หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 159 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ดาบสองคม : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Thursday, 29 November 2012

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


นิตยสารสารคดี
: ฉบับที่ ๓๓๒ :: ตุลาคม ๕๕ ปีที่ ๒๘

คอลัมน์รับอรุณ : ดาบสองคม

พระไพศาล วิสาโล


การสังหารหมู่ที่นอรเวย์เมื่อเดือนกรกฎาคม ศกก่อน ซึ่งเป็นเหตุให้มีคนตายถึง ๗๗ คนนั้น เป็นข่าวสะเทือนขวัญคนทั้งโลก ฆาตกรคือแอนเดอรส์ บรีวิก ให้เหตุผลว่าที่ทำเช่นนั้นก็เพราะโกรธแค้นรัฐบาลที่มีนโยบายส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม เท่ากับเป็นการทำลายสังคมนอรเวย์ เพราะเปิดช่องให้พวกมุสลิมมา "รุกราน"ประเทศ

ในระหว่างการพิพากษา บรีวิก ได้เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่เขาสังหารเหยื่อที่มาเข้าค่ายเยาวชนของพรรครัฐบาลในเกาะอุโทยา ส่วนใหญ่ถูกจ่อยิงที่หัว ใครที่ยังไม่ตายเขาก็ยิงซ้ำจนแน่นิ่ง รวมแล้วเป็นจำนวน ๖๙ คน เขายอมรับว่านั่นเป็นเรื่องที่ "โหดร้าย" และ "ขัดกับธรรมชาติของมนุษย์" แต่เขาจำเป็นต้องทำ ดังนั้นจึงพยายามบังคับตัวเองให้ลงมือสังหารคนเหล่านั้น

เขาเปิดเผยว่าเขาใช้เวลาเป็นแรมปีในการฝึกสมาธิ เพื่อจะได้กดข่มอารมณ์ของตัวไว้ไม่ให้หวั่นไหวในยามที่ต้องปลิดชีวิตผู้คน แล้วเขาก็ทำได้สำเร็จเพราะเขาสามารถฆ่าเหยื่อทีละคนได้โดยไม่สะทกสะท้าน

คำสารภาพของเขาได้สร้างความตกตะลึงแก่ผู้คนจำนวนไม่น้อย ส่วนหนึ่งก็เพราะสมาธิในสายตาของคนทั่วไปนั้นเป็นเรื่องของการแสวงหาความสงบในจิตใจ เป็นวิสัยของศาสนิกหรือผู้รักสงบ ไม่น่าจะเกี่ยวพันกับการสังหารโหดเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองแต่อย่างใด

ความเข้าใจเช่นนี้เกิดขึ้นเพราะสมาธิมักถูกผูกโยงกับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาทางตะวันออกเช่น พุทธศาสนา แต่ที่จริงแล้วสมาธิหรือความตั้งมั่นแน่วแน่ในจิตใจนั้นเป็นสิ่งกลางๆ คือ สามารถใช้ในทางที่ดีหรือชั่วก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อจุดมุ่งหมายทางศาสนาเท่านั้น จะใช้เพื่อจุดมุ่งหมายทางโลกหรือแบบโลกย์ๆ ก็ได้ เช่น ในการแข่งกีฬา ที่จริงแม้กระทั่งขโมยเวลาถอดรหัสตู้เซฟก็ต้องใช้สมาธิมาก จะว่าไปแล้วสมัยก่อนเวลาเพชฌฆาตจะตัดคอคน ก็ต้องใช้สมาธิอย่างมากเพื่อให้แน่ใจว่าขวานที่เหวี่ยงลงไปจะตัดกลางลำคอ ไม่คลาดไปทางอื่น อันจะเป็นการสร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ต้องโทษ

ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาจึงมีการแยกแยะระหว่างมิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ สมาธิอย่างหลังนั้นเป็นไปเพื่อการทำจิตให้สงบ เป็นกุศล และเอื้อต่อการเข้าถึงความสุขประณีต (เช่น ฌาน) หรือเพื่อการพิจารณาให้เห็นความจริงของกายและใจ (ที่เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน) ซึ่งนำไปสู่การลดละกิเลส หรือละวางความยึดติดถือมั่นในตัวตน อันมีความพ้นทุกข์เป็นจุดหมายสูงสุด

ในยุคที่ผู้คนมีความทุกข์ทางใจมาก ทั้งๆ ที่มีความสะดวกสบายและความพรั่งพร้อมทางวัตถุ ความสงบใจกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนโหยหาและเสาะแสวงมากขึ้น การฝึกสมาธิจึงได้รับความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศตะวันตก แต่ส่วนใหญ่แล้วหวังเพียงแค่ให้ใจสงบ ลดความฟุ้งซ่าน เพื่อจะได้คลายความวิตกกังวลหรือหายจากโรคนอนไม่หลับ ขณะที่จำนวนไม่น้อยต้องการจิตที่เป็นสมาธิเพื่อเรียนให้เก่งหรือทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างหลังนี้เป็นสิ่งที่นักธุรกิจต้องการมากเพราะหวังทำกำไรให้มากขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ตามสมาธิหรือความสงบใจอย่างนี้ให้ความสงบหรือความสุขแค่ชั่วคราวเท่านั้น ตราบใดที่กิเลสหรือความเห็นแก่ตัวยังไม่ลดลง ก็ต้องมีเรื่องกระทบใจให้เป็นทุกข์อยู่นั่นเอง เช่น ร้อนใจที่เห็นคนอื่นร่ำรวย เลื่อนตำแหน่ง หรือประสบความสำเร็จมากกว่าตน ขุ่นเคืองใจเมื่อถูกตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์ เศร้าโศกเสียใจเมื่อสูญเสียทรัพย์ สถานะ หรือคนรัก กล่าวอีกนัยหนึ่งตราบใดที่ยังมีความยึดติดถือมั่นในตัวกูของกู การทำสมาธิก็ไม่ต่างจากแอสไพรินหรือยาระงับปวดชั่วคราวเท่านั้น

การฝึกจิตที่ก่อให้เกิดความสงบใจหรือความสุขอย่างแท้จริงนั้น ต้องเป็นไปเพื่อลดละกิเลสและความเห็นแก่ตัว ด้วยการน้อมใจให้เห็นชัดว่า วัตถุสิ่งเสพ อำนาจ และเกียรติยศนั้น แม้ให้ความสุข แต่ก็เจือไปด้วยทุกข์ โดยที่ทุกข์มักจะมากกว่าสุข เพราะต้องเหนื่อยในการแสวงหา(และแย่งชิง) ครั้นได้มาก็ต้องเป็นภาระในการรักษา แต่สุดท้ายก็ต้องพลัดพรากสูญเสีย โดยที่ระหว่างที่มันยังอยู่กับตนนั้น เสน่ห์หรือความสุขที่ได้จากมันก็มักจืดจาง ทำให้อยากได้ของใหม่หรือมากกว่าเดิม จึงต้องดิ้นรนแสวงหามาอีก เป็นเช่นนี้ไม่รู้จักจบสิ้น หลายคนเมื่อใกล้ตายถึงได้รู้ว่าเสียเวลาไปทั้งชีวิตเพื่อสิ่งเหล่านี้โดยหาสาระอะไรไม่ได้เลย แต่ถึงตอนนั้นก็สายเกินกว่าที่จะเริ่มต้นใหม่เสียแล้ว

ความยึดติดถือมั่นในตัวกูของกูนั้นเป็นที่มาแห่งความทุกข์ เพราะแท้จริงแล้วไม่มีอะไรที่ยึดมั่นเป็นตัวกูของกูได้เลยสักอย่าง แต่เพราะความหลงจึงยึดอะไรต่ออะไรว่าเป็นตัวกูของกู ไม่แต่ทรัพย์สมบัติ อำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียงเท่านั้น หากยังรวมถึงความคิดหรืออุดมการณ์ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเลื่อนไหลแปรเปลี่ยน หากยึดติดถือมั่นในสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะเป็นทุกข์เพราะความไม่เที่ยงของมันแล้ว ยังเป็นทุกข์เมื่อมีอะไรมากระทบมัน เช่น เจอคนที่คิดต่างเห็นต่าง ก็ไม่พอใจ จนเกิดความคับแค้น นำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นประหัตประหาร ดังสงครามระหว่างศาสนาหรือการฆ่าฟันในนามอุดมการณ์ทางการเมือง

สมาธิจะเป็นสัมมาสมาธิได้ก็ต่อเมื่อช่วยให้เกิดปัญญาแลเห็นถึงโทษของความยึดติดถือมั่นดังกล่าว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นทรัพย์ อำนาจ เกียรติยศ หรืออุดมการณ์ก็ตาม แลเห็นกระทั่งว่าไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นเป็นตัวกูของกูได้เลย สัมมาสมาธิเช่นนี้แหละที่จะทำให้จิตใจสงบเย็นเป็นสุขอย่างแท้จริง แม้จะต้องประสบกับความผันผวนปรวนแปรหรือความพลัดพรากสูญเสียอันเป็นธรรมดาโลก แต่ก็ไม่เดือดเนื้อร้อนใจแต่อย่างใด เพราะไม่มีตัวกูผู้ทุกข์อีกต่อไป ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไม่มีความยึดมั่นในตัวกูของกู ความเห็นแก่ตัวก็หายไป จิตใจเปิดกว้างเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา จึงสามารถเกื้อกูลผู้คนได้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

ในทางตรงข้าม สมาธิที่มุ่งเพียงแค่ความสงบใจหรือข่มอารมณ์นั้น อาจกลายเป็นโทษได้ เพราะสามารถถูกนำไปใช้เพื่อตอบสนองความหลงและก่อความพินาศอย่างน่าสะพรึงกลัว ดังกรณีของบรีวิกเป็นตัวอย่างอันชัดเจน

 

------------------------------

จาก เว็บ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >