หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 56 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 1996/2539 : ให้เรามอบอนาคตที่เปี่ยมด้วยสันติแก่เด็กๆ พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 1996/2539
ให้เรามอบอนาคตที่เปี่ยมด้วยสันติแก่เด็กๆ

“ให้เรามอบอนาคตที่เปี่ยมด้วยสันติแก่เด็กๆ”
นี่เป็นคำร้องขออย่างเชื่อมั่น ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ระบุไว้ และพระองค์เชื้อเชิญทุกๆ คนให้ช่วยเหลือเด็กให้เติบโตขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมแห่งสันติภาพที่แท้จริง ซึ่งเป็นสิทธิของพวกเขา และเป็นหน้าที่ของเราทุกคน

ในช่วงเวลานั้น เด็กจำนวนมากมายตกเป็นเหยื่อของสงคราม เด็กเรือนล้านได้รับบาดเจ็บหรือถูกสังหารอันเป็นการล้างผลาญชีวิตอย่างแท้จริง

สารฉบับนี้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “กฎหมายระหว่างประเทศที่ปกป้องเด็กเป็นพิเศษ มักจะถูกเพิกเฉยอย่างแพร่หลาย เด็กๆ ยังต้องตกเป็นเป้าของการลอบสังหาร โรงเรียนของพวกเขาถูกทำลายอย่างจงใจ และโรงพยาบาลที่พวกเขากำลังรับการรักษาต้องถูกระเบิดทำลาย เราจะไม่ประณามสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร การฆ่าเด็กอย่างจงใจเป็นสัญญาณที่น่าสลดใจถึงการสูญสิ้นต่อความเคารพในชีวิตมนุษย์”

นอกจากเด็กที่ถูกสังหารแล้ว สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ยังคิดถึงเด็กที่พิการไปในระหว่างที่เกิดความขัดแย้งหรือหลังความขัดแย้งด้วย พระองค์ทรงคิดถึงเยาวชนที่ถูกไล่ล่า ถูกข่มขืน หรือสังหารอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาที่เรียกว่า “การล้างเผ่าพันธุ์”

สารฉบับนี้บอกว่า เด็กๆ มิเพียงแต่เป็นเหยื่อความรุนแรงของสงครามเท่านั้น แต่พวกเขาจำนวนมากยังถูกบีบบังคับให้เข้าร่วมในความรุนแรงเหล่านี้ด้วย บางประเทศถึงกับบังคับเยาวชนที่ยังเป็นเด็กชายและหญิงตัวเล็กๆ ให้เป็นทหารเข้าสู่สงคราม พวกเด็กๆ ถูกหลอกลวงว่าจะได้รับอาหารและการศึกษา แต่เด็กๆ กลับถูกกักกันอยู่ในค่ายที่อยู่ห่างไกล เด็กๆ ต้องทนทุกข์ทรมานจากความหิวโหย ถูกล่วงละเมิด และถูกส่งเสริม “ให้ฆ่าแม้แต่คนที่มาจากหมู่บ้านเดียวกัน” และบ่อยครั้งที่เด็กและเยาวชนจำนวนมากถูกส่งไปแนวหน้าเพื่อทำลายกับระเบิดในสนามรบ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าชีวิตของเด็กๆ มีค่าเพียงเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ใช้พวกเขาด้วยวิธีการดังกล่าว

อนาคตของเยาวชนที่ถืออาวุธมักจะตกอยู่ในอันตราย หลังจากเป็นทหารหลายปี บางคนถูกปลดและส่งกลับบ้าน หลายคนไม่สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตพลเรือน และอีกหลายคนรู้สึกละอายใจที่มีชีวิตรอดในขณะที่เพื่อนๆ ต้องเสียชีวิตไป ขึงมักจะกลายเป็นอาชญากรหรือผู้ติดยาเสพติด ฝันร้ายเหล่านี้ยังคงตามหลอกหลอนพวกเขาต่อไปอีก และสมองของพวกเขาจะสามารถลบล้างความทรงจำเกี่ยวกับความรุนแรงและความตายได้หรือ?

สารฉบับนี้ ห่วงใยบรรดาเด็กๆ เรือนล้าน ซึ่งถูกสังหารและระลึกถึงใบหน้าเศร้าๆ ของเด็กอื่นๆ อีกจำนวนมากที่กำลังทุกข์ทน และเป็นพลังผลักดันให้ “ผู้ใหญ่” ดำเนินมาตรการทุกอย่างที่เป็นไปได้ เพื่อปกป้องหรือสร้างสันติภาพ ขจัดสงครามและความขัดแย้งต่างๆ ให้หมดสิ้นไป

นอกจากสารฉบับนี้จะเป็นห่วงเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของสงครามแล้ว และยังเป็นห่วงเด็กที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ด้วย โดยระบุว่าเด็กเรือนล้านต้องทนทุกข์ทรมานจากความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ ที่ดำรงอยู่ทั้งในสังคมยากจน และสังคมที่พัฒนาแล้ว ความรุนแรงเหล่านี้มักจะไม่ค่อยเด่นชัดนัก แต่มีความน่าหวาดหวั่นไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เช่น ในบางประเทศ เด็กๆ ถูกบังคับให้ทำงานในวัยเยาว์ และมักจะได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี พวกเขาถูกลงโทษอย่างรุนแรง และได้รับค่าจ้างที่ต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ

เด็กหลายคนถูกซื้อขาย เพื่อให้เป็นขอทานหรือแม้กระทั่งถูกบังคับให้เป็นหญิงบริการ ดังเช่นกรณีที่เรียกว่า “การท่องเที่ยวเพื่อเพศสัมพันธ์”

สารฉบับนี้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “ธุรกิจอันแสนน่ารังเกียจนี้ ไม่เพียงแต่ลดคุณค่าผู้ที่มีส่วนในธุรกิจนี้เท่านั้น แต่ยังลดคุณค่าผู้ที่ส่งเสริมธุรกิจนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วย บางคนไม่ลังเลใจที่จะให้เด็กๆ เข้าร่วมในอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายยาเสพติด ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้พวกเด็กต้องเสี่ยงต่อการติดยาด้วย

เด็กจำนวนมากจึงต้องจบลงด้วยการยึดข้างถนนเป็นบ้าน ถูกครอบครัวทอดทิ้ง และคนจำนวนมากต่างมองพวกเขาว่าเป็น “ขยะสังคม” ซึ่งต้องกำจัดเสีย

สารฉบับนี้ยังระบุอีกว่า “เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ความรุนแรงต่อเด็กๆ สามารถพบได้แม้แต่ในครอบครัวที่มั่งคั่งสมบูรณ์ เด็กจำนวนมากยังถูกบังคับให้ต้องทนความเจ็บปวดที่เกิดจากการทะเลาะเบาะแว้งของพ่อแม่ หรือจากการที่ครอบครัวแตกแยก บางครั้งในครอบครัวที่มั่งคั่งสมบูรณ์ เด็กๆ กลับเติบโตขึ้นมาในสภาพที่โดดเดี่ยวอันน่าเศร้าสลด ปราศจากการแนะนำด้วยความรักอันมั่นคง และขาดการอบรมทางศีลธรรมที่เหมาะสม เมื่อถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง เด็กๆ มักจะเรียนรู้ความเป็นจริงจากรายการโทรทัศน์ ซึ่งบ่อยครั้งมักจะนำเสนอรายการที่ไม่จริงและไม่ถูกต้องตามศีลธรรม

แม้สารฉบับนี้จะเน้นถึงสภาพความโหดร้ายที่เด็กจำนวนมากกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวไว้ว่า “นี่เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะชี้ให้เห็น แต่ข้าพเจ้ามิได้มีความตั้งใจที่จะยอมต่อความคิดในแง่ร้าย หรือเพิกเฉยต่อเครื่องหมายแห่งความหวัง”

พระองค์ยังทรงเต็มเปี่ยมด้วยพลังที่จะส่งเสริมและใช้ความพยายามให้เด็กๆ ได้รับความรักอย่างเหมาะสม เพราะเด็กเป็นผู้สร้าง “สันติภาพ” เป็นผู้สร้างโลกแห่งภราดรภาพและสมานฉันท์ ซึ่งเด็กๆ ควรได้รับโอกาสเพื่อการเติบโตอย่างเหมาะสม โดยการปรับให้เข้ากับความต้องการของแต่ละคน

สารฉบับนี้กล่าวไว้ว่า เด็กๆ มิใช่ภาระของสังคม พวกเขามิใช่เครื่องมือสำหรับการแสวงหากำไร หรือเป็นผู้ไม่มีสิทธิ เด็กๆ เป็นสมาชิกที่มีค่าของครอบครัวมนุษยชาติ เพราะพวกเขาเป็นความหวัง และเป็นศักยภาพของครอบครัวมนุษยชาติ

ในตอนท้ายของสารฉบับนี้กล่าวไว้ว่า คำสอนแห่งคริสตศาสนาอันลึกซึ้งคือ “การกลับเป็นเด็ก” มีจิตใจเรียบง่ายแบบเด็ก ซึ่งสำคัญมากกว่าข้อเรียกร้องธรรมดาทางศีลธรรม

ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงสั่งให้สานุศิษย์ของพระองค์ทำตัวเป็น “เด็ก” อีกครั้งหนึ่ง และพระองค์ทรงเปลี่ยนวิธีคิดของสานุศิษย์ให้รู้ว่า ผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้วิถีทางของพระเจ้าจากเด็กๆ

และในย่อหน้าสุดท้ายของสารฉบับนี้ระบุไว้ว่า “ให้เราทุกคนรวมพลังต่อสู้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และเอาชนะสงคราม ให้เราสร้างเงื่อนไขที่ให้หลักประกันว่าเด็กๆ สามารถรับโลกที่เป็นหนึ่งเดียว และมีความเป็นพี่น้องกันมากขึ้น อันเป็นเสมือนมรดกจากชนรุ่นหลังของเรา”

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >