หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 73 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ค่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำเยาวชนสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1 พิมพ์
Wednesday, 22 May 2013

 

ชมภาพจาก

ค่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำเยาวชนสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1

 

 undefinedคลิกชมภาพกันเลยundefined

 

undefinedFacebook ยส.undefined


undefined เว็บบอร์ด : ฝากข้อความถึงเพื่อนร่วมค่ายฯ undefined

(สมัคร สมาชิกด้วยนะ)


Image
 


ค่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำ

เยาวชนสิทธิมนุษยชน

ดาราสมุทร ศรีราชา

 
เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้เป็นผู้นำการปฏิบัติและรณรงค์สิทธิมนุษยชนและสันติภาพในโรงเรียน เตรียมความพร้อมเป็นพี่เลี้ยงในค่ายยุวสิทธิฯ ให้กับรุ่นน้องต่อไป นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติกิจกรรม "เท่าทันสื่อ" จากพี่ๆ กลุ่มรักษ์เขาชะเมา ตรวจสอบตัวเองว่าใช้เวลาอยู่กับอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือมากเกินไปหรือไม่ และอิทธิพลของสื่อโฆษณาที่มีผลต่อชีวิต ผู้ก่อตั้งกลุ่มรักษ์เขาชะเมาให้ข้อคิดในเรื่องพลังเล็กๆ ที่จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงสังคม ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวัน เราต้องเคารพกัน ไม่เหยียดหยามกัน และเคารพแรงงานจากเพื่อนบ้านที่มาอยู่ในบ้านเรา นักเรียนได้เข้าใจระบบอุตสาหกรรมอาหารและที่มาของอาหารฟาสต์ฟู้ดจากสารคดี Food,Inc. ฝึกปฏิบัติเป็นผู้นำฐานสิทธิมนุษยชน และร่วมกันสะท้อนปัญหาในโรงเรียนพร้อมแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม

 คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จัด "ค่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำเยาวชนสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1" ให้กับนักเรียนโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยใช้สถานที่ "กลุ่มรักษ์เขาชะเมา" ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง เมื่อวันที่ 8-10 เมษายน 2556 มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 17 คน ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายครั้งนี้

คุณอัจฉรา สมแสงสรวง ผอ. ยส. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของค่ายว่า เพื่อฝึกน้องๆ ให้สามารถเป็นผู้นำฐานกิจกรรมเรียนรู้สิทธิมนุษยชน ซึ่งทางโรงเรียนมีแผนจะจัดค่ายยุวสิทธิมนุษยชนให้น้องๆ ชั้นประถมปีที่ 5-6 ในเดือนกันยายนนี้ โรงเรียนคาดหวังว่าพวกเราจะช่วยเป็นพี่เลี้ยงและเป็นผู้นำในค่ายยุวสิทธิมนุษยชน พวกเราได้ผ่านค่ายนี้มาแล้ว รวมทั้งผ่านการนำฐานสิทธิมนุษยชนในกิจกรรมค่ายลูกเสือของโรงเรียนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

จากนั้นกลุ่มรักษ์เขาชะเมา นำโดย คุณอี๊ด - มณฑา เข้มพิมพ์ และอาสาสมัครเยาวชนฯ ให้น้องๆ ทำกิจกรรม "เท่าทันสื่อ" คุณอี๊ดอธิบายถึงองค์ประกอบของสื่อคือ มีผู้ส่งสาร สารที่ส่งมาโดยสื่อ และผู้รับสาร สารส่งผ่านทางช่องทางต่างๆ ทำให้เกิดการสื่อสารขึ้น สื่อมีอิทธิพลมากกับพวกเราและเป็นเรื่องใกล้ตัว จากนั้นให้น้องๆ ตอบคำถามว่าตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ได้ใช้สื่ออะไรกันบ้าง นานกี่ชั่วโมง คุณอี๊ดสรุปว่าถ้ามีเวลานั่งทบทวนชีวิตของเราแต่ละวัน จะเห็นว่าเรามีความเกี่ยวข้องกับสื่อต่างๆ มาก จนบางคนอาจลืมคิดว่าเราใช้สื่อต่างๆ มากขนาดไหน

กิจกรรมต่อไป แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของสื่อต่างๆ ได้แก่ อินเตอร์เน็ต,โทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์ คุณอี๊ดสรุปว่า เราได้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสียของสื่อต่างๆ แล้วอะไรทำให้เราติดสื่อ ทำไมเราต้องอยู่ในกระแสตลอดเวลา โดยเฉพาะในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คที่การสื่อสารไปอย่างรวดเร็วมาก เราตามกระแสเพราะเท่ ประทับใจ วัยรุ่นวันนี้สิ่งที่อยู่ในตัวเขาต้องเป็นแบรนด์เนม สินค้าเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นหรือเกินจำเป็น สิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ก็คือปัจจัย 4 สิ่งที่เกินมาเป็นความต้องการอยากจะได้ ทำให้เกิดสังคมบริโภคนิยม สิ่งที่กระตุ้นให้เราอยากได้ก็คือ ค่านิยม สื่อโฆษณา เมื่อผลิตสินค้าขึ้นมา เขาก็เอาไปโฆษณาเพื่อให้ไปถึงผู้บริโภค กระตุ้นให้ซื้อให้กินโดยผ่านทางรูป รส กลิ่น เสียง ช่องทางที่ผู้ผลิตสินค้าจะเล่นกับเราผ่านผัสสะทั้งห้า คือ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ปากชิม มือสัมผัส เขากระตุ้นเราเพื่อให้เข้าถึงสินค้าของเขา กระตุ้นให้อยากมี อยากใช้ อยากกิน ผ่านการโฆษณาที่ออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ถี่ๆ ซ้ำๆ


เสียงสะท้อนจากกิจกรรมนี้น้องๆ บอกว่า ได้รู้ประเภทของสื่อ กลยุทธ์ของสื่อโดยเฉพาะโฆษณาที่ใช้กับผู้บริโภค มุมมองในการมองสื่อ เราต้องรู้จักวิเคราะห์ว่าเขาต้องการสื่ออะไร ประเมินตัวเองว่าเราเสพสื่อแต่ละวันมากไปหรือไม่ เราเท่าทันสื่อมากขนาดไหน ไม่ให้เราหลงหรือเผลอไปกับสื่อที่เสนอแต่สิ่งสวยงาม แต่ให้วิเคราะห์ให้ละเอียด บางครั้งสินค้านั้นก็ซ่อนสิ่งไม่ดีเอาไว้ การใช้สื่ออยู่ที่ตัวเราว่าจะให้ความสำคัญกับสื่อต่างๆ อย่างไร เราจะหลงไปกับสื่อนั้นหรือไม่ โฆษณาต่างๆ เราต้องรู้จักแยกแยะข้อดี ข้อเสีย ดูให้ถี่ถ้วน รอบคอบ

 

หลังอาหารเย็น คุณแฟ้บ - บุปผาทิพย์ แช่มนิล ผู้ก่อตั้งกลุ่มรักษ์เขาชะเมา บอกเล่าความเป็นมาของกลุ่มฯ และแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสังคม "สิ่งที่เราทำไม่ได้เริ่มจากอะไรที่ใหญ่ คิดว่าเรามีประโยชน์สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ ประสบการณ์ของกลุ่มรักษ์เขาชะเมาของเราน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ เราเป็นคนเล็กๆ ทำสิ่งเล็กๆ เพื่อให้ขยายกันต่อไปให้เกิดประโยชน์ ทั้งตัวเองและคุณอี๊ดเป็นนักกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย เราเป็นเด็กค่ายอาสาพัฒนาชนบท สมัยเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง เชื่อว่าการได้ไปออกค่ายฯ ไปสัมผัสกับผู้คนเป็นห้องเรียนห้องใหญ่ เมื่อกลับมาอยู่บ้านก็พบผลกระทบจากแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เกือบ 40 ปีที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาที่ไม่ถูกทาง ทำลายสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนหายไป การศึกษาในระบบก็ไม่สนใจภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นแต่การแข่งขันหรือป้อนเข้าสู่โรงงาน ทำเกษตรก็ใช้แต่ปุ๋ยเคมี ไม่สนใจสุขภาพผู้บริโภค

ปัญหาซึ่งเกิดขึ้นที่นี่ก็เป็นปัญหาเดียวกันกับที่เกิดที่มาบตาพุด ที่ศรีราชา เมื่อมาอยู่ในสภาพแบบนี้ เราจะอยู่ไปวันๆ ได้หรือ เราเริ่มจากร้านเช่าหนังสือที่เด็กมาเช่าการ์ตูนห้าเล่มก็แถมวรรณกรรมเยาวชนให้หนึ่งเล่ม เพราะอยากส่งเสริมให้เด็กอ่านหนังสือเพื่อจะได้รู้จักโลกกว้างขึ้น มีปัญญามากขึ้น หลังจากนั้นมีเด็กมัธยมมานั่งคุยแบ่งปันเรื่องราวในร้านหนังสือ จากนั้นเกิดกิจกรรม "โรงเรียน โรงเล่น" เกิดเป็นกลุ่มเยาวชนรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่สืบทอดกันไป แล้วพัฒนาไปสู่การสร้างชุมชนทางเลือก ให้สามารถพึ่งตนเอง ส่งเสริมการเรียนรู้และฟื้นฟูทุนทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานเทคโนโลยี สร้างสมดุลให้เกิดสุขภาวะชุมชนและสังคม ทุกงานของกลุ่มรักษ์เขาชะเมามุ่งไปที่การสร้างคนและสร้างชุมชน

เราเชื่อว่าเด็กคนหนึ่งถ้าได้รับการผลิตซ้ำ การปลูกฝังแนวคิด เขาจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่นและส่วนรวม สิ่งที่ต้องรู้อันดับแรกคือ รู้จักตนเอง เราทำงานเรื่องภาวะภายใน เช่น การทำบ้านดินก็มีกระบวนการที่ทำให้ภาวะภายในเติบโต เราให้เด็กๆ รู้จักชุมชน ของตัวเอง รู้จักว่า ลุง ป้า น้า อาในชุมชน ใครเป็นผู้รู้เรื่องอะไรบ้าง ทำให้เด็กมีความสัมพันธ์กับชุมชน เขาจะมีรากเหง้า เด็กๆ จะถูกฝึกให้ไปเก็บข้อมูลกับลุงคนนั้น ป้าคนนี้ รู้ว่าลุงแมวฟังเสียงปลาได้ ลุงแฉ่งทำว่าวเก่งที่สุดในตำบล พวกเราเคยมองไปรอบๆ บ้าน แล้วเห็นผู้รู้เหล่านี้ไหม?

สำหรับเรื่องของ สิทธิมนุษยชน เวลาทำกิจกรรมเราจะไม่บอกเด็กให้หยุดคุย แต่จะบอกว่าเราต้องเคารพกัน เมื่อมีใครออกมาพูดเราต้องเคารพ ถ้าอยากคุยก็อนุญาตให้จูงมือไปคุยกันข้างนอกแล้วค่อยกลับมา "สิทธิ" ไม่ใช่อยู่แค่ในหน้ากระดาษที่จะมาอ่านให้ฟังเป็นข้อๆ แต่เป็นเรื่องที่เราต้องเคารพกัน เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับสังคมสมัยนี้ เพราะผู้คนไม่ค่อยเคารพกัน เหยียดกันไปเหยียดกันมา จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่แล้ว เรายังไม่รู้จักคนกัมพูชา คนพม่า คนลาว เราไม่ได้ถูกสอนให้เคารพเขา ในเรื่องนี้ เราก็ทำงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยใหญ่ เราจะนำเรื่องของกลุ่มไทยใหญ่มาให้น้องๆ ได้เรียนรู้ในงานวัฒนธรรม "เรื่องเก่าที่บ้านเกิด" ซึ่งจะจัดปีนี้ใช้ชื่อตอน "เพราะเราอยู่ในแผ่นดินเดียวกัน" ในวันที่ 7-8 ธ.ค.ปีนี้

หัวใจการทำงานคือเราให้คุณค่าการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน งานด้านสิ่งแวดล้อมจะใช้เกมเพื่อทำให้เด็กได้รู้จักธรรมชาติมากขึ้น ได้แก่ นักสืบสายน้ำ นักสืบสายลม ผ้ามัดย้อมจากใบมังคุด การทำบ้านดิน ทำให้ค้นพบว่า เรามีบ้านได้ถ้าเรามีเพื่อน เอาตีนเพื่อนมาช่วยกันย่ำดิน เราเติมความรู้ให้กับเด็กๆ ให้เด็กได้รู้จักคนดีๆ ที่มีคุณูปการกับประเทศชาติแต่ไม่ได้รับการยกย่องเท่าที่ควร อย่างเช่น อาจารย์ปรีดี พนมยงค์, อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์, จิตร ภูมิศักดิ์, อัศนี พลจันทร์, วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์, เจริญ วัดอักษร เรานำเรื่องราวของท่านเหล่านี้มาแปรเป็นกิจกรรมคนดีที่โลกลืม

เราเป็นกลุ่มทางเลือก สร้างชุมชนทางเลือกไปสู่สังคมทางเลือก ในขณะที่คนอื่นคิดเรื่องความรวย เราคิดเรื่องความสุข เราพยายามเท่าทัน ไม่ไปตามกระแสของระบบทุนนิยมมากนัก เป็นทางเลือกให้ทุกคนอยู่อย่างมีความสุข ใช้สโลแกนง่ายๆ ว่า "ห่วงใยโลกกว้าง สรรค์สร้างบ้านเกิด" ทุกอย่างเริ่มต้นจากตัวเราเอง นับหนึ่งที่เรา นับสองที่เพื่อน แล้วจะขยายไปเรื่อยๆ ถ้าสิ่งที่ทำมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เช่น เราเห็นขยะในโรงเรียนก็เก็บใส่ถัง แล้วไปบอกต่อเพื่อนๆ ให้ชวนกันเก็บ อย่าไปให้น้ำหนักว่าต้องมีเงินก่อนเราถึงจะทำงานหรือต้องเขียนโครงการไปขอทุนที่ต่างๆ อย่างแรกเราต้องฝึกตั้งคำถามก่อนว่า สิ่งที่เป็นอยู่นี่ใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่เราจะเปลี่ยนมัน ด้วยตัวเราและไปบอกเพื่อนๆ ให้มาช่วยกัน

น้องๆ มีโอกาสมาก อยู่ชั้น ม.6 แต่มีโอกาสเรียนรู้คำใหญ่ๆ อย่างสิทธิมนุษยชน ให้เรานำสิ่งเหล่านี้มาตีความกับความเป็นจริงแล้วตั้งคำถามกับมัน ค้นหาให้เจอ แล้วคนเล็กๆ อย่างเราจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ประกายไฟเล็กๆ พวกเราทั้ง 17 คนได้ถูกจุดขึ้น จะเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงได้ เชื่อมั่นในพลังเล็กๆ ทุกคนมีพลัง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะผลักดันพลังของเราออกมาแค่ไหน"

วันที่สองของค่าย คุณอัจฉราสรุปเนื้อหาของวันแรกว่า "เราได้ทำกิจกรรมเท่าทันสื่อโดยหยิบยกเรื่องใกล้ตัว เรื่องนาฬิกาชีวิตที่เราตกอยู่ในอิทธิพลของสื่อมากน้อยเพียงใด จากที่ฟังส่วนใหญ่เราให้เวลาอยู่กับโทรศัพท์มือถือ ใช้อินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก จนอาจลืมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เราถูกสื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอย่างไรบ้าง มีอิทธิพลต่อจิตใต้สำนึกของเรา เมื่อได้ยินได้ดูโฆษณาบ่อยๆ ถี่ๆ ซ้ำๆ ทำให้เราติดยี่ห้อ แบรนด์เนมทั้งหลาย โฆษณาทำให้เรา want มากกว่า need ด้วยถ้อยคำสั้นๆ ที่เชิญชวน สื่อกระตุ้นให้เราอยากลิ้มรสอาหาร เครื่องดื่ม อยากใส่เสื้อผ้าแบบนั้นแบบนี้ สื่อมีอำนาจในการเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรมการดำเนินชีวิต"

 

กิจกรรมในภาคเช้า น้องๆ ชมภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Food,Inc. ตีแผ่ระบบอุตสาหกรรมอาหารของสหรัฐอเมริกา ที่มีบริษัทใหญ่ไม่กี่บริษัทเป็นผู้ครอบครองตลาดเกือบทั้งหมดอย่างครบวงจร และบางบริษัทก็ปฏิบัติไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร คนงาน สัตว์ที่เลี้ยงเพื่อฆ่าเป็นอาหาร หลังจากนั้นน้องๆ ช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้รับจากการชมสารคดีเรื่องนี้ ดังนี้

  • ประชาชนเสียเปรียบที่ต้องบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ผู้ผลิตเห็นแก่รายได้ของตนมากกว่าความสะอาดของอาหาร จนส่งผลให้เกิดโรคติดเชื้อ มีการเลี้ยงสัตว์อย่างทารุณ

  • อาหารขาดคุณภาพ สังคมมีการบริโภคอาหารแตกต่างไปจากเดิม เกิดเชื้ออีโคไลปนเปื้อนมากับอาหาร ผู้ผลิตขาดจรรยาบรรณในการผลิต รายได้ของผู้ใช้แรงงานไม่เพียงพอที่จะบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับรู้ข้อมูลอาหาร แต่บริษัทผลิตอาหารกลับปกปิด สะเทือนใจตอนที่มีการฆ่าสัตว์อย่างทารุณ ทั้งไก่ หมู วัว เราต้องมีสติ คิดวิเคราะห์ก่อนที่จะบริโภค ไม่บริโภคตามความนิยม ควรดูที่ความปลอดภัย

  • คนงานโรงงานผลิตอาหารทำงานซ้ำอย่างเดียว ได้ค่าจ้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นคนงานจากเม็กซิโกที่เข้าเมืองมาผิดกฎหมาย บางครั้งก็ถูกตำรวจจับโดยที่นายทุนไม่โดนด้วย คนเม็กซิโกตกงานเป็นผลจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอเมริกากับเม็กซิโก ส่งผลให้ข้าวโพดราคาถูกจากอเมริกาเข้าไปครองตลาดในเม็กซิโก

  • สะเทือนใจภาพในโรงเลี้ยงไก่ที่ไก่อ้วนเกินไปจนขารับน้ำหนักไม่ได้ เดินไม่กี่ก้าวก็ล้ม เราควรหันมาซื้อของในชุมชนมากกว่าไปซื้อแต่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ควรปลูกพืชผักกินเองที่บ้านเพื่อความปลอดภัย

  • การนำเทคโนโลยีมาใช้ผลิตอาหารจนทำให้เกิดโรคต่างๆ สะเทือนใจแม่ที่ต้องสูญเสียลูกจากการกินเนื้อในแฮมเบอร์เกอร์ที่ปนเปื้อนเชื้ออีโคไล และแม่ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมจากผู้ผลิต เราไม่ควรกินอาหารที่ดัดแปลงพันธุกรรม หรือสัตว์ที่ใส่สารเร่งการเติบโต

  • เชื้ออีโคไลมีสาเหตุจากเปลี่ยนอาหารวัวจากหญ้ามาเป็นข้าวโพดเพราะต้นทุนถูกกว่า และความไม่สะอาดในโรงฆ่าสัตว์ เกษตรกรหลายคนต้องเลิกกิจการเพราะโดนกดขี่จากนายทุน

  • เราไม่ควรทารุณสัตว์เพราะสัตว์ก็มีสิทธิในชีวิตเหมือนมนุษย์ แต่เขาพูดไม่ได้ จึงเรียกร้องไม่ได้ รู้สึกสะเทือนใจภาพในโรงฆ่าหมู วัว ดูแล้วทำให้ก่อนจะซื้ออะไรต้องดูฉลากเยอะๆ ลดการกินฟาสต์ฟู้ด เปลี่ยนนิสัยการกินและคำนึงถึงสิทธิผู้บริโภค

  • ทุกวันนี้คนนิยมกินอาหารฟาสต์ฟู้ด ดูได้จากตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ แต่เราไม่ได้คำนึงคุณค่าทางโภชนาการ กินมากไปก็ทำให้เป็นโรคต่างๆ ก่อนกินอะไรควรพิจารณาให้ดีว่าจะส่งผลดีหรือผลเสียกับเรา

  • คิดไม่ถึงว่าแฮมเบอร์เกอร์จากร้านฟาสต์ฟู้ดที่เรากินแหล่งที่มาจะสกปรกหรือต้องทรมานสัตว์ เห็นแล้วก็ไม่อยากกินอีกต่อไป

  • อาหารขยะมีวิธีการทำที่ขยะจริงๆ ดูแล้วขยะแขยงมาก เสียดายเงินที่เราไปเสียให้กับอาหารที่ทำให้เราตายเร็ว มันไม่คุ้ม ช่วยเปิดโลกทัศน์เราให้กว้างขึ้น

  • ได้เห็นอุตสาหกรรมอาหารในหนังสารคดี เปรียบเทียบกับอาหารที่กลุ่มรักษ์เขาชะเมาทำให้เรากิน ต่างกันมาก ที่นี่เขาปลูกข้าว ปลูกผัก โดยไม่ใช้สารเคมี

  • เวลาเราเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต เจอเนื้อสวยๆ ใส่แพ็คไว้ก็ต้องคิดให้ดีก่อนที่จะซื้อ อยากซื้อที่ตลาดสดมากกว่า เพราะเรายังเห็นที่มาของอาหาร ประทับใจอาหารที่นี่ว่าอร่อย ต่างกับอยู่ที่บ้านไม่ได้กินข้าวพร้อมกัน ต่างคนต่างหากินเอง

คุณอัจฉราเสริมในเรื่องการผูกขาดการผลิตอาหารโดยไม่กี่บริษัท เป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาล ลดต้นทุนด้วยการใช้แรงงานต่างชาติ ส่วนที่เราทำได้ในขณะนี้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นลดการกินขนมกรุบกรอบที่อุดมด้วยแป้ง น้ำตาล ไขมันและเกลือ ผลกระทบจะเกิดกับตัวเราเอง ทุกวันนี้บ้านเราคนอายุน้อยก็เป็นเบาหวานกันแล้ว สังเกตเห็นตอนที่ไปจัดค่ายลูกเสือด้วยกันว่า น้องๆ ไม่ค่อยกินน้ำเปล่า กินแต่น้ำสเลอปี้ น้ำอัดลม ขอให้เรากินผัก ผลไม้ให้มากขึ้น

 


ในช่วงบ่าย นักเรียนได้ฝึกทักษะการจัดค่ายยุวสิทธิมนุษยชน โดยเริ่มจาก คุณปฏิพัทธ์ ไผ่ตระกูลพงศ์ ผู้รับผิดชอบค่ายครั้งนี้ อธิบายภาพรวมของกิจกรรมใน ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน และทบทวนกิจกรรมต่างๆ เริ่มจากปฐมนิเทศ ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้แก่ ความเหมือนหรือความต่าง, กล้วยของฉันหายไปไหน, ความจำเป็น/ความต้องการ, และกิจกรรมช่วงฐานสิทธิมนุษยชน (Human Rights Walk Rally) ได้แก่ฐาน ภาพลวงตา, เรือมนุษย์, ช่องว่างระหว่างชนชั้น, จินตนาการของฉัน, บันไดชีวิต... สิทธิของฉัน, และสีแห่งสามัคคี โดยให้น้องได้ฝึกเป็นผู้นำกิจกรรมแต่ละฐานด้วยตัวเอง ฐานละ 3 คน

ค่ำวันนั้นเป็นช่วงวงสนทนาพี่น้อง น้องๆ บอกเล่าสิ่งที่ประทับใจจากกิจกรรมตลอดทั้งวัน และบอกเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากได้เข้าร่วมค่ายยุวสิทธิมนุษยชน สิ่งที่ได้เรียนรู้และเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างไรบ้าง น้องๆ แบ่งปันดังนี้

  • สามารถอธิบายให้น้องๆ ในโรงเรียน ได้เข้าใจถึงกิจกรรมค่ายยุวสิทธิมนุษยชน

  • จากเด็กนั่งหลังห้อง ไม่สนใจว่าใครทำอะไรก็ทำไป ตอนนี้เริ่มสนใจมากขึ้น รู้จักวิเคราะห์ พูดให้คนอื่นฟังได้

  • ทำให้รู้ว่าเรามีสิทธิที่จะเรียกร้องหลายๆ อย่าง เช่นเวลาขึ้นรถโดยสาร รถแท็กซี่แล้วได้รับความไม่เป็นธรรม

  • ทำให้มีเพื่อนมากขึ้น มีปฏิสัมพันธ์ เรียนรู้ที่จะรู้จักคนอื่น เมื่ออยู่ในคนหมู่มากไม่ว่าจะเป็นสังคมไหน จะต้องปรับตัวในการทำงานกับแต่ละคน รู้จักควบคุมอารมณ์ เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น

  • ค่ายยุวสิทธิฯ ทำให้เราได้พูดในสิ่งที่เราคิด พูดออกมาแล้วรู้สึกดี โล่ง สบายใจ สนิทกับเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ประทับใจตอนที่ได้ไปสัมผัสชีวิตของคนเก็บขยะ

  • แต่ละค่ายเป็นเหมือนวัคซีนให้เรามีภูมิคุ้มกันตนเองด้านสังคม ที่จะเท่าทันสิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามา ตอนแรกคิดว่าเรื่องสิทธิฯ เป็นเรื่องไกลตัว แต่พอไปดูที่บ่อขยะก็รู้เลยว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ไม่เคยรู้เลยว่าบ่อขยะอยู่ใกล้บ้านเรามาก ขยะที่เราทิ้งๆ ขว้างๆ ย่อยสลายยากเพียงใด และทำให้โลกเราแย่ลงเรื่อยๆ

  • ความรู้จากค่ายมาใช้ประโยชน์ได้กับการเรียน โดยเฉพาะวิชาสังคม เมื่อครูถามเรื่องสิทธิมนุษยชน ตอนค่ายลูกเสือเป็นการทบทวนสิ่งที่เราได้จากค่ายยุวสิทธิฯ เพื่อไปต่อยอดกับน้องๆ ที่ฐานของเรา จนมาค่ายนี้รู้สึกว่าเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้น

  • ได้เห็นมุมมองหลายอย่าง รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้นจากที่ไปช่วยบ้านของน้องที่ทำอาชีพเก็บขยะ ทำให้เห็นว่าแม้ทุกคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่โอกาสที่มีแตกต่างกัน

คุณอัจฉรากล่าวสรุปว่า "สิ่งที่เราบอกเล่าออกมาเป็นผลสัมฤทธิ์หรือพัฒนาการจากที่ได้ผ่านสามค่าย ช่วยให้เราพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ น้องๆ บอกว่ากล้าแสดงออกในเรื่องความคิด การกระทำ มีเพื่อนมากขึ้น จากเดิมที่มีแต่เพื่อนสนิทหรือเพื่อนเฉพาะกลุ่ม คุณธรรมที่ซ่อนอยู่คือ เราลดความเป็นปัจเจก ถอดอัตตาของตัวเองวางไว้แล้วก้าวไปสู่คนอื่น เราไม่ได้ให้คนอื่นก้าวเข้ามาหาเรา แต่เราก้าวไปหาผู้อื่น ผูกมิตรกับเขา เรียนรู้ตัวตนของเขา พวกเราเป็นตัวอย่างของสีที่คละกัน ยอมรับความเป็นมนุษย์ในตัวเขา น้องๆหลายคนพูดถึงประสบการณ์ที่ไปเก็บขยะ เราได้เข้าไปอยู่ในความยากลำบากกับเขา สิ่งนี้ไม่มีใครสอนได้ นอกจากเราต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง น้องๆ มาจากครอบครัวที่มีฐานะแต่การที่เอามือเข้าไปอยู่ในถังขยะเป็นการกล้าที่จะเผชิญความจริง เราได้ถอดกรอบที่อยู่ในใจเรา เริ่มเปลี่ยนแปลง มีความอ่อนไหวต่อปัญหาต่างๆ มากขึ้น จากนั้นอาจจะเริ่มหันไปมองคนงานในโรงเรียนของเราที่เขาพูดภาษาไทยไม่ชัดเพราะเป็นปกาเกอะญอ เป็นคนพม่า"

 


สำหรับกิจกรรมวันที่ 10 เม.ย. น้องๆ แบ่งเป็นสองกลุ่ม ระดมความคิดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและหาแนวทางแก้ไข โดยกลุ่ม 1 อยากให้มีการลดอาหารหวานเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน และให้อาหารมีความสะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการ ปัญหาขยะในโรงเรียน การตรงต่อเวลาของนักเรียน การเข้าแถวเติมบัตร ไม่ต้องฝากเพื่อนเติม ไม่แซงคิวกัน

กลุ่มที่ 2 นำเสนอปัญหาของโรงเรียนในเรื่อง 1. การเคารพให้เกียรติกันระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยม เช่น เดินไหล่ชนกันแต่ไม่ขอโทษกัน มีแนวคิดจัดค่ายประสานสัมพันธ์รุ่นพี่ รุ่นน้อง จัดกิจกรรมให้รุ่นพี่ รุ่นน้องช่วยเหลือกัน เช่นให้มีพี่รหัส น้องรหัส เพื่อจะได้ดูแลซึ่งกันและกัน 2. อาหาร ต้องมีความสะอาด ไม่เอาอาหารค้างคืนมาขายต่อ ห้องครัวต้องสะอาดด้วย เมนูอาหารควรมีการเปลี่ยน อาหารและช้อนส้อมควรมีปริมาณเพียงพอ 3. ขยะ ทิ้งไม่ลงถังหรือกินแล้วก็ทิ้งเลย ให้พวกเราเป็นแกนนำ หยิบไปทิ้งให้รุ่นน้องเห็น 4. สร้างกิจกรรมที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ จินตนาการ ในการเรียนและการทำกิจกรรม เพื่อไม่ให้นักเรียนเป็นเหมือนหุ่นยนต์ ฝึกการคิดวิเคราะห์ เปลี่ยนมุมมองใหม่ในการเรียน 5.สร้างบรรยากาศที่ดีในโรงเรียนที่จะช่วยส่งเสริมการเรียน 6.ปรับปรุงระเบียบการแต่งกายที่ไม่เรียบร้อย 7. ตรงต่อเวลาในการเข้าห้องเรียน

จากนั้นทั้งสองกลุ่มร่วมกันคิดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ได้แก่ 1. รณรงค์ปฏิบัติคุณธรรม รุ่นพี่ รุ่นน้อง ให้เกียรติ เคารพซึ่งกันและกัน ทำโปสเตอร์ มีคำขวัญ รูปประกอบตั้งไว้ตรงจุดที่เติมบัตรเพื่อรณรงค์เรื่องการเข้าแถวเติมบัตร 2. โรงเรียนสะอาด ขยะเป็นศูนย์ รณรงค์เรื่องการทิ้งขยะให้ลงถัง ชักชวนน้องๆ เพื่อนๆ มาเดินรณรงค์ช่วงพักหรือช่วงเที่ยง ช่วยกันเดินเก็บขยะ 3. เรียนสนุก สุขภาวะดี นักเรียนมัธยมปลายเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ลงมากินข้าวเที่ยง อาหารไม่พอ จนต้องไปซื้อขนมกรุบกรอบกินแทน รวมทั้งความสะอาดของอาหาร โดยทำคลิปวีดีโอไปถามนักเรียนชั้นต่างๆ ถึงปัญหาที่พบหรือประสบด้วยตัวเอง และอยากจะให้แก้ปัญหาอย่างไร ส่งให้ผู้บริหารโรงเรียนพิจารณาต่อไป


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >