หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 81 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ความสำเร็จอยู่ที่ใจ : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Wednesday, 10 July 2013


 

 

 

 

 

 

 

 

 

นิตยสารสารคดี : ฉบับที่ ๓๔๐ :: มิถุนายน ๕๖ ปีที่ ๒๘

 

คอลัมน์รับอรุณ : ความสำเร็จอยู่ที่ใจ

พระไพศาล วิสาโล


ความสามารถของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยต่างๆ มากมาย นอกจากสติปัญญาและความขยันหมั่นเพียรแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลอยู่ไม่น้อยก็คือ สำนึกว่าเราเป็นใคร

คล็อด สตีล (Claude Steele) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกับคณะ เคยทดลองให้นักศึกษาทำแบบทดสอบชิ้นหนึ่ง โดยบอกว่าเป็นการวัดความสามารถทางสติปัญญา ปรากฏว่านักศึกษาผิวดำทำคะแนนได้น้อยกว่านักศึกษาผิวขาว แต่พอเอาแบบทดสอบชิ้นเดียวกันนั้นให้นักศึกษาทำ โดยบอกเพียงแค่ว่าเป็นแบบทดสอบเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติการ ไม่เกี่ยวกับการวัดความสามารถแต่อย่างใด ปรากฏว่านักศึกษาผิวดำกับผิวขาวทำคะแนนได้ไม่ต่างกัน

ในทำนองเดียวกันเมื่อให้นักศึกษาหญิงทำแบบทดสอบคณิตศาสตร์ โดยบอกว่าเป็นการวัดความสามารถ ปรากฏว่าคะแนนที่ออกมาต่ำกว่านักศึกษาชายที่มีความรู้ระดับเดียวกัน แต่พอบอกว่าแบบทดสอบนี้เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับการวิจัย นักศึกษาหญิงสามารถทำคะแนนได้มากพอๆ กับนักศึกษาชาย

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มีคำอธิบายว่า เมื่อนักศึกษาผิวดำหรือนักศึกษาหญิง ได้รับการบอกว่า แบบทดสอบที่ตนกำลังทำนั้น เป็นการวัดความสามารถของตน นักศึกษาเหล่านั้นจะรู้สึกว่าตนกำลังถูกทดสอบในฐานะที่เป็นคนผิวดำหรือผู้หญิง ถึงตรงนี้ทัศนคติกระแสหลัก(sterotype)ที่มองว่าคนผิวดำหรือผู้หญิงมีความสามารถด้อยกว่าคนผิวขาวหรือผู้ชาย ก็เข้ามามีอิทธิพลต่อความรู้สึกของนักศึกษาเหล่านั้น ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงทำคะแนนได้ไม่ดี จริงอยู่อาจมีบางคนที่ต้องการพิสูจน์ตนเองว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คนอื่นมอง จึงมีความตั้งใจมากในทำแบบทดสอบดังกล่าว แต่ยิ่งตั้งใจมาก ก็ยิ่งเกร็งหรือเครียด จึงทำผลงานได้ไม่ดี ตรงข้ามกับเวลาที่นักศึกษาเหล่านั้นทำแบบทดสอบที่(ถูกบอกว่า)ไม่ได้ชี้วัดความสามารถอะไรเลย พวกเขาจะทำสบายๆ โดยไม่กังวลถึงสายตาของใคร และโดยไม่ได้คิดว่าตนเองเป็นคนผิวดำหรือผู้หญิงด้วยซ้ำ ผลงานจึงออกมาดีไม่ด้อยไปกว่านักศึกษาผิวขาวหรือผู้ชาย

ความสำนึกว่าตนเป็นใครนั้นสามารถส่งผลในทางบวกหรือลบต่อความสามารถก็ได้ แม้แต่คนๆ เดียวกัน ผลงานก็อาจขึ้นหรือลงขึ้นอยู่ว่า มีสำนึกในตัวตนอย่างไร ดังเห็นได้จากการทดลองของมาร์กาเร็ต ชิน (Margaret Shin) และคณะ ซึ่งขอให้ผู้หญิงอเมริกันเชื้อสายเอเชียมาทำแบบทดสอบทางคณิตศาสตร์ โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกถูกถามเกี่ยวกับเพศของตน เช่น ถูกถามว่าชอบหรือไม่ชอบเกี่ยวกับหอพักรวม (เพื่อปูทางให้เธอคิดถึงเรื่องเพศของตน) ส่วนอีกกลุ่ม ถูกถามเกี่ยวกับเชื้อชาติของตน เช่น ภาษาที่พวกเธอใช้ที่บ้าน รวมถึงประวัติความเป็นมาของครอบครัวเธอ (เพี่อปูทางให้พวกเธอคิดถึงเชื้อชาติของตน)

ปรากฏว่าคะแนนที่ออกมาของสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด กลุ่มที่ถูกถามเกี่ยวกับเพศของตนทำคะแนนได้แย่กว่ากลุ่มที่ถูกถามเกี่ยวกับเชื้อชาติของตน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ กลุ่มแรกนั้นจะถูกกระตุ้นให้เกิดสำนึกในความเป็นผู้หญิง ซึ่งทำให้หวั่นไหวต่อความคิดกระแสหลักที่มองว่าผู้หญิงไม่เก่งคณิตศาสตร์ ขณะที่กลุ่มที่สองนั้น เมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดสำนึกในความเป็นอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ก็จะรู้สึกมั่นใจในตนเองเพราะทัศนคติของคนทั่วไปในสหรัฐอเมริกามองว่าคนเชื้อชาตินี้เก่งเป็นพิเศษในด้านคณิตศาสตร์

การทดลองดังกล่าวนอกจากจะยืนยันว่า สำนึกว่าตนเป็นใครมีผลต่อความสามารถที่แสดงออกมา (โดยสัมพันธ์กับสายตาของคนอื่น) ยังชี้ว่าคนเรานั้นมีสำนึกในตัวตนที่หลากหลาย ผลงานที่ออกมาจึงแตกต่างไปด้วย สุดแท้แต่ว่าผู้คนมีทัศนคติต่อตัวตน(หรืออัตลักษณ์)นั้นอย่างไร แม้สำนึกในตัวตนนั้นที่แตกต่างกันนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์หรือการกระตุ้นจากภายนอก (ดังตัวอย่างการทดลองที่กล่าวมา) แต่ไม่ได้หมายความว่า เราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะมีสำนึกในตัวตนแบบไหน แท้จริงแล้วเราสามารถเลือกมีสำนึกในตัวตนชนิดที่เสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองได้ แต่จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องมีสติรู้ทันเวลาเกิดสำนึกในตัวตนที่เป็นลบหรือต่ำต้อยในสายตาของคนอื่นด้วย หาไม่แล้วก็อาจหวั่นไหวต่อทัศนคติดังกล่าวได้ง่าย

อย่างไรก็ตามจะดีกว่าไหมหากเราวางสำนึกในตัวตนลงเสีย เวลาทำงานใดก็ตาม ใจก็อยู่กับงานที่ทำ โดยไม่ปล่อยให้สำนึกในตัวตนนั้นครอบงำใจ รวมทั้งไม่แคร์ด้วยว่าใครจะมองว่าเราเก่งหรือไม่เก่ง ผลงานจะออกมาอย่างไรก็ไม่กังวลเพราะไม่สนใจคำชื่นชมหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือทำงานด้วยจิตว่าง เป็นหนึ่งเดียวกับงาน โดยไม่พะวงกับอะไร แม้จะมีรางวัลเป็นผลตอบแทนก็ตาม

จางจื๊อ ปราชญ์ชาวจีนในพุทธศตวรรษที่สาม ได้เล่าถึง "ขิง" ซึ่งแกะสลักที่แขวนระฆังได้อย่างงดงามราวเทวดาเนรมิต เมื่อถูกถามว่าเขามีความลับอย่างไรในการสร้างสรรค์งานชิ้นนี้ เขาตอบว่า เขาไม่มีความลับอะไรดอก ก่อนทำงานเขาเพียงแต่ทำจิตให้สงบ ผ่านไปสามวัน "ข้าพเจ้าลืมนึกถึงผลได้และความสำเร็จ" ผ่านไปห้าวัน "ข้าพเจ้าลืมนึกถึงคำชมและคำวิจารณ์" ผ่านไปเจ็ดวัน "ข้าพเจ้าลืมนึกถึงร่างกาย" ถึงตอนนี้เขาไม่ได้นึกถึงอะไรเลย ไม่มีอะไรดึงดูดความสนใจของเขาจากงาน "ข้าพเจ้าประมวลความคิดลงเป็นหนึ่งแต่ในเรื่องที่แขวนระฆัง" เมื่อเขาเข้าป่า ได้เห็นต้นไม้ที่เหมาะ รูปร่างของที่แขวนระฆังก็ปรากฏแก่สายตาของเขา แล้วเขาก็ "เพียงแต่ใช้มือเริ่มทำรูปร่างนั้นให้เป็นจริงขึ้นมา"

จางจื๊อยังพูดถึงนายขมังธนูผู้สามารถว่า "เมื่อนายขมังธนูยิงโดยไม่หวังอะไร ย่อมใช้ความชำนิชำนาญได้เต็มที่ ถ้ายิงเพื่อโล่ห์ทองเหลือง ย่อมประหม่าเสียแต่แรกแล้ว ถ้ายิงเอาทองเป็นรางวัล เลยตาบอดเอาด้วยซ้ำ หาไม่ก็เห็นเป้าเป็นสองเป้าเพราะใจไม่อยู่กับตัว" แท้จริงแล้วความชำนาญของเขาไม่ได้ลดน้อยถอยลงเลย แต่เป็นเพราะ "ความต้องการเอาชนะทำให้อำนาจของเขาขาดหายไป" (สำนวนแปลของส.ศิวรักษ์ ใน มนุษย์ที่แท้)

นักฟุตบอลระดับโลก เมื่อต้องยิงลูกโทษในนัดสำคัญ หากเขาพะวงว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้ายิงไม่เข้า หรือเพียงแต่คิดว่านี้คือวินาทีแห่งความเป็นความตายของทีมเขา มีโอกาสมากที่เขาจะยิงพลาด ทั้งๆ ที่ตอนซ้อม เขาสามารถยิงประตูได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ในทางตรงข้ามหากเขาไม่คิดถึงอะไร ใจแน่วแน่อยู่กับลูกฟุตบอลข้างหน้า มีโอกาสสูงมากที่ฟุตบอลจะเข้าไปตุงตาข่ายคู่แข่ง

ความสำเร็จของนักฟุตบอลชั้นนำนั้น ไม่ได้อยู่ที่ความสามารถเท่านั้น แต่อยู่ที่ใจด้วยว่าจะนิ่งเพียงใดในช่วงเวลาอันสำคัญ ฉันใดก็ฉันนั้น เราจะทำงานได้สำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการวางใจด้วยว่าจะนิ่งหรือ "ว่าง" เพียงใด ทั้งจากสำนึกในตัวตน จากสายตาของผู้คน และจากความคาดหวังในผลงาน

 

------------------------------

จาก เว็บ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >