หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow สุขมีที่กลางทาง : ภาวัน
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 139 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สุขมีที่กลางทาง : ภาวัน พิมพ์
Wednesday, 15 August 2012


นิตยสาร IMAGE สิงหาคม ๒๕๕๕

สุขมีที่กลางทาง

ภาวัน

นิโคลัส เบนเนตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและการพัฒนาชาวอังกฤษ เคยเป็นที่ปรึกษาให้แก่รัฐบาลไทยเมื่อเกือบ ๔๐ ปีที่แล้ว ในช่วง ๓ ปีสุดท้ายที่เมืองไทย เขามีบทบาทในการรณรงค์เพื่อนิรโทษกรรมผู้ต้องหาคดี ๖ ตุลาฯ จนประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นเขาได้ย้ายไปประเทศเนปาล โดยเลือกที่จะทำงานกับชาวบ้านในชนบทที่ห่างไกล แทนที่จะปักหลักอยู่ในเมืองหลวง ทั้งนี้เพื่อให้แผนพัฒนาสอดคล้องกับความเป็นจริง และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

เขาเล่าประสบการณ์ตอนหนึ่งว่า บ่อยครั้งเขามีกิจต้องเข้าเมืองหลวงคือกาฐมาณฑุ วิธีที่สะดวกที่สุดคือ ไปทางเครื่องบิน ลานบินที่ใกล้ที่สุดนั้นอยู่ในหุบเขา ซึ่งต้องใช้เวลาไต่เขา ๒ ชั่วโมง แต่เนื่องจากดินฟ้าอากาศที่นั่นแปรปรวนบ่อย ดังนั้นจึงไม่มีทางแน่ใจได้เลยว่า เครื่องบินจะมาตามกำหนดหรือไม่ อย่างเดียวที่ทำได้คือไต่เขาลงไปตั้งแต่เช้าแล้วคอยเครื่องบิน ถ้ารอจนถึงเย็นแล้วเครื่องบินยังไม่มาก็ต้องปีนเขากลับ ซึ่งใช้เวลาอีก ๓ ชั่วโมง บางครั้งเขาต้องลงเขาและขึ้นเขาอย่างนี้ทุกวันตลอดสัปดาห์กว่าฟ้าจะเปิดให้เครื่องบินร่อนลงได้ บางวันอากาศตอนเช้าปลอดโปร่ง เครื่องบินน่าจะลงได้ แต่พอเดินทางไปถึงลานบิน ฟ้าก็ปิดเมฆหนา เครื่องบินลงไม่ได้เสียแล้ว

เจอแบบนี้บ่อยๆ ใครๆ ก็ต้องหงุดหงิดหัวเสีย แต่สำหรับนิโคลัส ประสบการณ์ดังกล่าวทำให้เขาเรียนรู้ว่าไม่ควรคาดหวังกับจุดหมายปลายทาง แต่ควรหันมาเพลิดเพลินผ่อนคลายกับการเดินทางแทน ดังนั้นระหว่างที่ลงเขาหรือขึ้นเขา นิโคลัสจะชื่นชมกับธรรมชาติ และหาเวลาจิบชาร้อนๆ สัก ๒-๓ ถ้วย การถึงกาฐมาณฑุกลายเป็นเรื่องรอง จะถึงหรือไม่ ไม่สำคัญ ที่สำคัญก็คือความเพลิดเพลินจากการเดินทางต่างหาก

ผู้คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับจุดหมายปลายทาง จิตใจจดจ่ออยู่แต่การไปให้ถึง จึงมักเดินทางด้วยความทุกข์เพราะใจอยากให้ถึงจุดหมายไวๆ ยิ่งมีอุปสรรคที่อาจทำให้ไม่ถึงเป้าหมายตามกำหนด ก็ยิ่งหงุดหงิดกระสับกระส่าย โดยลืมไปว่าหงุดหงิดหรือกังวลอย่างไร ก็ไม่ช่วยให้ถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด บางคนตั้งใจจะไปเที่ยว แต่แล้วกลับหัวเสียตลอดทางเพราะรถติดบ้าง เพื่อนร่วมคณะชักช้างุ่มง่ามบ้าง กลายเป็นว่าแทนที่จะได้ผ่อนคลายจิตใจ การเที่ยวกลับทำให้เครียดตั้งแต่เริ่มเดินทางด้วยซ้ำ ทั้งนี้ก็เพราะมีความคาดหวังเต็มที่กับจุดหมายปลายทาง

เรามักลืมไปว่า การเดินทางมีความสำคัญไม่น้อยกว่าจุดหมายปลายทาง แม้จะมีสิ่งสำคัญรออยู่ที่ปลายทาง แต่นั่นเป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และจะมาถึงหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ จึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางต่างหากที่เป็นของจริงและแน่นอน เราจึงควรเก็บเกี่ยวมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในขณะที่ยังไม่ถึงจุดหมาย เราก็ควรจะมีความสุขหรือทำใจให้สบายระหว่างการเดินทาง การละทิ้งความสุขระหว่างเดินทาง เพื่อหวังความสุขที่จุดหมายปลายทางนั้น เป็นการหวังน้ำบ่อหน้า แม้จุดหมายปลายทางคือรีสอร์ทหรือแหล่งท่องเที่ยว แต่ทำไมเราจึงรอคอยความสุขที่อยู่ข้างหน้า ในเมื่อเราสามารถมีความสุขตรงนี้เดี๋ยวนี้ได้เลย

ไม่ใช่แค่จุดหมายปลายทางที่เป็นสถานที่เท่านั้น กับความสำเร็จก็เช่นกัน ทำไมเราจึงหวังว่าจะมีความสุขต่อเมื่อบรรลุความสำเร็จแล้ว ในเมื่อระหว่างที่ทำงานเราก็สามารถมีความสุขได้ ขอเพียงแต่วางใจให้เป็น คือ ไม่มัวจดจ่ออยู่กับความสำเร็จ แต่เอาใจมาอยู่กับการงานแทน เพียงแค่ไม่ยึดติดถือมั่นกับผลข้างหน้า ก็ช่วยลดความกังวลไปได้มากแล้ว

ประสบการณ์ของนิโคลัส ยังบอกเราอีกด้วยว่า เมื่อเจอสถานการณ์ที่คาดหวังอะไรไม่ได้ ป่วยการที่จะเป็นทุกข์หงุดหงิดหัวเสีย เพราะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น จะดีกว่าหากเรายอมรับความจริง และมีความสุขในปัจจุบันขณะ ถ้าวางใจได้อย่างนี้ เราจะไม่หัวเสียเวลาเจอรถติด แต่จะหันมาผ่อนคลายจิตใจด้วยการฟังเพลงในรถ สนทนากับลูกๆ ที่นั่งมาด้วย หรือไม่ก็น้อมใจสงบอยู่กับลมหายใจเข้าออก

 

------------------------------

จาก เว็บ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >