หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow 'ไฟใต้-การเมือง' เยียวยาเรื่องบรรทัดเดียวกัน : ดาวเรือง รัตนะ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 237 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

'ไฟใต้-การเมือง' เยียวยาเรื่องบรรทัดเดียวกัน : ดาวเรือง รัตนะ พิมพ์
Wednesday, 08 February 2012
'ไฟใต้-การเมือง' เยียวยาเรื่องบรรทัดเดียวกัน

โดย : ดาวเรือง รัตนะ


มีแต่ "ความเป็นธรรม" เท่านั้น จะช่วยลดเชื้อไฟของจังหวัดชายแดนภาคใต้มิให้โหมกระพือลุกลามรุนแรงไปกว่านี้

ข่าวคราวการเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อและผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง หรือความขัดแย้งทางการเมือง ตามที่คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ทำให้เกิดเสียงดังเซ็งแซ่มาจากชายแดนภาคใต้ ถึงการเยียวผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงต่อเนื่องมากกว่า 8 ปี สมควรจะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐเช่นเดียวกันกับผู้ได้รับผลจากปัญหาทางการเมืองด้วยหรือไม่?

บาดแผลต้องเยียวยา

เพราะหลายปีแล้ว เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ขอบปลายขวานได้คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่มากมายนับไม่ถ้วน และยังไม่นับรวมจำนวนผู้บาดเจ็บที่ต้องก้มหน้าดำเนินชีวิตอยู่กับร่องรอยบาดแผลแห่งความรุนแรงต่อไป จนกว่าจะสิ้นลมหายใจ

อังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ และคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า สิ่งที่สังคมเคลือบแคลงใจกรณีมาตรการการเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อ และผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมืองที่ออกมานั้น พิจารณาจากหลักเกณฑ์อะไร อย่างไร? โดยเฉพาะจำนวนตัวเลขเงินเยียวยานั้นเอามาจากไหน? แล้วเหตุใดถึงได้แตกต่างกันกับหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยากลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เนื่องจากวันนี้รัฐยังตอบที่มาที่ไปของมาตรฐานการเยียวยาดังกล่าวไม่ชัดเจน หากยึดตามมาตรฐานการเยียวยาตามหลักสากล ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะโดยส่วนตัวได้พยายามผลักดันในประเด็นการเยียวยาให้ยึดตามหลักสากลที่ต่างประเทศมีการใช้กันอย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพที่ดี แต่เนื่องจากประเทศไทยยังไม่เคยมีการนำมาใช้อย่างมีรูปแบบชัดเจนมาก่อน แต่จู่ๆ จะถูกนำมาใช้กรณีการชุมนุมทางการเมืองซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่ดี แต่รัฐบาลต้องตอบคำถามเบื้องต้นให้ได้ก่อนว่า ยึดจากหลักอะไร และจะครอบคลุมไปยังกลุ่มใดบ้าง

อังคณา กล่าวด้วยว่า ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน ซึ่งมีหน้าที่ในการสำรวจ ตรวจสอบข้อเท็จจริง จัดทำฐานข้อมูล หรือศูนย์กลางข้อมูลความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบ สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2547 รวมทั้งความต้องการความช่วยเหลือเยียวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือตามหลักสากล เพื่อให้การดำเนินงานในการเร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม ทำให้รู้สึกกดดันอย่างมากที่ต้องแบกรับปัญหาและความคาดหวังจากประชาชนในพื้นที่ ผนวกกับกระแสสังคมที่ออกมาช่วงเวลานี้ ทำให้ต้องขบคิดอย่างหนัก

"มติการการเยียวยาฯของปคอป.ที่ออกมา ทำให้รู้สึกกดดันมาก หลังจากที่มีผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ชายแดนใต้ สอบถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ส่วนตัวเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ต้องยอมรับว่าอึดอัดและกดดันอย่างมาก ซึ่งหลังจากนี้อาจต้องสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ถึงที่มาที่ไปของมาตรการเยียวยาดังกล่าว" อังคณา เผยความในใจ

น้ำตาเหยื่อไฟใต้ไม่เคยเหือดแห้ง

อ้อยใจ ศรีสุวรรณ ประธานหมู่บ้านรอตันบาตู โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านรอตันบาตู ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ผู้ซึ่งสูญเสียสามี คือ ด.ต.สฤษดิ์ รังกระติบ หน่วยปฎิบัติการกู้ระเบิดและถูกระเบิดเสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2547 ที่ จ.ปัตตานี กล่าวถึงเรื่องเดียวกันนี้ว่า การสูญเสียบุคคลที่เรารักจากเหตุความรุนแรง ไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือความรุนแรงทางการเมืองก็ตาม แต่สุดท้ายคำตอบที่เหมือนกันคือ การสูญเสียที่สร้างความเจ็บปวดเช่นเดียวกัน ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสีย จึงน่าจะเป็นไปในลักษณะเหมือนกัน และที่สำคัญต้องเท่าเทียมกันทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นการเยียวยาจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว ยิ่งต้องสร้างบรรดทัดฐานให้เหมือนกัน

"เป็นเรื่องที่ไม่เห็นด้วย กรณีการเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี 2549 โดยผู้เสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาประมาณรายละ 4 -7.75 ล้านบาท และยังชดเชยรวมไปถึงผู้ที่ถูกจับกุมและคุมขังด้วย ซึ่งดูเหมือนว่าจะค่อนข้างแตกต่างไปจากกลุ่มผู้สูญเสียในพื้นที่ชายแดนภาคใต้" สตรีใจแกร่ง กล่าว

อ้อยใจ ยังกล่าวว่า จากที่ได้รับฟังข้อมูลเบื้องต้นแล้วรู้สึกเจ็บแปลบเหมือนกัน เนื่องจากสิ่งที่รัฐบาลออกมาตรการเยียวยานั้นแตกต่างกันกับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องร่วมเผชิญปัญหาความรุนแรงมานานกว่า 8 ปี และที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 5,243 ราย บาดเจ็บอีก 8,941 ราย (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2554) ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่เสียชีวิตล้วนจัดอยู่ในกลุ่มคนผู้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น รวมถึงเป็นแกนนำหลักของครอบครัว และถ้ามองลึกไปกว่านั้น คนใน 3 จังหวัดต้องจากไปโดยไม่รู้ตัว ขณะที่การชุมชุมทางการเมืองนั้น มีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่ต้องการเรียกร้องและเผชิญหน้ากับปัญหาซึ่งนั่นหมายถึงอาจต้องเจอกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงด้วยเช่นกัน

"การเสียชีวิตของเหตุความรุนแรงทางการเมือง มีเป้าประสงค์ในการเผชิญหน้าทุกกรณี เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่เชื่อว่าถูกต้อง ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุใดๆ ขึ้น เชื่อว่าพร้อมที่จะรับมือ แตกต่างจากชีวิตผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง เสียชีวิตทั้งๆ ที่ทำมาหากิน ,ช่วงเดินทาง หรือแม้แต่ขณะสอนหนังสือ อีกทั้งผู้ที่เสียชีวิต ล้วนเป็นเสาหลักของครอบครัวทั้งสิ้น"

เหยื่อตากใบ แผล(ในใจ)ไม่ตกสะเก็ด

ภาพของสาวใหญ่วัย 51 ปีในชุดเสื้อและผ้าถุงสีหม่นพร้อมผ้าคลุมผมผืนเก่าๆ ที่กำลังง่วนอยู่กับเอกสารปึกใหญ่ที่ใครต่อใครใน ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ เห็นจนชินตา และต่างพากันเรียกขานเธอกันติดปากว่า "ก๊ะนะ" วิถีชีวิตของ แยนะ สะแลแม หรือ"ก๊ะนะ" ต้องแตกต่างไปจากหญิงสาวมุสลิมในอื่นๆ ในพื้นที่อย่างสิ้นเชิง นับแต่เกิดเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ ในปี 2547 จากเดิมที่เคยยึดอาชีพทำนา และรับเย็บผ้าเป็นงานหลักเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง และครอบครัว

ปฐมบทแห่งการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของหญิงสาวมุสลิมคนนี้ถูกบันทึกไว้ในความทรงมิรู้ลืม เกิดขึ้นในวันที่ 25ตุลาคม 2547 โดยมีสาเหตุมาจากการชุมนุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้แก่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จำนวน 6 คน ของบ้านโคกกูเว หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมดำเนินคดีในความผิดฐานแจ้งความเท็จและยักยอกทรัพย์ของทางราชการ ขณะที่ ชรบ. ทั้ง 6 คน เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ว่าถูกปล้นปืน กระทั่งนำไปสู่การสลายการชุมนุม "เหตุการณ์ตากใบ" ในครั้งนั้น ได้กลายเป็นบาดแผลฉกรรจ์ร่องรอยหนึ่งสำหรับรัฐบาลต่อการพลั้งพลาดแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาจวบจนทุกวันนี้ เฉกเช่นเดียวกับ "แยนะ" เพราะนี่คือจุดเปลี่ยนที่เจ้าตัวไม่คาดคิดมาก่อนว่า จะต้องเผชิญและกลายเป็นการพลิกวิถีชีวิตหญิงมุสลิมชาวไร่ที่มีดีกรีการศึกษาเพียงแค่ชั้น ป.4 ไปโดยปริยาย

การสลายการชุมนุมครั้งนั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันทีในที่ชุมนุม 7คน และเสียชีวิตจากการขนย้ายผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวจากหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารจังหวัดปัตตานี 78 คน โดยบุตรชายของ "แยนะ"เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกควบคุมตัวไปยังค่ายทหาร จนได้รับบาดเจ็บ ต่อมาก็ได้กลายเป็นหนึ่งในชาวตากใบ ซึ่งถูกทางการดำเนินคดี แต่สิ่งที่เธอคาใจ คือเหตุใดจึงไม่มีการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งใช้วิธีรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุมและการขนส่งผู้ชุมนุมจนทำให้มีผู้เสียชีวิต และด้วยเหตุนี้ เธอจึงลุกขึ้นเพื่อถามหา"ความจริง"เพื่อคลายปมสงสัยที่อยู่ในความรู้สึก

"ในฐานะที่ต่อสู้และเรียกร้องการช่วยเหลือเยียวยาทั้งของตัวเองและชาวบ้านที่ต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกันมาโดยตลอด รู้สึกเจ็บปวดเมื่อได้รับรู้ข้อมูลการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่รัฐบาลจะเยียวยาสูงถึง 7.5 ล้านบาท ซึ่งแตกต่างกันมากกับมาตรฐานการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้"

แยนะ เชื่อว่า ตราบใดที่รัฐยังไม่สามารถขจัดม่านแห่งความรู้สึกในด้านลบระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านได้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความเป็นธรรม ตราบนั้นการสร้างสันติสุขอย่างยั่งคืนกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเป็นเรื่องยาก เพราะกลไกอำนาจรัฐกับมวลชนยังไม่สามารถรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้นั่นเอง ฉะนั้น ช่องว่างหรือรอยปริแยกเหล่านี้จะกลายเป็นรอยร้าวสร้างปัญหาใหม่ได้ในอนาคต

ทุกคนเจ็บเหมือนกัน

ฮัอหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการ และอดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) สะท้อนความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันนี้ว่า กรณีคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.เสนอครม.กรณีเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง หรือความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งมีหลายประเด็นที่สร้างความแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน ในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นบทบาทและหน้าที่ของรัฐบาล ตลอดจนนักการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้ละเลยและขาดความใส่ใจในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสิ้นเชิง

"การเยียวยาที่ดีที่สุด คือ การพูดความจริงและช่วยเหลืออย่างยุติธรรม ซึ่งแตกต่างกับมาตรการล่าสุดของรัฐที่ปรากฎ ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านในพื้นที่แม้แต่น้อย ซึ่งแนวคิดดังกล่าว ไม่ได้เป็นเพียงแค่การช่วยเหลือที่ 2 มาตรฐานเท่านั้นแต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของรัฐที่ขาดการใส่ใจปัญหาชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง"

นอกจากนี้แล้ว มาตรการดังกล่าวยังมีส่วนทำให้กระทบต่อมุมมองและภาพลักษณ์ของศอ.บต.ที่รัฐบาลได้มอบหมายภารกิจนี้ให้แก่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต.เข้ามาดูแลและเดินหน้าเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมชายแดนภาคใต้ แต่การกระทำที่ปรากฏในวันนี้ กลับปฎิบัติสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง

เส้นทางสันติภาพที่รออยู่ปลายอุโมงค์อาจไม่ไกลเกินรอ หากรัฐเข้าใจและสามารถดับไฟแห่งความรู้สึกที่มีต่อความอยุติธรรมที่สุมอยู่ในความรู้สึกของคนปลายด้ามขวานลงได้ในเร็ววัน.

 

----------------------

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >