หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ชีวิตกับความทุกข์ : แขนง
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 58 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ชีวิตกับความทุกข์ : แขนง พิมพ์
Wednesday, 18 January 2012
ชีวิตกับความทุกข์

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 16 ตุลาคม 2554

 


เช้าที่แดดอ่อน พอให้นั่งจิบกาแฟได้ ผมปิดหน้าหนังสือเก่า "คืนวันที่ผันผ่าน" ของอาจารย์สมภาร พรมทา ที่เพิ่งได้มาเมื่อวานจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีบทหนึ่งที่ผมอยากจะอ่านให้ฟัง เป็นบทกวีที่มีชื่อว่า ชีวิตกับความสุข

....ชีวิตคนต่างไขว่คว้า หาความสุข
ต่างเกลียดกลัวความทุกข์ที่ถาโถม
แต่น้อยนักจะปลอดทุกข์ที่จู่โจม
จึงน้ำตาอาบชโลมในดวงตา....

ชีวิตของคนเรา มีทั้งความสุขและความทุกข์ปะปนกันไป หากเอาตาชั่งสองแขนแบบโบราณมาชั่งวัด ให้ข้างหนึ่งเป็นความสุข ส่วนอีกข้างนั้นเป็นความทุกข์ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าอันไหนมากหรือน้อยกว่ากัน เพราะความสุขกับความทุกข์นั้นขึ้นอยู่กับบางช่วงของชีวิต ถ้าเปรียบกับช่วงสถานการณ์บ้านเมืองในตอนนี้ ความทุกข์ยากอาจจะท่วมท้นด้วยน้ำที่ท่วมหนักกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ตาชั่งฝั่งความสุขอาจจะดีดตัวลอยคว้างอยู่กลางอากาศ ขณะที่อีกฝั่งหล่นตุ้บลงติดพื้นด้วยน้ำหนักของความทุกข์ที่มากกว่า

ผมนึกถึงเรื่องเล่าชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นชีวิตที่มีแต่ความทุกข์ตั้งแต่ครั้งยังสาวๆพอหลังจากที่แต่งงานมีสามี มีลูกและใช้ชีวิตทำมาหากินอย่างสัมมาอาชีพ ชีวิตก็ดูจะมีความสุขดีในตอนเริ่มต้น แต่ต่อมาเคราะห์ร้ายสามีเกิดอุบัติเหตุทำให้ร่างกายพิกลพิการทำงานไม่ไหว แม้แต่จะช่วยเหลือตัวเองยังไม่ได้ ต้องเป็นภาระหลักที่แกจะต้องคอยดูแลสามีและลูกๆอีกหกคนตามลำพัง ฝ่ายสามีเห็นภรรยาต้องมาพลอยลำบากทำงานหนัก เพื่อดูแลตัวเองและครอบครัว จึงเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในตัวเอง คิดอยากฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้งจนภรรยาต้องมาคอยปลอบให้กำลังใจ ไม่ให้สามีคิดฆ่าตัวตายอีก โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะอยู่ดูแลกันจนกว่าจะตายจากกันไป ถึงแม้จะต้องทุกข์ยากลำบากสักเพียงไหนก็ตาม

 

ชีวิตของผู้หญิงคนนี้มีแต่ความทุกข์เต็มไปหมด ความหวังของแกตอนนั้นคือไปพึ่งหมอดู หวังว่าหมอดูจะทำนายทายทักให้ว่าเมื่อไหร่ความทุกข์มันหดหายไปเสียที หมอดูได้ตรวจโชคชะตาของแกและบอกว่าปีหน้าจะดีขึ้น เพียงเท่านั้นความหวังจากหมอดูทำให้แกกลับมามุ่งมั่นทำงาน ส่งเสียลูกเต้าให้ได้เล่าเรียนและดูแลรักษาสามีทั้งกายและใจ แต่ความทุกข์มันก็ยังรุมเร้าอยู่ไม่ขาดหาย มันทั้งเหนื่อยแสนเหนื่อยและบางครั้งก็เศร้าใจอาลัยหมดหวังขึ้นมาอีก และเธอก็กลับไปหาหมอดูคนเดิมและไปอย่างนั้นทุกๆปี สิ่งที่แกได้กลับมาก็เพียงแค่บอกว่าปีหน้าจะดีขึ้น ปีต่อๆมาแกก็เห็นว่าชีวิตมันก็ดีขึ้นจริงๆ แต่ดีขึ้นน้อยมาก เป็นอยู่อย่างนั้นหลายปี เมื่อเวลาผ่านไปชีวิตของแกก็ดีขึ้นเรื่อยๆจนมีเงินเก็บและดูแลลูกเต้าให้เล่าเรียนจนจบ มีครอบมีครัวและแยกย้ายกันไปทำมาหากินส่งเงินทองมาเกื้อหนุนแกบ้าง ทำให้แกไม่ต้องทำงานหนักอีกต่อไป หลังจากที่ผ่านช่วงทุกข์ยากเหล่านั้นมาแล้ว แกตัดสินใจไปเรียนวิชาหมอดูด้วยความอยากจะช่วยเหลือคนอื่น พอร่ำเรียนวิชาการดูดวงสำเร็จแล้ว แกก็ได้สำรวจตรวจดูดวงชะตาของตัวเองย้อนหลัง ว่าช่วงที่แกมีความทุกข์อยู่หลายปีนั้น ดวงแกเป็นอย่างไร ปรากฏว่าดวงชะตาแกตกตั้งยี่สิบปี หมอดูคนนั้นไม่ได้บอกความจริงกับแกทั้งหมดคือทยอยบอกทีละปีว่าชีวิตจะดีขึ้น ถึงแม้จะเพียงเล็กน้อยแต่มันก็ดีขึ้นจริงๆ และแกก็มีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อมาเรื่อยๆ แกนึกขอบคุณหมอดูคนนั้น ถ้าหากหมอดูบอกตั้งแต่ตอนแรกว่าดวงแกตกยี่สิบปี แกก็คงคิดฆ่าตัวตายเหมือนกับสามีไปแล้วตั้งแต่ตอนนั้น

ตอนได้ฟังเรื่องนี้แล้วผมก็ได้ครุ่นคิดและทำให้ได้แง่คิดสำคัญจากเรื่องราวของผู้หญิงคนนั้น และเอามาใช้กับชีวิตของตัวเองอยู่ตลอดว่าความทุกข์ที่ผ่านเข้ามาเดี๋ยวมันก็จะผ่านไป และบ่อยๆครั้งที่เจอเรื่องราวในชีวิต เราคิดเสมอว่า มันไม่อยู่กับเราไปตลอดหรอก เดี๋ยววันหนึ่งมันก็จะผ่านไป ทำให้เราไม่จมจ่อมอยู่กับความทุกข์ ทำให้เรามีความหวัง ให้เรารู้สึกว่าสิ่งต่างๆที่เป็นอุปสรรคมันจะเข้ามาเป็นแบบฝึกหัดให้เราชั่วคราว เดี๋ยวมันก็จะหายไป

โดย.....แขนง

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >