หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 123 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


วาระแห่งชาติ ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ : ศากุน บางกระ พิมพ์
Wednesday, 15 May 2013

Life Style

วันที่ 8 พฤษภาคม 2556

วาระแห่งชาติ ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ

โดย : ศากุน บางกระ


"บัตรประจำตัวประชาชน" อาจไม่มีความหมายสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับคนไร้ชาติแล้ว บัตรประจำตัวประชาชนเป็นสิ่งที่พวกเขารอคอยอยู่ตลอดชีวิต

"ยายไม่มีหลักฐาน ยายน้อยใจมาก เพราะมาอยู่ที่นี่นานแล้ว แต่ไม่มีอะไรเลยในขณะที่คนอื่นได้ถือบัตรต่างด้าวก็ยังดี" ล่ามภาษาอาข่าแปลประโยคสะท้อนความรู้สึกของ อาผี่หมี่หน่อง หมื่อแล ผู้เฒ่าหญิงวัย 92 ปี ชาวอาข่า ที่อพยพมาจากเชียงตุงและเป็นคนกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านป่าคาสุข ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มากว่า 30 ปี

"ไม่มีอะไรเลย" ในความหมายของอาผี่หมี่หน่องก็คือ ตัวเขาเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้สถานะ และไร้สิทธิใดๆ เนื่องจากไม่มีบัตรหรือหลักฐานแสดงการเป็นพลเมืองของประเทศใด ประหนึ่งว่าเขาเป็นบุคคลที่โลกไม่รู้จัก ซึ่งอาผี่หมี่หน่องพร้อมกับผู้เฒ่าไร้สัญชาติอีกพันกว่าชีวิตที่ อ.แม่ฟ้าหลวง อ.เชียงของ อ.เชียงแสน อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กำลังยื่นเรื่องขอสัญชาติไทยด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.)

 

ไร้สัญชาติ ไร้สิทธิ


"พวกเขาเป็นคนด้อยโอกาสที่สุดในโลกนี้ เพราะพวกเขาไม่มีตัวตนทางกฎหมาย เขาจะดำเนินการทำนิติกรรมใดๆ ไม่ได้เลย" คำกล่าวสะท้อนใจจาก ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ประธานมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ที่กำลังผลักดันให้เรื่องนี้เป็น "วาระแห่งชาติ"


จากการสำรวจของโครงการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลเพื่อสุขภาวะผู้เฒ่าไร้สัญชาติในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปของพื้นที่ดังกล่าว พบผู้เฒ่าไร้สัญชาติ 5 กลุ่ม จำนวน 1,411 คน คือ 1. กลุ่มผู้เฒ่าเข้ามาอาศัยอยู่นานแล้ว: ขอสถานะเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 762 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มากที่สุด 2. กลุ่มผู้เฒ่าที่ถือบัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน จำนวน 104 คน 3. กลุ่มผู้เฒ่าไร้รัฐไร้สัญชาติ กลุ่มบุคคลที่ตกหล่นจากทะเบียนราษฎร จำนวน 376 คน 4. กลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติที่ถือบัตร แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ พม่า กัมพูชา ลาว จำนวน 29 คน และ 5. กลุ่มผู้เฒ่ามีสถานะต่างด้าวชอบด้วยกฎหมาย รอแปลงสัญชาติเป็นไทย จำนวน 176 คน


กรณีของอาผี่หมี่หน่องจะจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 โดยบุคคลกลุ่มนี้มักจะไม่มีหลักฐานแสดงตัวใดๆ เพราะคิดว่าตัวเองมีอายุมากแล้วจึงไม่เคยเข้ารับการสำรวจให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรของไทย และไม่มีพยานบุคคลยืนยันในการเข้ามาอาศัยอยู่ได้


ทุกวันนี้อาผี่หมี่หน่องยังอาศัยอยู่ที่บ้านป่าคาสุขใจ และเป็นแม่เฒ่าประจำหมู่บ้านที่มีส่วนในการถ่ายทอดภูมิปัญญาชนเผ่าอาข่าอยู่เสมอ "ยายแก่แล้ว ยายไม่มีอะไรเลย ยายรู้สึกอาย ถึงแม้จะพูดปากเปล่าก็ไม่มีอะไรที่เชื่อถือได้ แต่ก็ดีใจที่มีคนมาช่วยเหลือ" ยายเล่าด้วยน้ำเสียงและน้ำตาแห่งความตื้นตัน


เช่นเดียวกับ อาแบ แซเบวกู พ่อเฒ่าวัย 62 ปี ณ หมู่บ้านป่าคาสุขใจ ที่มีอาชีพตีเหล็กและเครื่องเงิน อาแบเข้ามาอาศัยในไทยได้ 30 กว่าปีแล้วแต่ก็ยังไม่ได้สัญชาติไทย ตอนนี้มีสถานะเป็นคนด่างด้าวเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิอาศัยถาวรในรัฐไทย เป็นผู้เฒ่าในกลุ่มที่รอเพียงการแปลงสัญชาติเท่านั้น แต่อาแบก็รอมานานกว่า 10 ปีแล้ว


"ตอนนี้มีความรู้สึกหนักอยู่บนบ่าเหมือนกับว่ายังไม่ได้เป็นคนไทยแท้โดยสมบูรณ์ เวลาไปต่างถิ่น ตำรวจแทบจะไม่อยากดูใบนี้เลย พอจะเอาออก ตำรวจก็บอกไม่ต้องเอาออกก็ได้" อาแบเล่า


สาเหตุที่ทำให้อาแบไม่ได้แปลงสัญชาติก็คือ เงื่อนไขทางกฎหมายที่บอกไว้ว่า ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในรัฐไทยเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไปจะต้องมีเงินเดือน 80,000 บาทต่อเดือน หรือหากอยู่ครบ 10 ปี จะต้องมีเงินเดือน 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งในความเป็นจริงอาแบมีรายได้เพียง 2,000-3,000 บาท ต่อเดือนเท่านั้น


นอกจากนี้ ปัญหาที่พบในกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติยังมีเรื่องเอกสารในการแสดงตนหาย การถูกจำหน่ายออกจากทะเบียนราษฎร หรือแม้กระทั่งการสื่อสารที่ไม่เข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างภาษา การละเลยเรื่องเอกสารของเจ้าหน้าที่ เป็นผลให้ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน และไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงได้ทั้งที่ควรจะได้รับ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการเดินทาง


คำภา ชัยวงศ์ อายุ 57 ปี ชาวลื้อจากบ้านหล่ายงาว อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ที่มีเพียงบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เล่าว่า แม้แต่ลูกและหลานของเธอก็ยังไม่ได้สัญชาติไทย


"เราไม่มีสิทธิ ไม่ได้อะไรเลย สวัสดิการก็ไม่ได้ อาศัยทำไร่ข้าวโพด ทำนาเอา แต่จะกู้เงินจาก ธกส. ก็ไม่ได้ ทุกวันนี้อยากเป็นคนไทย เพราะเรามีลูกมีหลานอยู่ที่นี่ เหตุบ้านการเมืองเราก็รู้หมด เลือกตั้งก็ไม่ได้ไปเลือกกับเขา ทั้งที่เราก็สนใจ"

 

ไร้สัญชาติ ไม่ไร้ภูมิปัญญา


แม้จะไม่มีหลักฐานอะไรมารองรับสถานะบุคคล แต่บรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก็ยังคงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของตนได้อย่างเข้มแข็ง พวกเขามีภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้เรื่องสมุนไพร เรื่องเครื่องแต่งกาย หรือวิถีการทำมาหากิน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละกลุ่ม เช่น ชาวปกากะญอจะมีความผูกพันกับธรรมชาติ รักป่า มีความรู้เรื่องการจักสานและการทำไร่หมุนเวียน ชาวม้งมีเครื่องดนตรีที่หน้าตาคล้าย "แคน" เป็นชีวิตจิตใจและเป็นเครื่องบ่งบอกประวัติศาสตร์ของพวกเขา ซึ่งกลุ่มผู้เฒ่าเหล่านี้หวังว่า ภูมิปัญญานี้จะถูกส่งต่อไปรุ่นสู่รุ่นไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถึงอย่างนั้นก็อดเป็นห่วงว่า อนาคตหากไม่มีคนเล่าคนสอน ลูกหลานก็จะลืมภูมิปัญญาของตัวเองไป


อาซามิ แม่เฒ่าจากเผ่าลีซู อายุ 78 ปี จาก ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ผู้มีความรู้เรื่องเสื้อผ้า กล่าวว่า "ตัวแม่เฒ่าเองมีคุณงามความดี ทำให้ชาวลีซูมีเครื่องแต่งกายที่สวยงาม เมื่อตัวเองไปไหนไม่ได้แล้วก็ยังได้ปักผ้า เย็บหมวกอยู่กับบ้าน และก็ภูมิใจที่ทุกวันนี้ได้ดูแลลูกหลาน"


เช่นเดียวกับ อาแบ ณ บ้านป่าคาสุขใจ ที่มีอาชีพตีเหล็กอันเป็นภูมิปัญญาสำคัญของเผ่าอาข่า แต่ในปัจจุบันอาชีพนี้มีคนทำน้อยมาก อาแบเล่าว่า เขาเริ่มเรียนการตีเหล็กตั้งแต่อายุ 15 ปี ปกติจะมีคนมาจ้างให้พ่อเฒ่าตีเหล็กไม่ว่างเว้น เพราะการทำเครื่องแต่งกายของชนเผ่าอาข่ายังต้องการคนที่มีความสามารถในการผลิตอยู่มาก


"ภูมิปัญญาเหล่านี้ก็อยากจะถ่ายทอด แต่ไม่รู้จะมีอยู่ได้อีกสักกี่ปี" อาแบกล่าว

 

ไร้สัญชาติ ต้องไม่ไร้การดูแล


จำนวนคนไร้สัญชาติเฉพาะที่อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหามีประมาณ 30,000-40,000 คน และจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา จัดงานวันผู้เฒ่าไร้สัญชาติขึ้นเป็นปีที่ 2 มีผู้เฒ่า 11 ชาติพันธุ์ เช่น ปกากะญอ ม้ง ลีซู ลาหู่ ขมุ ไทลื้อ จำนวนกว่า 300 คนมาร่วมงาน โดยครูแดง ประธานมูลนิธิฯ กล่าวว่า "งานครั้งนี้มีขึ้นเพื่อทำให้สังคมไทยได้ตระหนักรู้ว่า ชุมชนชายขอบเป็นคนที่อยู่ไกลศูนย์กลางอำนาจ สิทธิประโยชน์ทั้งหลาย พวกเขาที่ตกหล่นจากการเป็นราษฎรมีตัวตนอยู่จริง แล้วก็อยากให้ลูกหลานและตัวผู้เฒ่าเองได้เห็นความสำคัญของปัญหาของตัวเอง"


ครูแดง เห็นว่าปัญหาของผู้เฒ่าเหล่านี้ หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง อันดับแรกคือ กระทรวงมหาดไทย จะต้องมีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหา หรือควรจะมีการตั้งกองทุนแก้ปัญหาสำหรับคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติขึ้น เช่น คนในลุ่มน้ำสาละวิน ที่มีค่าเดินทางจำนวนมากในการออกมาจากหมู่บ้านเพื่อเข้าเมืองหรือโรงพยาบาล


"สอง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในประเด็น พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ น่าจะผ่อนผันให้ผู้เฒ่าที่อยู่ในประเทศไทยมาแล้วมากกว่า 30 ปีได้รับด้วย และ สาม กระทรวงสาธารณะสุขที่กำหนดให้ผู้ที่มีบัตรที่ขึ้นต้นด้วยเลข 6 เลข 7 ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลเท่านั้น จะสามารถเพิ่มให้ผู้เฒ่าไร้สัญชาติได้รับสิทธิด้วยได้หรือไม่ โดยอยากให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการกัน อันรวมไปถึงนายทะเบียนหมู่บ้าน นายทะเบียนตำบล หรือผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย"


ด้าน สุพจน์ เลียดประถม สมาชิกวุฒิสภา จ.ตราด และกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย แสดงความเห็นว่าแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนควรจะเปิดกว้างมากขึ้น


"ตามหลักสิทธิมนุษยชนนั้นทุกคนต้องมีสัญชาติ ปัจจุบันมีคน 10-11 ล้านคนทั่วโลกที่ไม่มีสัญชาติ ซึ่งการแปลงสัญชาติ ทุกชาติทั่วโลกจะมองคล้ายกันว่าเป็นเรื่องยาก การแก้ปัญหา เราต้องดูว่าจะแก้ไขหลักเกณฑ์ได้อย่างไร อย่างในไทย คนกลุ่มนี้มีอุปสรรคเรื่องภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารกับหน่วยงานของรัฐได้ กลุ่มพี่น้องประชาชนเองต้องลุกขึ้นมาขับเคลื่อนให้เป็นพลังส่วนหนึ่ง ส่วนภาครัฐก็ต้องผ่อนปรน อย่างเกณฑ์เรื่องอาชีพก็บังคับใช้ไม่ได้ คนไทยปกติเป็นผู้สูงอายุก็ไม่มีอาชีพแล้ว ไม่ควรจะเข้มงวดในกลุ่มผู้สูงอายุ อาจจะไปใช้กับกลุ่มคนยุโรปได้ แต่ต้องยกเว้นสำหรับคนชายขอบ"


การเคลื่อนไหวเพื่อกลุ่มผู้เฒ่าสูงอายุครั้งนี้ได้มีข้อเสนอต่อรัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายกรณี อย่างกรณีที่ผู้เฒ่ามีรายชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว แต่มีเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่า ต้องพูดภาษาไทยได้ ต้องมีใบอนุญาติทำงาน ต้องมีหนังสือรับรองจากสถานประกอบการ และหลักฐานการเสียภาษีส่วนบุคคล รวมถึงต้องพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นโรคที่กฎหมายห้าม


กรณีนี้ได้มีข้อเสนอให้ตัดหลักเกณฑ์เรื่องการพูดภาษาไทยและใบอนุญาติการทำงานออกไป ขอให้ลดหย่อนหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และจัดให้มีคณะทำงานไปสำรวจที่หมู่บ้านโดยตรง เพื่อที่ชาวบ้านจะได้สะดวกในการให้ความร่วมมือ


ปัญหา "ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ" จะเป็น "วาระแห่งชาติ" ได้หรือไม่ หรือจะถูกปล่อยให้ "ไร้การดูแล" ต่อไป ก็ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร


อาผี่หมี่หน่อง ได้กล่าวคำสุภาษิตของชาวอาข่าเปรียบเทียบกับตัวเขาและผู้เฒ่าไร้สัญชาติคนอื่นว่า "ที่เราไม่ได้กินข้าวเพราะมีหญ้าขึ้นเยอะ ที่เราต้องอพยพย้ายถิ่นเพราะการปกครองของเจ้าหน้าที่ไม่ดี แต่ ณ วันนี้ การปกครองดีขึ้นแล้ว เราก็ยังไม่ได้บัตรเลย"

 

 ----------------------

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >