หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ในเส้นทาง : แก่นแกนเรื่องราวชีวิต : ชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 74 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ในเส้นทาง : แก่นแกนเรื่องราวชีวิต : ชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ พิมพ์
Wednesday, 01 August 2012

ในเส้นทาง : แก่นแกนเรื่องราวชีวิต

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม 2555


ฉากหนึ่งในตอนท้ายของภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร the amazing spider-man เป็นฉากที่อาจารย์ผู้สอน ตั้งคำถามกับนักเรียนในห้อง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นวิชาเกี่ยวกับวรรณกรรม ประเด็นคำถามคือ เราอาจพบว่า วรรณกรรมมากมายหลากหลายเรื่องราวต่างมีแก่นแกนของเรื่องราวมากมาย แต่แท้จริงแล้วแก่นแกนเรื่องราวชีวิตมีเพียงแก่นเดียวคือ การค้นหาว่า "เราคือใคร"

คำถาม "เราคือใคร" เป็นคำถามสำคัญเบื้องหลังชีวิตที่ขับเคลื่อนและต้องการการอุทิศตัวเพื่อค้นหา คำตอบ หากเราพิจารณาเรื่องราวชีวิตผู้คนผ่านคำบอกเล่า สื่อภาพยนตร์ หรือวรรณกรรม ท่วงทำนองเรื่องราวทั้งหมดมักมีขนบของเรื่องราวที่เริ่มต้นด้วยการแนะนำบอกกล่าวความเป็นมาของตัวเอกในเรื่องราว ตัวละครมีความปรารถนาหรือพันธกิจบางประการที่ต้องบรรลุผล พร้อมกับการมีอุปสรรคมาขัดขวางความปรารถนา หรือพันธกิจนั้น ตัวละครต้องต่อสุ้ ดิ้นรนเพื่อเอาชนะอุปสรรค ก่อนที่จะจบลงด้วยสุขนาฎกรรม หรือโศกนาฎกรรม แล้วแต่ว่าตัวละครเอาชนะหรือพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคนั้น

คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับอุปสรรคที่เข้ามาในชีวิตในรูปของตัวร้าย ตัวโกง นางอิจฉา เชื้อโรค สัตว์ ประหลาด กรณีซับซ้อนมากขึ้นก็อาจเป็นระบบสังคม วัฒนธรรม กรอบประเพณี ความคิด ความเชื่อ แต่ทั้งหมดคือ กรณีอุปสรรคที่เป็นปัจจัยภายนอก สิ่งที่หลายคนไม่คุ้นเคยคือ อุปสรรคที่อยู่ภายในตัวเรา โทษะ โมหะ โลภะ หรือ ความกลัว ความอยาก ความหลง รวมไปถึงความคิด ความเชื่อบางอย่างในตัวเราเป็นอคติที่แฝงฝังในใจ เป็นอำนาจชั่วร้ายที่มองเห็นได้ยาก ดังนั้นเส้นทางชีวิตของเราทุกคนทั้งในภาพยนตร์ คำบอกเล่า วรรณกรรม หรือในชีวิตจริงก็คือ เส้นทางของการเรียนรู้ ค้นหาตนเองผ่านการผจญภัย และเอาชนะอุปสรรคนั้น

โจเซฟ แคมพ์เบลล์ นักคติชนวิทยา ผู้ศึกษาปรัชญาและความหมายในเทพปกรณัมได้นำเสนอแนวคิดเรื่องการเดินทางของวีรบุรุษในความหมายสากล ไม่แบ่งแยกโดยวัฒนธรรมหรือความเชื่อใดๆ โดยชี้ว่า การเดินทางหรือเส้นทางชีวิตของวีรบุรุษ วีรสตรี ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การเดินทาง ตัวเอกออกเดินทาง ผจญภัยหรือพบการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อตามหาบางสิ่งที่ปรารถนา อาจจะเป็นความสุข หรือการสะสาง สิ่งตกค้าง สิ่งที่หายไป 2) การเข้าสู่สภาวะใหม่ ตัวเอกอาจพบบทเรียนชีวิต ได้รับการต้อนรับหรือเข้าสู่สภาวะ สถานภาพใหม่ 3) การกลับคืน ตัวเอกหวนคืนสู่สังคม ถิ่นกำเนิด หรืออาจรวมถึงการกลับมาเชื่อมโยงกับตนเองใหม่ และ 4) สิ่งล้ำค่า ตัวเอกนำสิ่งที่เรียนรู้มาส่งคืน มอบหมายหรือเอื้อประโยชน์ต่อคนอื่นต่อสังคม

แต่ละขั้นตอนต่างมีความหมาย ความสำคัญในฐานะเบ้าหลอม เป็นเสมือนกระบวนการที่สร้างสรรค์ให้ เกิดความเป็นวีรบุรุษ วีรสตรีที่แท้ กรอบคิดของแคมเบลล์ช่วยให้เราเห็นเส้นทางชีวิตของตัวละครเอกในเรื่องราวต่างๆ มากมายที่ดำเนินภายใต้ขั้นตอนต่างๆ ข้างต้น ตัวอย่างเช่น เรื่องราววรรณกรรมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เรื่องราวการผจญภัยเริ่มต้นเมื่อแฮร์รี่ก้าวเข้าสู่โรงเรียนฮอกวอตส์ในฐานะสถาบันการศึกษา และเป็นสถานที่ผจญภัย แต่ละปีสถาบันการศึกษา แฮร์รี่และเพื่อนๆ ต้องออกผจญภัยเพื่อบรรลุพันธกิจ แต่ละการผจญภัยหรือพันธกิจที่ต้องดำเนินการให้ลุล่วงจึงเป็นเสมือนการเข้าสู่สภาวะใหม่ๆ ผ่านบทเรียนชีวิต ซึ่งแต่ละบทเรียนอาจหมายถึง การสูญเสียชีวิตของผู้เป็นที่รัก ความทุกข์ ความเจ็บปวด หรือการได้เรียนรู้ตนเอง การเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ มิตรภาพ ความรัก ความไว้วางใจ สิ่งที่น่าสนใจคือ พันธกิจในช่วงท้ายๆ ยิ่งมีความยากลำบากและต้องอาศัยบทเรียนชีวิตมากมายมาเป็นฐานทุนชีวิต หรือฐานทรัพยากรเพื่อฟันฝ่าและบรรลุพันธกิจที่ยากที่สุด คือ การเผชิญหน้ากับความตาย และท้ายที่สุดดังที่หลายคนได้ทราบ เรื่องราวการผจญภัยของแฮร์รี่ก็สามารถจบลงได้ด้วยการนำสันติสุขกลับคืนสู่สังคม และคืนสู่ชีวิตตนเองด้วยในที่สุด

ความหมายที่ซ่อนเร้นคือ ปฏิกิริยาที่เรามีต่ออุปสรรคภายนอก แท้จริงก็คือ ภาพสะท้อนจากอุปสรรค อำนาจชั่วร้ายที่อยู่ภายในตัวเรานั่นเอง

เราแต่ละคนต่างล้วนเป็นวีรบุรุษ วีรสตรีด้วยกันทั้งสิ้นในแบบของเราเอง เรื่องราวชีวิตของเราแต่ละคนต่างมีความเข้มข้นไม่แตกต่างจากเรื่องราวของคนอื่นๆ เพราะทุกชีวิตต่างสามารถมีประเด็นแก่นแกนเรื่องราวชีวิตในแบบเดียวกันคือ การค้นหาและรู้จักตนเอง กระนั้นพันธกิจนี้มีราคาที่ต้องจ่าย นั่นคือ การอุทิศตนเอง ซึ่งหมายถึงการยอมมอบกาย มอบใจ มอบสติปัญญาให้กับพันธกิจดังกล่าวซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญของทุกชีวิต เพราะหากเราไม่รู้จักตนเอง การดำเนินชีวิตก็จะเป็นตามแรงกระตุ้นของสิ่งภายนอก และมุมมองของโลกภายใน อุปสรรคภายในตัว ความกลัว ความโกรธ ความหลง ตัวเอกของภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง สตาร์วอร์ส คือ อนาคิน หรือดาร์ธ เวเดอร์ เป็นตัวเอกที่เริ่มต้นชีวิตในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และแวดล้อมด้วยเพื่อน อาจารย์ฝ่ายเทพ แต่ด้วยความกลัวต่อการสูญเสีย การถูกล่อลวง การพ่ายแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ อนาคินก็กลับกลายเป็นดาร์ธ เวเดอร์ ผู้ชั่วร้าย เรื่องราวของตัวเอกผู้นี้จึงมีเส้นทางของวีรบุรุษที่ผ่านการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสภาพใหม่ และสิ่งที่เปลี่ยนแปลงคืนสู่คนรอบข้าง เพียงแต่ในทิศทางตรงข้ามกับตัวเอกทั่วไปที่คุ้นเคย เพียงเพราะการยอมสวามิภักดิ์ต่ออำนาจชั่วร้ายที่อยู่ภายนอก และอยู่ภายในตนเอง

การอุทิศตนเองในเส้นทางการเป็นวีรบุรุษ วีรสตรี เรียกร้องคุณธรรมภายในตัวเราให้ตื่นและทำงาน ดังเช่น ความกล้าหาญ ความศรัทธา การทุ่มเทเสียสละ ซึ่งหมายถึงการต้องฝ่าด่านสำคัญ คือ ความกลัว ความลังเลสงสัย และที่สำคัญคือ ความไม่รู้ ความโง่เขลา สิ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งอุปสรรคและคุณธรรมที่อยู่ภายในตัวเราต่างเป็นเสมือนสองด้านในเหรียญเดียวกัน ความกลัวกับความกล้าหาญ ความศรัทธากับความลังเลสงสัย ความหลงกับความตื่นรู้

ในแต่ละขั้นตอนของชีวิตจึงประกอบด้วยเรื่องราวย่อยๆ และเรื่องราวย่อยๆ เหล่านี้สามารถเป็นเหตุการณ์เล็กๆ ที่เกิดขึ้นประจำวัน เรื่องราวเหล่านี้อาจมีความสำคัญอย่างมากในฐานะจุดเปลี่ยนหรืออาจเป็นรากฐานสำคัญของเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นตามมา การดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเราจึงมีความสำคัญอย่างมากในฐานะส่วนหนึ่งของเรื่องราวชีวิตทั้งหมด

ท้ายที่สุด เราทุกคนจึงต่างต้องตรวจสอบตนเองในแต่ละวันว่า วันนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ เพื่ออะไรและอย่างไร สอดคล้องสัมพันธ์กับเส้นทางชีวิตวีรบุรุษ วีรสตรีในแบบของเราหรือไม่ อย่างไร

ชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ

 

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >