หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ทำไมเมืองไทยจึงควรยกเลิกโทษประหารชีวิต : พระไพศาล วิสาโล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 41 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ทำไมเมืองไทยจึงควรยกเลิกโทษประหารชีวิต : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Wednesday, 23 November 2011

จดหมายข่าวเฉพาะกิจ รณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต "KEEP THE PROMISE"

ทำไมเมืองไทยจึงควรยกเลิกโทษประหารชีวิต
พระไพศาล วิสาโล
KEEP THE PROMISE ฉบับเดือน ตุลาคม 2554

โทษประหารชีวิตมักเกิดขึ้นในนามของความยุติธรรม แต่ไม่เคยมีหลักประกันยืนยันโดยปราศจากข้อสงสัยว่า ผู้ที่ถูกประหารชีวิตในทุกกรณีนั้นเป็นผู้ทำความผิดอย่างร้ายแรงตามข้อกล่าวหา (ทั้งนี้ยังไม่จำต้องพูดว่าความผิดดังกล่าวสมควรแก่โทษดังกล่าวหรือไม่ แม้ผู้ต้องหากระทำผิดจริงก็ตาม) มีหลายกรณีมากที่ผู้บริสุทธิ์ต้องโทษประหารชีวิต (หรือถูกประหารชีวิตไปแล้ว) แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกานับแต่ปี 2519 มีผู้ต้องโทษประหารชีวิตที่ได้รับการปล่อยตัวไม่น้อยกว่า 113 คน หลังจากศาลพบว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ (ยังไม่นับอีกหลายร้อยคนที่ต้องโทษเบากว่าแต่ได้รับอิสรภาพด้วยเหตุผลเดียวกัน) คนเหล่านี้รอดชีวิตเพราะมีการรื้อฟื้นคดีโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ เช่น ดีเอ็นเอ ตัวเลขดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่าก่อนหน้านั้นมีคนบริสุทธิ์ถูกประหารชีวิตไปแล้วมิใช่น้อย

ความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การตัดสินให้ผู้บริสุทธิ์ต้องรับโทษในความผิดที่ตนไม่ได้ทำเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมนั้นล้วนเป็นมนุษย์ที่ผิดพลาดได้เพราะนอกจากจะมีข้อจำกัดในการรับรู้แล้ว ยังตกอยู่ภายใต้อคติ อีกทั้งยังมีความโลภที่ทำให้พ่ายแพ้ต่อผลประโยชน์ที่มุ่งแทรกแซงการตัดสินคดี (แม้แต่สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ชื่อว่ามีมาตรฐานสูงทางด้านสิทธิเสรีภาพ ก็ยังถูกตั้งคำถามว่ามีการเลือกปฏิบัติ ในการจับกุม คุมขัง และการลงโทษประหารชีวิต เนื่องจากอคติด้านเชื้อชาติ) อย่างไรก็ตามหากความผิดพลาดในการตัดสินนั้นมีโอกาสแก้ไขได้ ก็ยังเป็นเรื่องที่รับได้ หากเขาถูกจับกุมคุมขังก็ยังมีหวังว่าจะเป็นอิสระได้ไม่ช้าก็เร็ว แต่หากเขาถูกประหารชีวิตไปแล้ว ใครเล่าจะคืนชีวิตให้เขาได้หากมีข้อพิสูจน์ในเวลาต่อมาว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์

ด้วยเหตุนี้โทษประหารชีวิตจึงทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่อาจเป็นหลักประกันแห่งความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง ยิ่งกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวนั้นเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ คนยากจนเข้าถึงยากเพราะมีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน(เพราะประสิทธิภาพต่ำ) อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อคนรวยมากกว่า (ไม่ว่าคนรวยที่ใช้ประโยชน์จากกฎหมายที่มีอยู่หรือคนรวยที่ใช้อิทธิพลอย่างไม่ถูกกฎหมาย) อย่างที่เกิดขึ้นในเมืองไทยทุกวันนี้ จะแน่ใจได้อย่างไรว่าผู้ต้องโทษประหารชีวิตทั้งหลายสมควรได้รับโทษดังกล่าว

คดีเชอรี่แอน เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยมีข้อบกพร่องเกินกว่าที่จะพูดได้เต็มปากว่าการตัดสินคดีอุกฉกรรจ์ในทุกกรณีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องเที่ยงธรรม ทำให้ได้คนที่ทำผิดจริงมารับโทษอย่างไม่มีข้อสงสัย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำผู้ที่ผิดตามคำตัดสินของศาลไปประหารชีวิต การลงโทษจำคุกตลอดชีวิตยังจะดีเสียกว่า เพราะหากเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็ยังมีโอกาสได้รับอิสรภาพไม่วันใดก็วันหนึ่ง

อย่างไรก็ตามพูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า หากเขาทำความผิดจริง และเป็นความผิดที่ร้ายแรง ก็สมควรแล้วที่เขาจะถูกประหารชีวิต มีเหตุผลหลายประการที่โทษดังกล่าวควรยกเลิกไปจากระบบกฎหมายของไทย ส่วนหนึ่งของเหตุผลดังกล่าวก็คือ ในเมื่อเราเห็นว่าการฆ่าคนเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่เหตุใดรัฐจึงทำเช่นนั้นเสียเอง โดยเฉพาะกับคนซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่จะต่อสู้หรือทำร้ายใครได้ จริงอยู่บุคคลมีสิทธิใช้ความรุนแรงในการป้องกันตัว แต่กับคนร้ายที่ยอมจำนน ปราศจากอาวุธแล้ว การใช้ความรุนแรงจนเขาถึงแก่ทุพพลภาพหรือตาย ย่อมเป็นความผิด แต่เหตุใดเราจึงเห็นว่ารัฐมีสิทธิหรือมีอำนาจในการทำเช่นนั้นกับบุคคลที่อยู่ในสภาพดังกล่าว เขาอาจจะเคยฆ่าคนตายมาแล้วก็จริง แต่ก็ใช่ว่าหลักการ "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" จะเป็นสิ่งที่เราพึงยอมรับกัน ถ้าหากเรายอมรับหลักการดังกล่าว ก็หมายความว่า ผู้ข่มขืนก็สมควรถูกข่มขืนตอบด้วยเช่นกัน กฎหมายประเทศใดที่อนุญาตให้ทำเช่นนั้นย่อมเป็นที่รังเกียจของวิญญูชนอย่างแน่นอน

มองในแง่ของชาวพุทธ การฆ่าเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ศีลข้อที่ 1 นั้นไม่ได้อนุญาตให้ฆ่าคนหรือสัตว์บางประเภทได้ ขึ้นชื่อว่าการทำชีวิตให้ตกล่วงไปก็ถือว่าผิดศีลและเป็นบาปทั้งนั้น แม้แต่การสั่งหรือตัดสินให้ประหารชีวิต ก็ถือเป็นบาป (ดังเรื่องราวของพระเตมีย์ หนึ่งในสิบชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ซึ่งระลึกชาติได้ว่าเคยเป็นพระราชาและสั่งให้ลงอาญานักโทษ ทั้งทรมานและประหารชีวิต เป็นเหตุให้ตกนรกหลายหมื่นปี เมื่อรู้เช่นนั้นจึงแกล้งทำเป็นใบ้และหูหนวกเพื่อจะได้ไม่ต้องขึ้นครองราชย์อันเป็นเหตุให้ต้องทำบาปอีก)

ในพระสูตรมีคำสอนและเรื่องราวมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าการฆ่านั้นเป็นสิ่งพึงงดเว้นทั้งในระดับวิถีชีวิตและการปกครอง ในกูฏทันตสูตร มีเรื่องราวของพระราชาที่ต้องการแก้ปัญหาอาชญากรรมด้วยวิธีรุนแรง เช่น ทรมานและประหารโจรผู้ร้าย แต่ปุโรหิต(ซึ่งเป็นตัวแทนคำสอนของพระพุทธเจ้า)คัดค้านโดยชี้ว่าวิธีดังกล่าวจะทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น ข้อเสนอของปุโรหิตก็คือจัดระบบเศรษฐกิจให้ดี ให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้พออัตภาพ เมื่อพระราชานำไปปฏิบัติ ในเวลาไม่นานบ้านเมืองก็สงบสุข "บ้านเมืองไม่ต้องลงกลอน ลูกฟ้อนบนอกแม่"

ชาวพุทธนั้นไม่พึงเป็นผู้ฆ่าหรือสนับสนุนการฆ่า ไม่ว่าในกรณีใดๆ เพราะเชื่อว่ามีวิธีการที่แก้ปัญหาได้ดีกว่าการฆ่า ดังนั้นจึงไม่ควรสนับสนุนให้รัฐทำการประหัตประหารผู้ใด เพราะการทำเช่นนั้นก็เท่ากับทำในนามของตน (แต่แม้จะทำในนามของผู้อื่น ก็ไม่สมควรเช่นกัน)

การประหารชีวิตนั้นไม่ได้ช่วยป้องปรามหรือยับยั้งอาชญากรรมเลย การศึกษาวิจัยทั่วโลกพบว่าหลายประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว คดีฆ่ากันตายลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกันในสหรัฐอเมริกา พบว่ารัฐที่ยังมีโทษประหารชีวิตไม่ได้มีอัตราการเกิดฆาตกรรมต่ำกว่ารัฐที่ไม่มีโทษดังกล่าวเลย

การเพิ่มโทษให้หนักขึ้นนั้นไม่ใช่เป็นสาเหตุให้คนทำผิดกฎหมายน้อยลง การมีมาตรการต่างๆ ที่ทำให้ผู้กระทำผิดมีโอกาสมากขึ้นในการถูกจับกุมและถูกตัดสินลงโทษต่างหากที่ทำให้อาชญากรรมลดลง ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ไทยควรยกเลิกโทษประหารชีวิต และหันมาเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมให้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจสังคมเพื่อส่งเสริมให้คนทำความดีและลดแรงจูงใจที่จะทำความชั่ว วิธีนี้ไม่เพียงลดจำนวนอาชญากรเท่านั้น หากยังทำให้ผู้คนมีชีวิตที่ผาสุกและบ้านเมืองสุขสงบอย่างแท้จริง

 

------------------------------

จาก เว็บ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >