หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 133 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 1997/2540 : จงให้อภัยและน้อมรับสันติ พิมพ์
Friday, 19 May 2006
สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 1997/2540
จงให้อภัยและน้อมรับสันติ
สารฉบับปี 1997 นี้ เป็นเสมือนการทบทวนเส้นทางของมนุษยชาติในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศีลธรรมและสมานฉันท์ในโลกมนุษย์

สารฉบับนี้บอกไว้ว่ากระบวนการสร้างสันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากทัศนคติแห่งการให้อภัยอย่างจริงใจ

เมื่อปราศจากซึ่งการให้อภัย บาดแผลก็ยังคงพุพองต่อไป ซึ่งจะเป็นการเติมเชื้อเพลิงลงในชนรุ่นหนุ่มสาวให้เกิดความขุ่นเคืองใจไม่สิ้นสุด ก่อให้เกิดความปรารถนาที่จะแก้แค้นและทำให้เกิดการทำลายล้างกันอีก การให้และรับการอภัย เป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการเดินทางไปสู่สันติภาพที่แท้จริงและถาวร

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 เรียกร้องให้ทุกคนแสวงหาสันติภาพโดยการให้อภัย เพราะการให้อภัยได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุผลแห่งความรัก ซึ่งพระเป็นเจ้ามีต่อมนุษย์ทั้งชายและหญิงทุกคน แต่ละประชาชาติ ประเทศและครอบครัว มนุษยชาติทั้งมวล

สารฉบับนี้บอกไว้ว่า “หากพระศาสนจักรมีความกล้าหาญที่จะป่าวประกาศสิ่งที่ดูเหมือนโง่เขลาในสายตาของมนุษย์ นั่นก็เป็นเพราะความเชื่อมั่นในความรักไม่สิ้นสุดของพระเป็นเจ้านั่นเอง”

การให้อภัยของพระเป็นเจ้า กลายเป็นบ่อเกิดแห่งการให้อภัยต่อความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่นอย่างไม่สิ้นสุดในหัวใจของเรา ช่วยให้เราดำเนินชีวิตร่วมกันฉันพี่น้องอย่างแท้จริง

สารฉบับนี้ระบุไว้ว่า โลกที่เต็มไปด้วยบาดแผลกำลังโหยหาการรักษาเยียวยา และถึงแม้ว่าโลกสมัยใหม่ จะได้ชื่อว่าเป็นโลกที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ มากมาย แต่ก็ยังคงมีร่องรอยของความขัดแย้งรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วย

ถึงแม้ยุคนี้ ความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทำให้คนเรือนล้านมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น ทำให้คนจำนวนมากเกิดความหวังเพิ่มขึ้น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ภาพของโลกปัจจุบัน ยังคงมีด้านไม่ดีอยู่หลายประการ ซึ่งรวมถึงลัทธิวัตถุนิยม และการดูแคลนชีวิตที่กำลังลุกลามเพิ่มขึ้นถึงขีดขั้นที่น่าเป็นห่วง ประชาชนจำนวนมากใช้ชีวิตของตน โดยไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งใด นอกจาก “กฎแห่งการทำกำไร เกียรติยศ และอำนาจ”

หลายคนจึงรู้สึกว่าตนต้องถูกจองจำอยู่ในความโดดเดี่ยวภายในอย่าลึกซึ้ง คนอื่นๆ ยังคงถูกกีดกันอย่างเปิดเผยเพราะเชื้อชาติ สัญชาติ และเพศ ความยากจนยังคงผลักดันมวลชนให้ออกไปอยู่ขอบของสังคม จนถึงกับต้องสิ้นชาติสูญพันธุ์เลยทีเดียว สำหรับคนอีกจำนวนมาก สงครามยังคงเป็นสถานการณ์จริงที่รุนแรงที่ปรากฏอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

สารฉบับปี 1997 เน้นอย่างชัดเจนว่า สังคมที่สนใจแต่เพียงวัตถุและสิ่งของที่ไม่จีรังยั่งยืน มีแนวโน้มที่จะกีดกันผู้ที่ไม่มีประโยชน์ต่อเป้าหมายของตนออกไป เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น ก็ก่อให้เกิดความโหดร้ายอย่างแท้จริงต่อมนุษย์ บางคนก็เลือกที่จะปิดตาตนเอง โดยไม่แยแสอะไรทั้งสิ้น

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อพี่น้องชายหญิงจำนวนมากของเราต้องทนทุกข์ทรมาน เราก็ไม่อาจจะนิ่งดูดายได้อีกต่อไป ความทุกข์ยากของพวกเขาส่งเสียงเรียกร้องมายังมโนธรรมของเรา

ดังนั้น เราทุกคนต้องพร้อมที่จะให้อภัยและร้องขอการให้อภัยด้วย

สารฉบับนี้ยังกล่าวไว้ว่า ขั้นตอนแรกที่จะนำไปสู่การคืนดีกัน คือต้องมีการยอมรับในความแตกต่างทั้งทางสังคม วัฒนธรรม และศาสนา ซึ่งการเคารพความแตกต่าง เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นโดยแท้จริงสำหรับความสัมพันธ์แท้จริงระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม

ส่วนการไม่ยอมรับความแตกต่าง จะนำไปสู่ความเปราะบาง และเป็นชนวนให้เกิดความรุนแรงตามมา

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ชี้ให้เห็นว่า ในยุคสมัยของเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีแห่งความหายนะ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องกระตุ้นประชาชาติ ประเทศและรัฐ ให้หลุดพ้นจาก “วัฒนธรรมแห่งสงคราม” และต้องพัฒนา “วัฒนธรรมแห่งสันติภาพ” อย่างเข้มข้น รวมทั้งดำเนินการขั้นตอนต่างๆ เพื่อหยุดยั้งการเติบโตของอุตสาหกรรมอาวุธและการค้าอาวุธ

สิ่งสำคัญก็คือคำพูดอย่างตรงไปตรงมาของสารฉบับนี้ บอกไว้ว่าศาสนาต่างๆ มีส่วนสำคัญ โดยการออกมาต่อต้านสงคราม และที่จะเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะติดตามมาด้วยความกล้าหาญ

และบอกอย่างชัดเจนว่า สันติภาพที่ถาวร มิใช่เพียงเรื่องของโครงสร้างและกลไกเท่านั้น เหนืออื่นใด ยังขึ้นอยู่กับการรับเอาวิถีแห่งการดำรงอยู่ด้วยกันของมนุษยชาติที่เปี่ยมไปด้วยการยอมรับซึ่งกันและกัน และความสามารถที่จะให้อภัยจากหัวใจ

เราทุกคนต้องการได้รับอภัยจากผู้อื่น เพื่อเราทุกคนจะได้พร้อมที่จะให้อภัย การขออภัยและการให้อภัย เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างลึกซึ้งสำหรับมนุษย์ และอาจเป็นทางออกเพียงทางเดียวสำหรับสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังรุนแรงที่มีมาช้านานแล้ว

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 สรุปสารฉบับนี้ โดยเรียกร้องให้เราแต่ละคนเป็น “เครื่องมือสำหรับสันติภาพและการคืนดีกัน”

และกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “ข้าพเจ้าขอส่งสารถึงพี่น้อง สังฆราชและสงฆ์ ขอให้เป็นกระจกเงาของความรัก ซึ่งเปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระเป็นเจ้า มิใช่แต่เพียงเฉพาะในชุมชนคริสตชนเท่านั้น แต่ต่อหน้าสังคมโลกด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ความขัดแย้งทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์กำลังระอุอยู่ แม้ว่าจะต้องยอมรับความทุกข์ทรมาน ก็จงอย่าให้ “ความเกลียดชัง” เข้ามาในหัวใจของท่าน แต่ให้ประกาศพระวรสารของพระคริสต์อย่างชื่นชมยินดี และกระจายการให้อภัยของพระเป็นเจ้าผ่านทางศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดีกัน

และสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ยังเรียกร้องบรรดาพ่อแม่ ครู เยาวชน ข้าราชการทั้งชายหญิง รวมถึงบรรดาผู้ที่ทำงานด้านสื่อมวลชน โดยด้านสื่อมวลชน ท่านกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ท่านที่ทำงานด้านสื่อมวลชน ข้าพเจ้าเรียกร้องท่านให้คำนึงถึงความรับผิดชอบใหญ่หลวงที่อาชีพของท่านต้องมีและจะต้องไม่เป็นผู้ส่งเสริมข่าวสารที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง ความรุนแรง และความเท็จ ขอให้ระลึกเสมอว่า เครื่องมืออันทรงพลังแห่งการสื่อสารต้องมุ่งที่จะรับใช้มนุษย์”

และสำหรับผู้มีน้ำใจดีทุกท่าน ที่ขวนขวายทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อสร้างอารยธรรมใหม่แห่งความรัก สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 สรุปลงท้ายไว้ในสารฉบับปี 1997 นี้ว่า “จงให้อภัย และน้อมรับสันติ”

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >