หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow โรงเรียนนี้ ลูกผู้ชายตัวจริง! : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 71 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โรงเรียนนี้ ลูกผู้ชายตัวจริง! : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี พิมพ์
Wednesday, 07 September 2011

Life Style

วันที่ 24 สิงหาคม 2554

โรงเรียนนี้ ลูกผู้ชายตัวจริง!

โดย : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี

 


 

ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับให้วุ่นวาย ไม่มีคุณครูใจร้ายหน้ากระดานดำ หลังรั้ววิทยาลัยนี้มีแค่สัจจะกับหัวใจของลูกผู้ชายคนหนึ่งที่จะคืนคนดีสู่สังคม

เท่าที่สายตาของเด็กอายุ 17 อย่างเขาจะสังเกตได้ ใต้ชายคาที่เฮฮาไปด้วยเสียงของใครต่อใครในตอนนี้ แทบจะกลบเสียงฝนไปจนหมด


แค่ลานดินนองน้ำฝน กับฟ้าหลัวๆ เท่านั้น ถึงจะทำให้รู้ว่า ที่ตัวเมืองอุบลราชธานีวันนี้ ฝนตกลงมาตั้งแต่เช้าแล้ว
แม้จะเข้าวันที่ 2 หากเทียบกับการเข้าค่ายลูกเสือที่โรงเรียน หรือตระเวนทะโมนกับเพื่อนๆ ...ที่นี่ออกจะ "แตกต่าง" กันอย่างสิ้นเชิง


ไม่ว่าจะเป็น สภาพเรือนนอนรวมบนชั้น 2 ของอาคารไม้โบกปูน มีสนามหญ้า และลานดินคั่นระหว่างห้องน้ำรวม กับอาคารอเนกประสงค์

ถึงเครื่องแบบลายพรางดิจิทัลของ "ครูฝึก" ดูจะเป็นอะไรที่เข้าใจได้

แต่ป้ายขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ที่ยืนตากฝนอยู่หน้าอาคาร

"...วิทยาลัยลูกผู้ชาย..."

กลับผุดคำถามขึ้นในใจมากมาย

 

 

โฮมรูมเปิดใจ

"ยาบ้าครับ" น้ำเสียงนั้นตอบราบเรียบ


พูดกันตามตรง ชีวิตของ ปอนด์ (นามสมมติ) ที่ผ่านมาก็ไม่ต่างจากเด็กผู้ชายคนอื่นๆ ทั่วไป ในละแวกชุมชนที่เขาเติบโต เที่ยว เล่น เรียน จนกระทั่งปลายทางมัธยมต้น เขาตัดสินใจหันหลังให้กับกระดานดำในห้องเรียน มุ่งหน้าศึกษาตำราชีวิตจากนอกบ้านแทน

ไม่ได้เกเร แค่ไม่มีคำอธิบายในช่วงจังหวะของเด็กผู้ชายอายุย่าง 15 ที่อยู่บ้านเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร


ปอนด์จึงออกจากบ้านไปทำงานเป็น "เด็กรถ" อยู่กับบริษัทท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ได้เที่ยวแถมยังได้เงินอีก

"ทำทุกอย่างครับ" เขานิยามชีวิตบนรถตลอด 2 ปีที่ผ่านมา

ทุกอย่างที่ว่า ตั้งแต่ล้างรถ เช็ดรถ เฝ้ารถ บริการบนรถ และติดรถตระเวนไปตั้งแต่เหนือจรดใต้

"ได้เที่ยวทั่วประเทศเลยครับ แต่เวลาทำงานก็จะไม่แน่นอน ลูกค้าเข้าโรงแรม เราก็เฝ้ารถ ลูกค้าขึ้นรถเราก็ต้องคอยนั่งคีย์เพลง นอนวันละไม่ถึงชั่วโมง บางเที่ยวไม่ถึง 30 นาที ถ้าลูกค้าไม่นอน เราก็นอนไม่ได้"

เกินกว่าขีดของร่างกายจะรับไหว อีกทั้งไม่รู้ว่า หากไม่ใช่งานนี้ วุฒิที่ยังไม่ได้แม้แต่ ม.ต้นอย่างเขาจะไปทำอะไรกิน ทางออกสำหรับปัญหานี้ของเขาก็คือ "เล่นยา"

"สมชื่อครับ บ้าได้ใจมาก นอนไม่หลับเลย กระปรี้กระเปร่าตลอดเวลา"

ถึงจะรู้ว่าไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกสำหรับการใช้ชีวิต แต่ถ้าแลกกับเรี่ยวแรง และความสมบูรณ์ของร่างกายให้ทำงานได้เต็มที่ในระยะหนึ่งแล้ว เขายอม

"เราเล่นเราทำงาน ถ้าเล่นแล้วอยู่เฉยๆ ก็ไม่รู้จะเล่นไปทำไม"

แต่หลังจากออกจากงานเขาก็ไม่ได้แตะอีกเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้ไปเจอกับก๊วนเพื่อนร่วมงานเก่า เลยได้โอกาสใช้อีกครั้ง ก่อนจะมาโดน "รวบ" จากการสุ่มตรวจที่ด่าน

"กำลังจะมาส่งพี่เขาที่บ้านพอดีครับ"

เหตุผลของปอนด์ อาจไม่เหมือนกับ ต้าร์ (นามสมมติ) แต่ก็ไม่ได้ต่างกันในแง่มุมมอง เพราะชีวิตลูกผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกผู้ชายที่เติบโตมาในตระกูลทหารอย่างเขา การลองให้รู้ เป็นประสบการณ์ ถือเป็นเรื่องที่ "ต้องทำ"

"ผมเป็นผู้ชายที่ต้องลองทุกอย่าง จะปีนเขา บันจี้จัมพ์ กิจกรรมที่ผู้ชายเกิดมาต้องลอง ยานี่เห็นเขาว่า เสพไปแล้วอาการมันอย่างนั้น มันอย่างนี้ ผมก็เลยลอง ไม่เสียหายครับ เพราะเราลองก็ไม่ติดนะ กลับมาก็เหมือนเดิม เหมือนวันเวลาที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่มีสิ่งใดเข้ามาในชีวิต" เขาให้เหตุผล


การเติบโตมาในรั้วทหาร เป็นหัวโจกของเด็กๆ ในละแวกบ้าน ทุกอย่างมีส่วนทำให้ต้าร์ตัดสินใจด้วยตัวเองทั้งนั้น

"ช่วงนั้นออกมาแว้นก่อนครับ ให้น้องเรียนก่อน" เขาเล่าถึงช่วงชีวิตเมื่อ 5 ปีก่อน ด้วยกำลังของพ่อที่สามารถส่งเรียนได้ทีละคน ทำให้เขาตัดสินใจพักการเรียนในรั้วอุดมศึกษาเอาไว้ แล้วเบนเข็มเข้าสู่การรับใช้ชาติด้วยการสมัครเป็นทหารแทนเมื่ออายุครบเกณฑ์

"ตกทหารบกเพราะสายตาสั้นครับ (ยิ้ม)" จุดเปลี่ยนอยู่ตรงนี้

กับเพื่อนฝูงนอกบ้าน หรือในร้านอินเตอร์เน็ต วงจรชีวิตยุคดิจิทัลทำให้เขาตั้งธงในการใช้ชีวิตแบบนี้ขึ้นมา

"มันเป็นชีวิตวัยรุ่น จริงๆ มันไม่เกี่ยวกับยุไม่ยุ มันชีวิตเราเอง จะไปบอกคนโน้นยุคนนี้ยุ ไม่ได้ครับ ชีวิตเราเองทั้งนั้น ตอนลองครั้งแรก ผมว่ามันใช้ชีวิตแบบไฮบริดจ์นะ เอาพลังงานในอนาคตมาใช้ก่อน เวลามันหมดไปก็ไปนอนทดแทน ถามว่าดีไหม ถ้าเราทำงานแล้วมันคุ้มค่าเงินนะ เหมือนพวก 10 ล้อ วันหนึ่งนอนแค่ 2 ชั่วโมง มันต้องทำเวลา ก็คุ้มนะ"

จุดเริ่มต้นของต้าร์ อยู่ที่สกลนคร 2 ครั้ง หลังจากนั้นก็กลับมาที่บ้านอีก 3 ครั้ง ถึงได้โดน "ตัดวงจร"

"มีพี่คนหนึ่ง รู้จักกันมานาน เมื่อก่อนก็เป็นคนขาย แล้วแกไปเป็นสายตำรวจตอนไหนไม่รู้ แกให้ผมไปเอาของจากคนรู้จักให้ เราก็ว่างอยู่ โอเคพี่ ไปเอาให้ก็ได้ ก็ไปโดนพวกแกจับ

"...ดัดหลังกันชัดๆ" หน้าของเขาออกอาการเซ็งอย่างเห็นได้ชัด

 

 

ถอดรหัสวิชา "กันยา"

"มุ่งมั่น... พัฒนา... สร้างชาติ... เฮ!!!"



คำปลุกใจ ประกอบจังหวะเสียงปรบมือ เสมือนเป็นบทแรกของการก้าวเข้าสู่ "วิทยาลัยลูกผู้ชาย"

อันที่จริงแล้วแนวคิดวิทยาลัยลูกผู้ชาย เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เสพยาเสพติดให้ตระหนักใน "คุณค่า" ของตนเอง และก่อให้เกิด "ความเข้มแข็ง" ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยมีกระบวนการติดตามช่วยเหลืออย่างครบวงจร ตามกระบวนการทางกฎหมายที่เปิดทางเลือกให้กับผู้เสพระหว่างเข้ารับการ "บังคับบำบัด" หรือ "ส่งดำเนินคดีตามกระบวนการ"

ทั้ง ปอนด์ กับ ต้าร์ และเพื่อนๆ อีกเกือบ 100 ชีวิตที่นี่ ต่างเป็นกรณีของการบังคับบำบัดทั้งสิ้น

"ที่เราใช้คำว่า ลูกผู้ชาย ก็เพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นว่า คนเป็นลูกผู้ชาย ต้องไม่ติดยาเสพติด มีความรับผิดชอบต่อชุมชน มีความรับผิดชอบต่อสังคม ครอบครัว โดยฝึกคนให้เป็นคนรับผิดชอบต่อตัวเอง ครอบครัว และประเทศชาติ" บุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ รองอธิบดีกรมการปกครองให้รายละเอียดถึงภาพรวมทั้งหมด

จากยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แนวทาง "การบำบัดรักษา" ถือเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนที่กรมการปกครองหันมาเอาจริงเอาจัง โดยใช้พื้นที่ของกองอาสารักษาดินแดน (อส.) นำร่องที่ จ.อุดรธานี จันทบุรี ราชบุรี และชุมพร ไปเมื่อปีพ.ศ.2552 ก่อนจะขยายเป็น 35 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

สำหรับ หลักสูตร หรือแนวทางที่นำมาใช้ "เยียวยา" เป็นหลักสูตรที่มีการพัฒนา ต่อยอดมาจากหลักสูตรบำบัดพื้นฐานตั้งแต่ปี 2544-2546 จนกลายเป็นหลักสูตร "8 คืน 9 วัน" ที่มีผลรับรองประสิทธิภาพในการช่วยเหลือ

"แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา ค่าใช้จ่าย และพันธกิจอื่นๆ ทำให้ในแต่ละท้องที่อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ แต่เนื้อหาสาระ หรือใจความสำคัญก็ยังคงเดิม คือเป็นการสร้างเกราะป้องกันตัวเพื่อไม่ให้พวกเขาหวนกลับไปหายาเสพติดอีก" รองอธิบดีฯ บอก

อย่างวิทยาลัยลูกผู้ชาย จ.อุบลราชธานีเอง ก็ได้มีการปรับหลักสูตรให้เหลือ 5 วัน ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งทาง วิโรฒ มีแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ยืนยันว่ามีความเข้มข้นไม่แพ้กัน

ความเข้มข้นของหลักสูตรที่รองผู้ว่าฯ หมายถึง ได้มาจากความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายกฎหมาย ตำรวจ ทหาร สาธารณสุขจังหวัด กรมสุขภาพจิต องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคประชาสังคมที่เข้ามาประกอบองค์ความรู้เพื่อพัฒนา "จิตใจ" อันถือเป็น "จุดอ่อน" สำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้งหลาย

"คนกลุ่มนี้เขาจะอ่อนไหวมาก เพราะเกราะป้องกันจิตใจไม่มีเลย" นิภาพร สินธิสุวรรณ หรือ ครูโต้ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จ.อุบลราชธานี ยืนยันจากประสบการณ์ที่เธอและเพื่อนร่วมทีมอีก 5 คน เคยพบมา

กระบวนการที่นำมาใช้กับบรรดา "นักเรียน" ของวิทยาลัย ครูโต้ อธิบายว่าจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ร่างกาย และจิตใจ


"ร่างกายอย่างระเบียบวินัยต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของครูฝึก อส.ที่จะมาดูแล ส่วนทีมจิตวิทยาจะเข้ามานำในส่วนกิจกรรมส่งเสริมกำลังใจ โดยเราจะเน้นไปที่ทักษะสำหรับแก้ไขปัญหาตัวเอง เช่น การเข้าสู่สังคม การปฏิเสธ ไม่หวนกลับไปอีก ทำอย่างไรถึงจะมองโลกแง่บวก รู้คุณค่าตัวเองมากกว่า" เธอเล่า

วันแรก - เป็นการสร้างความคุ้นเคย - ละลายพฤติกรรม

วันที่สอง - กระบวนการวิชาการ - วงจรยาเสพติด - ล้อมวงเปิดใจ (ทำโล่ห์ชีวิต) - มองอนาคต (ถนนชีวิต)

วันที่สาม - เรียนรู้โทษภัย และวิธีการตัดวงจรยาเสพติด ใส่มุมมองเชิงบวกเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สังคม

วันที่สี่ - ทักษะการปฏิเสธ และการกลับเข้าสังคม

วันที่ห้า - ปลุกจิตสำนึก - กระตุกคุณค่าในตัวเอง - ทำสัญญาลูกผู้ชาย (เทียนอุดมการณ์)

"เราจะบ่มความตระหนักเพื่อตัวเขาเอง จะได้มีแรงใจใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่า แต่ถามว่า สามารถช่วยได้หมดไหม ก็คงไม่ได้ทั้งหมดหรอก..."

"แต่ก็ไม่เคยมีใครหนีค่ายนะคะ" เธอให้คำตอบด้วยรอยยิ้ม

 


 

ส่ง "คนดี" กลับบ้าน ?

"ผมอยากรู้คำถามเดียว อย่างนี้มันไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเหรอ" นั่นคือสิ่งที่ "ผู้คร่ำหวอด" ในสังคมคนเสพ มากว่า 10 ปี อย่าง ต้อม (นามสมมติ) อยากรู้


ยกตัวอย่างง่ายๆ จากประสบการณ์ส่วนตัวของเขา เมื่อตอนที่โดนจับช่วงปีใหม่ สิ่งที่เขาพบหลังประตูลูกกรงก็คือ "คนติดยาอยู่กันเต็มคุก"


"จับคนอีกล้าน แต่ผู้จำหน่ายยังมียาก็ไม่หมดหรอกครับ"

แม้จะยังไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรของวิทยาลัยลูกผู้ชาย ที่พวกเขามาลงทะเบียนเรียนกันอยู่ตอนนี้มากนัก แต่ถ้าให้ลองมองถึงสภาพแวดล้อมภายในรั้ววิทยาลัยเฉพาะกิจแห่งนี้ ทั้ง 3 คนมีข้อสงสัยในมุมเดียวกัน

"เหมือนคนที่เข้าคุกแล้วไปได้วิชาเพิ่ม หรือเปล่า" ต้าร์ตั้งข้อสังเกต ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะคนจากหลายที่มารวมกันย่อมจะเกิดเครือข่าย หรือการต่อยอด "แหล่งซื้อหา" เพื่ออำนวยความสะดวกมากกว่า...หรือเปล่า

"ส่วนตัวผมยังไม่เชื่อมั่นในระบบนะ เพราะมีคนมาบำบัดหมุนเวียนตลอด เพราะเราจับกันทุกวัน ทุกเดือน มันก็จะเข้าข่ายที่เราสงสัยกันนั่นแหละ" ต้อมออกความเห็น

หากย้อนกลับไปดูตัวเลข "นักศึกษา" ที่ผ่านรั้ววิทยาลัยแห่งนี้ รองผู้ว่าฯ อุบล ยอมรับว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา ยอดสมัครใจบำบัด 2,902 คน กับยอดบังคับบำบัด 6,800 คน มีแนวโน้มตัวเลขเพิ่มขึ้น แต่ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการทำข้อมูลต่อเพื่อประเมินถึงตัวเลขการเพิ่มขึ้นดังกล่าวว่ามีนัยยะสำคัญอย่างไรหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะได้เข้ามาอยู่ในการ "บังคับบำบัด" หรือไม่ แต่ทั้งหมดต่างรู้สึกว่า ถึงอย่างไร ยาเสพติด ก็ยังไม่ใช่อะไรทั้งหมดของชีวิต อีกทั้งถ้าสามารถจัดการเรื่องทุกอย่างภายหลังจากการติดตามผลของสำนักงานคุมประพฤติ หรือผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้ว พวกเขาก็ยังหวังจะได้เห็น "ชีวิตใหม่" กับตาตัวเองอยู่

"ผมอยากกลับไปเรียนต่อให้จบ ปวส. ครับ" ปอนด์ พูดถึงวุฒิกศน.ชั้นม.ปลายที่เขากำลังขวนขวายด้วยตัวเองอยู่ในขณะนี้

ส่วน ต้าร์ ด้วยเกียรติภูมิของ "ลูกทหาร" เขาตั้งใจจะสมัคร "ทหารพราน" ให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อทดแทนส่วนที่ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของพ่อได้

"ผมก็คงจะออกไปหาลู่ทางทำชีวิตให้มันดีขึ้นกว่าเดิมสักทีครับ" ต้อมในวัยย่างเลข 3 เผยใจ

ความหวังเหล่านี้ ต้องขึ้นอยู่กับสังคมที่ถูกผูกโยงกับทัศนคติเชิงลบสำหรับคนที่เคยมีประวัติ "เสพยา" ด้วยเช่นกัน

"สำคัญที่สุด เวลาเขากลับ สังคมควรให้โอกาส" ครูโต้ชี้กุญแจดอกสำคัญ

โอกาสที่หมายถึงคือ กำลังใจ การไม่ไปตัดสินตัวบุคคลจากภาพเก่า รวมทั้งช่วยเหลือเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้พวกเขากลับสู่เส้นทางเดิมๆ ได้อีก

หากเป็นไปได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะถือเป็น "ยาใจ" ขนานเอกที่จะมาช่วยลบภาพ "ไอ้ขี้ยา" ให้เลือนไปจากหัวใจของเหล่า "ลูกผู้ชายตัวจริง" เพื่อให้ก้าวเดินต่ออย่างมั่นคงในสังคม ไม่ล้มหรือถอยกลับไปย่ำทางเก่า

 

----------------------

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >