไม่ได้ของการภาวนา

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงสรุปไว้ในสารฉบับนี้ว่า “ในการสร้างสันติภาพที่แท้จริงในโลกนั้น ความยุติธรรมจะต้องเกิดขึ้นด้วยเมตตาธรรม แต่เราไม่อาจไปถึงเป้าหมายของสันติภาพได้ หากความยุติธรรมไม่ได้รับการหนุนเสริมด้วยความรัก... ประสบการณ์ในประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ความยุติธรรมมักไม่อาจปลดปล่อยตนเองจากความอาฆาต ความเกลียดชังและความโหดเหี้ยม ความยุติธรรมไม่เพียงพอ ความยุติธรรมอาจทรยศต่อตัวเอง นอกเสียจากว่าความยุติธรรมจะเปิดรับพลังที่ลึกซึ้งกว่า นั่นคือความรัก”

สารฉบับนี้ยังระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “การให้อภัยเป็นความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาของปัจเจกบุคคลและประชาชาติ จะไม่มีสันติภาพหากปราศจากการให้อภัย” และชี้ให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเนื่องในดินแดนปาเลสไตน์และตะวันออกกลาง จะประสบผลสำเร็จได้ต้องก้าวข้ามตรรกะของความยุติธรรมและเปิดออกสู่ตรรกะแห่ง “การให้อภัย”

ในย่อหน้าท้ายสุดของสารปี 2004 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงระบุไว้ว่า “ความรักเอาชนะทุกอย่าง” และมนุษยชาติเท่านั้นที่จะมี “อารยธรรมแห่งความรัก” ซึ่งจะสามารถชื่นชมกับสันติภาพที่แท้จริงและถาวร

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >