หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 117 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สอนเยาวชนในเรื่องยุติธรรมและสันติ เรียนด้วยความสุข รู้คิดสร้างสรรค์ พิมพ์
Friday, 17 August 2012

สอนเยาวชนในเรื่องยุติธรรมและสันติ

เรียนด้วยความสุข รู้คิดสร้างสรรค์

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จัดศึกษาสารวันสันติภาพสากล ๒๕๕๕ "ให้การศึกษาเยาวชนในเรื่องความยุติธรรมและสันติภาพ" โดย คุณพ่อออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, เอส.เจ และเสวนา "เรียนด้วยความสุข แสวงหาสันติ ค้นพบตัวเอง รู้คิดสร้างสรรค์" โดย รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร ผู้บุกเบิกการสอนสิทธิมนุษยชนศึกษาและสันติภาพมากว่า ๔๐ ปีและ อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สอนวิชา Innovative Thinking (การคิดเชิงนวัตกรรรม) เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ห้องประชุมสภาพระสังฆราชคาทอลิกฯ ชั้น ๑๐ ซ.นนทรี ๑๔ (ซ.นาคสุวรรรณ) เขตยานนาวา กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ๘๐ คน ได้แก่ คุณพ่อ ภราดา เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานคาทอลิก, สภาการศึกษาคาทอลิกฯ, คุณครูจากโรงเรียนคาทอลิกหลายแห่ง ได้แก่ โรงเรียนลาซาล บางนา, อัสสัมชัญพาณิชยการ, อัสสัมชัญ ประถม, อัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม, เซนต์โยเซฟ คอนเวนต์, เซนต์เทเรซา หนองจอก, พระหฤทัย คอนแวนต์ คลองเตย, เซนต์หลุยส์ศึกษา, ดาราสมุทร ศรีราชา

ImageImage


ศึกษาสารวันสันติภาพ

"ให้การศึกษาเยาวชนในเรื่องความยุติธรรมและสันติภาพ"

คุณพ่อปิโตโย : คุณครูและโรงเรียนที่ดูแลนักเรียนต้องสนใจครอบครัวของเด็กๆ ด้วย เพราะเรามีนักเรียนที่บ้านไม่มีพ่อแม่หรือครอบครัวแตกแยก ถ้าคุณครูไม่ให้ความสนใจกับครอบครัวของนักเรียน ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย บางครั้งอาจมีเด็กมาหลับในห้องแล้วครูว่าเขาทันที โดยไม่ทราบว่าในครอบครัวเด็กคนนี้มีอะไรเกิดขึ้น สำหรับความหมายของการศึกษาคือ การเรียนความจริง เยาวชนต้องออกจากบ้านไปโรงเรียน ออกจากตัวเองไปสู่ความรู้ข้างนอก

การศึกษาเรื่องสันติ การเป็นพี่เป็นน้องกัน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญ หน้าที่การสร้างสันติเป็นของทุกคน เราเป็นมนุษย์ต้องสร้างสันติ สิ่งที่ต้องทำคือ ให้การศึกษาตัวเราเองก่อนโดยเข้าใจว่ามนุษย์เป็นใคร มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี และต้องเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พระสันตะปาปาใช้คำว่า "ยกสายตาเงยหน้าขึ้นหาพระเจ้า" เรามาจากพระเจ้า สันติมาจากพระเป็นเจ้า ต้องมีพระเจ้าอยู่กับเรา ความหวังของเราคือพระองค์

ImageImage

มนุษย์มีอิสระแต่คนอื่นก็มีเช่นกัน เพราะฉะนั้นการเคารพกันและกันเป็นสิ่งที่สำคัญ อิสระคือเราทำเองไม่ใช่คนอื่นสั่งให้เราทำ เราเป็นคนดีไม่ใช่คนอื่นสั่งให้เราเป็นคนดี ตัวเรามีความปรารถนา ตั้งใจที่จะทำความดี เรื่องอิสระจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับพระเจ้า เพื่อนมนุษย์ และต้องมีขอบเขตของอิสระ

พระสันตะปาปาบอกว่า พ่อแม่ คุณครู ผู้ให้การศึกษามี หน้าที่อันดับแรกคือการเป็นประจักษ์พยาน (witness) เราต้องทำให้เห็นเป็นแบบอย่างในสิ่งที่อยากจะให้เขาทำ ผู้ให้การศึกษาต้องเป็นประจักษ์พยาน สถาบันการศึกษา ต้องรู้จักนักเรียน นักศึกษาและให้ความยุติธรรมกับเขา ถึงแม้เราจะเป็นโรงเรียนคริสตัง แต่เรามีนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ เราต้องเคารพเยาวชนแม้เขาจะไม่มีความเชื่อในศาสนาใดเลย แต่เคารพเขาที่เขาเป็นมนุษย์ บางครั้งเรามองแต่นักเรียนที่เรียนเก่งที่สุดแล้วยกย่องเขา แต่ถ้ามีนักเรียนที่แม้อาจเรียนไม่เก่ง แต่เขาเป็นคนสร้างสันติ ความยุติธรรม ทำความดี เราต้องยกย่องเขา ให้กำลังใจเขา เราต้องเห็นเด็กที่มีน้ำใจ เสียสละ ส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้เป็นพลังสำหรับคนอื่นด้วย

Image 


เสวนา "เรียนด้วยความสุข แสวงหาสันติ ค้นพบตัวเอง รู้คิดสร้างสรรค์"

Imageอาจารย์วไล : ผู้เป็นประจักษ์พยานที่แท้จริงคือผู้ที่ดำเนินชีวิตตนเองเพื่อผู้อื่น เด็กและเยาวชนควรที่จะเรียนรู้ คุณค่าของความเป็นมนุษย์ จากครอบครัว โดยมีพ่อแม่ดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง เมื่อมาถึงโรงเรียน ครู อาจารย์จะต้องให้หลักประกันว่า ศักดิ์ศรีของแต่ละคนจะต้องได้รับการเคารพ เราเป็นครูสอนหนังสือ ต้องเคารพศักดิ์ศรีลูกศิษย์ของเรา ไม่ใช่คิดแต่ว่าฉันเป็นครู เธอเป็นศิษย์ คำว่า "เด็ก" มีความรู้สึกดูถูกอยู่ข้างใน เธอเป็นแค่เด็ก ฉันเป็นครู เธอต้องฟังฉัน สิ่งเหล่านี้ต้องลบออกไป

พระสันตะปาปาอธิบายถึงการศึกษาอบรมในเรื่องสำคัญ ๔ ประการคือ ความจริง เสรีภาพ ความยุติธรรม และ สันติภาพ ซึ่งเป็นคุณธรรมสากลและเกี่ยวข้องกัน เพราะ ความจริงและเสรีภาพ เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตร่วมกันของมนุษย์ด้วยความ ยุติธรรมและสันติสุข

การจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ถูกกำหนดด้วยกระแสทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ เป้าหมายของการศึกษาคือ มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จะไปประกอบอาชีพ ไปแข่งขันเพื่อทัดเทียมนานาอารยประเทศ ผู้เรียนทั้งระดับโรงเรียนและอุดมศึกษา ถูกฝึกฝนให้ติดกับระบบการแข่งขัน เพื่อจะได้คะแนนสูงๆ ต้องไปเรียนพิเศษ เพราะถือว่าคะแนนสูงจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเข้าเรียนระดับสูงขึ้นไป และได้งานดีๆ มีตำแหน่งสูง มีเงินมาก นักเรียนนักศึกษากลายเป็นคนที่นึกถึงแต่ตนเอง ไม่เห็นแก่ผู้อื่น ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การจัดการศึกษาที่เน้นการแข่งขันในลักษณะนี้ ไม่มีคุณค่าที่แท้จริงสำหรับชีวิตของเด็กและเยาวชน เพราะคุณค่าที่แท้จริงสำหรับพวกเขา ได้แก่ ความรัก ความเมตตา การเสียสละเพื่อผู้อื่น มิได้มีการพัฒนา ย้ำเน้นหรือเห็นความสำคัญ

พระสันตะปาปาเรียกร้องให้มีการศึกษาอบรมเรื่อง ความจริง เสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพ การศึกษาอบรมคุณธรรมดังกล่าว รู้จักกันในหลักสูตรว่า "การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์" คือศึกษาอบรมเสริมสร้างค่านิยมทางคุณธรรม จริยธรรม ผ่านการฝึกปฏิบัติจนกลายเป็นคุณลักษณะส่วนหนึ่งของชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอเพียงจึงจะบรรลุผล

ในเรื่อง อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ระบุถึง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนคือมี ความรัก เมตตา รับใช้ รักกันฉันพี่น้อง มีความซื่อตรง กตัญญูรู้คุณ ซึ่งไม่ต่างจากคุณลักษณะในสารสันติภาพที่พระสันตะปาปาปรารถนาให้ สังคมมีความเป็นมนุษย์และมีจิตวิญญาณของความเป็นพี่น้อง เชื่อว่าโรงเรียนหลายแห่งมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่แล้ว ถ้าจะพิจารณาเติม ความยุติธรรมและสันติภาพ เข้าไป คงไม่ใช่เรื่องยาก

ถ้าครูต้องการให้นักเรียนเรียนรู้เรื่อง ความจริง ครูต้องพูดแต่ความจริง สอนแต่ความจริง โกหกไม่ได้ ต้องดำรงตนอยู่ในความจริง เราจะสอนเรื่อง เสรีภาพและความยุติธรรม ได้อย่างไร ถ้าเราไม่เคารพเสรีภาพของนักเรียน เราต้องแสดงความยุติธรรมให้ศิษย์ของเราได้ประจักษ์ เราต้องเอาใจใส่นักเรียนทุกคนด้วยความรักและยุติธรรม

การให้การอบรมลูกศิษย์ของเรา ความรัก ต้องเป็นเรื่องสำคัญที่สุดและต้องมาก่อนสิ่งอื่น ถ้าเรามีความรักศิษย์ เราจะทุ่มเทกำลังความคิดเพื่ออบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดี มีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ถ้ารักแล้วจะให้การศึกษาอบรมก็ไม่ยากเพราะให้ด้วยใจ ด้วยกาย เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งไปที่จังหวัดเชียงราย มีครูคนหนึ่งเขียนบนกระดาษติดไว้บนโต๊ะของตนเองว่า

"ลูกใครไม่สำคัญ ศิษย์ของฉันนั้นคือลูก
หัวใจที่พันผูก จะสอนลูกเป็นคนดี"

 Image


อาจารย์ธงชัย : ผมจะบรรยายในเรื่อง "ความคิดสร้างสรรค์สอนได้" ความคิดสร้างสรรค์ หรือ creativity มีคนให้นิยามมากมาย คุณไมเคิล มิชาลโค เป็นนักคิดสร้างสรรค์ชื่อดัง เขาบอกว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ การที่คุณมองเห็นสิ่งเดียวกับที่ทุกคนเห็น แต่คุณเห็นในสิ่งที่แตกต่างออกไปและสามารถกระทำบางอย่างที่แตกต่างออกไป ผมอยากจะเพิ่มว่านอกจากจะเห็นแตกต่างแล้ว เราต้องมีการกระทำบางอย่างและการกระทำนั้นมีคุณค่าต่อสังคมหรือเพื่อนมนุษย์ถึงจะเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์ที่แท้จริง

เราจะฝึกให้ลูกศิษย์ของเรามีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ผมเสนอวิธีที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่อาจมองข้ามไปคือ "สุ จิ ปุ ลิ" หัวใจนักปราชญ์ที่เรารู้จักกัน สามารถนำมาพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้

ImageImage 

เริ่มจาก "สุ" คำเต็มคือ สุตะ คือการฟัง เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ในยุคของศตวรรษที่ ๒๑ การฟังยังเป็นสิ่งที่สำคัญมากแต่ฟังอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องเพิ่มหลายๆ วิธีเข้าด้วยกัน ได้แก่ การมองเห็นหรือการสังเกต การสังเกตใช้ได้กับทุกเรื่องทุกวิชา นำหลักการสังเกตไปใช้ได้ เพราะการสังเกตเป็นสิ่งที่เราทำได้ทุกที่ ทุกเวลา เราสามารถสังเกตและเก็บข้อมูลสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง เพราะหนังสือบางเล่มเขียนเอาไว้อาจเป็นความจริงเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว แต่เหตุการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป

ผมมีวีดิโอคลิปให้ดูเกี่ยวกับการสังเกต ในวีดิโอมีอยู่สองทีม ทีมหนึ่งใส่เสื้อขาว อีกทีมใส่เสื้อดำ เราจะสนใจแต่คนใส่เสื้อขาวให้นับว่าคนที่ใส่เสื้อขาว เขาส่งลูกบอลกันกี่ครั้ง (เปิดวีดิโอคลิปให้ดู หลังดูจบอาจารย์ถามว่า) ในวีดิโอคลิปนี้ ใครเห็น ลิงกอริลลา บ้าง ....

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะมองไม่เห็นลิง เพราะวีดิโอคลิปนี้เป็นการทดลองทางจิตวิทยาที่ไปทดลองเปิดที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด คนครึ่งหนึ่งมองไม่เห็นลิงกอริลลาในครั้งแรก เพราะโจทย์บอกให้เรานับคนใส่เสื้อขาวว่าส่งลูกบอลกี่ครั้ง เราจดจ่อแต่คนใส่เสื้อขาวที่ส่งลูกบอล ลิงกอริลลาเดินผ่านมา เราก็มองข้ามไป ในชีวิตของเรามีลิงกอริลลาที่มองไม่เห็นอยู่เต็มไปหมด หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เช่น โอกาส ไอเดียต่างๆ อยู่ต่อหน้าต่อตาเรา แต่เราไม่เห็น วีดิโอคลิปนี้ต้องการบอกเราว่า ในโลกนี้มีโอกาส มีไอเดียต่างๆ แต่เรามองข้ามไป แต่ถ้าเราให้ความใส่ใจ เราจะเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวเรามากขึ้น

เราฝึกสังเกตโดยเริ่มจากของง่ายๆ ในชีวิตประจำวันคือ ปากกา ให้ทุกท่านหยิบปากกาขึ้นมา ขอให้มองอย่างพิจารณาเหมือนกับว่าเราเพิ่งเห็นปากกาเป็นครั้งแรกในชีวิต การสังเกตไม่จำเป็นต้องใช้ตาอย่างเดียว พยายามใช้ประสาทสัมผัสของเราให้ครบ จากนั้นให้จับคู่กันแล้วแลกปากกากับเพื่อน ให้คนใดคนหนึ่งหลับตา แล้วอีกคนถามเกี่ยวกับปากกาของเพื่อนที่หลับตาอยู่ เพื่อดูว่าเจ้าของปากกาจะตอบได้ไหม เวลาทำกิจกรรมนี้เราอาจตอบบางคำถามเกี่ยวกับปากกาของเราได้ไม่หมด เป็นเพราะเราไม่เคยมองปากกาอย่างตั้งใจ

ImageImage 

การสังเกตคือการตั้งใจดู ให้ความเอาใจใส่กับสิ่งที่อยู่รอบตัวมากขึ้น สังเกตรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ การสังเกตเป็นเทคนิคที่ใช้ไปสอนลูกศิษย์ได้ เช่นใช้สิ่งของใกล้ตัวให้นักเรียนฝึกสังเกต แล้วให้จับคู่กับเพื่อน บอกสิ่งที่เราสังเกต ถ้าฝึกสังเกตบ่อยๆ การสังเกตจะกลายเป็นนิสัยติดตัว เวลาไปที่ไหนเราจะมองอย่างตั้งใจมากขึ้น ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่นเวลาขึ้นรถแท็กซี่ก็สังเกตทะเบียนรถ รถสีอะไร เวลาลงจากรถก็ดูว่าลืมของอะไรหรือไม่

กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งคือขอให้ท่านย้ายไปนั่งอีกฝั่งหนึ่ง ย้ายสลับด้านกัน ท่านไหนนั่งฝั่งซ้ายของห้องให้ย้ายไปทางขวา หลังจากย้ายที่แล้วมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง การรับรู้เปลี่ยนไปไหม ถ้าเรานั่งทางด้านขวาเราก็เห็นมุมมองหนึ่ง แต่ถ้าเรานั่งทางด้านซ้ายก็เห็นอีกมุมมองหนึ่ง นี่คือสิ่งที่ผมฝึกนิสิตในวิชาการคิดเชิงนวัตกรรม นักศึกษาไทยจะมีสิ่งที่เรียกว่า comfort zone ประการแรกนักศึกษาไทย คนที่มาก่อนนั่งแถวหลัง คนมาที่หลังต้องมานั่งแถวหน้า แต่ตอนที่ผมไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา นักศึกษามาก่อนจะจองแถวหน้า คนนั่งแถวหลังคือคนที่มาสาย ประการที่สอง วิชาที่ผมสอน มีนิสิตหลายคณะมาเรียน นิสิตแต่ละคนจะนั่งกับคณะหรือกลุ่มของตนเอง พอเรียนจบวิชาก็ไม่ได้รู้จักเพื่อนใหม่ ในเทอมนี้ผมเลยบังคับให้มีการย้ายที่นั่งสลับกับเพื่อนต่างคณะ เพื่อให้รู้จักเพื่อนใหม่ กล้าที่จะคุยกับคนแปลกหน้า เพื่อไม่เป็นคนหนักซ้ายหรือหนักขวา ถ้าเราได้ย้ายที่นั่ง ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หน้าบ้าง หลังบ้างจะทำให้การรับรู้ของเรารอบด้าน คมชัดและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ต่อมาคือ "จิ" คือ จิตตะ เรื่องของ การคิด เรามีวิธีฝึกคิดอย่างไร คุณไลนัส พอลลิง นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสองครั้ง บอกว่า วิธีการหาไอเดียที่ดีที่สุดคือการหาไอเดียจำนวนมาก หรือพูดง่ายๆ คือถ้าเราอยากมีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดดีๆ เราต้องคิดเยอะๆ ไว้ก่อน สิ่งนี้ตรงข้ามกับระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนที่ข้อสอบของเราระบุว่า จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวจาก ก. ข. ค. ง. แต่ในชีวิตจริงคำตอบที่ถูกต้องคำตอบเดียวมีจริงหรือ ?

ผมขอถามคำถามง่ายๆ ว่า มีเงินอยู่ ๑๐ บาท ซื้อของไป ๓ บาท จะได้เงินทอนเท่าไรได้บ้าง เราได้เงินทอน ๗ บาทถ้าเราให้เหรียญ ๑๐ บาท ถ้าเรามีเหรียญ ๕ บาท ๒ เหรียญ เราให้เหรียญ ๕ บาทไป เราได้เงินทอน ๒ บาท เราไม่ได้เงินทอนเลยเพราะเรามีเหรียญบาท ๑๐ เหรียญ หรือได้เงินทอนบาทเดียว เพราะเราจ่ายด้วยเหรียญ ๒ บาท ๒ เหรียญ ในทางคณิตศาสตร์ มีคำตอบได้คำตอบเดียวคือ ๑๐ - ๓ = ๗ เท่านั้น แต่ในชีวิตจริงเรามีคำตอบได้หลายอย่าง แทนที่ครูจะบอกว่า จงบอกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว เราน่าจะเปลี่ยนคำถามเป็นว่า จงคิดคำตอบให้มากที่สุด ทำให้เด็กได้คิด เพราะคำตอบแบบ ก. ข. ค. ง. ถ้าเราตอบแบบเดาสุ่มก็มีโอกาสถูก ๒๕ % แล้ว หรือมีคำตอบแบบให้เลือกข้อถูกแล้ว เปิดโอกาสให้เด็กได้เติมคำตอบที่ถูกต้องอีกคำตอบหนึ่งด้วย

ImageImage 

เทคนิคที่ผมชอบมากคือ ทุกวิชาที่ผมสอนจะมีคำถามอยู่หนึ่งข้อคือ จงออกข้อสอบพร้อมทั้งคำตอบที่ถูกต้อง คือให้คิดข้อสอบเองแล้วตอบมาให้ถูกต้อง การให้คะแนนขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ ใครที่ตั้งคำถามแบบตรงๆ เช่นให้บอกนิยามก็จะได้คะแนนน้อย แต่ถ้าใครคิดโจทย์อย่างพลิกแพลง มีการเปรียบเทียบอุปมาอุปมัยจะได้คะแนนดี หลักนี้นำไปใช้ได้ในทุกวิชาคือ ให้ตั้งคำถามแล้วตอบด้วยตัวเอง คือฝึกให้เด็กได้ตั้งคำถาม ไม่ใช่รอคำถามจากครูอย่างเดียว

ผมขอถามว่า "ครึ่งหนึ่งของตัวเลข ๑๓ คือเท่าไร" ในทางคณิตศาสตร์ ๑๓ หาร ๒ เท่ากับ ๖.๕ ถามว่ามีคำตอบอื่นที่เป็นไปได้อีกไหม? คนในโลกนี้เป็นนักแก้ปัญหาที่เรียกว่า satisfier พอใจกับคำตอบแรก เหมือนกับให้ไปหาเข็มในกองฟางที่มีเข็มมีค่าอยู่มาก แต่พอพบเข็มแรกในกองฟางแล้วก็หยุดอยู่ที่เข็มนั้น satisfier จะพอใจแค่คำตอบแรกคือ ๖.๕ เหมือนกับที่เราเจอปัญหาหนึ่ง เวลาแก้ปัญหาเราจะคิดว่าครูเคยสอนว่าอย่างไร เราใช้วิธีแก้ปัญหาที่คล้ายๆ กัน ไม่ใช้วิธีที่แปลกใหม่

มีคนถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ว่าอะไรที่ทำให้เขาแตกต่างกับคนอื่น ไอน์สไตน์ตอบว่า "ถ้าให้เขาไปหาเข็มในกองฟาง เขาจะหาเข็มทุกเล่ม" คนประเภทนี้เรียกว่า Optimizer เวลาที่เจอปัญหาอะไรก็ตาม พยายามคิดคำตอบหลายๆ แบบให้ได้มากที่สุด เราจะได้คำตอบที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ คำตอบที่เราคิดได้ ไม่จำเป็นต้องตรงกับตำราหรือตรงกับสิ่งที่ครูสอนหรือประสบการณ์ที่เรามี เราสามารถคิดคำตอบใหม่ๆ ได้ ถ้าเป็น Optimizer คำตอบของคำถามครึ่งหนึ่งของ ๑๓ คำตอบแรกคือ ๖.๕ จากนั้นถ้าเรามองคำว่า ๑๓ เป็นภาษาไทย สิบสาม เราแบ่งครึ่งได้ = ๓ มองเป็นภาษาอังกฤษ Thirteen ครึ่งหนึ่ง = ๔ ถ้ามองเป็นเลขโรมัน XIII แบ่งตามแนวตั้งได้ = ๒ เลขโรมันแบ่งตามแนวนอน = ๘ และถ้ามองเป็นภาษาอื่นๆ อีกที่ผมไม่รู้จักก็จะได้คำตอบอื่นๆ อีก นี่คือความคิดสร้างสรรค์ มองสิ่งต่างๆ แตกต่างกว่าคนอื่น ไม่ว่าเราจะคิดเรื่องอะไร ให้เราคิดให้ได้คำตอบต่างๆ แตกต่างจากคนอื่น

J.P. Gilford นักจิตวิทยาชาวอเมริกันสมัยสงครามโลก เขามีหน้าที่สัมภาษณ์นักบินที่จะต้องไปสู้กับเยอรมัน เช่นถามนักบินว่าเวลาขับเครื่องบินอยู่ แล้วมีปืนต่อสู้อากาศยานยิงมา นักบินจะต้องทำอย่างไร ในคู่มือนักบินบอกว่าต้องบินสูงขึ้นเพื่อพ้นจากรัศมีของปืนฯ ใครที่ตอบตามนี้แสดงว่าอ่านหนังสือมา แล้วมีทีมสัมภาษณ์อีกทีมหนึ่ง ผู้สัมภาษณ์เป็นนักบินที่สูงวัยหน่อย คัดเลือกนักบินที่ไม่ตอบตามตำรา ใครที่ไม่ตอบตำราจะไม่ให้ไปสู้กับเยอรมัน ปรากฏว่าทีมที่กิลฟอร์ดคัดเลือก เสียชีวิตเกือบหมด เขารู้สึกผิดเหมือนเขาส่งนักบินไปตาย ในที่สุดเขาทราบว่าทำไมคนที่ตอบตามตำราไปสู้จริงๆ จึงแพ้ ก็เพราะว่าฝ่ายศัตรูใช้ตำราเดียวกัน เยอรมันจะมีเครื่องบินอีกฝูงหนึ่งรอดักยิงไว้ข้างบน คนที่ยึดตามตำราแล้วไปเจอโลกความเป็นจริงแพ้หมด แต่คนที่ไม่ยึดตามตำรากลับรอดมากกว่า กิลฟอร์ดคิดว่าการคัดเลือกนักบินจะมาคิดแบบเดิมไม่ได้แล้ว เขาเลยคิดแบบทดสอบนักบินดังนี้ กิลฟอร์ดถามคำถามง่ายๆ เลยว่า ให้เขียนประโยชน์ของอิฐมา จะก้อนเดียวหรือกี่ก้อนก็ได้ ใครตอบได้เยอะที่สุด เขาจะคัดเลือกไปรบกับเยอรมัน ในวันนี้ให้พวกเราลองเขียนประโยชน์ของอิฐมา ๒๐ ข้อ .....

ImageImage 

มีใครที่ไม่ซ้ำกับเพื่อนเลยแม้แต่ข้อเดียว ส่วนใหญ่ ๙๙ % จะซ้ำกันอย่างน้อยข้อหนึ่ง เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะคิดคล้ายๆ กัน แบบฝึกหัดนี้เป็นการคิดแบบยืดหยุ่น ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบ คนที่คิดแบบยืดหยุ่น เวลาเจอสถานการณ์ต่างๆ ก็จะพลิกแพลงได้มากกว่าโดยไม่ยึดติดกับกรอบ นี่คือทักษะที่เราควรฝึกลูกศิษย์ของเรา บางความคิดอาจดูเพ้อเจ้อ ไร้สาระ แต่ในกระบวนการนี้ขอเรียกว่า เป็นการกล้าคิด ฝึกทักษะการกล้าคิดก่อน แล้วค่อยมากลั่นกรองว่าอันไหนใช้ได้บ้าง แต่ถ้าเราไม่กล้าคิดเลย โอกาสที่จะมีความคิดสร้างสรรค์แทบเป็นไปไม่ได้ ความคิดจำนวนมากใช้การไม่ได้ก็จริง แต่ถ้ามีแค่ ๑๐ % ใช้ได้ก็ถือว่าคุ้มแล้ว

คุณโรเจอร์ วอน โอช ปรมาจารย์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มีกฎประจำตัวว่า มองหาคำตอบถัดไปเสมอ มองหาอีกคำตอบเสมอๆ เพราะคำตอบแรกมักเป็นคำตอบพื้นๆ ธรรมดาๆ ซึ่งใครๆ ก็คิดได้ แต่ถ้าเราอยากมีความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างจากคนอื่น หรือมีวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าเดิม หลังจากเราหาคำตอบได้แล้ว เราก็คิดคำตอบที่สอง คำตอบที่สาม คิดคำตอบเยอะๆ ขึ้นมา

ำหรับเรื่องที่สาม คือ "ปุ" หรือปุจฉา เด็กไทยสิ่งที่กลัวที่สุดนอกจากต้องนั่งแถวหน้าแล้วก็คือถูกอาจารย์ถาม และเด็กไม่กล้ายกมือถามครูในห้องเรียน แต่พอเลิกเรียนค่อยเข้ามาถาม เขาอาจจะกลัวเพื่อนหาว่าโง่ เรียนไม่รู้เรื่อง แต่จริงๆ แล้ว คนทั้งโลกก็ไม่รู้เหมือนกัน กำลังรออยู่ว่าใครจะเป็นวีรบุรุษยกมือถาม เราต้องฝึกเด็กให้กล้าถาม ครู อาจารย์ควรสนับสนุนให้เด็กตั้งคำถาม

๔ x ๔ = ? ถ้าเราถามแบบนี้ จะได้คำตอบเดียวว่า ๑๖

แต่ถ้าเราเปลี่ยนคำถามใหม่ว่ามีเลขอะไรคูณกันแล้วได้ ๑๖ บ้าง ? X ? = ๑๖ เราจะได้หลายคำตอบได้แก่ ๘X ๒ / ๒X๘ / ๑๖ X ๑ / ๒ x ๒ x ๔ / ๒ ยกกำลังสอง x ๒ ยกกำลังสอง/ ๘ หาร ๒ X ๘ หาร ๒ คำตอบมีเป็นร้อย... นี่คือสิ่งที่เราควรจะฝึกเด็ก คือถามจากผลลัพธ์แล้วย้อนกลับ ถ้าเราเปลี่ยนรูปแบบใหม่ เด็กเขาก็ต้องคิดมาใหม่ สิ่งที่เราต้องฝึกเด็กคือต้องกล้าตั้งโจทย์ให้ตัวเอง ไม่ใช่รอให้คนอื่นตั้งโจทย์ให้ เราไม่ได้มีหน้าที่หาคำตอบ แต่เรามีหน้าที่ฝึกการตั้งคำถามของตัวเราเอง

จากคำถามว่า "คุณมาโรงเรียนอย่างไร?" เราก็เปลี่ยนมาถามว่า "คุณมาโรงเรียนด้วยวิธีใดได้บ้าง?" โดย รถตู้ รถโดยสาร รถส่วนตัว มอเตอร์ไซค์ จักรยาน เรือ เดินมา คลานไป กลิ้งไป นั่งเฮลิคอปเตอร์ คำตอบมีเป็นสิบเลย เพียงเราเปลี่ยนคำถามจาก ทำอย่างไร มาเป็นทำโดยวิธีใดได้บ้าง จะสัมพันธ์กับเรื่อง จิ ที่เราต้องคิดคำตอบเยอะๆ เช่น การสอนภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องสอนแต่ในตำรา แต่เราเปิดหนังภาษาอังกฤษให้เด็กดูแล้วให้เด็กเรียนจากหนัง จากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ จากหนังสือ Harry Potter หรือ The Hunger Games เลือกมาสักสองหน้าให้เด็กอ่าน เด็กจะเรียนอย่างสนุก มาแปลกันเลย เรียนให้สัมพันธ์กับโลกจริงๆ ของเขา เด็กจะได้เห็นการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตจริง เขาจะสนุกกับการเรียน

เรื่องสุดท้ายคือ "ลิ" หรือ ลิขิต คือการเขียน ในวิชาของผม ผมให้ลูกศิษย์มีสมุดบันทึกประจำตัว ควรเป็นสมุดเล่มเล็กๆ ผมเองก็มีสมุดบันทึกติดตัวเสมอ เวลาที่เราเกิดความคิดอะไรขึ้นมาก็จดเอาไว้ในสมุด เช่นเจอข้อสังเกต คำถามอะไรก็จดไว้ มีประโยชน์คือเวลาจดไปได้สักพักหนึ่ง เวลาว่างๆ มานั่งอ่านสมุดของเรา ความคิดบางอย่างอาจใช้ไม่ได้ตอนนี้ แต่อีก ๕ ปี ๑๐ ปี หรือไม่กี่เดือนข้างหน้า อาจจะช่วยแก้ปัญหาเราหรือเป็นประโยชน์กับเราได้ ผมเจออะไรที่เป็นประโยชน์ก็จดไว้ตลอด สิ่งที่เราจดไว้จะเป็นคลังความรู้ องค์ความรู้ของเรา ปีที่แล้วผมก็อพยพหนีน้ำเหมือนกัน ที่บ้านมีหนังสือเยอะมาก แต่ผมไม่เอาไปเลย เอาไปแต่สมุดบันทึกสิบกว่าเล่ม เพราะหนังสือหายไปเรายังซื้อใหม่ได้ แต่สมุดบันทึกหายไปหาซื้อที่ไหนไม่ได้

ImageImage 

เราควรสนับสนุนให้เด็กไทย นอกจากรักการอ่านแล้วต้องรักการจด ให้เป็นคนช่างจด ช่างสังเกต และไปใช้ได้กับทุกวิชา เช่นให้เด็กจดคำคม การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง เรามักคิดว่าสมุดต้องเกี่ยวข้องกับการเรียน แต่เราเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า สมุดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา เป็นองค์ความรู้ที่จะต้องใช้พัฒนาตัวเรา ผมบอกลูกศิษย์ให้ใช้สมุดเล่มเล็กๆ จะได้พกติดตัวได้ตลอดเวลา และผมชอบใช้สมุดที่เกาเหลาคือไม่มีเส้น เพราะจะสะดวกในการวาดรูป ผมสอนการเขียน Mind map ด้วย ซึ่งต้องใช้สมุดไม่มีเส้น จะได้ไม่มีอะไรเป็นกรอบกีดขวางเรา และไม่ลืมที่จะพกปากกาด้วย

ผมมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ใช้สอนในวิชาของผมคือ เราอยากให้เด็กของเรากล้าเผชิญสิ่งใหม่ๆ กล้าเผชิญความล้มเหลว เด็กยุคใหม่จะกลัวความล้มเหลว เด็กบางคนเรียนเก่งมาโดยตลอด พอสอบคะแนนพลาดไปครั้งหนึ่งเหมือนชีวิตเขาหักเหเลย รู้สึกล้มเหลว แต่คนที่ล้มเหลวบ่อยๆ ชีวิตเขาจะเข้มแข็ง ต้องสอนทักษะเรื่องนี้ ในวิชาของผมสอนการโยนลูกจักกลิ้ง (juggling) คือการโยนแบบนักมายากล ที่สอนโยนลูกจักกลิ้งเพราะไม่มีใครโยนได้ตั้งแต่เกิด ผมเองตอนแรกก็โยนผิดโยนถูก ช่วงแรกๆ ทำลูกหล่นเยอะมาก เราทำลูกหล่นก็เก็บมาโยนใหม่ นี่เป็นการสอนเรื่อง positive thinking อย่างเป็นรูปธรรม เวลาเจอน้ำครึ่งแก้วก็ให้คิดว่าน้ำยังเหลืออีกตั้งครึ่งแก้ว ไม่ใช่คิดว่าน้ำหายไปแล้วครึ่งแก้ว คนส่วนมากคิดว่าเป็นสิ่งที่ยากมากไม่สามารถรับลูกได้ สิ่งสำคัญคือเราสอนเรื่องความพยายาม เมื่อลูกหล่นก็ฝึกต่อไปๆ แล้วเราก็จะทำได้ ความล้มเหลวเป็นเรื่องชั่วคราว แค่เก็บลูกมาฝึกใหม่ เราก็จะทำได้ ผมสอนโยนลูกจักกลิ้งประมาณพันคนแล้วทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถโยนได้ในหนึ่งชั่วโมง เราต้องสอนนักเรียนให้เขากล้าออกจากพื้นที่ส่วนตัว กล้าเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เผชิญสิ่งใหม่ๆ ผมใช้ลูกบอลจักกลิ้งในการสอน อาจารย์แต่ละท่านลองไปคิดอุปกรณ์การสอนที่ถูกจริตกับตัวเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ลูกจักกลิ้งเหมือนผม อาจารย์บางคนอาจชอบเล่นรูบิค เล่นซูโดกุ บางคนชอบถักนิตติ้ง เราใช้ทักษะที่เราเชี่ยวชาญอยู่แล้วมาสอนเด็ก แล้วสอนทักษะชีวิตแทรกเข้าไป

ภูมินทร์ พงษ์ไกรกิตติ : รายงาน

  Image

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >