หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 157 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เมื่อกฎหมายทำร้าย 'เด็ก' : ภัคจีรา แก้ววรรณรัตน์ พิมพ์
Wednesday, 20 February 2013

Life Style

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556

เมื่อกฎหมายทำร้าย 'เด็ก'

โดย : ภัคจีรา แก้ววรรณรัตน์


ไม่ต้องเห็นใจก็ได้ แต่ขอให้เข้าใจว่า...เด็กไร้สัญชาติไม่ใช่อาชญากร

ภาพอันน่าสลดใจของเด็กหญิงชาวกะเหรี่ยงที่ถูกนายจ้างทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้านหนึ่งอาจถือเป็นความวิปริตโหดร้ายในจิตใจของผู้กระทำ แต่อีกด้านต้องยอมรับว่าเงื่อนไขทางกฎหมายและสังคมก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ยังมีเด็กอีกมากต้องเผชิญกับความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ โดยมี "การเพิกเฉย" ของผู้คนในสังคมเป็น "แรงผลัก" พวกเขาเหล่านั้นให้ดำดิ่งสู่ชะตากรรมอันโหดร้าย

"หนูชื่อพลอยค่ะ มาจากอำเภอแม่สอด พวกเราเกิดและเติบโตในประเทศไทย รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไทยมาโดยตลอด แม้จะมีคนบอกเราว่าไม่ใช่คนไทยก็ตาม หนูไม่เคยคิดว่าการที่พ่อแม่ของหนูเป็นพม่า จะทำให้พวกหนูเป็นคนที่กระทำผิดกฎหมาย"

"เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่พวกหนูรู้ว่าเราสามารถทำสิ่งดีๆ ให้แก่แผ่นดินที่เราอาศัย เราอยากให้ผู้ใหญ่ให้โอกาส มองเราเป็นเด็กที่ควรได้รับการคุ้มครองเหมือนเด็กไทยคนอื่นๆ หากเด็กต่างด้าวเกิดในประเทศไทย พวกเราควรจะได้ใบสูติบัตร มีโอกาสได้เรียนหนังสือ และได้พัฒนาตามความสามารถ พวกเราขอเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเห็นคุณค่าของเรา เราจะเติบโตมาเป็นคนดี และจะทำประโยชน์ให้ประเทศไทย กรุณาระงับการออกกฎหมายใดๆ ที่จะทำให้พวกเราตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงและเป็นอันตราย"

นี่คือหนึ่งเสียงเล็กๆ ตัวแทนของเด็กไร้สัญชาติหรือเด็กเคลื่อนย้ายในจำนวนอีกนับไม่ถ้วนที่ออกมาขอความเห็นใจ ในวาระที่กระทรวงมหาดไทยพยายามผลักดันร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ไม่มีสัญชาติไทยให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าว กำหนดให้เฉพาะกลุ่มเด็กที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย ได้สิทธิอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเช่นเดียวกับบิดาและมารดา ภายในระยะเวลาที่บิดาและมารดาได้รับอนุญาต ส่วนเด็กที่เกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับการจดทะเบียนหรือถือสัญชาติไทย จะถือว่าเป็นผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย มีผลให้เด็กกลุ่มนี้ต้องถูกผลักดันออกนอกประเทศ

ทั้งนี้หากร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จะส่งผลให้กลุ่มเด็กต่างชาติที่เข้าประเทศไทยโดยไม่มีผู้ปกครองดูแล กลุ่มเด็กไร้สัญชาติ และเด็กที่เกิดในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้รับสถานะทางกฎหมาย หรืออยู่ในสถานะระหว่างขอสถานะทางทะเบียนที่ถูกต้อง ต้องถูกจับกุม ผลักดันส่งกลับ โดยปราศจากผู้ดูแล ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงละเมิดและแสวงประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ

สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า เรื่องนี้มีผลกระทบกับเด็กนับล้านคน รวมถึงเด็กที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งไทยไม่ได้ให้สัญชาติกับเขา ประเด็นที่จะพูดถึงมี 3 ประเด็น คือ 1. ที่มา 2.ข้อกฎหมาย 3.ข้อเสนอแนะหรือทางออก

สำหรับที่มาในกฎหมายสัญชาติเดิม กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เกิดในประเทศไทยให้ถือว่าเป็นคนไทยโดยหลักดินแดนและสายเลือดซึ่งเป็นหลักในกฎหมายดั้งเดิมมา แต่ด้วยประเด็นความมั่นคงและจำนวนประชากรที่มากขึ้น ทำให้เราไม่ให้คนที่เกิดในประเทศไทยได้สัญชาติ เนื่องจากความเกรงกลัว ในคนบางคนที่ไม่ควรได้สัญชาติไทย จึงได้จำกัดคน 3 กลุ่มไว้ ดังนี้ หนึ่ง คือกลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยชั่วคราว แรงงานต่างด้าว และชนกลุ่มน้อยชาวเขา สอง คือกลุ่มที่ได้รับอนุญาติให้อาศัยชั่วคราว หรือผู้ที่ถือพาสปอร์ต เข้ามาทำงานหรือท่องเที่ยว และสาม คนที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งสถานะของพวกเขาคือผิดกฎหมายคนเข้าเมือง

จนนำมาสู่การแก้ไขกฎหมายในปี 2550 ออกมาเป็น พ.ร.บ.สัญชาติฉบับที่ 4 ในปีพ.ศ. 2551 แต่ที่่ผ่านมาก็ยังมีเด็กจำนวนมากที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่ได้สัญชาติด้วยเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งถือเป็นการขัดและละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาสิทธิเด็ก ขัดกฎหมายในประเทศ อย่าง พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก และขัดเจตนารมณ์กฎหมายสัญชาติเอง เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ที่ผ่านมาต้องการให้เด็กเป็นคนไม่ผิดกฎหมาย

"เด็กเกิดในประเทศไทย พวกเขาไม่ได้เข้าเมือง ฉะนั้นเด็กจะผิดกฎหมายตรงนี้ไม่ได้ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะมันทำให้เด็กกลายเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายอาญา เนื่องจากกฎหมายคนเข้าเมืองมีโทษจำคุกด้วย เด็กกลายเป็นผู้กระทำผิดอาญาตั้งแต่แรกคลอดมาเลย กลายเป็นอาชญากรที่ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่มีหน้าที่จับกุมและผลักดันออกนอกประเทศไทย ซึ่งนี่คือเรื่องใหญ่ที่จำเป็นต้องออกมาทบทวนตอนนี้ เพราะมีผลกระทบต่อผู้บริสุทธิ์ที่เกิดในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก"

สอดคล้องกับความเห็นของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการผู้ติดตามกรณีปัญหาสัญชาติมานาน ซึ่งมองว่ากฎหมายฉบับนี้ถือว่ามีข้อบกพร่อง โดยเฉพาะในเรื่องของหลักสิทธิมนุษยชน

"ที่น่าสงสาร คือกระเหรี่ยง มูเซอ อย่างที่เราทราบกันดีว่าไม่ประเทศนี้อยู่บนโลก ซึ่งเราไม่อาจรู้ได้ว่าเด็กพวกนี้มีจำนวนมากน้อยแค่ไหน และยังมีเด็กไร้รากเหง้าที่ถูกทิ้งไว้ในชุมชนอีกเท่าไหร่ หรือถูกทิ้งไว้ตามถังขยะบ้าง เร่ร่อนบ้าง ซึ่งเราถือเป็นเหยื่อของกฎหมาย"

"ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 สิ่งที่เราทำคือแก้มาตรา 7 ทวิเก่า เป็น 7 ทวิใหม่อย่างที่ท่านเห็น ถูกซ่อมในปีพ.ศ. 2551 คนที่เกิดในไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทย จะอยู่ในไทยฐานะใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามกำหนดในกฎกระทรวง สิ่งที่เจรจาต่อรองกันคือว่าจะไม่ให้สัญชาติก็ไม่เป็นไร แต่อย่าไปถือว่ามนุษย์คนหนึ่งที่เกิดในประเทศไทยที่ไม่ได้เข้าเมืองผิดกฎหมายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายเลย"

"อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นต้องให้สัญชาติ แต่จำเป็นต้องพาเขาไปพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง"

"ฉะนั้นจะเห็นได้ว่ากฎกระทรวงตัวนี้ ทำหน้าที่กฎหมายคนเข้าเมืองพิเศษ ซึ่งวันนี้มันเหมือนเราไม่เคยได้ 7 ทวิ วรรค 3 ใหม่ ...ขอคำเดียวค่ะ ขอคำว่าสิทธิมนุษยชนเข้าไปอยู่ในมาตรา 7 ทวิ วรรค 3 มันก็จะทำให้เกิดความผูกพันของประเทศไทยกับปฏิญญาสากล วันนี้กฎกระทรวงฉบับที่ท่านทั้งหลายเห็น มันเหมือนเราไม่ได้แก้ เหมือนกลับไปอยู่ที่เดิม เหมือนเราไม่ได้ทำอะไรเลยในปี พ.ศ.2551"

"ท่านเห็นด้วยไหมว่ามันขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ถ้าใครคนหนึ่งไม่เคยทำผิดคดีอาญา เขาจะถูกลงโทษด้วยกฎหมายอาญาได้อย่างไร เห็นด้วยไหมคะ" รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ ตั้งคำถาม

ขณะที่ วรางคณา มุทุมล เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการเด็กย้ายถิ่นประจำประเทศไทย กล่าวเสริมถึงกรณีที่ไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กว่า ในฐานะที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่เราควรจะต้องปฏิบัติตามและพยายามส่งเสริมให้แนวทางกฎหมายในประเทศสอดคล้องกับมาตรฐานนั้น หรือถ้ามีกฎหมายอื่นใดที่เปิดช่องทางให้มีการละเมิดสิทธิ เป็นความเสี่ยงหรือเป็นอันตรายต่อเด็กจะต้องมีการระงับไม่ให้มีการนำมาบังคับใช้

ทั้งนี้ข้อเสนอคือข้อสังเกตจากคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติที่มีต่อประเทศไทย นั่นคือจะต้องรับประกันเด็กทุกคนไม่ว่าจะมีสัญชาติหรือไม่ หรือว่าจะมีสัญชาติใดในประเทศไทย ไม่ว่าภาษาใด ศาสนาใด จะต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันและได้รับการดูแลให้ปลอดจากความรุนแรงในทุกรูปแบบ

"ในขณะนี้พยายามส่งเสริมให้มีการพัฒนาเครือข่ายการบริการทางสังคมที่เป็นระดับภูมิภาค เลยอยากจะสรุปในความเป็นจริงว่าช่วงหลายสิบปีเรามีความก้าวหน้าในหลายรูปแบบ มีความพยายามจากหลายภาคส่วนที่จะแก้ไขจุดที่มันเป็นข้อบกพร่อง พยายามส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย แล้วเราก็ทำได้ดี ดังนั้นเราก็ไม่อยากจะให้รัฐบาลทำมาตรฐานของตัวเองตกต่ำลงไป อยากจะให้รักษามาตรฐานนี้ไว้ ยกระดับเรื่อยๆ หรืองดเว้นการกระทำอันใดที่มีผลหรือเปิดช่องให้เกิดอันตรายและล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก"

. . .

ฉากชีวิตของเด็กไร้สัญชาติ ดูเหมือนจะมีที่ทางอยู่ในการรับรู้ของสาธารณชนไม่บ่อยครั้งนัก...

ถ้าไม่ใช่เพราะถูกทารุณกรรมอย่างโหดเหี้ยม เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ก็ต้อรอจนถึงวันเด็ก(ไร้สัญชาติ) ซึ่งทุกครั้งก็มักจบลงด้วยความสงสาร เห็นใจ และ "ผ่านเลยไป"

มึดา นาวานารถ เด็กหญิงชาวปกากะญอที่เกิดในประเทศไทย เป็นหนึ่งในไม่กี่ตัวอย่างของเด็กไร้สัญชาติที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป และจบลงด้วยการได้สัญชาติไทย

แม้เส้นทางชีวิตที่ผ่านมาต้องฝ่าฟันกับอุปสรรคมากมาย แต่มาถึงวันนี้เธอยืนยันหนักแน่นว่าจะต้องเป็นนักกฎหมายว่าด้วยเรื่องสัญชาติ ทำเรื่องสัญชาติ ต่อสู้เรื่องสัญชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา ประสานร่วมกับหน่วยงานแห่งรัฐ ในการให้สถานะความเป็นคนไทย สร้างที่ยืนและการมีตัวตนให้กับน้องๆ ที่มีชะตากรรมเดียวกันเธอ

สังคมไทยจะปล่อยให้เด็กๆ เหล่านี้ต่อสู้เพียงลำพังหรือ?

 

----------------------

ข้อเสนอต่อรัฐบาล

สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ เสนอแนะรัฐบาล 6 ข้อ ดังนี้

1. เด็กที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ต้องไม่มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

2. ต้องช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ที่เกิดในประเทศไทยตามกฎหมายทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

3.ต้องดำเนินการกับเด็กเหล่านี้ ตามหลักการไม่เลือกปฏิบัติและเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก ให้เด็กได้รับการพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และมีศักยภาพสูงสุด

4. เด็กทุกคนต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย ได้รับการจดทะเบียนการเกิดและได้รับสัญชาติ ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติไทยหรือสัญชาติอื่นใดตามความเป็นจริง

5.เด็กต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะเกิดในประเทศไทยโดยบิดามารดา เป็นผู้เข้ามาราชอาณาจักรไทย โดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายคนเข้าเมือง

6. รัฐบาลต้องทบทวนร่างกฎกระทรวงนี้นำกลับไปตั้งคณะทำงานพิจารณายกร่างขึ้นใหม่ โดยมีนักกฎหมาย นักสิทธิเด็ก นักสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมในการทำงานเพื่อจะดำเนินการ ให้ได้ตามข้อเสนอข้อ 1-5 ที่เสนอไป

 

 ----------------------

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >