หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow การปรองดองที่ถูกมองข้าม : พระไพศาล วิสาโล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 151 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

การปรองดองที่ถูกมองข้าม : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Friday, 25 May 2012

 มติชนรายวัน วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


การปรองดองที่ถูกมองข้าม

พระไพศาล วิสาโล

 

ตรงข้ามกับเดือนตุลาคม พฤษภาคมไม่เคยเป็นเดือนที่ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรงในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่เลย จนกระทั่งเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว พฤษภาคมปีนี้ นอกจากจะเป็นวาระครบสองทศวรรษเหตุการณ์นองเลือดปี ๓๕ แล้ว ยังครบสองปีการปราบปรามผู้ชุมนุมปี ๕๓ อีกด้วย

ทั้งสองเหตุการณ์กินเวลาหลายวัน และคร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย แต่ในขณะที่เหตุการณ์ปี ๓๕ ลงเอยด้วยชัยชนะของประชาชนและความพ่ายแพ้ของอดีตคณะรัฐประหาร(ที่หวังสืบต่ออำนาจผ่านพรรคการเมือง) เหตุการณ์ปี ๕๓ ไม่มีฝ่ายใดเป็นผู้ชนะเลย ต่างพ่ายแพ้และสูญเสียบอบช้ำทั้งคู่ ตามมาด้วยความแตกร้าวของสังคมไทยยิ่งกว่าเดิม

หลังจากเหตุการณ์ปี ๓๕ ซึ่งเป็นการรวมพลังเพื่อประชาธิปไตยครั้งใหญ่ที่สุดหลัง ๑๔ ตุลา ๑๖ เคยเชื่อ(และหวัง)กันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์นองเลือดในเมืองไทยอีก เพราะผู้กุมอำนาจได้รับบทเรียนสำคัญว่า การใช้ความรุนแรงไม่อาจแก้ปัญหาได้จริง ไม่ว่าจะใช้วิธีรัฐประหารหรือปราบปรามผู้ชุมนุม ก็ตาม ในที่สุดย่อมส่งผลเสียสะท้อนกลับมาสู่ผู้ใช้ความรุนแรงเสมอ การกลับมาของประชาธิปไตยโดยเฉพาะหลังจากที่มีการวางรากฐานด้วยรัฐธรรมนูญปี ๔๐ "ฉบับประชาชน" ทำให้เชื่อว่าเหตุการณ์นองเลือดจากความขัดแย้งทางการเมืองจะยุติเสียที

แต่ดูเหมือนว่าความคิดแบบอำนาจนิยมจะฝังลึกในหมู่คนไทย การใช้อำนาจหรือความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาจึงเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าปัญหาผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รวมทั้งกรณีกรือเซะและตากใบ) ปัญหายาเสพติด (ฆ่าตัดตอน) รวมทั้ง "ปัญหาทักษิณ" (ซึ่งถูกจัดการด้วยวิธีรัฐประหาร) ดังนั้นเมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหญ่อันเนื่องมาจากการปักหลักประท้วงอย่างยืดเยื้อของคนเสื้อแดง ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะยุติง่ายๆ การใช้ความรุนแรงเพื่อสลายการชุมนุมจึงเกิดขึ้นอีกครั้งจนเกิดการบาดเจ็บล้มตายมากมาย

เหตุการณ์ดังกล่าวได้ตอกย้ำว่า ความรุนแรงเป็นปัญหาที่ฝังลึกของสังคมไทย มันกลายเป็นวิถีทางการเมืองอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ผูกติดอยู่กับระบบเผด็จการเท่านั้น แม้เป็นประชาธิปไตย ความรุนแรงก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากทัศนคติที่แพร่หลายในหมู่ผู้คน อาทิ ความคิดแบบอำนาจนิยม รวมทั้งความคิดที่ว่า คนผิดมีสิทธิเป็นศูนย์ คือ เมื่อตัดสินใครว่า "ผิด" แล้ว ก็สามารถจะทำอย่างไรกับเขาก็ได้ รวมทั้งฆ่าเขา โดยไม่ต้องสนใจกระบวนการยุติธรรม

สาเหตุอีกส่วนหนึ่งที่หนุนเสริมให้เกิดความรุนแรงได้ง่าย ก็คือ ความไม่เป็นธรรมหรือความเหลื่อมล้ำ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเลือกปฏิบัติในระดับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น หากยังมีโครงสร้างและกลไกต่างๆ รองรับ สนับสนุน เช่น โครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์สู่ส่วนกลาง ซึ่งทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบและความคับแค้นใจในหมู่ผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ ลำพังช่องว่างที่ถ่างกว้างขึ้นระหว่างคนระดับบนกับระดับล่าง ก็ทำให้ฝ่ายหลังเกิดความไม่พอใจอยู่แล้ว ยิ่งมาพบว่าตนมีสิทธิมีเสียงน้อยกว่าคนระดับบน หรือนักการเมืองที่ตนสนับสนุนต้องมีอันเป็นไปด้วยกลวิธีต่างๆ ก็ยิ่งเกิดความคับแค้นใจ ดังนั้นจึงง่ายมากที่จะโดนใจกับคำว่า "ไพร่-อำมาตย์" หรือ "สองมาตรฐาน" จนพร้อมที่จะลุกขึ้นมาประท้วงเพื่อเรียกหาความเป็นธรรม การประท้วงนั้นไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยความรุนแรงเสมอไปก็จริง แต่มักนำไปสู่การเผชิญหน้าจนง่ายที่จะเกิดการปะทะและลุกลามขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงได้ โดยเฉพาะเมื่อมีความเชื่อว่าความรุนแรงจะแก้ปัญหาได้

กล่าวโดยสรุปก็คือ เหตุปัจจัยแห่งความรุนแรงนั้น ในด้านหนึ่งมีรากเหง้าอยู่ที่ทัศนคติหรือจิตสำนึกของผู้คน อีกด้านหนึ่งก็แฝงฝังอยู่ในโครงสร้างที่ห้อมล้อมครอบคลุมผู้คนเอาไว้ นั่นหมายความว่าเมืองไทยจะก้าวข้ามความรุนแรงถึงขั้นนองเลือดได้ก็ต่อเมื่อแก้ไขเหตุปัจจัยทั้งสองระดับ น่าเสียดายที่แม้เหตุการณ์นองเลือดครั้งล่าสุดผ่านไปได้สองปีแล้ว แต่ก็ไม่มีวี่แววว่าเหตุปัจจัยทั้งสองระดับจะได้รับความใส่ใจอย่างจริงจังแต่อย่างใด แม้จะมีความพยายามหาหนทางปรองดองเพื่อลดความแตกแยกก็ตาม จริงอยู่การปรองดองเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่ถึงแม้จะสำเร็จ ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าความรุนแรงถึงขั้นนองเลือดจะไม่เกิดขึ้นอีกตราบใดที่เหตุปัจจัยทั้งสองระดับยังคงอยู่

อย่างไรก็ตามปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ ความแตกแยกของผู้คนในสังคม ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าลดลง แม้จะไม่ถึงขั้นเผชิญหน้าด่าทอในลักษณะกลุ่มชน แต่ก็ขยายตัวไปในรูปลักษณ์อื่น กล่าวคือ ไม่เพียงแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในเชิงบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในเชิงคุณค่าด้วย เช่น แบ่งแยกหรือจัดฝ่ายว่า "คุณธรรม" หรือ "ความดี" เป็นเรื่องของคนเสื้อเหลือง ส่วน "ประชาธิปไตย" หรือ "ความเป็นธรรม" เป็นของคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลืองจำนวนไม่น้อยรู้สึกเป็นลบหรือถึงกับรังเกียจหากมีการพูดถึง ประชาธิปไตย หรือ ความเป็นธรรม ส่วนคนเสื้อแดงหลายคนก็มีอาการอย่างเดียวกันหากมีการพูดถึง คุณธรรม หรือความดี พูดอีกอย่างคือ ตอนนี้ไม่ใช่แต่ตัวบุคคลเท่านั้นที่ถูกประทับตราอย่างง่ายๆ แม้แต่คุณค่าก็ถูก "ใส่สีสวมเสื้อ" ว่าเป็นเหลืองหรือแดงเช่นกัน

การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายดังกล่าวมีแนวโน้มจะขยายไปถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ด้วย เช่น ถ้าเป็นเรื่องคอร์รัปชั่น หรือ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็ถูกมองว่าเป็นประเด็นของคนเสื้อเหลือง แต่ถ้าเป็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ หรือ การละเมิดสิทธิเสรีภาพ ก็มองว่าเป็นเรื่องของคนเสื้อแดง ใครที่ต่อต้านเขื่อน พูดเรื่องการโกงกิน จึงมีแนวโน้มที่จะถูกตีตราว่าเป็นเสื้อเหลือง(หรือสลิ่ม) ส่วนใครที่เสนอแก้ม.๑๑๒ ก็ถูกตีตราว่าเป็นคนเสื้อแดง

จริงอยู่แม้คนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงจะชูคุณค่าที่ต่างกัน หรือถึงกับใช้คุณค่าดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการกล่าวหาอีกฝ่าย (เช่น ไม่ใช่คนดี หรือต่อต้านประชาธิปไตย) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณค่าเหล่านี้จะถูกผูกขาดโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นคุณค่าที่อยู่คนละขั้ว คุณธรรม กับ ประชาธิปไตย หรือ ความดี กับ ความเป็นธรรม เป็นคุณค่าที่สำคัญทั้งคู่ ต่างเสริมสมบูรณ์ให้แก่กันและกัน ไม่ว่าบุคคลหรือสังคม ย่อมไม่อาจขาดคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งไปได้ การเชิดชูสิ่งหนึ่ง และปฏิเสธอีกสิ่งหนึ่ง ย่อมทำให้ชีวิตยากไร้ สังคมถดถอย จะว่าไปแล้วในส่วนลึกของเราทุกคนย่อมมีใจใฝ่ในคุณค่าทั้งสองประการ แต่หากมีความเข้าใจไปว่าคุณค่าอันใดอันหนึ่งเป็นของฝ่ายตรงข้าม ที่เราไม่ควรสมาทานหรือเชิดชูด้วยแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การปฏิเสธด้านหนึ่งของตัวเอง คนที่ปฏิเสธตัวเองย่อมรู้สึกพร่องและบั่นทอนพลังของตนเอง ดังนั้นจึงยากที่จะนำพาชีวิตให้เจริญงอกงามและสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ส่วนรวมได้

การเห็นว่าคนแต่ละฝ่ายมีความเป็นมนุษย์เหมือนกับตน แม้จะมีสีเสื้อหรืออุดมการณ์ต่างกันก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรองดอง แต่ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการปรองดองของคนทุกฝ่ายก็คือ การปรองดองระหว่างคุณธรรมกับประชาธิปไตย ไม่มองว่าคุณค่าทั้งสองเป็นศัตรูที่อยู่คนละข้าง การปรองดองเชิงคุณค่าดังกล่าว ไม่เพียงทำให้เกิดการปรองดองภายในตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานของการปรองดองในสังคมไทยอีกด้วย

 

------------------------------

จาก เว็บ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >