หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 68 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 5 - 7 มีนาคม 2556 พิมพ์
Friday, 19 April 2013

  ชมภาพจาก

ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 14


undefinedFacebook ยส.undefined

 

 undefinedคลิกชมภาพกันเลยundefined


undefined เว็บบอร์ด : ฝากข้อความถึงเพื่อนร่วมค่ายฯ undefined

(สมัคร สมาชิกด้วยนะ)


Image

 


ค่ายยุวสิทธิมนุษยชนที่ ท่าแร่ จ.สกลนคร

เรียนรู้ผลกระทบโรงงานน้ำตาล - โรงไฟฟ้า

 

 พระคุณเจ้าจำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ให้ข้อคิดว่า จุดยืนของพระศาสนจักรคาทอลิกคือ มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน และเรารักซึ่งกันและกันเหมือนพระเจ้าทรงรักเรา ฝากถึงเยาวชนให้เริ่มจากตัวเองเป็นเครื่องมือแห่งความยุติธรรม และสร้างสันติในบ้าน สู่สังคม ไม่เอาเปรียบคนอื่น น้องๆ เยาวชนสะท้อนความรู้สึกเป็นห่วงโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าที่จะมาตั้งในจังหวัดสกลนคร ว่า รู้สึกเสียดายต้นไม้ที่ถูกตัดไปเพื่อเป็นเชื้อเพลิงป้อนโรงงาน และป่าไม้จะถูกเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย เป็นห่วงมลภาวะทางอากาศและน้ำ เยาวชนจะช่วยกันกระจายข่าวผลกระทบจากการสร้างโรงงานฯ วอนคนในหมู่บ้านตัดต้นไม้ที่จำเป็นเท่านั้นและช่วยกันปลูกทดแทน

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกความยุติธรรมและสันติ (ยส.), แผนกยุติธรรมและสันติ อัครสังฆมณฑลท่าแร่ - หนองแสง และ ศูนย์สังคมพัฒนา อัครสังฆมณฑลท่าแร่ - หนองแสง ร่วมกันจัด "ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน" ครั้งที่ 14 ที่ ศูนย์คำสอน วัดนักบุญมาร์การิตา อาลาก๊อก บ้านหนองบัวทอง ต.ท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร ระหว่างวันที่ 5-7 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยนักเรียนเข้าร่วมค่ายครั้งนี้จาก โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร, โรงเรียนโพธิแสนวิทยา อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร, โรงเรียนบ้านโพนแพง (เจียรวนนท์อุทิศ 5) อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร และโรงเรียนสกลราษฎร์วิทยานุกูล รวมทั้งสิ้น 40 คน

 

 

คุณพ่อสุรวุฒิ สมงาม จิตตาธิการแผนกยุติธรรมและสันติ อัครสังฆมณฑลท่าแร่ - หนองแสง กล่าวเปิดค่ายยุวสิทธิฯ ว่า ‘การใช้สิทธิ การละเมิดสิทธิ เป็นอย่างไรเราจะได้รู้ในค่ายยุวสิทธิฯ นี้ พระศาสนจักรและสังคมไทยฝากไว้กับเราซึ่งเป็นเยาวชน'

 

   

 จากนั้น คุณอดุลย์ ตระกูลมา ผู้จัดการศูนย์สังคมพัฒนา อัครสังฆมณฑลท่าแร่ - หนองแสง กล่าวว่า "มิสซังท่าแร่-หนองแสง จัดค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่ผ่านมา การจัดค่ายยุวสิทธิฯ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงสิทธิของตนเองและสิทธิด้านต่างๆ ด้วยความเชื่อมั่นว่าคนทุกคนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี แต่สถานการณ์ปัจจุบันทำให้เราถูกละเมิด ถูกละเว้นเรื่องสิทธิต่างๆ ปีที่แล้วเราจับประเด็นเรื่องหนองหารในเรื่องสิทธิที่ทำกิน เรื่องโด่งดังที่สุดก็คือที่ดอนสวรรค์ของหนองหาร ที่จะมีนายทุนเข้าไปหาประโยชน์ ซึ่งก็มีเยาวชนที่มาเข้าค่ายปีที่แล้ว ได้ไปร่วมเรียกร้องเรื่องนี้ด้วย

สำหรับสถานการณ์ในปีนี้ ที่เกิดขึ้นในชุมชนของเราในเขตพื้นที่ อ.กุสุมาลย์ จะเกิดโรงงานใหญ่ขึ้น จากการเติบโตของภาคเศรษฐกิจได้แก่ โรงงานน้ำตาลและโรงผลิตไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตน้ำตาล "ลิน" ใกล้กับบ้านโคกสะอาด ตำบลอุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ และเมืองลาวจะเกิดโรงงานแร่โปแตส และจะมีโครงการเจาะอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงจากเมืองจีนมาถึงภูพาน เพื่อทะลุไปยัง จ.กาฬสินธุ์ เราจึงควรทราบถึงผลจากกระแสการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะกระทบกับสิทธิชุมชน สิทธิความเป็นมนุษย์ของเรา"  

 

ผอ. ดาวิทย์ พุทธิไสย ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกสะอาด ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ใกล้กับบริเวณที่จะสร้างโรงงานน้ำตาล ให้ข้อมูลช่วงพบปะกับเยาวชนในวันแรกว่า "วันนี้สกลนครกำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากนายทุน โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในสมัยนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติเมื่อปี 2551 ให้ย้ายโรงงานน้ำตาลมาตั้งที่บ้านสนามบิน ต.อุ่มจาน ขยายกำลังผลิตเป็น 12,500 ตันอ้อยต่อวัน บอกว่าต้องใช้พื้นที่ปลูกอ้อย 60,000 ไร่ แต่ความเป็นจริงอาจใช้ถึง 100,000 ไร่ และในโรงงานน้ำตาลจะมีโรงงานไฟฟ้าชีวมวลขนาด 40 เมกะวัตต์ 1 เมกะวัตต์สามารถให้ไฟกับหลอดนีออนได้ 50,000 หลอด ทั้งที่โรงไฟฟ้าชีวมวลทั่วไปจะไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยใช้แกลบหรือไม้ต่างๆ สับเป็นชิ้นเล็กๆ ไปเผาเพื่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้า แต่สิ่งที่ชาวบ้านได้รับก็คือฝุ่นควันชนิดที่เมื่อฝนตกลงมาน้ำกินไม่ได้ โรงไฟฟ้าชีวมวลที่สุรินทร์และร้อยเอ็ดที่ผมไปดูมาก็เห็นว่าชาวบ้านตากเสื้อผ้าเอาไว้ไม่นานก็ดำต้องเอาไปซักใหม่ และต้องปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือนหมด ถ้าโรงงานน้ำตาลเกิดที่สกลนคร วันหนึ่งจะมีรถบรรทุกวิ่ง 617 เที่ยว หรือรถหนึ่งคันจะผ่านท่าแร่ทุก 3 นาที วิถีการดำเนินชีวิตจะเปลี่ยนไป ขณะนี้ในพื้นที่ก็มีโรงงานอัดไม้ที่รับซื้อไม้ทุกชนิด นำไปอัดเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อเตรียมเป็นเชื้อเพลิงส่งโรงไฟฟ้าชีวมวล วันหนึ่งมีรถไถวิ่งมาส่งไม้ในโรงงานถึง 200 คัน รถคันหนึ่งต้องตัดไม้ถึง 20 ต้น วันหนึ่งต้นไม้ถูกตัด 4,000 ต้น สิ่งเหล่านี้เป็นทรัพยากรของเรา พระเป็นเจ้าประทานให้เรา ไม่ใช่ว่าใครมีเงินจะมาเอาไปจากเราได้"

 

  

ต่อจากนั้นเป็นกิจกรรมเรียนรู้ศักดิ์ศรีและสิทธิความเป็นมนุษย์ ผ่านกิจกรรม หาความเหมือนความต่างของเพื่อน, กล้วยของฉันหายไปไหน และ ความจำเป็นความต้องการ ในช่วงบ่าย เรียนรู้สิทธิมนุษยชนด้วยกิจกรรมฐาน 5 ฐาน ได้แก่ ภาพลวงตา, เรือมนุษย์, บันไดชีวิต ...สิทธิของฉัน, ช่องว่างระหว่างชนชั้น, สิทธิมนุษยชนเป็นสากล และฐานรวมคือ สีแห่งสามัคคี จากนั้นในช่วงค่ำเป็นกิจกรรมดูหนัง ฟังสาระ ชมเรื่อง A Civil Action เรื่องของทนายบริษัทเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ช่วยชาวบ้านฟ้องสองบริษัทใหญ่ของอเมริกา ที่ละเลยปล่อยสารพิษลงในแหล่งน้ำของชุมชน จนส่งผลให้เด็กในเมืองนั้นเสียชีวิตด้วยโรคลูคีเมีย

ในวันที่ 6 มีนาคม ให้น้องๆ ดูรายงานข่าวของช่องไทยพีบีเอส ที่นำเสนอผลกระทบของชาวบ้าน ต.เหนือเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด และชาวบ้านที่ จ.สุรินทร์ ที่หมู่บ้านอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล จากนั้นน้องแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาและออกมานำเสนอ ในช่วงบ่าย ชาวค่ายยุวสิทธิฯ เดินทางสู่พื้นที่ อ.กุสุมาลย์ ผอ.ดาวิทย์ บรรยายว่า "บริเวณรอบหมู่บ้านเป็นป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ มีดอกกระเจียว ไข่มดแดง จักจั่น เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ แต่ขณะนี้ฟาร์มเลี้ยงไก่ของบริษัทซีพีเริ่มมาสร้างที่บ้านโคกสะอาดแล้ว ปัจจุบันที่ดินใกล้ป่าถูกนายทุนซื้อไปแล้ว โดยมีโครงการจะทำเป็นไร่อ้อยรองรับโรงงานน้ำตาลที่จะเกิดขึ้น รถบรรทุกอ้อยจะจอดเต็มบ้านสนามบิน บ้านโคกสะอาด วิถีชีวิตของชาวบ้านจะเปลี่ยนไป บริเวณที่เป็นป่าสาธารณะที่บรรพบุรุษได้หวงแหนรักษาไว้ ทุกวันนี้ชาวบ้านก็ขโมยตัดไม้ไปขายให้โรงงาน


แหล่งน้ำของชุมชนคือห้วยเตยซึ่งไหลลงลำน้ำอูน จะเป็นจุดที่ตั้งโรงงานพอดี น้ำเสียจากโรงงานจะไหลลงลำน้ำอูน วิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่คือเลี้ยงปลาในกระชัง สองฝั่งของลำน้ำเป็นกอไผ่ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ชาวบ้านมาหาหน่อไม้ ถ้าโรงงานเกิดขึ้น ธรรมชาติต่างๆ จะหมดไป ขณะนี้ที่ดินทั้งสองฝั่งน้ำอูนเป็นของนายทุนเกือบหมดแล้ว น้ำอูนมีต้นกำเนิดอยู่ที่สว่างแดนดิน โดยมีเทือกเขาภูพานเป็นแหล่งกำเนิด ไหลสู่ลำน้ำยามและลำน้ำสงคราม

โรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลเกิดขึ้นแน่ ถ้าเราไม่สู้ ไม่รักษาสิทธิ ถ้าเกิดขึ้นเราจะเอาอากาศที่ไหนหายใจ จะเอาธรรมชาติที่ไหนสัมผัส ลำน้ำอูนจะไม่มีปลาอีกต่อไป อย่างที่ขอนแก่น ลำน้ำพองเกิดน้ำเสียจากโรงงานปลาตายมากมาย แต่โรงงานเสียค่าปรับแค่ 2 หมื่นบาท นี่คือกฎหมายเมืองไทย คนจนเท่านั้นที่ติดคุก คนรวยไม่เคยติดคุก อนาคตอีก 10 ปี 20 ปีจะเป็นอย่างไร บริเวณที่ปัจจุบันเป็นจุดรับซื้อไม้ จะถูกก่อสร้างเป็นโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้า ถ้าป่าไม้หายไปหนึ่งแสนไร่ ชาว ต.อุ่มจาน จะอยู่ที่ไหน โรงงานแจ้งว่าจะมีบ่อบำบัดน้ำเสีย 35 ไร่ แต่เชื่อเถอะว่ากฎหมายในประเทศไทยไม่เคยใช้ได้กับคนรวย การปล่อยน้ำเสียของเขาก็ไม่ปล่อยในฤดูแล้ง แต่จะปล่อยในฤดูน้ำหลาก จากน้ำอูนก็จะกระทบไปถึงน้ำยาม น้ำสงครามและไหลลงสู่แม่น้ำโขง

ขณะนี้โรงงานยังไม่ทำประชาพิจารณ์ ชาวบ้านก็ไม่ทราบถึงผลกระทบ คอยฟังจากผู้นำชุมชนคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนก็ได้ผลประโยชน์ โดยที่ดินที่ทางนายทุนเข้ามาซื้อหนึ่งแปลง ผู้นำก็จะได้เงิน 3 % แต่ชุมชนโคกสะอาดเรามีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เลิงฮังสามัคคี จำกัด ปัจจุบันมีสมาชิก 4 พันกว่าคน ครอบคลุม 3 ตำบล ชาวบ้านที่นี่ไม่จำเป็นต้องพึ่งโรงงานน้ำตาลแต่เราพึ่งตัวเอง"

วันที่สามของค่าย น้องๆ แต่ละกลุ่มนำเสนอการไตร่ตรองจากประสบการณ์ที่ได้รับเมื่อลงพื้นที่ โดย แบ่งปันว่า ‘ในค่ายนี้ เรามาเรียนรู้สถานการณ์คือ โรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ ต.อุ่มจาน ได้เห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา เห็นรถที่บรรทุกไม้สับแล่นผ่านหน้าไปส่งที่โรงงาน เห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ หดหู่ เศร้า เสียดายต้นไม้ ทำไมในสังคมถึงมีคนเห็นแก่ตัว ป่าไม้เริ่มหมดไป แหล่งน้ำเริ่มลดลง ชาวบ้านบางคนได้เงินจากการขายไม้ ผู้ได้รับผลประโยชน์คือนายทุนและหุ้นส่วนต่างๆ ของบริษัท ผู้นำชุมชนก็มีทั้งห่วงกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากโรงงานเกิด แต่ผู้นำบางคนก็ได้ผลประโยชน์ อยู่เฉยๆ ก็ได้ค่านายหน้าจากการขายที่ดิน ต่อไปสภาพแวดล้อมในบริเวณ ต.อุ่มจาน ก็จะเปลี่ยนไป ทรัพยากรสูญเสียไป จะมีปัญหาเรื่องการคมนาคมขนส่งจากรถบรรทุกอ้อยที่วิ่งผ่านชุมชนบ้านท่าแร่ทุกวัน อุบัติเหตุจะเพิ่มมากขึ้น ส่วนชุมชนใกล้โรงงานก็จะประสบกับอากาศเป็นพิษ'

สำหรับบทบาทเยาวชนน้องๆ บอกว่าจะเป็นกระบอกเสียงให้ความรู้ที่ถูกต้อง โดยพูดถึงธรรมชาติที่กำลังหมดไป มลพิษที่จะเกิดขึ้น เรื่องสิทธิชุมชน ร่วมกันรณรงค์ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก และลงมือกระทำโดยเริ่มที่ตัวเองก่อน และไปปรึกษากับผู้ใหญ่ รวมทั้ง จะช่วยกันปลูกป่า ดูแลรักษาต้นไม้ ปลูกต้นไม้ใหม่แทนต้นที่ถูกตัดไป ขอร้องคนในหมู่บ้านให้ตัดต้นไม้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น คุณอดุลย์กล่าวเสริมว่า ตามความเชื่อของชาวบ้าน ต้นไม้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดูแลอยู่ มีบรรพบุรุษของเราดูแล พี่น้องทางพุทธ มีความเชื่อเรื่อง "ป่าปู่ตา"

ต่อจากนั้นน้องๆ ชาวค่ายฯ แบ่งเป็นสองกลุ่ม ทำกิจกรรม "ชุมชนในฝัน" โดยออกแบบวาดชุมชนที่ประกอบด้วยหมู่บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล แหล่งเพาะปลูก ตลาด โบราณสถาน และภายในกลุ่มได้รับมอบหมายให้แสดงบทบาทสมมุติ ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน อบต. พระสงฆ์ นักข่าว นายทุนเจ้าของโรงงาน ฯลฯ จากนั้นจึงให้ชาวค่ายฯ ที่ได้รับบทบาทเป็นนายทุน เข้ามาเจรจาเพื่อต้องการซื้อที่ดินเพื่อก่อตั้งโรงงานในหมู่บ้าน ทั้งสองฝ่ายเจรจาต่อรองโดยแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี


ช่วงสุดท้ายของค่ายฯ พระอัครสังฆราช หลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ให้เกียรติเป็นผู้มอบประกาศนียบัตรให้นักเรียนที่เข้าร่วมค่ายยุวสิทธิฯ และให้ข้อคิดว่า "พวกลูกๆ มาค่ายครั้งนี้เพื่อสะกิดใจว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง สังคมปัจจุบันยังมีความอยุติธรรมอยู่มาก เช่น ถอยรถชนรถคนอื่นแล้วหนีไป คนค้าขายก็พยายามให้ได้กำไรมากที่สุด เสียน้อยที่สุด ทุกอย่างเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบ คนอื่นจะเป็นอย่างไร ช่างเขา และเรากำลังเผชิญหน้ากับความไม่ยุติธรรมมากกว่าเดิม แต่พระศาสนจักรคาทอลิกมีจุดยืนจากพระคัมภีร์บอกว่า พระเป็นเจ้าสร้างมนุษย์ให้เท่าเทียมกันและสอนให้รักกันและกันเหมือนพระองค์ทรงรักเรา ความยุติธรรมเป็นจุดเริ่มต้นของสันติภาพ ถ้าเราไม่ได้รับความยุติธรรมก็จะไม่มีสันติภาพ เราในฐานะที่เป็นเยาวชนและต้องการที่จะมีสันติภาพ ให้เริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน ในใจเราต้องคิดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เอารัดเอาเปรียบ เป็นนักเรียนก็ต้องไม่ลอกข้อสอบกัน ในฐานะที่เราเป็นประชาชนของโลก สิ่งที่มากกว่าความยุติธรรมก็คือความรัก พระเยซูเจ้าตายบนไม้กางเขนเพราะรักพวกเรา ขอให้ลูกทั้งหลายเป็นเครื่องมือแห่งความยุติธรรม อยู่ที่บ้านก็ทำบ้านให้มีความยุติธรรมและสันติ อยู่ในสังคมก็ช่วยกันทำให้สังคมมีความยุติธรรม"

น้องเยาวชนคนหนึ่งถามพระคุณเจ้าว่า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านที่มีนายทุนจะมาสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้า พระคุณเจ้าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร พระคุณเจ้าตอบว่า "ถ้าหากว่าได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายที่มาตั้งโรงงานและฝ่ายประชาชนก็จะดี แต่บางโรงงานเช่นแถวลำน้ำพองก็ปล่อยน้ำเสียทำให้ปลาตายไปหลายกิโล ชาวบ้านก็ไม่มีอะไรกิน นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังผิดต่อความรักด้วย ในฐานะที่เราเป็นประชาชน พ่อก็ต้องไปบอกเขาว่าทำไม่ได้ เราต้องคุยกับเขาดีๆ ว่าสิ่งที่คุณทำจะเกิดผลในทางลบ ทำให้พวกเราลำบาก ต้องฟังเสียงของพวกเราบ้าง ถ้าเขาไม่ฟังก็ต้องส่งเรื่องไปยังหน่วยงานราชการต่างๆ ไปจนถึงผู้ว่าฯ หรือกระทรวงที่รับผิดชอบ อย่างกรณีดอนสวรรค์ เกาะซึ่งอยู่ที่หนองหาร ชาวบ้านก็เดินขบวนคัดค้านกันทุกวัน จนเขาเลิกไม่เข้าไปใช้พื้นที่ ถ้าเราอยากจะช่วยกันเรื่องนี้ก็ต้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน"

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >