หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow พ่อแม่ไม่รักผม : หลิกรอกระ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 69 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

พ่อแม่ไม่รักผม : หลิกรอกระ พิมพ์
Wednesday, 09 November 2011
เสียงชาวบ้าน 47

พ่อแม่ไม่รักผม


หลิกรอกระ
กลุ่มเสียงชาวบ้าน มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน

ฤดูฝนเวียนมาอีกครั้ง คนปกาเกอะญอมุ่งหน้าไปยังนาไร่บนดอยในขณะที่ลูกหลานหิ้วกระเป๋าไปโรงเรียน ผมนั่งอยู่บนชานบ้านหลังน้อย สายฝนที่โปรยปราย กิ่งไม้ที่ไหวด้วยสายลม และแสงฟ้าแปลบปลาบจางๆ บนผืนฟ้าไกล พาให้ใจให้หวนกลับไปยังวันเวลาหนึ่งเนิ่นนานมาแล้ว

วันแรกที่ผมได้ไปโรงเรียนนั้นเป็นฤดูฝน ผมเติบโตขึ้นมาในหมู่บ้านในป่าเขาของรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ที่นั่นไม่มีโรงเรียน ถึงวัยเรียนแล้วผมก็ยังวิ่งเล่นอยู่ จนกระทั่งวันหนึ่งที่ฝนโปรยปรายลงมาเหมือนวันนี้ ผมอายุได้เกือบสิบขวบ แม่ก็ห่อเสื้อผ้าผมด้วยผ้าอ้อมของน้อง แล้วพาผมออกเดินดอยไปหาป้าที่อยู่ในหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่ง

แม่พาผมไปหาป้า แล้วก็พาผมไปฝากไว้ที่โรงเรียน จากนั้นแม่ก็แอบกลับไป เย็นวันนั้นพอโรงเรียนเลิก ผมวิ่งกลับมาที่บ้านป้าแล้วถามหาแม่ พอป้าบอกว่าแม่กลับบ้านไปแล้วและผมต้องอยู่ที่นี่เพื่อจะได้มีโอกาสเรียนหนังสือ ผมก็ร้องไห้โฮ ปากโวยวายทั้งน้ำตาว่าแม่ไม่รักผม จึงได้ทิ้งผมไว้แบบนี้ ผมคร่ำครวญให้ป้าพากลับไปหาแม่ ในที่สุดป้าก็ใจอ่อน พาผมเดินดอยหลายชั่วโมงกลับไปบ้าน พ่อแม่ของผมพยายามเกลี้ยกล่อมให้ผมกลับไปอยู่กับป้า แต่มิใยที่พวกเขาจะพร่ำบอกว่าการศึกษานั้นสำคัญแค่ไหน ผมก็อาละวาดยืนกรานว่าจะไม่ไปไหนทั้งนั้น ในที่สุด ผมจึงไปโรงเรียนที่ว่าได้เพียงวันเดียว

จากนั้นไม่นาน สงครามระหว่างกองทัพรัฐบาลพม่าและกองกำลังกะเหรี่ยงกู้ชาติก็เคลื่อนเข้ามาใกล้หมู่บ้านของเรา กองทัพพม่าออกคำสั่งให้หมู่บ้านผมย้ายไปยังเขตที่พวกเขาควบคุมเเพราะกลัวเราจะสนับสนุนทหารกะเหรี่ยง แน่นอนว่าไม่มีใครอยากไปอยู่ในพื้นที่ควบคุมอย่างนั้น พ่อแม่ของผมตัดสินใจทิ้งบ้านและไร่นาของเราเพื่อหนีมาชายแดน เรามาอยู่ที่ชุมชนคนพลัดถิ่นในพม่าชื่อ "ป้อปาท่า" ติดฝั่งไทย ไม่ไกลจากค่ายผู้ลี้ภัยโชโกลในอำเภอท่าสองยางมากนัก ตอนนั้นค่ายผู้ลี้ภัยยังไม่ทำทะเบียนรับคนมาใหม่ เราจึงพักอยู่ที่ "ป้อปาท่า" กันไปก่อน

ที่ป้อปาท่านี้เอง ผมได้เริ่มไปเรียนหนังสือจริงจัง แต่ก็ไม่ต่อเนื่องอยู่ดี เพราะค่ายพักนี้อยู่ในฝั่งพม่า เมื่อไรก็ตามที่การสู้รบใกล้เข้ามา พวกเราก็ต้องหนีไปซ่อนตัวในป่า หรือหนีมาฝั่งไทย ซึ่งเมื่อทหารไทยรู้ว่าทหารพม่ากลับไปแล้ว เขาก็จะมาบอกให้เรากลับไป เมื่อทหารพม่ามาอีก เราก็ต้องหนีอีก ผมเรียนไปหนีไปอยู่แบบนั้นทั้งปี จนกระทั่งฤดูฝนปีนั้น ฝนตกหนักและฟ้าแลบแปลบปลาบเหมือนวันนี้ น้ำหลากจนไม่มีที่หลบภัยในฝั่งพม่า เราก็ข้ามแม่น้ำเมยเข้ามาแอบอยู่ในซอกผาตีนดอยใหญ่ในประเทศไทยอีกครั้ง ขณะที่หลบอยู่ที่นั่น น้าสาวคนเล็กของผมซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยอยู่แถวๆ อำเภอพบพระก็มาตามหา สมัยนั้นเจ้าหน้าที่ไทยไม่เข้มงวดกับการเดินทางของผู้ลี้ภัยนัก แกเลยหาเราเจอได้ไม่ยาก น้าสะเทือนใจที่เห็นพวกเราต้องหลบๆ ซ่อนๆ แถมผมกับพี่น้องก็ไม่ได้เรียนหนังสือ แกเลยว่าจะพาพี่สาวกับผมไปด้วยกัน พี่สาวผมจะได้ไปอยู่กับน้า ส่วนผมจะต้องไปอยู่กับญาติของเราอีกคนที่ค่าย ผู้ลี้ภัยห้วยกะโหลก อำเภอแม่สอด

ผมมองแม่ยัดกางเกงปะตูดกับเสื้อตัวเก่าสีมอๆ สองชุดลงในย่าม คราวนี้ผมไม่ได้อาละวาด ยอมขึ้นรถไปกับน้าโดยดี ในใจก็อยากไปเรียนหนังสือสบายๆ ไม่ต้องหลบหนีอยู่แบบนี้ บางทีผมคิดว่าที่ที่จะไปนั้นน้าบอกว่านั่งรถแค่สามชั่วโมง ผมคงไปมาหาพ่อแม่ได้ง่ายๆ ด้วย วันรุ่งขึ้นป้าที่ผมไปอยู่ด้วยพาผมไปฝากเข้าโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยห้วยกะโหลก ครูจัดให้ผมไปเข้าห้องป.หนึ่ง ผมเดินเข้าห้องไปเจอครูกำลังเขียนตัวหนังสือฝรั่ง ผมมองมันอย่างงุนงง ใจเต้นตูมตาม แอบนึกในใจว่า แย่แล้วเรา เขียนหนังสือตามเขาไม่ได้สักตัว

ถึงเวลาพักเที่ยง ผมต้องเดินกลับไปกินข้าวบ้านป้า แต่ผมจำทางไม่ได้ ค่ายผู้ลี้ภัยห้วยกะโหลกใหญ่โตกว่าหมู่บ้านทุกแห่งที่ผมเคยไป ผมจึงนั่งแอบอยู่แถวๆ โรงเรียนจนถึงบ่าย ตอนที่เดินกลับเข้าห้องเรียน ผมรู้ว่าเพื่อนบางคนจ้องมองผม มีบางคนส่งเสียงหัวเราะคิกคักด้วย เขาคงหัวเราะกางเกงตูดปะของผมแน่ๆ ผมลงนั่งที่เก้าอี้ตัวเดิม แต่แล้วก็มีครูอีกคนเดินเข้ามาบอกว่า ผมต้องไปเริ่มเรียนชั้นอนุบาลหนึ่ง ไม่ใช่ป.หนึ่ง ผมเดินตามครูคนนั้นไปนั่งในห้องอนุบาลหนึ่งกับเด็กเล็ก จนตอนเย็นครูก็มาคุยด้วยเพื่อตรวจสอบพื้นฐานความรู้ของผมอีกแล้วก็สรุปว่า ผมพอจะรู้จักตัวหนังสือกะเหรี่ยงบ้าง ดังนั้น ผมจึงควรไปเรียนชั้นอนุบาลสอง

ป้ามารับตอนโรงเรียนเลิก ผมไม่ได้เล่าให้ป้าฟังเลยว่าวันนี้ผมถูกลดชั้นไปอนุบาลหนึ่งและพรุ่งนี้จะไปเรียนชั้นอนุบาลสอง ผมบอกป้าแต่ว่า ไปส่งผมหาพ่อกับแม่เถอะ ผมไม่รู้หนังสือเลยและผมควรจะกลับไปเรียนที่ป้อปาท่ามากกว่า แต่ป้าไม่ว่าอะไรสักคำ วันรุ่งขึ้นแกบอกให้ผมเก็บเสื้อผ้าที่ขนมาจากบ้านไว้ แล้วเอาเสื้อผ้าชุดใหม่มาให้ใส่ไปโรงเรียน ป้าเข้าไปคุยกับครูอีกที ผลปรากฎว่าผมถูกจัดให้ไปเรียนอนุบาลหนึ่งเหมือนเมื่อวาน แล้วตอนเย็นก็จะต้องไปเรียนพิเศษที่บ้านของครูทุกวัน

ผ่านไปเกือบสองเดือน พ่อกับแม่ผมก็มาเยี่ยม ผมดีใจมาก ไม่ยอมอยู่ห่างพวกเขาเลย ไม่ยอมไปเรียนหนังสือด้วย ใครจะว่ายังไงก็ไม่ฟัง พอพ่อแม่บอกว่าจะกลับ ผมก็ร้องไห้จะตามกลับ จนในที่สุดพวกเขาก็หลอกว่าจะเดินไปบ้านคนรู้จักเดี๋ยวเดียว แล้วก็หายกลับบ้านไป ผมแอบร้องไห้อยู่คนเดียวหลายวัน คิดว่าพ่อแม่ไม่รักผมถึงได้เอาผมมาปล่อยไว้แบบนี้ พ่อแม่ไม่สงสารผมเลยที่ผมต้องมาอยู่อย่างอับอายที่นี่ ผมคิดเคียดแค้นตามประสาเด็กว่า คอยดูเถอะ ถ้าเรียนจบออกจากที่นี่ไปเมื่อไหร่ ผมจะไม่ไปช่วยงานพ่อแม่เด็ดขาด

ปีนั้น พอผลสอบปลายภาคออกมา ครูก็มาบอกว่า ผลจากการที่ผมเรียนพิเศษอย่างหนัก ผมจึงได้คะแนนดีจนสามารถข้ามชั้นไปเรียนประถมสองได้เลยในปีหน้า ผมรู้สึกดีขึ้น แล้วก็เรียนหนังสืออยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยนั้นต่อจนจบมัธยมปลายโดยที่พ่อแม่ไม่เคยมาเยี่ยมอีกเลย ผมเป็นคนแรกในบรรดาพี่น้องที่เรียนจบ และเป็นคนเดียวได้เรียนต่อในคอร์สพิเศษที่ดีที่สุดเท่าที่ผู้ลี้ภัยในค่ายจะเรียนได้ ผมกลับมาเจอพ่อแม่ที่ยังอาศัยอยู่ไม่ไกลจากซอกผาที่เราหลบกันอยู่วันนั้น แล้วผมก็ได้เป็นครูและทำงานชุมชนอีกหลายอย่าง ผมลืมเรื่องที่ผมโกรธพ่อแม่ไปแล้ว ผมไม่ได้นึกถึงเรื่องตอนเด็กๆ มากนัก

เช้าวันนี้ สายฝนสายฟ้าพาผมกลับไปยังอดีต ผมนึกถึงวันที่ผมร้องไห้จะกลับบ้าน แล้วผมก็คิดถึงเจ้าลูกชายที่อายุแค่สามขวบกว่า เขาจะร้องไห้เหมือนผมไหมนะ เขาจะคิดอย่างไรนะ ผมเพิ่งตัดใจส่งเขาไปอยู่กับพ่อแม่ของผมที่ตอนนี้อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย เพื่อให้เขาได้มีโอกาสเข้าโรงเรียนดีๆ ผมคิดอยู่นานกว่าจะตัดสินใจได้ มันไม่มีหนทางอื่นแล้วจริงๆ ไม่มีโรงเรียนที่ลูกจะเรียนได้ในสถานที่ที่ผมอยู่เลย

ผมเริ่มเข้าใจแล้วว่าพ่อแม่ผมรู้สึกอย่างไรในวันที่ยอมให้ผมไปกับน้า พอจะเดาได้แล้วว่าเขาจะต้องอดทนขนาดไหนที่ให้ลูกไปอยู่ไกลตาเป็นสิบปี ชีวิตพวกเราไม่มีทางเลือกมากนัก และเขาก็ทำในสิ่งที่เขาเชื่อว่าดีที่สุดสำหรับผม ผมลืมคิดไปว่าอันที่จริงผมก็ได้รับจดหมายที่เขาเขียนให้กำลังใจมาทุกปี จดหมายนั้นส่งมาถี่ยิ่งขึ้นในยามที่ผมโตขึ้น ในแต่ละปีแม่จะบอกให้ผมขออะไรก็ได้เพื่อเป็นรางวัลที่สอบผ่าน และของขวัญชิ้นแรกที่ผมดีใจอย่างที่สุดที่ได้มาก็คือรองเท้าฟุตบอลคู่หนึ่ง นั่นคือสิ่งแทนความรักของแม่ที่ผมไม่เคยเข้าใจ ผมได้แต่คิดว่าทำไมเขาไม่มาเยี่ยมผม แต่ตอนนี้ผมเองกลับไม่แน่ใจว่าผมควรจะไปเยี่ยมลูกชายไหม เขาคงจะร้องไห้ขอตามกลับมา คงจะไม่มีใจเรียนหนังสือ แล้วในที่สุดผมหรือแม่ของเขาก็อาจจะใจอ่อน

ในชีวิตเราที่มีข้อจำกัด ผมจำเป็นต้องเลือกทำในแบบที่ลูกชายจะคิดว่าผมไม่รักเขา ผมหวังว่าเขาจะไม่เจ็บปวดเกินไปและรับรู้ความรักของผมได้ในวันหนึ่ง เหมือนที่ผมรับรู้ความรักของพ่อแม่ผมได้ในวันนี้

--------------------------------

ที่มา : เสียงชาวบ้าน ศูนย์ข้อมูลริมขอบแดน - มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน :
http://www.gotoknow.org/blog/bordervoices2010/


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >