หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เธอกับฉัน และอื่นๆ (1/3) | ชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 223 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เธอกับฉัน และอื่นๆ (1/3) | ชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ พิมพ์
Wednesday, 06 July 2011
เธอกับฉัน และอื่นๆ (1/3)

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 24 เมษายน 2554

 

เหมยลี่เป็นสาวโสดอายุใกล้ 30 ปี ทำงานในเมืองใหญ่ อาชีพการงานมั่นคงพอสมควร อาศัยอยู่กับพ่อ แม่ ครอบครัวดูอบอุ่น มีฐานะ แต่กระนั้นชีวิตของเหมยลี่ก็ไม่เป็นสุขนัก ทุกครั้งที่ไปงานแต่งงานของเพื่อนๆ ร่วมรุ่น เหมยลี่มักจะเมามาย อาจเพราะความสนุกจนเลยขอบเขตหรือสาเหตุใดก็ตาม แต่สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความเครียดและความกังวลว่า ตนยังไม่มีคนรักเลยแม้อายุจะล่วงเลยมากแล้ว เหมยลี่รู้สึกอับอายกับสภาพไร้คนรักของตนเอง ความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายของชีวิตเหมยลี่ คือ การหาคู่ชีวิต หรือคนรักประจำตัวให้ได้

ความว้าเหว่ เงียบเหงา คือ แรงผลักดันสำคัญที่เกิดขึ้นเนื่องจากเราไม่เป็นมิตรกับตนเอง รู้สึกแปลกแยก อึดอัดกับภาวะโดดเดี่ยว หัวสมองดูคิดกังวล วิ่งวุ่น ฟุ้งซ่านไปกับเรื่องราวต่างๆ ขณะที่จิตใจก็ไม่แช่มชื่น หดหู่ เศร้า ไร้พลัง ทั้งหัวคิดและจิตใจดูราวกับคู่เต้นรำที่ฝ่ายหนึ่งเฝ้าโอดครวญ อีกฝ่ายก็เฝ้าเห็นด้วยและต่อเติมความทุกข์ หลายคนมักบอกกับตนเองว่า "อย่ากระนั้นเลย เรามาตามล่าหาความรักกันเถิด หาคนที่เรารัก และรักเรา" การมีคนรัก คู่ชีวิตหรือคู่ครองเป็นเป้าหมายชีวิตของหลายคน ในหลายวัฒนธรรม พ่อแม่จะรู้ลึกโล่งอกและสบายใจเมื่อลูกชาย หรือลูกสาวของตนก็ตามแต่งงานมีครอบครัว "พ่อแม่สบายใจ ลูกๆ มีเหย้ามีเรือน เป็นฝั่งเป็นฝาแล้ว" ความหมายสำคัญคือ การมีคู่ครอง หมายถึงการมีความมั่นคงในชีวิต มีหลักประกันชีวิตในบั้นปลายของชีวิตแล้วจะมีคนดูแลแน่ๆ ยามแก่ชรา ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ แต่นั่นคือ ความเสี่ยง เรากำลังยอมให้คนอื่นมากำหนดสุข ทุกข์ เพราะอีกด้านของสุข คือ ทุกข์

ความว้าเหว่ ความเหงา รวมถึงแรงขับจากความรู้สึกเชิงลบต่างๆ : เครียด กลัว โกรธ อับอาย แค้น เศร้า หดหู่ ฯลฯ เป็นแรงผลักที่ทำให้เราก่อเกิดปฏิกริยาต่างๆ ปฏิกริยาสำคญ คือ การหลบหนีไปจากตนเองเพื่อไปอยู่กับบุคคล หรือสิ่งอื่นๆ เรื่องราว หรือกิจกรรมต่างๆ หากสังเกตให้ดี นี่คือ ภาวะที่พวกเราหลายคนอยู่กับภาวะปัจจุบันขณะไม่ได้ จิตใจมักเฝ้าวิ่งหาเรื่องราวต่างๆ มาเกาะกุม ครุ่นคิด "จิตไม่ชอบอยู่ว่าง" และเรื่องราวที่จิตใจมักวิ่งหามี 4 ลักษณะด้วยกัน เริ่มต้นที่

1) เรื่องของฉัน บริบทนี้เป็นบริบทที่จิตใจมักครุ่นคิดเรื่องของตนเอง สุข ทุกข์ ชีวิต ปมเด่น ปมด้อย อัตลักษณ์ ความเป็นมาของตนเอง เวลาที่เราอยู่กับบริบทเรื่องของตนเองมาก อาการที่เกิดขึ้นตามคือ การหมกมุ่นครุ่นคิด และยึดถือเรื่องของตนเองเป็นใหญ่จนมองไม่เห็น หรือไม่รับรู้สิ่งอื่นๆ สภาพในจิตใจกลายเป็นคุกกักขัง จิตใจมีสภาพหดหู่ หนักหน่วงในใจ

2) เรื่องของเธอ บริบทนี้เป็นบริบทที่จิตใจมุ่งครุ่นคิดเรื่องของคนอื่น คนอื่นที่เข้ามาในชีวิต คนใกล้ตัว หรืออยู่ห่าง หัวสมองจิตใจมักครุ่นคิดเรื่องของเขาหรือเธอเหล่านั้น ทำไม อะไร อย่างไร จึงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ปฎิกริยาสำคัญคือ ความรู้สึกที่เรามักโยนใส่คนอื่น : โกรธ เกลียด ชอบ เคืองแค้น สภาพนี้ทำให้จิตใจเสมือนมีกองไฟสุมหรือขอนไฟสุมในอก กระตุ้นเร้าให้เราต้องลงมือกระทำอะไรสักอย่างเพื่อลดทอนหรือบรรเทา ความรุ่มร้อนในจิตใจ

3) เรื่องของอดีต อดีต คือ ความเป็นมาที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่หลายคนครุ่นคิดกับเรื่องของอดีตเนื่องด้วยความผูกพัน และการไม่ปล่อยวางกับเรื่องราวที่ผ่านมาแล้ว อดีต ในด้านหนึ่งให้บทเรียนชีวิตเพื่อให้เราได้เติบโต แต่หากยึดติดเรื่องราวอดีตทำให้เราต้องจมจ่อมกับความรู้สึกผิด เสียใจ เศร้าซึม หรืออาจเป็นความรู้สึกแค้นเคือง ผูกใจอาฆาต ชีวิตเหมือนมีขื่อคาถ่วงรั้งผูกพัน ไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขหรือเปิดรับความเป็นไปในภาวะปัจจุบันได้

4) เรื่องของอนาคต ความกังวลคือ ความรู้สึกพื้นฐานที่มักเกิดขึ้นกับอนาคตที่เราคาดไม่ถึง หรือไม่รู้ คือ ความกังวล วิตกครุ่นคิด อนาคตเป็นสิ่งที่ยังไม่มาถึง เราครุ่นคิดกับเรื่องที่ยังมาไม่ถึงเพราะคาดหวังว่าเราอาจค้นพบคำตอบจากการคิดล่วงหน้า น่าเสียดายที่เรื่องราวที่คิดตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน และเลื่อนลอย แต่เพราะอุปนิสัยจิตใจที่ไม่ยอมรับความจริงเรื่องนี้ การครุ่นคิดกังวลจึงเป็นการกระทำที่สูญเสียพลังโดยใช่เหตุ โดยสรุปการหนีหายไปจากภาวะปัจจุบันทั้ง 4 ลักษณะ จึงเป็นภาวะที่จริงๆ แล้ว เราไม่ได้อยู่กับตัวเอง ไม่ได้อยู่กับเรื่องราวตรงหน้า บุคคลตรงหน้าหรือธรรมชาติที่แวดล้อม ณ ขณะนั้น เพราะสิ่งที่เป็นตัวกั้นกลาง ประสบการณ์ระหว่างตัวเรากับสิ่งรอบตัว ก็คือ สิ่งที่เราหมกมุ่นหนึ่งในสี่ลักษณะ

ผู้เขียนรวมถึงหลายคนที่เคยมีประสบการณ์ได้พบปะท่านทะไลลามะ เราต่างมีประสบการณ์ร่วมกัน คือ ความรู้สึกประทับใจท่าน อันเนื่องด้วยท่าทีการสัมผัส ทักทาย รอยยิ้มที่ภาวะขณะนั้น เราสัมผัสได้ว่า ท่านมองเห็นและกำลังทักทายบุคคลสำคัญที่มีคุณค่าและอยู่ตรงหน้าของท่าน ณ ขณะ นั้นพลังของปัจจุบันขณะก่อเกิดสัมผัสที่ไร้ของเขต ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีเราหรือเธอ มีแต่ภาวะเลื่อนไหลชีวิต พร้อมกับการหยั่งถึงภาวะของความตระหนักรู้ในความรู้สึกตัว ภาวะที่เหนือพ้นการแบ่งแยกเรา ท่าน ฉัน เธอ และเมื่อนั้น ความเงียบเหงา ว้าเหว่ ทุกข์ระทมแบบเหมยลี่ก็จะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เราสามารถเป็นมิตรกับตนเองด้วยภาวะการอยู่กับปัจจุบัน ไม่มีความคิดนึก อารมณ์อันเนื่องมาจากการครุ่นคิดที่ไปในอดีต อนาคต เรื่องราวของเราหรือของเธอ เมื่อนั้น ชีวิตก็มีแต่ความรื่นรมย์เพราะเรามีมิตรที่แท้ได้ คือ ตนเอง

โดย.....ชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >