หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 74 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เรื่องไม่เล็กของ "อิเล็กทรอนิกส์" | คิ้วหนา พิมพ์
Tuesday, 21 June 2011

My Freezer…Since 19 Dec 2006

ที่พักของบทความอายุสั้นและสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกวันของชีวิต

 

เรื่องไม่เล็กของ “อิเล็ก”


แม้ “The Story of Stuff” จะเรียกยอดคลิกของผู้เข้าชมไปแล้วมากกว่า 12 ล้านครั้ง
เจ้าแม่คลิปรณรงค์สิ่งแวดล้อมอย่างแอนนี่ เลนนาร์ด (Annie Leonard) ยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์สื่อรณรงค์สุดเจ๋ง
โดยล่าสุดปล่อย “The Story of Electronics” ออกมาเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

คราวนี้เธอเลือกตีแผ่วงจรพ่นพิษของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
รวมถึงเล่ห์การตลาดที่ผู้ผลิตกำหนด ซึ่งเมื่อผู้บริโภคเดินตามด้วยความไม่เท่าทัน
มันเลยกลายเป็นพฤติกรรมทำร้ายโลกขนานใหญ่และกำลังเกิดขึ้นด้วยอัตราทวีคูณอยู่ในขณะนี้

แอนนี่เปิดเรื่องพร้อมสารพัดสายชาร์จที่พันกันจนยุ่งเหยิงอยู่ในมือ
นี่ขนาดไม่ได้วิ่งตามเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด นี่ขนาดใช้งานอุปกรณ์ทุกชิ้นจนเจ๊งคามือ
หรือกระทั่งมันล้าสมัยถึงขีดสุดชนิดที่ใช้งานร่วมกับใครไม่ได้แล้ว ยังมีสายชาร์จปลดระวางเยอะถึงเพียงนี้

ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะยุทธศาสตร์สำคัญของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งแอนนี่เรียกมันว่า “designed for the dump”
หรือการออกแบบข้าวของต่างๆ ให้มีอายุการใช้งานลดลงและถูกทิ้งขว้างเร็วขึ้น ด้วยกลยุทธ์…

อัพเกรดแทบไม่ได้
– คอมพิวเตอร์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก
เจ๊งกะบ๊งง่าย
– อย่างทีวีแบนบางรุ่นใหม่ที่มักออกอาการเดี้ยงแทบจะทันทีที่หมดอายุการรับประกัน
ผิดกับทีวีจอตู้หนาหนักรุ่นเก่าๆ ที่ใช้จนเบื่อหน้าก็ยังภาพชัดเสียงดังอยู่
และเพลียใจจะซ่อม – เมื่อซื้อชิ้นใหม่ได้ในราคาถูกกว่าส่งซ่อม ใครจะยอมจ่ายแพง

จากนั้นแอนนี่ก็พาผู้ชมไปรู้จักกับกอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore)
วิศวกรผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทลและคร่ำหวอดในแวดวงคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ยุคบุกเบิก
โดยในช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐ เขามองเห็นแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยีถึงขนาดทำนายไว้ว่า
ความเร็วของระบบประมวลผลจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ ๑๘ เดือน
…ทฤษฎีดังกล่าวถูกขนานนามว่า “กฎของมัวร์” (Moore’s Law) และยังคงเป็นจริงมาจนบัดนี้

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเดียวกันนี้ถูกบิดไปใช้เพื่อกอบโกยกำไรในนัยยะที่ว่า
ผู้ใช้จะต้องโยนทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวเก่าและซื้อชิ้นใหม่ภายใน ๑๘ เดือน!

ระยะเวลาปีครึ่งเหมือนจะนาน ทว่าช่างสั้นนักเมื่อเทียบกับวงจรทั้งชีวิตของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลกระทบมหาศาล
นักออกแบบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงกระชากเงินออกจากกระเป๋าผู้ซื้อได้ว่องไว
แต่ยังสร้างภาวะมลพิษขั้นฉุกเฉินขึ้นทั่วโลก

นับตั้งแต่ต้นทางวัตถุดิบมากกว่า ๑,๐๐๐ ชนิดจากเหมืองและโรงงานที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของโลก
หลายแห่งผลาญทรัพยากรธรรมชาติแบบทำลายล้างและเบียดเบียนชีวิตอื่นๆ
กรณีตัวอย่างสุดคลาสสิคคงหนีไม่พ้นแร่โคลแทน
ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดีวีดี คอมพิวเตอร์ เพลย์สเตชั่น
ด้วยเคยมีรายงานว่า การตามล่าแย่งชิงโคลแทนซึ่งมีอยู่มากในประเทศคองโก
คือต้นเหตุของสงครามนองเลือดและการคร่าชีวิตกอริลลา

จากนั้นชิ้นส่วนทั้งหมดจะถูกส่งข้ามน้ำข้ามทะเลมายังโรงงานประกอบ
อันเป็นขั้นตอนที่คนงานต้องสัมผัสสารพิษร้ายแรงจำนวนมาก พีวีซีเอย ปรอทเอย สารหน่วงการติดไฟเอย
ผลลัพธ์ชัดเจน…อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผลักให้ซิลิกอนวัลเลย์เป็นหนึ่งในชุมชนที่ปนเปื้อนสารพิษมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา

แอนนี่เพิ่มความน่าเชื่อถือด้วยข้อมูลสุขภาพที่เปิดเผยโดยไอบีเอ็มว่า
มากกว่าร้อยละ ๔๐ ของคนงานในส่วนการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ต้องแท้งลูก
ทั้งยังพบอัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็งในเม็ดเลือด มะเร็งสมอง และมะเร็งไตอย่างมีนัยสำคัญ

ชีวิตของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้จบลงที่การลับไปจากสายตาของผู้ใช้งานคนล่าสุด
เพราะการโยนทิ้งเพียงหนึ่งชิ้นก็มีส่วนสร้างภูเขาขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้สูงขึ้น…สูงขึ้น…สูงขึ้น

ร้ายกว่านั้น ต้องไม่ลืมว่าสารพิษนับไม่ถ้วนถูกเพิ่มเติมเข้าไปในขั้นตอนการผลิต
ทั้งหมดไม่ได้อันตรธานไปไหน บางส่วนปล่อยออกมาทีละน้อยระหว่างการใช้งาน ที่เหลือรอแผลงฤทธิ์ตอนตกกระป๋อง

ดังนั้น เมื่อขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกที่สั้นๆ ว่า อี-เวสต์ (E-waste) เดินทางด้วยเรือสินค้า
ไปยังเมืองกุ้ยอี๋ว์ (Guiyu) ในประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งรวมอีเวสต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สารพิษก็ตามติดไปสร้างปัญหาที่นั่นด้วย

กลางดงขยะอิเล็กทรอนิกส์ คนงานมักนั่งรื้อแงะแกะชิ้นส่วน
โดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันการสัมผัสหรือสูดดมไอระเหยของสารพิษ
เมื่อค้นเจอโลหะมีค่าก็จะโยนซากที่เหลือเข้ากองไฟ
ซูเปอร์สารพิษจากการเผาไหม้จึงอ้อยอิ่งตกค้างอยู่ละแวกนั้นและลอยอบอวลไปถึงบริเวณใกล้เคียง

คาดประมาณกันว่า ในแต่ละปียอดรวมการทิ้งอี-เวสต์ทั่วโลกสูงถึง ๒๕ ล้านตัน
จึงเป็นปัญหาใหญ่บิ๊กเบิ้มที่ผู้ผลิตผู้ใช้ต้องร่วมกันรับมือ

แอนนี่เริ่มอธิบายถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนงาน
ที่บริษัทผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เลือกตัดทิ้งไปจากงบดุลบัญชี
โดยปล่อยให้เป็นภาระของดิน น้ำ อากาศ คนงานเคราะห์ร้าย หรืออะไรก็ได้ที่บริษัทเองไม่ต้องแบกรับ
เมื่อต้นทุนการผลิตไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
ผู้ผลิตก็เลยยังเดินหน้าโกยกำไรจากการออกแบบสินค้าเพื่อทิ้งขว้างต่อไปได้เรื่อยๆ

ความสงสัยก่อตัวขึ้น…ในเมื่อคุณผลิตข้าวของที่เต็มไปด้วยสารพิษ
ทำไมพอเป็นขยะแล้วกลายเป็นพวกเราที่ต้องมารับมือกับปัญหาขยะอันตราย
แอนนี่จึงเสนอไอเดียที่ดูเข้าท่ามากกว่าในสายตาเธอ “คุณผลิตมัน คุณก็ต้องรับมือปัญหาของมันด้วย”
ซึ่งผู้ผลิตบางรายก็เริ่มแสดงความรับผิดชอบด้วยการรับภาระกำจัดอี-เวสต์ของตัวเองบ้างแล้ว
ตามกลไกที่เรียกว่า “Product Takeback” รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นส่วนนี้อาจบีบให้ผู้ผลิตเลิกออกแบบสินค้าเร่งทิ้งแล้ว
หันมาออกแบบสินค้าเพื่อความยั่งยืน อาทิ ใช้งานทนทาน สารพิษน้อยลง และส่งรีไซเคิลได้มากขึ้น

กฎหมายรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คืนกลับไปกำจัดกำลังผุดขึ้นในหลายแห่งทั่วยุโรปและเอเชีย
ตัวอย่างในบ้านเราพอมีให้เห็นบ้างจากกรณีรับรวมซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือไปกำจัด
ซึ่งเอาเข้าจริง ผู้เขียนเองก็ยังไม่รู้ว่าเขานำไปกำจัดต่อด้วยวิธีการใด

แอนนี่คิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้ผลิตควรจะแสดงความเป็นอัจฉริยะ
ด้วยการแข่งกันออกแบบสินค้าปลอดสารพิษและใช้งานได้ยาวนาน
เพราะหากยังยึดตามกฎของมัวร์ที่กล่าวไปในตอนต้น
สารพิษในกระบวนการผลิตที่ลดลงครึ่งหนึ่งทุก ๑๘ เดือน
ก็น่าจะส่งผลให้จำนวนคนงานที่ได้รับสารพิษลดลงฮวบฮาบด้วยเช่นกัน

ก่อนอำลา แอนนี่ยังฝากข้อคิดถึงผู้ใช้อีก ๓ ประการ
หนึ่ง…ส่งมอบอี-เวสต์ให้โรงงานรีไซเคิลที่มั่นใจว่าจะไม่โยนขยะอันตรายเหล่านี้ไปยังประเทศกำลังพัฒนา
สอง…เลือกซื้อชิ้นใหม่โดยพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า
และสาม…ช่วยกันสร้างกฎหมายที่เข้มแข็งในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และห้ามเคลื่อนย้ายอี-เวสต์ออกนอกประเทศ

แม้คลิปนี้จะนำเสนอในบริบทของอเมริกันชน แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ก็สะท้อนภาพรวมในระดับโลกได้พอสมควร
มีเพียงข้อเสนอแนะช่วงท้ายๆ ที่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะเทียบเคียงใช้กับสังคมไทยได้อย่างไร
ด้วยยังไม่เห็นผู้ผลิตรายใดออกนโยบายเรียกคืนขยะมือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดี ฯลฯ กลับไปกำจัดเสียที
ครั้นจะเหลียวหาโรงงานรีไซเคิลซากอิเล็กทรอนิกส์ที่มั่นใจว่าจัดการอย่างระมัดระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ไม่เจออีก

เหลือก็แต่ “คู่มือสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว” ของกรีนพีซ
ที่พอจะเป็นแสงสว่างริบหรี่ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อได้บ้าง
เขาตรวจสอบและจัดอันดับความเขียวกันอยู่เป็นระยะ
เห็นว่างวดนี้ Philips ได้รับคำชมเชยกระบุงโกยหลังจากเปิดตัวโทรทัศน์ปลอดพีวีซี
และสารหน่วงการติดไฟประเภทโบรมีนได้เป็นรายแรก แซงหน้าโทรทัศน์ยี่ห้ออื่นไปหลายก้าว
ขณะที่ Acer และ HP ก็เริ่มปล่อยคอมพิวเตอร์พกพาที่ปลอดพีวีซีและสารหน่วงการติดไฟออกมาจำหน่ายด้วยเช่นกัน

ระหว่างที่อะไรอะไรยังไม่มีให้เห็นเป็นรูปธรรมในประเทศไทย
พวกเราสามารถช่วยกันชะลอความมหาศาลของอี-เวสต์ได้
ด้วยการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในครอบครองให้นานเท่าที่อายุขัยของมันจะเอื้ออำนวย
แทนที่จะขยันซื้อชิ้นใหม่ตามเทคโนโลยีหรือโมเดลล่าสุด

 

ของแถมฝากท้าย…“Life Psycycle-ology”
อีโคคลิปเรื่องแรกภายใต้โครงการ The Secret Life of Things (SLOT) ของประเทศออสเตรเลีย
ซึ่งเล่าถึงโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่าที่นอนนิ่งอยู่ในลิ้นชักมาเป็นปีจนมีอาการซึมเศร้าและรู้สึกไร้ค่าจนต้องไปปรึกษาจิตแพทย์
บทสนทนาของทั้งคู่ค่อยๆ พาผู้ชมไปรู้จักกับวงจรชีวิตของโทรศัพท์มือถือ
และทางออกดีๆ เมื่อมันไม่เป็นที่พึงใจของผู้ใช้งาน
รับรองว่า…นอกจากได้ความรู้แล้ว ยังดูไปอมยิ้มไปเลยเชียว

หมายเหตุ-บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกผ่านทางคอลัมน์รากของโลกบนเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์

---------------------------

จากเว็บ http://myfreezer.wordpress.com/


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >