หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow โลกอนิจจัง : พระไพศาล วิสาโล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 88 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โลกอนิจจัง : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Wednesday, 16 May 2012
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นิตยสารสารคดี : ฉบับที่ ๓๒๖ :: เมษายน ๕๕ ปีที่ ๒๘

คอลัมน์รับอรุณ : โลกอนิจจัง
พระไพศาล วิสาโล



ยุคนี้เป็นยุคที่รักสะอาดเป็นอย่างยิ่ง อุปกรณ์ทำความสะอาดทั้งร่างกายและเครื่องใช้ ไม่ว่าสบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ยังไม่นับสินค้าตัวใหม่ๆ ที่ทยอยออกมาไม่หยุด อาทิ น้ำยาล้างมือ สเปรย์ระงับกลิ่นปาก ฯลฯ ทั้งหมดนี้เพื่อต่อสู้กับศัตรูที่ซุกซ่อนอยู่รอบตัวและแทรกซึมทุกหนทุกแห่ง นั่นคือ เชื้อโรค แม้แต่ปุ่มโทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ จอไอแพ็ด ก็เป็นที่สิงสถิตของแบคทีเรียนานาชนิด ไม่แปลกหากอีกไม่นานน้ำยาฆ่าเชื้อในอุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นที่นิยม

วัฒนธรรมรักสะอาดที่แพร่ไปทั่วโลกนั้นมีต้นตอมาจากไหน คำตอบหาได้ไม่ยาก ในยุโรปและอเมริกานั้นพฤติกรรมรักสะอาดจนถึงขั้นอนามัยจัดเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไป ไม่ว่า ในบ้านเรือน ที่ทำงาน สถานที่สาธารณะ รวมทั้งตามเนื้อตัว การรักษาความสะอาดเป็นเรื่องใหญ่มาก

น่าแปลกก็ตรงที่ย้อนหลังไปไม่ถึง ๘๐ ปี ฝรั่งหาได้มีนิสัยรักสะอาดอย่างที่เห็นทุกวันนี้ไม่ ยอร์จ ออร์แวล นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษตั้งข้อสังเกตว่า "นิสัยอาบน้ำทั้งตัวเป็นประจำทุกวันเป็นสิ่งที่ใหม่มากๆ ในยุโรป" เขายังพูดต่อไปว่า "ชาวอังกฤษนับวันจะสะอาดขึ้น และคงหวังได้ว่าภายในหนึ่งร้อยปี เขาจะสะอาดเกือบเท่าคนญี่ปุ่น"

ถอยหลังไป ๑๕๐ ปีก่อน คนยุโรปไม่สนใจความสะอาดเลยก็ว่าได้ รายงานของกระทรวงศึกษาธิการของฝรั่งเศสเมื่อปี ๑๘๘๔ ระบุตอนหนึ่งว่า "แม้กระทั่งชนชั้นที่มีฐานะ ก็ไม่เคยทำความสะอาดร่างกายส่วนอื่นเลยยกเว้นส่วนที่อยู่นอกร่มผ้าเท่านั้น"

พฤติกรรมดังกล่าวไม่ใช่เรื่องผิดยุคผิดสมัย หากเป็นมรดกที่มีความสืบเนื่องมายาวนานหลายร้อยปี โดยเฉพาะนับแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เพราะตอนนั้นมีความเชื่อว่าน้ำเป็นพาหะนำโรคมาสู่ผิวหนัง ส่วนฝุ่นผงนั้นหากอุดรูขุมขนจะช่วยป้องกันไม่ให้โรคเข้ามาในร่างกายได้ ดังนั้นผู้คนจึงไม่นิยมอาบน้ำไม่ว่าชาวบ้าน ชนชั้นสูง หรือแม้แต่พระเจ้าแผ่นดิน ว่ากันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๓ นั้นไม่เคยอาบน้ำเลยจนเมื่ออายุเกือบ ๗ ขวบ ส่วนพระเจ้าเฮนรีที่ ๔ แห่งฝรั่งเศส ก็เป็นที่เลื่องลือว่า ส่งกลิ่นนานาชนิด ทั้งกลิ่นเหงื่อ กลิ่นคอกสัตว์ และกลิ่นอับที่เท้า ในอังกฤษก็ไม่ต่างกันเท่าไร พระราชินีเอลิซาเบธ อาบน้ำเพียงเดือนละครั้ง ขณะที่พระเจ้าเจมส์ที่หนึ่ง ซึ่งครองราชย์ลำดับถัดมา แค่ล้างนิ้วเท่านั้น

แต่ถ้าเกิดโรคระบาดเมื่อใด ผู้คนถึงกับไม่แตะน้ำชำระกายเลยแม้แต่น้อย เพราะมีความเชื่อว่า การอาบน้ำก็ดี หรือแม้แต่การมีเหงื่อออกก็ดี จะเปิดรูขุมขนในร่างกาย และทำให้โรคร้ายเข้าไปก่ออันตรายแก่ร่างกายได้

เมื่อไม่อาบน้ำ วิธีที่ชนชั้นผู้ดีใช้ในการจัดการกับความสกปรก ก็คือ ใส่เสื้อที่ทำด้วยลินิน เพื่อปัดฝุ่นผงออกจากร่างกายและดูดซับเหงื่อด้วย ขณะเดียวกันก็ใช้น้ำหอมกลิ่นแรงๆ และน้ำมันเพื่อปกปิดกลิ่นเหม็นตามเนื้อตัว

พฤติกรรมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปเมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ และ โรเบิร์ต ค็อก นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังปลายศตวรรษที่ ๑๙ พบว่า โรคที่คร่าชีวิตผู้คนจนล้มตายมากมายนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเติบโตในที่สกปรก วิธีจัดการกับเชื้อโรคดังกล่าวได้ดีที่สุดก็คือ ใช้ความร้อน กับการรักษาความสะอาดทั้งร่างกายและที่พักอาศัย นั่นคือจุดเริ่มต้นของการหวนกลับมาอาบน้ำ อย่างที่ชาวกรีกและโรมันได้ทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่กว่าวัฒนธรรมรักสะอาดจะเข้มแข็งมั่นคงในยุโรปก็ใช้เวลาหลายสิบปี ดังเห็นได้ว่าลุล่วงจนถึงปี ๑๙๔๐ ครัวเรือนอเมริกันเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีห้องอาบน้ำอย่างถูกสุขลักษณะ ส่วนในอังกฤษ จนถึงปี ๑๙๕๑ ครัวเรือนเกือบ ๒ ใน ๕ ไม่มีห้องอาบน้ำใช้เลย

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว ความรักสะอาดได้กลายเป็นวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะในหมู่ผู้มีอันจะกิน การรณรงค์ต่อต้านความสกปรกประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เมื่อนักธุรกิจได้เข้ามาขับเคลื่อนผลักดันผ่านการโฆษณา ที่ทำให้ผู้คนไม่เพียงแต่กลัวความสกปรกเท่านั้น แต่ยังรู้สึกถึงภาพลักษณ์ที่ดูดีขึ้นเมื่อใช้สินค้าต่างๆ ที่นำเสนอขาย ผลก็คืออุตสาหกรรมเกี่ยวกับความสะอาดเติบใหญ่อย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ทั่วโลกใช้เงินถึง ๒๔,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ในการซื้อสบู่ก้อนและสบู่เหลว ไม่รวมอีก ๑๐๖,๐๐๐ ล้านเหรียญสำหรับการทำความสะอาดเสื้อผ้า จานชาม ห้องน้ำ

ตรงข้ามกับยุโรปเมื่อ ๔๐๐ ปีก่อน ทุกวันนี้ผู้คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะคนชั้นสูงหรือคนมีฐานะ พากันรังเกียจฝุ่นผง กลัวเชื้อโรคถึงขนาดต้องทำความสะอาดใบหน้าและมือเท้าวันละหลายๆ ครั้ง หลายคนคงนึกไม่ถึงว่าฝรั่งซึ่งรักสะอาดและอนามัยจัดนั้น สมัยหนึ่งเคยมีความเชื่อว่าความสกปรกไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ การอาบน้ำชำระร่างกายต่างหากที่น่ารังเกียจ

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ผู้คนทั้งโลกหันมาเชิดชูความสะอาดและต่อต้านความสกปรกถึงขั้นไล่ล่าอย่างเอาจริงเอาจัง ตอนนี้พฤติกรรมดังกล่าวกำลังถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าสุดโต่งเกินไปหรือไม่ เนื่องจากมีการค้นพบอย่างต่อเนื่องว่า แบคทีเรียนั้นมีประโยชน์ต่อมนุษย์อยู่ไม่น้อย เด็กที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคตั้งแต่เล็ก เช่น อยู่ในไร่นา หรือเป็นลูกคนเล็ก ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียจากพี่ๆ มีแนวโน้มที่จะไม่เป็นโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้ ในทำนองเดียวกันโรคภูมิแพ้นานาชนิดที่ระบาดในประเทศที่ร่ำรวยนั้น กลับเกิดขึ้นน้อยมากในประเทศที่ยากจนกว่า นี้อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบอนามัยจัด จนแม้แต่เดินเท้าเปล่าก็ทำไม่ได้ จึงมีโอกาสเป็นโรคมือเท้าปากได้มากกว่าเด็กชนบทหรือเด็กสลัมที่เล่นหินดินทรายเป็นประจำ

แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ก็คือ การส่งเสริมให้คนหันมาสัมผัสกับดินและฝุ่นมากขึ้น "ฝุ่นนั้นดี" เป็นข้อความโฆษณาของผงซักฟอกยี่ห้อหนึ่งซึ่งผลิตโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ยูนิลีเวอร์ มีการรณรงค์ให้เด็กได้เล่นดินและคลุกฝุ่นบ้าง เพราะ "ฝุ่นผงเป็นการแสดงออกซึ่งเสรีภาพ"

ครั้งหนึ่งฝรั่งที่ได้รับอิทธิพลกรีกและโรมัน รักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ แต่ในเวลาต่อมาฝรั่งกลับเกลียดการอาบน้ำและพอใจที่จะอยู่อย่างสกปรก บัดนี้หันมารักความสะอาด มีความสุขกับการอาบน้ำ (โดยเฉพาะน้ำอุ่น) และรังเกียจฝุ่นผงกับเชื้อโรคเป็นที่สุด แต่แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้น คือ การหวนกลับไปหาฝุ่นผงและขี้ดินอีกครั้ง นี้ก็เช่นเดียวกับพฤติกรรมหลายๆ อย่างในโลกนี้ ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกรังเกียจ แต่กลับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชนในปัจจุบัน และสิ่งที่น่าชื่นชมในอดีต กลายเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจในปัจจุบัน

ครั้งหนึ่งการถ่มน้ำลายถือว่าเป็นกิริยาที่สูงส่ง ใช้ในการบวงสรวงเทพเจ้าหรือเมื่อสาบานและทำสัญญาต่อกัน แต่บัดนี้การกระทำเช่นนั้นกลับเป็นกิริยาที่หยาบคายไปแล้ว

ครั้งหนึ่งฝิ่นและมอร์ฟีนหาได้อย่างง่ายดายในยุโรปและอเมริกา ขณะที่เหล้าถูกโจมตีว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่ทุกวันนี้ฝิ่นและมอร์ฟีน กลายเป็นสิ่งชั่วร้ายไปแล้ว ส่วนเหล้าหาซื้อได้ทั่วไป

ครั้งหนึ่งคำว่า "กู" ไม่ใช่คำหยาบ ส่วนคำหยาบเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีก่อน คือคำว่า "ติดเนื้อต้องใจ" และที่หยาบคายมากที่สุดคือ "ไว้เนื้อเชื่อใจ" "ขึ้นเนื้อขึ้นใจ"และ "วางเนื้อวางใจ" จนกระทั่งรัชกาลที่ ๔ ต้องออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาห้ามไม่ให้ประชาชนนำมาใช้เขียนหรือพูดอย่าง เด็ดขาด ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคำสุภาพหรือคำสามัญในวันนี้ คงมีหลายคำที่กลายเป็นคำหยาบหรือคำอุจาดในวันหน้า ขณะที่คำหยาบในวันนี้อาจกลายเป็นคำที่นิยมใช้ในอนาคต

โลกนี้หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ แปรเปลี่ยนเป็นนิจ สิ่งที่เรายกย่องเชิดชูว่าดีวิเศษในวันนี้ สามารถกลายเป็นอื่นในวันหน้า นี้เป็นธรรมดาของสิ่งที่เรียกว่าสมมติ ใครที่ยึดติดถือมั่นกับสมมติ ปักใจเชื่อว่ามันต้องดีไปตลอด ย่อมเป็นทุกข์เมื่อเจอความเปลี่ยนแปลง

 

------------------------------

จาก เว็บ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >