หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow บางฉากจากบางขวาง : วีรศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 149 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

บางฉากจากบางขวาง : วีรศักดิ์ จันทร์ส่งแสง พิมพ์
Wednesday, 18 April 2012

บางฉากจากบางขวาง

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม 2555


ปีที่ผ่านมา เครือข่ายพุทธิกา ร่วมกับโครงการกำลังใจในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้ไปเปิดห้องเรียนการเขียนที่เรือนจำกลางบางขวาง ในชื่อ โครงการเรื่องเล่าจากแดนประหาร ด้วยความเชื่อและความหวังที่จะใช้การเขียนจะเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจที่ติดค้างอยู่กับอดีตที่ผิดพลาด อีกทั้งสิ่งที่เขาถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือออกมายังเป็นตัวอย่างจริง ที่จะเป็นบทเรียนให้กับคนร่วมสังคมได้ตระหนักและเรียนรู้เพื่อไม่ต้องตกเป็นผู้ผิดพลาดเองด้วย

เปิดห้องเรียนกันที่แดนการศึกษาของเรือนจำกลางบางขวาง สัปดาห์ละวันเป็นเวลา 4 เดือน และอีก 4 เดือนต่อมา เป็นกิจกรรมต่อเนื่องภายใต้ชื่อโครงการจิตอาสาจากบางขวาง เปิดโอกาสให้พวกเขาเข้าเป็นอาสาสมัครถักหมวก ผ้าพันคอ ส่งไปถวายพระสงฆ์ และและผู้ป่วยเด็กตามโรงพยาบาล เอาหนังสือมาเขียนเป็นอักษรเบรลล์ ส่งให้คนตาบอดอ่าน ให้คนที่ทำได้เห็นคุณค่าในตัวเองอีกครั้ง ว่าแม้ถูกจองจำอยู่ในแดนพันธนาการที่แทบไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวัน ก็ยังทำสิ่งเป็นประโยชน์ให้กับคนอื่นได้ และสิ่งนี้ยังอาจช่วยถ่ายถอนความรู้สึกผิดจากสิ่งที่เคยกระทำมาและยังติดค้าง ออกไปจากใจเขาได้บ้าง

สำหรับโครงการเรื่องเล่าจากแดนประหาร ครั้งที่ 1 นั้น กล่าวกันตามความจริงก็ต้องนับว่าประสบความสำเร็จล้นหลาม อย่างน้อยที่สุดก็ในหมู่ผู้เข้าร่วมอบรม 30 คน ที่เป็นตัวแทนจากแต่ละแดนในจำนวนผู้ต้องขัง 4,000 กว่าคนของเรือนจำกลางบางขวาง

นอกจากเทคนิคความรู้ใหม่ๆ ในการเล่าเรื่องด้วยตัวหนังสือ ที่เป็นเป้าหมายหลักของโครงการซึ่งทุกคนจะรับอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน บางคนยังสารภาพอีกว่านับแต่มาเข้าร่วมห้องเรียนการเขียน เขาไม่ต้องพึ่งยาผีบ้า (ยาระงับประสาทสำหรับผู้ป่วยจิตเภท) ที่กินมาโดยตลอดอีกต่อไปแล้ว

แดนประหารเป็นแดนที่มีการควบคุมสูงตามโทษทัณฑ์ที่ถือว่าเป็นขั้นสูงสุด เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันของผู้ต้องขัง อยู่ภายในเรือนนอนรวมขนาดใหญ่ความจุหลายสิบคนหรืออาจเป็นร้อยคน ประตูจะเปิดออกหลัง 8 โมงเช้า และต้องกลับเข้าไปก่อน 3 โมงเย็นเสมอ นับแต่เข้ามาอยู่ในนี้พวกเขาจึงไม่เคยได้เห็นเดือนเห็นตะวัน (ขึ้นและตก) จริงดังคำที่กล่าวขานกัน

หนึ่งวันในแต่ละสัปดาห์ที่จะได้มาเข้าห้องเรียนจึงเป็นช่วงเวลาที่รอคอย เป็นห้องเรียนที่ไม่มีใครโดดเรียนและไม่มีคนหลับในห้องเรียน ยังไม่นับถึงว่าวิทยากรพิเศษที่สละเวลามาให้ความรู้ความคิดใหม่ๆ แก่พวกเขาในแต่ละสัปดาห์ ล้วนแต่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่และบุคคลสำคัญเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทั้งพระสงฆ์ นักคิดนักปฏิบัติที่เน้นมิติด้านจิตใจ กวีระดับชาติ ศิลปินแห่งชาติด้านการเขียน ฯลฯ ซึ่งในบางคราวก็มีการถ่ายทอดสดจากห้องเรียนไปยังทุกแดนในเรือนจำด้วย

และโดยที่เป้าหมายหลักของโครงการนี้อยู่ที่การเขียน "เรื่องจริง" คณะวิทยากรที่สอนประจำจึงเป็นกลุ่มนักเขียนสารคดี

ทักษะความรู้ที่ได้เรียนรู้คงติดอยู่ในตัวเขา ส่วนสิ่งที่เขาได้ถ่ายทอดออกมานั้น ก็สร้างความสะเทือนไม่น้อย ทั้งโดยตัวบทที่ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือ และต่อชีวิตเขากับคนแวดล้อม

นักเขียนบางขวางคนหนึ่งเขียนเล่าว่า ตอนที่ยังอยู่ข้างนอกเขามุ่งแต่กับเรื่องงานไม่ค่อยได้กลับไปเยี่ยมไปใช้เวลากับพ่อที่เริ่มเข้าสู่วัยชรา จนเมื่อเข้ามาอยู่ที่บางขวางต้องโทษหลายสิบปี พ่อก็ยังฝากพี่สาวมาบอกกับเขาว่า พ่อออกกำลังกายทุกวัน เพื่อรักษาสุขภาพเอาไว้รอให้เขากลับออกไปหา รู้อย่างนั้นเขาเองจึงออกวิ่งด้วยทุกเช้า พร้อมๆ กับที่พ่อวิ่งอยู่ข้างนอก ในความรู้สึกเสมือนว่าเขากับพ่อกำลังออกกำลังกายอยู่ด้วยกัน-โดยไม่ต้องเห็นกัน แต่รู้อยู่ภายในใจว่ากำลังทำสิ่งเดียวกันอยู่

วันแรกที่หนังสือ อิสรภาพบนเส้นบรรทัด 13 นักโทษประหาร เสร็จจากโรงพิมพ์เดินทางมาถึงแผง ลูกค้ารายแรกที่มาถามหาหนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือของสำนักพิมพ์สารคดี เป็นสาววัยรุ่นอายุไม่ถึง 20 เธอบอกว่าเพื่อนที่ชลบุรีขอให้ช่วยมาซื้อ เพราะมีเรื่องที่พ่อเขาเขียนอยู่ในนั้นด้วย

ผู้เขียนอีกคนเล่าว่า เขาต้องมาอยู่บางขวางตั้งแต่ลูกสาวเพิ่งได้ 4 ขวบ เขาติดคุกมา 12 ปีแล้ว ลูกโตอยู่กับแม่ที่ต่างจังหวัด ไม่เคยรู้จักไม่เคยเห็นหน้าพ่อ เขาให้ญาติๆ บอกกับลูกว่าพ่อไปทำงานอยู่ต่างประเทศ ญาติเคยส่งรูปลูกสาวมาให้ดู เขาได้เห็นหน้าตาลูก แต่บุคลิกท่าทางการเดินของเธอจะเป็นอย่างไรเขาไม่เคยรู้เลย

จนเมื่อเขียนหนังสือได้ตีพิมพ์ เขาก็อยากจะอวดลูกบ้าง

เขาใช้โทรศัพท์สาธารณะที่ทางเรือนจำอนุญาตให้ได้สัปดาห์ละ 10 นาที โทรบอกลูกสาวให้ไปหางานเขียนของพ่อมาอ่าน

"เรื่องอะไร" ลูกสาวถามชื่อเล่ม

เขาบอกชื่อหนังสือ "อิสรภาพบนเส้นบรรทัด 13 นักโทษประหาร"

"ทำไมหนังสือพ่อตั้งชื่ออย่างนั้น?" ลูกสาวงง

เขาเพิ่งเอะใจขึ้นมาในตอนนั้นเองว่าอาจมีความผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว แต่ก็ตัดสินใจบอกความจริงกับลูกไป "พ่อเป็นหนึ่งใน 13 คนนั้น"

แล้วจากนั้นต่างฝ่ายต่างก็เงียบไปเป็นเวลานาน แต่เขาได้ยินเสียงสะอื้นมาจากปลายสายอีกด้าน

"เสียใจไหม โกรธพ่อไหม ที่เป็นอย่างนี้" เขาถามลูกสาวเมื่อจะหมดเวลาการใช้โทรศัพท์

ลูกสาวตอบว่า ไม่ และจะมาหาพ่อที่บางขวางในงานวันพบญาติประจำปีครั้งหน้า

มีเรื่องราวมากมายอยู่ในหนังสือเล่มกะทัดรัดหนาราว 200 หน้า ทั้งเรื่องราวอันเข้มข้นโชกโชนที่ผ่านมาของเขา และโลกหลังกำแพงที่เขาได้เข้ามาพบและจำต้องอยู่ เป็นภาพและความเป็นอยู่ที่ถูกเล่าออกมาตามความเป็นจริง โดยผู้ที่สัมผัสอยู่ด้วยตัวเองโดยตรง เมื่อตีพิมพ์ออกมาจึงได้รับความสนใจจากคนผู้อย่างกว้างขวาง เป็นหนังสือขายดีที่สุดของสำนักพิมพ์สารคดีตั้งแต่ต้นปีมาจนบัดนี้

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วนอกจากจะได้เห็นบทเรียนชีวิตที่ผิดพลาดจากผู้เป็นเจ้าของเรื่อง (ผู้เขียน) โดยตรง ยังจะได้เห็นอีกว่า แม้ในยามที่ชีวิตใครแต่ละคนตกอยู่ท่ามกลางความมืดมนอับจนหนทางอย่างถึงที่สุด แต่เขาก็ยังเรียนรู้และพบสิ่งที่ดีๆ ได้ หากได้รับโอกาสให้กลับใจ และตัวเขาเองไม่ยอมสิ้นหวังทอดอาลัยในชีวิต

โดย.....วีรศักดิ์ จันทร์ส่งแสง

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >