หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow We need to talk! ปัญหาสื่อ ที่สื่ออาจไม่รู้(ตัว) : ปานใจ ปิ่นจินดา
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 95 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

We need to talk! ปัญหาสื่อ ที่สื่ออาจไม่รู้(ตัว) : ปานใจ ปิ่นจินดา พิมพ์
Wednesday, 23 May 2012

Life Style

วันที่ 7 พฤษภาคม 2555

We need to talk! ปัญหาสื่อ ที่สื่ออาจไม่รู้(ตัว)

โดย : ปานใจ ปิ่นจินดา


นุ้ก, ปันปัน, ติ๊ก, เกรท และ โน้ต (ภาพ : สุกล เกิดในมงคล)


"นักเรียนสื่อ" ทวงถามจรรยาบรรณจาก "สื่อมืออาชีพ" พร้อมคำถามและคำเตือนฝากไปยังรุ่นใหญ่ว่า... ถึงพี่จะ (รุ่น) เก๋า แต่เราจะดีให้ได้มากกว่า!

"เราแคร์สื่อเพราะสื่อไม่แคร์เรา" สโลแกนเปิดตัวแบบจี๊ดๆ ของ We need to talk เพจน้องใหม่ซึ่งเพิ่งจะถือกำเนิดบนโลกทรงพลังอย่างเฟซบุ๊ค โดยมีภารกิจหลัก คือ เฝ้าระวังสื่อ ผ่านการตั้งคำถามถึงจรรยาบรรณ ความเหมาะสม ควร-ไม่ควร ของสื่อไทยในวันนี้ ที่อาจหลงลืม ละเลย หน้าที่หลักของการเป็น "สื่อมวลชน"

We need to talk เกิดจากการรวมตัวกันของนักศึกษากลุ่มหนึ่งในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ออกจะงุนงงกับวิชาสื่อที่ร่ำเรียนมา กับบทบาทของ "สื่อ" ที่เป็นอยู่ในวันนี้ ที่ดูเหมือนว่า นับวันจะยิ่งไปไกลจากตัวหนังสือที่บอกไว้ในตำรา

พื้นที่ข่าวที่เต็มไปด้วยเรื่องดราม่า...

คนทะเลาะกัน ตุ๊กแกพนมมือ จิ้งจกบ๊ายบาย ไหนจะยังมีกระแสที่มาไวไปไวอย่างซิมซิมิ หรือ ครูอังคณา ที่พอดังขึ้นมาสื่อก็วิ่งหาข่าวกันจ้าละหวั่น แถมยังเสนอข่าวพาดหัวตัวเบ้ง หรือให้เวลาแบบจัดเต็ม

เอาไปเลยหนึ่งเบรก! สำหรับจิ้งจกอัจฉริยะ

เรื่องคาใจบรรดานักเรียนสื่อจึงเกิดขึ้น ทั้งการเลือกหัวข้อมาพูดคุยในบางรายการ ว่าจัดเป็น "บันเทิง" หรือ "บั่นทอน" ตลอดจนตั้งข้อสงสัยถึง พื้นที่ข่าวตุ๊กแกพนมมือ หรือ จิ้งจกบ๊ายบาย แม้กระทั่งบุคคลในข่าวอย่าง พงศธร-ครูอังคณา นั้นได้อะไรจากการตกเป็นข่าว

และที่สุดแล้ว สังคมได้อะไร?

ยังไม่นับวิธีการนำเสนอข่าว ไม่ว่าจะเป็น พาดหัวข่าว "ความจริง" หรือ "เกินจริง", การใช้ภาษาที่เหมารวม และอาจนำไปสู่การตัดสิน แบ่งข้าง และลดที่ยืนของคนบางกลุ่ม

กระทั่งกรณีการสัมภาษณ์สองสาว ต่างกรรมต่างวาระ "จ๊ะ คันหู" และ นางเอกหนังเอวี "มิยาบิ" ที่สังคมจำนวนไม่น้อยรู้สึกได้ในความ "สองมาตรฐาน" ของพิธีกรคนดัง

  • คลาสจบ คนไม่จบ

เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นจากห้องเรียนวิชาจริยธรรมการประชาสัมพันธ์ ที่คนเรียนคิดตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มเรียนว่า คงจะน่าเบื่อ เต็มไปด้วยตัวหนังสือ และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คาดหวังอะไรจากวิชานี้

จนเมื่อคลาสเรียนเข้มข้นมากขึ้น จากนักศึกษา 20 คนเศษ ที่ต้องหาเคสเด็ดๆ เกี่ยวกับจริยธรรมสื่อมาแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างถึงพริกถึงขิง

ทำไปทำมาเลยกลายเป็นว่า... คลาสจบ คนไม่จบ!

สารพัดคำถามจึงถูกรวบรวมขึ้นมาเพื่อชูเป็นประเด็นในพื้นที่สาธารณะเพื่อให้คนทั่วไปเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ด้วยหวังว่า เสียงจากคนเล็กคนน้อย จะดังไปถึงสื่อรุ่นพี่ให้ได้ฉุกคิดกันบ้าง

ปันปัน - ปัณฑิตา ยันตรกิจ, นุ้ก - เจษฎา แสนพรหม, ติ๊ก - ฉัชฏิภา ศรีประยูร, เกรท - พัชรประภา สุรพิพิธ และ โน้ต - ปวเรศ วงศ์เพชรขาว นักศึกษาปี 3 คณะวารสารฯ ธรรมศาสตร์ ถูกส่งมาเป็นตัวแทนของ We need to talk เพื่อร่วมตั้งวงพูดคุยกัน

"ในคลาสเราจะเอาเคสมาพูดคุยกัน ทำให้ได้แชร์มุมมองกับคนอื่นๆ แต่เราก็อยากรู้ว่าคนนอกคลาสเขาจะคิดยังไงบ้าง ก็เลยเป็นที่มาของการเปิดเพจนี้ขึ้น เพื่อให้สิ่งที่เราเรียนกระจายออกไปในวงกว้าง แล้วอีกอย่างคือ เดี๋ยวนี้สื่ออินเทอร์เน็ตมาแรงมาก ทำให้เสียงของคนเล็กๆ ดังขึ้นมาได้ การพูดคุยบนอินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลต่อสังคมมากขึ้น มีคนจำนวนมากที่รับข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต เราก็เลยคิดว่า ลองเอาเรื่องนี้มาทำบนเฟซบุ๊คดู โดยเราอยากให้เพจนี้เป็นเพจที่ทุกคนเข้ามาพูดคุยแชร์ความคิดเห็น ไม่ได้อยากให้เป็นแค่เพจของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เข้ามาคุยกัน" ติ๊ก เริ่มต้นเล่าถึงที่มาที่ไป

ส่วนเรื่องของสโลแกนเปิดตัวที่แรงไม่แคร์สื่อว่า "เราแคร์สื่อเพราะสื่อไม่แคร์เรา" ปันปัน บอกว่าตอนที่ช่วยกันคิดอยู่ 20 กว่าคน ใช้เวลาคิดนานมาก คิดกันมาเป็นสิบๆ แบบ กว่าจะได้ออกมาเป็นประโยคนี้ เพราะโจทย์ของการคิดเวิร์ดดิ้งที่จะเรียกความสนใจได้นั้น ไม่ใช่ว่าแรงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถส่งสารไปได้ตรงความหมายด้วย แต่หลังจากที่ถกกันมานาน อยู่ดีๆ ประโยคนี้ก็ปิ๊งออกมา ซึ่งถูกใจเพื่อนๆ ในกลุ่มทุกคน

เวลาเดือนเศษของการเปิดเพจนี้ขึ้น แม้ยอดคลิกไลค์จะไม่ได้มากมายอะไร อยู่ที่ราวๆ 2 พันกว่า แต่โน้ตบอกว่า แค่นี้ก็น่าพอใจแล้ว เพราะถึงจะแค่คลิกไลค์ แม้จะไม่ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นอะไร แต่ก็ถือว่า คนจำนวน 2 พันกว่าคนนั้นได้รับรู้และฉุกคิดสิ่งที่พวกเขานำเสนอไปไม่มากก็น้อย

"มันก็เป็นสัญญาณนึงที่สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ใช่แค่เราที่มองเห็นปัญหาในประเด็นนี้" โน้ตเอ่ย

  • สื่อสาร (เพื่อ) มวลชน?

วัตถุประสงค์ของเพจตามความตั้งใจของเดอะแก็งค์จากคณะวารสารฯ กลุ่มนี้ ไม่ได้พุ่งเป้าที่จะวิพากษ์หรือเหมารวมไปเสียทุกสื่อ ทุกสำนัก เพราะในทุกวงการก็ต้องมีทั้งน้ำดีน้ำเสียเป็นเรื่องปกติ ภารกิจของ We need to talk จึงโฟกัสไปที่สื่อที่มีความไม่เหมาะสมด้านจริยธรรม ที่อาจส่งผลกระทบในด้านลบต่อสังคมได้

"กฎหมายเป็นเรื่องตายตัว แต่เรื่องจริยธรรมมันไม่ใช่ ก็เลยทำให้ต้องมีการถกเถียงกัน" เกรท ขยายความ

อย่างที่เห็นในสโลแกนของกลุ่มที่ว่า "เราแคร์สื่อเพราะสื่อไม่แคร์เรา" นั่นก็เพราะนักศึกษากลุ่มนี้ มองว่า สื่อมีความสำคัญและมีบทบาทอย่างมากต่อการขับเคลื่อนสังคมให้ไปในทางดีขึ้น หรือแย่ลง แต่สื่อเองกลับไม่ได้มองเห็นความสำคัญในจุดนี้ จนบางครั้งก็ทำอะไรลงไปโดยไม่ได้คิดถึงผลกระทบต่อภาพรวม

"การรับสารเดี๋ยวนี้ก็อันตรายเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้าเรารับสารโดยไม่มีวิจารณญาณ ซึ่งผู้รับสารส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันอยู่แล้วทางด้านความคิด บางคนก็เท่าทัน แต่ที่เราเป็นห่วง คือ เด็ก และ คนที่ไม่เท่าทันสื่อ อาจจะทำให้สื่อชักนำไปในทางที่ไม่ดีได้

ในอีกทางหนึ่ง พวกหนูก็เข้าใจเรื่องเป้าหมายในทางธุรกิจของสื่อนะ แต่ไม่อยากให้คิดแต่เรื่องธุรกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองจนลืมไปว่า สิ่งที่ทำไปมันส่งผลเสียอะไรต่อสังคมบ้าง" ติ๊กเสริม

ก่อนที่นุ้กจะเอ่ยต่อถึงเคสดังที่มาแบบงงๆ อย่าง "เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่!" ซึ่งเริ่มต้นมาจากเด็กคนหนึ่งโพสต์คลิปลงบนยูทูบ เพื่อระบายความอัดอั้นตันใจ แต่เกิดแพร่หลายออกไปบนโซเชียลมีเดีย แต่สื่อก็เอามาทำเป็นเรื่องราวใหญ่โต ทั้งๆ ที่ด้วยตัวประเด็นไม่ได้มีอะไรเลย และที่สำคัญคือคลิปดังกล่าวเป็นคลิปที่โพสต์เพื่อดูกันเฉพาะในกลุ่มเท่านั้น

"พวกผมก็ตั้งคำถามว่า ทำไมสื่อกระแสหลักถึงต้องหยิบเอาประเด็นนี้ขึ้นมาเล่น ทั้งหนังสือพิมพ์ ทั้งทีวี ทำไมรายการทีวีต้องตามไปสัมภาษณ์ครูอังคณา แล้วเราคนดูได้อะไรล่ะ.. " นุ้ก ตั้งคำถาม

"พวกเรามองว่า สื่อควรจะให้ความรู้ ข้อมูลดีๆ มากกว่าตุ๊กแกสวัสดีจะได้ไหม โอเค จะเสนอข่าวตุ๊กแกเราก็ไม่ได้ว่าอะไร เข้าใจว่าคนชอบ แต่อยากให้วางน้ำหนักข่าวให้สมดุลกว่านี้ เพราะสื่อควรจะเป็นพื้นที่ที่ให้ความรู้ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเรา ไม่ใช่จะเอาแต่เรื่องตุ๊กแกบ๊ายบายอย่างเดียว"

ถึงแม้จะหนักไปทางตั้งคำถาม แต่นักศึกษากลุ่มนี้ก็มองหาทางลงให้กับสื่อรุ่นพี่ด้วยการนำเสนอว่า ถ้าน้ำหนักข่าวมีความสมดุลกว่านี้ได้จะดีมากๆ

โดยเกรทบอกว่า ตัวเองและเพื่อนเข้าใจดีว่า ในสังคมก็มีทั้งคนที่สนใจแต่เรื่องดราม่า คนทะเลาะกัน จิ้งจกตุ๊กแก แต่อย่าลืมว่า ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยากจะได้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ อยากรู้ความเป็นไปในสังคม ฉะนั้นสื่อก็น่าจะแบ่งพื้นที่ข่าวให้มีน้ำหนักอย่างเหมาะสม ไม่ใช่จะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างที่หลายๆ สื่อกำลังเป็นอยู่

"เกี่ยวกับฟีดแบ็คของเพจนี้ ก็มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคนก็เข้ามาเชียร์ บอกว่าเพจนี้น่าสนใจมาก แล้วก็เห็นด้วยที่ว่า สื่อเดี๋ยวนี้เสนอข่าวไม่สร้างสรรค์เยอะ แต่ก็มีบางคนเข้ามาตั้งคำถามว่าคิดมากไปหรือเปล่า ซึ่งพวกเราก็ไม่ได้โต้ตอบไป แต่จริงๆ ที่อยากให้เกิดขึ้นคือ อยากให้สื่อได้มาเห็นสิ่งที่เราพูดคุยกันมากกว่า อยากให้สื่อย้อนกลับมาคิดถึงหน้าที่หลักของตัวเองว่า ควรจะนำเสนอความจริงหรือเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมใช่ไหม แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้วัตถุประสงค์เขาจะเปลี่ยนไป ในสำหรับบางสื่อนะคะ" ปันปัน บอก

"จริงๆ เรื่องพวกนี้ก็ไม่ใช่ว่าสื่อจะคิดไม่ได้นะ แต่อาจจะเพราะปัจจัยมากมายที่ทำให้เขายังต้องทำไปอย่างนั้น แต่เราเป็นนักศึกษา เราทำได้เลยออกมาพูดตรงนี้ได้โดยไม่ต้องมีกรอบ เราไม่มีเจ้านาย เราไม่มีนายทุน" ติ๊กว่า

  • รอวันผลัดใบ

นอกจากจะยิงคำถาม และตั้งความหวังกับสื่อไทยในปัจจุบันแล้วนั้น นักศึกษากลุ่มนี้ก็ยังตั้งความฝันถึงสื่อสารมวลชนในรูปแบบที่ตัวเองกำลังจะเป็นในอีกไม่นานนี้ด้วย

ในคำถามเดียวกัน ที่บังคับให้ทุกคนตอบว่า "สื่อมวลชนในอุดมคติ" ควรจะเป็นอย่างไร

ปันปันยกมือตอบคนแรก โดยจำกัดความว่า จะต้องเป็นสื่อที่นำเสนอแต่ด้านที่เป็นประโยชน์ เพราะเธอมองว่า หน้าที่ของสื่อ คือควรจะมีส่วนช่วยให้คนในประเทศสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้

ขณะที่เกรทพุ่งเป้าไปที่ความเป็นกลาง โดยบอกว่า สื่อไม่ควรฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ควรนำเสนอความจริง อย่างไม่กลัวเกรง หรือ สนใจขั้วอำนาจใด

ใกล้กันกับติ๊กที่บอกว่า อยากให้สื่อมีความเป็นกลาง เพื่อที่เวลาสื่อสารอะไรออกมา จะได้ไม่ถูกบิดเบือน

"ส่วนเรื่องคลายเครียดอย่าง จิ้งจกตุ๊กแก เราก็ไม่ได้ปฏิเสธ แต่มันต้องอยู่บนน้ำหนักที่เหมาะสม ถ้าวันๆ เราเจอแต่ข่าวตุ๊กแก.. ครูอังคณา.. ก็ไม่ไหวมั้ง" ติ๊กบอก

ด้านนุ้กมองว่า ไม่อยากให้สื่อลืมไปว่า ตัวเองมีหน้าที่เป็น Agenda Setter (ผู้กำหนดวาระสำคัญ) ของสังคมด้วย การจะเสนออะไรออกไปก็อยากให้ระวังมากกว่านี้ หรือไม่ก็อยากให้เสนอแต่ความจริง ไม่ใช่ความคิดเห็นหรือแค่กระแสส่วนตัว

"รายการเล่าข่าวเดี๋ยวนี้ เต็มไปด้วยความคิดเห็น ซึ่งข่าวบางข่าว ฟังแล้วผู้รับสารยังไม่ทันคิดอะไร คนเล่าออกอาการฉุนนำไปแล้ว เอาง่ายๆ ว่า แค่เสียง 'เฮ่อ' แค่นี้ก็ชี้นำแล้วนะ" เป็นมุมมองของเกรทที่เห็นถึง "ความเยอะ" ของรายการเล่าข่าวที่เต็มไปด้วยถ้อยคำออกรสออกชาติจนกลายเป็นชี้นำ

ก่อนจะสรุปแบบรวมๆ โดยโน้ตที่ตอบเป็นคนสุดท้ายว่า "ถ้าสื่อทำงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม แค่คิดว่าสิ่งที่ทำไปสังคมได้ประโยชน์อะไรบ้าง ผมว่า ก็น่าจะโอเคแล้วนะ"

แต่ถ้าถามความเห็นของว่าที่สื่อมวลชนว่า... สื่อวันนี้ถึงกับสิ้นหวังเลยไหม?

ปันปัน ขอเป็นตัวแทนตอบสั้นๆ แต่เรียกเสียงฮารอบวง เพราะเธอบอกว่า

"ไม่สิ้นหวังหรอกค่ะ เพราะพวกหนูยังเป็นความหวังได้!"

----------------------

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >