หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 98 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


คนสองโลก : ภาวัน พิมพ์
Wednesday, 12 June 2013


นิตยสาร IMAGE พฤษภาคม ๒๕๕๖

คนสองโลก

ภาวัน

แดน อาเรียลลี่ นักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมแห่งเอ็มไอที เขียนเล่าว่า คราวหนึ่งสมาคมผู้เกษียณอายุแห่งสหรัฐอเมริกาได้สอบถามทนายความจำนวนหนึ่งว่า พวกเขาสามารถลดค่าบริการให้แก่คนวัยเกษียณที่ยากจนได้ไหม โดยอาจเหลือแค่ชั่วโมงละ ๓๐ ดอลลาร์ ทนายความตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไม่ได้" แทนที่ผู้จัดการโครงการจะท้อถอย เขาเปลี่ยนมาถามทนายความเหล่านั้นว่า พวกเขายินดีให้บริการแก่ผู้ยากไร้วัยเกษียณโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ไหม ปรากฏว่าทนายส่วนใหญ่ตอบว่า "ได้"

อะไรทำให้คำตอบที่ได้ทั้งสองครั้งนั้นแตกต่างกันมาก โดยสามัญสำนึกของคนทั่วไป ขนาดลดค่าบริการ ทนายความยังไม่ยอม แล้วจะยอมทำงานให้ฟรี ๆ ได้อย่างไร คำอธิบายเรื่องนี้ก็คือ เวลาพูดถึงเรื่องเงิน ทนายความจะนึกถึงบรรทัดฐานที่ใช้ในทางธุรกิจ ทำให้รู้สึกว่า ๓๐ ดอลลาร์นั้นเป็นอัตราที่ต่ำมาก แต่พอไม่พูดถึงเรื่องเงินเลย หากเป็นการขอร้องให้ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน ทนายความจะนึกถึงบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งเน้นเรื่องความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงตอบตกลงได้ง่าย

คนเราทุกวันนี้เสมือนอยู่ในโลกสองโลกที่ซ้อนกัน โลกหนึ่งคือโลกที่สัมพันธ์กันด้วยเงินตรา ใช้เงินเป็นตัววัดมูลค่า เป็นโลกแห่งกำไร-ขาดทุน อีกโลกหนึ่งนั้นเป็นโลกที่สัมพันธ์กันด้วยน้ำใจ ให้คุณค่าแก่ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล รวมทั้งให้ความสำคัญแก่คุณค่าที่เป็นนามธรรม ประเมินเป็นตัวเลขไม่ได้ เวลาเราอยู่ในโลกประเภทแรก เงินทองจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ มีการใช้ "บรรทัดฐานทางตลาด" เป็นเกณฑ์ แต่เมื่อเราอยู่ในโลกประเภทที่สอง น้ำใจจะเป็นสิ่งสำคัญ "บรรทัดฐานทางสังคม" จะเป็นตัวกำกับความคิดและพฤติกรรมของเรา

จะเรียกว่าคนเรามีสองมาตรฐานก็ได้ จะใช้มาตรฐานใดก็ขึ้นอยู่กับว่าอีกฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์กับเราอย่างไร หรือมีอะไรมากระตุ้นให้เราใช้มาตรฐานประเภทใด เคยมีการทดลองกับคนสามกลุ่ม โดยทุกกลุ่มทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน นั่นคือลากวงกลมที่ปรากฏอยู่ด้านซ้ายของจอคอมพิวเตอร์ ให้เข้าไปอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งอยู่ด้านขวา เมื่อลากเสร็จวงกลมจะหายไป แล้วจะปรากฏขึ้นใหม่ที่ด้านซ้าย สิ่งที่ทุกคนต้องทำก็คือ ลากวงกลมให้เข้าไปในกรอบสี่เหลี่ยมให้มากที่สุดภายในเวลาห้านาที

กลุ่มแรกได้รับเงินห้าดอลลาร์ทันทีที่เข้าห้องทดลอง กลุ่มที่สองได้แค่ ๕๐ เซ็นต์ ส่วนกลุ่มที่สามถูกขอร้องให้มาช่วยทำกิจกรรมนี้ โดยไม่มีการพูดถึงเรื่องเงินเลย ผลที่เกิดขึ้นก็คือ กลุ่มแรกลากวงกลมได้เฉลี่ย ๑๕๙ วง ส่วนกลุ่มที่สองลากได้แค่ ๑๐๑ วงโดยเฉลี่ย ไม่น่าแปลกใจที่ผลออกมาเป็นเช่นนั้น เพราะกลุ่มที่สองได้ผลตอบแทนเล็กน้อยมาก แล้วกลุ่มที่สามล่ะ ปรากฏว่าทั้งๆ ที่ทำฟรีแต่ผลงานกลับออกมาดีที่สุดคือ ลากวงกลมได้ ๑๖๘ วงโดยเฉลี่ย

กลุ่มที่สามตั้งใจทำเพราะเขาถูกชวนให้ใช้บรรทัดฐานทางสังคม ขณะที่กลุ่มที่สองไม่ตั้งใจทำเพราะถูกกระตุ้นให้ใช้บรรทัดฐานทางตลาด จึงรู้สึกว่า "ไม่คุ้ม" ที่จะขยันขันแข็งด้วยเงินเพียงแค่ ๕๐ เซ็นต์เท่านั้น

พูดอีกอย่างก็คือ คนเรามีทั้งคุณธรรมและความเห็นแก่ได้ ถ้าถูกขอร้องไหว้วานกัน คุณธรรมก็จะออกมานำหน้า จึงพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งๆ ที่ไม่ได้อะไร แต่ถ้าว่าจ้างกัน ความเห็นแก่ได้ ก็จะเป็นใหญ่ จะขยันหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า ได้มากหรือได้น้อย ถ้าได้น้อยก็ทำอย่างขอไปที

การชักชวนให้คนทำความดี ขยัน เสียสละ ไม่ใช่เรื่องยาก อยู่ที่ว่าเราดึงเอาคุณสมบัติส่วนใดของเขาออกมา หรือโน้มน้าวให้เขาใช้บรรทัดฐานประเภทใด น่าเสียดายที่ทุกวันนี้เราถนัดแต่การกระตุ้นความเห็นแก่ได้ หรือกระตุ้นให้ใช้บรรทัดฐานทางตลาด ผู้คนจึงคิดแต่เรื่องกำไร-ขาดทุน หรือ คุ้ม-ไม่คุ้มชนิดที่วัดด้วยเงินตรา ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล รวมทั้งความขยันหมั่นเพียร และความซื่อสัตย์สุจริต จึงเจือจางลง

 

------------------------------

จาก เว็บ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >