หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน arrow ค่ายสิทธิมนุษยชนเยาวชนเขตวัดแม่สรวย "ร่วมกันอย่างสันติ"
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 56 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ค่ายสิทธิมนุษยชนเยาวชนเขตวัดแม่สรวย "ร่วมกันอย่างสันติ" พิมพ์
Wednesday, 16 November 2011
 
 
ค่ายสิทธิมนุษยชน เยาวชนเขตวัดแม่สรวย

..."ร่วมกันอย่างสันติ"...

ระหว่างวันที่ 18 - 20 ตุลาคม 2554

ณ ศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า (แม่สรวย) จ.เชียงราย

จากภาพข่าวเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ ทำให้ทีมงาน ยส. หวั่นใจลึกๆ ในการเดินทางไปจัดค่ายที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย หลังจากได้รับการยืนยันจากบริษัทรถทัวร์ จนมั่นใจว่า การเดินทางจะไปถึงเป้าหมายอย่างปลอดภัย ด้วยระยะเวลาเดินทางยาวขึ้นกว่าปกติประมาณ 3 ชั่วโมง ค่ายครั้งนี้จึงไม่มีล่มไปกับกระแสน้ำแน่ๆ

เราออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เที่ยวรถสองทุ่มครึ่ง ถึง อ.แม่สรวย ประมาณเก้าโมงกว่าๆ พี่หล่อติ๊ กับรถสองแถวคู่ใจจากศูนย์ฯ มารอรับพวกเราอยู่แล้วพร้อมกับละอองฝน นั่งรถกันต่อไปซักประมาณยี่สิบกิโลกว่าๆ ก็ถึงจุดหมายปลายทางของเรา คือ ศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า (แม่สรวย) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะปีเม (P.I.M.E.) เมื่อลงจากรถ ก็พบกับอากาศที่สดชื่นแบบที่หาไม่ได้แน่ๆ ในเมืองหลวง คุณพ่อราฟาเอล ปาเวซี รอรับพวกเราอยู่อย่างอบอุ่น เมื่อเก็บของล้างหน้าล้างตาเรียบร้อย ก็มาพบกับเยาวชนประมาณ 36 คน หลังจากปฐมนิเทศและแนะนำตัวกันเสร็จก็เข้าสู่กิจกรรมต่างๆ

บ่ายแรกกับกิจกรรมแรกที่เรียนรู้กันคือ ศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์ เริ่มด้วย แนวคิดเรื่องคน โดยพี่อัจฉรา ขอให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมายืนด้านหน้ากลุ่มละ 1 คน และขอให้เพื่อนๆ ช่วยกันบอกลักษณะของเพื่อนทั้ง 8 คนว่า มีอะไรที่แตกต่างกัน และเหมือนกันบ้าง ซึ่งน้องๆ ก็ได้ช่วยกันตอบอย่างหลากหลาย เช่น เพศ อายุ รูปร่างหน้าตา สีผิว ส่วนสูง บุคลิกภาพ การแต่งกาย การศึกษา ภาษา ศาสนา และชาติพันธุ์ โดยพี่อัจได้ชี้ให้เห็นว่าคนแต่ละคนมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันมากมาย และก็ทิ้งท้ายไว้แค่นี้ก่อน จากนั้นก็ให้ทำกิจกรรม กล้วยของฉันหายไปไหน โดยให้น้องๆ เลือกกล้วยคนละ 1 ลูก ดูลักษณะรูปร่างเปลือกของกล้วยที่อยู่ในมือของแต่ละคน ให้จดจำกล้วยของตัวเองว่ามีรูปร่างอย่างไร จะเห็นว่า คนที่จำกล้วยของตัวเองได้เพราะจำตำหนิที่เปลือกของกล้วยที่ชัดเจน จนมาถึงรอบที่ต้องปอกเปลือกกล้วยออกเอามารวมกันแล้วทำการเลือกเอากล้วยของแต่ละคนคืนมา พบว่า การเลือกกล้วยของตัวเองที่ปอกเปลือกออกแล้วนั้นยากมากขึ้น นำไปสู่การอธิบายเรื่องสิทธิมนุษยชนว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมามีสภาพภายนอกที่แตกต่างกัน และสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกันนั้นล้วนมาจากสภาพสังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นตัวกำหนด เปรียบเหมือนรอยตำหนิที่เปลือกของกล้วย แต่เมื่อดูเนื้อในของกล้วยกลับมีลักษณะที่เหมือนกัน เช่น มีสีขาว มีกลิ่นหอม ฯลฯ ที่เหมือนกัน เช่นเดียวกับความเป็นมนุษย์ แม้มีร่างกายสภาพภายนอกที่ไม่เหมือนกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้วมนุษย์ทุกคนมีคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน ฉะนั้นควรปฏิบัติต่อกันและกันให้สมกับที่เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา

กิจกรรม ความจำเป็น หรือ ความต้องการ ทำให้เราได้พิจารณาแยกแยะว่า อะไรคือ ความจำเป็นที่สุดต่อการมีชีวิตรอดของมนุษย์ และอะไรเป็นเพียงความต้องการเท่านั้น ช่วยให้เราเข้าใจว่า มนุษย์ทุกคนจะมีชีวิตรอดและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นั้น สิ่งสำคัญคือ การได้รับสิทธิในความเป็นมนุษย์ เช่น ปัจจัยสี่ และจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาการทางด้านร่างกาย รวมทั้งสิ่งจำเป็นอื่นๆ เพื่อให้สามารถมีชีวิตและเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ และการได้รับการยอมรับในสังคมสมกับความที่เกิดมาเป็นมนุษย์นั่นเอง


กิจกรรมต่อมาคือ ฐาน เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน (Human Right walk Rally) ซึ่งกิจกรรมแต่ละฐาน พวกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ เช่น ฐานภาพลวงตา แต่ละกลุ่มช่วยกันหากระดาษตัวอักษรที่มีสีโดดเด่นต่างกัน ขนาดคำยาวสั้นไม่เท่ากัน ซึ่งถูกซ่อนไว้ตามพื้น ตามโต๊ะ ตามเก้าอี้ หรือสนามหญ้า สีในกิจกรรมนี้ จะเป็นตัวบอกถึงความไม่ยุติธรรม ความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งคนทั่วไปจะสนใจแค่จุดที่มองเห็นเด่นชัด เช่น สถานะทางสังคม โอกาสทางการศึกษา สถานะทางเศรษฐกิจ หรือฐานะทางชาติพันธุ์ เพศ เชื้อชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ฐานเรือมนุษย์ ได้เรียนรู้ว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์เสมอเหมือนกัน มนุษย์ทุกคนต้องการมีชีวิตรอดเช่นเดียวกัน ในฐานะที่เป็นมนุษย์ย่อมสมควรที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ก้าวพ้นจากความเป็นสัญชาติ เชื้อชาติ สีผิว ผู้ติดเชื้อ HIV ฯลฯ ฐานบันไดชีวิต... สิทธิของฉัน เป็นการเรียนรู้สิทธิด้านต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สิทธิในการดำรงชีวิต ปัจจัยสี่ สิทธิในด้านการศึกษา สิทธิในการทำงาน สิทธิในเรื่องสุขภาพ สิทธิทางการเมือง ฯลฯ ฐานช่องว่างระหว่างชนชั้น เรียนรู้เรื่องความไม่เท่าเทียมกัน และความแตกต่างทางสถานะของคนในสังคม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเข้าถึงโอกาสที่ไม่เท่ากัน จึงเกิดช่องว่างที่ถ่างห่างออกจากกันมากขึ้น ทำให้เราเห็นถึงแนวทางในการช่วยเหลือกันและกัน เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำว่าจะทำได้อย่างไรบ้าง ฐานสีแห่งความสามัคคี เรียนรู้เรื่องความสามัคคี ช่วยเหลือกัน แม้จะมีอุปสรรคมากมายแต่เมื่อทุกคนช่วยเหลือกันผลสำเร็จก็ไม่ไกลเกินเอื้อม และยังได้ข้อคิดในการยอมรับความแตกต่างของกันและกัน ไม่กีดกันหรือนิ่งเฉยต่อผู้ที่คิดต่างจากเรา หรือเลือกปฏิบัติต่อคนที่มีความแตกต่างจากเราไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม

ช่วงค่ำ เป็นการชมภาพยนตร์ เรื่อง "อาข่าผู้น่ารัก" มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอาข่า และเรื่องราวความรัก ความผูกพัน การพลัดพราก โดยบอกเล่าผ่านความคิดของ หมี่จู เด็กหญิงชาวอาข่า ที่มักจะละเมิดข้อห้ามของเผ่าอยู่ประจำ จนทำให้พ่อกับแม่ต้องส่งหมี่จูไปอยู่กับน้าที่พื้นราบ ถึงแม้หมี่จู จะสนุกไปกับงานพิเศษซึ่งก็คือ การแต่งชุดอาข่า แล้วรับจ้างถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยว แต่ก็รู้สึกเหงา เมื่อต้องอยู่ห่างคนที่รักในหมู่บ้าน หนังเรื่องนี้ได้สอดแทรกวัฒนธรรมดั้งเดิมต่างๆ ของชาวอาข่า ซึ่งน้องๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายครั้งนี้ ส่วนมากเป็นชาวอาข่า เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ รื้อฟื้นถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของตัวเอง ที่ปัจจุบันวัฒนธรรมเหล่านี้ได้สูญหายไปมากแล้ว หลังจากชมภาพยนตร์ พี่ติ๊กก็ได้ทิ้งคำถามให้แต่ละกลุ่ม ช่วยกันวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องสิทธิฯ ที่ได้จากหนังเรื่องนี้ ช่วยกันระดมความคิดในกลุ่ม เพื่อมานำเสนอในวันรุ่งขึ้น

  

เช้าวันต่อมา หลังจากเล่นเกมและกิจกรรมสันทนาการกันไปอย่างสนุกสนาน ก็ถึงช่วงนำเสนอ พูดคุยกันถึงสาระที่มีอยู่ในหนังที่ได้ดูไปเมื่อคืน อาทิ ประทับใจในความพยายามออกทีวีของหมี่จู ประทับใจความมีน้ำใจของชาวบ้านต่อคนแปลกหน้าที่เข้าไปถ่ายรายการในหมู่บ้าน รวมถึงการเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของชาวอาข่า เช่น ประเพณีโล้ชิงช้า การทำประตูผี ความเชื่อวิถีปฏิบัติ การแต่งกาย การประกอบอาชีพ กิจกรรมนี้จึงเป็นการสร้างการเรียนรู้และการตระหนักถึงคุณค่าในอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าให้กับเยาวชน กิจกรรมถัดมาคือ สิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมที่พวกเราได้เรียนรู้สิทธิในชีวิตของมนุษย์ทุกคน ที่ได้รับความคุ้มครองตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดู สิทธิในการศึกษา การทำงาน การแสดงความคิดเห็น ความเชื่อ ศาสนา สิทธิด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สิทธิทางการเมือง

ช่วงบ่าย เป็นกิจกรรม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยให้น้องๆ แต่ละคนบอกอัตลักษณ์ของตัวเอง บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเอง เช่น เป็นลูกคนที่เท่าไร มีพี่น้องกี่คน ความชอบ หรืองานอดิเรก เป้าหมายในอนาคต ฯลฯ กิจกรรมนี้ทำให้เรียนรู้ในเรื่องการยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน ด้วยการเรียนรู้อัตลักษณ์และตระหนักในคุณค่าของตนเอง เข้าใจและยอมรับในอัตลักษณ์ของผู้อื่น ซึ่งจะเป็นแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมจากนั้นก็ให้น้องๆ ได้ทำความเข้าใจต่อความหมายของคำว่าสันติภาพและความขัดแย้ง โดยคำว่าสันติภาพ น้องๆ ได้ให้ความหมายว่าคือ การเคารพกัน การไม่แบ่งชนชั้น การปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง ความเสียสละ มีน้ำใจ ความร่วมมือ สามัคคี และการให้อภัย ส่วนคำว่าความขัดแย้ง น้องๆ ได้บอกว่าหมายถึง ทัศนคติไม่ตรงกัน การไม่เข้าใจกัน ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่เคารพกัน ไม่สามัคคี ไม่มีน้ำใจ เอารัดเอาเปรียบกัน การแบ่งชนชั้น และไม่ให้อภัย จากนั้นก็เป็นกิจกรรม เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยตรวจสอบทัศนคติของตนเองและฟังความคิดเห็นของผู้อื่นต่อประเด็นทางสังคม เช่นคำถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความรุนแรง เห็นด้วยหรือไม่ที่ผู้หญิงขยันทำงานกว่าผู้ชาย และปิดท้ายของช่วงนี้ด้วยการวิเคราะห์ถึงมุมมองที่แตกต่างกันของตนและเพื่อน ด้วยการดูภาพที่อาจตีความได้แตกต่างกันตามแต่มุมมองของแต่ละคน ทำให้เรียนรู้ว่าการยอมรับความแตกต่างหลากหลายของกันและกัน จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม

 

ช่วงค่ำ เป็นช่วง วัฒนธรรมสัมพันธ์ เป็นการชมการแสดงวัฒนธรรมของเผ่าอาข่า ที่เหล่าเยาวชน ตระเตรียมมาแสดง การแสดงชุดแรกเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเกิดพิธีโล้ชิงช้า มีเนื้อเรื่องประมาณว่า มนุษย์ไปจับปลาไหลเพื่อไปทำอาหาร เมื่อได้ปลาก็จะเอาเชือกร้อยคอปลาไว้ เพื่อความสะดวกในการถือ แต่ปลาไหลไม่พอใจ จึงไปฟ้องพระเจ้าว่าถูกมนุษย์ทำร้ายโดยการเอาเชือกร้อยที่คอ และได้อ้อนวอนขอพระเจ้าให้ลงโทษมนุษย์บ้าง พระเจ้าดลใจให้มนุษย์ทำพิธีโล้ชิงช้าขึ้นเพื่อหลอกปลาว่า มนุษย์ถูกเชือกร้อยที่คอแล้วเหวี่ยงไปมา (ตามคำบอกเล่าของเยาวชน : ความหมายอาจจะถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยที่ชาวบ้านกลับใจมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว และจะจำลองพิธีโล้ชิงช้าลักษณะนี้ในโอกาสวันคริสตมาส) ต่อมาก็เป็นการแสดงการร้องเพลงภาษาอาข่า และการร่ายรำในชุดประจำเผ่า เช่น อาข่า และลาหู่ อย่างหรูเริ่ด อลังการมากๆๆๆ

  

เช้าวันต่อมา ก็เป็นช่วงของกิจกรรม สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เลือกวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนที่เกิดขึ้นในชุมชน แล้วทำเป็น Mapping ต้นไม้ น้องๆ ได้วิเคราะห์ปัญหากันมา ได้แก่

1.ปัญหายาเสพติด ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ครอบครัวขาดความอุ่น การชักชวนของเพื่อน ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ผิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เสียโอกาสทางการศึกษา เสียอนาคต สูญเสียทรัพยากรบุคคลของชาติ อาจนำไปสู่การละเมิดทางเพศ การลักขโมย ทะเลาะวิวาท และอาชญากรรม ทำให้สังคมไม่สงบสุข 2.ปัญหาการทะเลาะวิวาท มาจากสาเหตุ การไม่เคารพกัน ความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู การเสพสิ่งมึนเมา ส่งผลกระทบด้านร่างกาย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง ครอบครัว และอาจเสียโอกาสทางการศึกษา 3.ปัญหาครอบครัว สาเหตุมาจากยาเสพติด การไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน มีปัญหาไม่ปรึกษากัน ซึ่งส่งผลให้ครอบครัวแตกแยก เด็กขาดความอบอุ่น ไม่เรียนหนังสือ และติดยาเสพติด ทำให้เยาวชนได้มองเห็นว่าทุกปัญหาล้วนมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก ได้มองเห็นโทษภัยของปัญหาเหล่านี้ และเกิดความตระหนักต่อบทบาทของตนในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของชุมชน

ช่วงบ่าย เป็นกิจกรรม บทบาทการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยแบ่งกลุ่มน้องๆ ออกตามกลุ่มหมู่บ้าน และช่วยกันคิดโครงการในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เยาวชนได้สัมผัสในหมู่บ้านของเราและอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเหล่าเยาวชนได้นำเสนอ โครงการกีฬาต้านยาเสพติด ของบ้านห้วยหญ้าไซ เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการชักชวนกันเล่นกีฬา ไม่หมกมุ่นไปกับยาเสพติด โครงการปุ๋ยหมักชีวภาพ ของบ้านปางซาง เพื่อรณรงค์ให้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพไม่ทำลายหน้าดิน และลดการซื้อปุ๋ยที่มีสารเคมีส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ น้ำดื่มและสัตว์ในชุมชน และช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว โครงการถนนทางเข้าหมู่บ้าน ของบ้านห้วยกล้า และบ้านห้วยน้ำอุ่น โดยการจัดประชุมและวางแผนร่วมกันกับผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน และช่วยเขียนโครงการเสนอต่อ อบต. หรือมูลนิธิต่างๆ ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ โครงการการแก้ปัญหายาเสพติด โดยการชักชวนกันเล่นกีฬา และทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ และโครงการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ

ปิดท้ายค่ายครั้งนี้ ด้วยการสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ตลอด 3 วัน จากพี่เล็กผู้ประสานงานค่าย นอกจากนี้ พี่อัจฉรายังได้ฝากข้อคิดดีๆ ว่า น้องๆ ได้เรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนอันเป็นปัญหาใกล้ตัวน้องๆเอง รวมถึงแนวทางที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นแล้ว ก็ฝากให้น้องเป็นผู้เลือกทางเดินชีวิตของตนเองว่า ตัวเราจะเป็นอีกคนที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา หรือจะเป็นคนที่ช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และพี่ๆ ทุกคน ก็หวังว่า น้องๆ จะนำความรู้ที่ได้จากการเข้าค่ายครั้งนี้ ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเต็มกำลังความสามารถต่อไป

ชมภาพจากค่าย

 

 undefinedคลิกชมภาพกันเลยundefined

 

 undefinedFacebook ยส.undefined

 

undefined เว็บบอร์ด : ฝากข้อความถึงเพื่อนร่วมค่ายฯ undefined

(สมัคร สมาชิกด้วยนะ)


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >