หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 71 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนนักสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3 (ค่ายสัมผัสชีวิต ครั้งที่ 3) พิมพ์
Wednesday, 18 May 2011

ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนนักสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3

ระหว่างวันที่ 2 - 6 พฤษภาคม 2554

ณ หมู่บ้านพะกา อ.แม่สอด จ.ตาก

Image

ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนนักสิทธิมนุษยชนในครั้งนี้ มุ่งหวังให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาของชนเผ่าปกาเกอะญอโดยใช้กระบวนการสัมผัสชีวิต เรียนรู้วิถีความเป็นอยู่ของชุมชน โดยเฉพาะในประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชนเผ่ากับการจัดการทรัพยากรใน ชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือให้เกิดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนในระดับลึก สร้างเครือข่ายเยาวชนให้เป็นแกนนำส่งเสริมการเคารพสิทธิของคนในสังคม ให้เยาวชนเข้าใจในคุณค่าของชีวิต สามารถเชื่อมโยงเข้ากับการปฏิบัติชีวิตประจำวันได้ เคารพเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น และนำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป โดยอาศัยกระบวนการวิเคราะห์สังคม (See Judge Act) ซึ่งครั้งนี้ได้คัดเลือกเยาวชนจำนวน 12 คน ที่เคยเข้าร่วมค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ค่ายฯ ครั้งที่ 4, 6, 7, 8 และ 9

หมอชิต คือสถานที่นัดหมายแรกที่เราเจอกันในเช้าวันที่ 2 พฤษภาคม เวลา 08.00 น.เราออกเดินทางโดยรถปรับอากาศ กรุงเทพฯ - แม่สอด บรรยากาศการพบหน้ากันของเหล่าเยาวชนกับกลุ่มพี่ๆ เต็มไปด้วยความกังวลปนตื่นเต้น เพราะหลายคนคาดเดาหน้าตาไม่ออกเลยทีเดียว เพราะไม่พบหน้ากันนานหลายปี โดยเฉพาะน้องหนุ่ย หนุ่มน้อยจากสกลนคร เข้าค่ายยุวสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 4 เมื่อปี 2551 โน่น ถัดมาก็น้องต้องค่าย 6 และคนอื่นๆ... ถัดมา ค่ายหลังๆ ยังพอนึกหน้าออกว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะค่าย 9 มากันหลายคน การเดินทางในเช้านั้นพี่เล็กกะพี่อัจผุดลุกผุดนั่ง เพราะต้องประสานกับทั้งนายตั้ม และพนักงานขับรถเพราะกลัวนายตั้มจะมาไม่ทันรถออก ส่วนพวกเราเหล่าเยาวชนต่างนิ่งเงียบมีเสียงพูดคุยกันบ้างก็แต่กับเพื่อนที่รู้จักกัน และแล้วบรรยากาศแห่งความอึดอัดก็เริ่มต้นขึ้น เมื่อเหล่าพี่ๆ สั่งให้กินยาป้องกันเชื้อมาลาเรีย ไม่อยากกินแต่ก็ต้องกินเพราะหนึ่งไม่มั่นใจกับสุขภาพของตัวเองนักและสองกังวลคำว่า "ป้องกันไว้ดีกว่าแก้" นั่นแหละถูกต้องที่สุด เป็นอะไรไปจะลำบากคนอื่นอีก แต่ด้วยความรับผิดชอบจริงๆ ที่เหล่าพี่ๆ ต้องขอโทษน้องๆ มา ณ โอกาสนี้ ด้วยความรับผิดชอบ และด้วยความระแวดระวังอย่างเต็มที่ของเหล่าพี่ๆ เพราะลูกชายลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของคนอื่นมาอยู่ในความดูแลของเราแล้วนี่นะ ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานในหมู่บ้านก็แนะนำว่า ควรป้องกันเชื้อมาลาเรีย เถอะน่านะ ปลอบใจ! กินก็กิน พวกพี่ก็กินด้วยทุกคนแหละ... ไม่มีเว้น เป็นอันว่าเช้านั้นพวกเราอัดกันไปคนละ 3 เม็ด จากนั้นก็พักสายตาโดยสารไปกับรถอย่างเงียบงันตลอดการเดินทาง เว้นก็แต่หนุ่มปอนด์กับหนุ่มนัขออกกำลังปากกรอบแกรบๆ ตลอดทาง ถึงสิงห์บุรีแวะพักทานข้าวเที่ยง แต่ละคนยิ้มแหยๆ ลงจากรถมาด้วยสภาพอิดโรย มึนๆ หัวคล้ายเมารถ หูอื้อ ตาลาย กินอาหารไร้รสชาติ แต่ก็ผ่านไปด้วยดี ไมเคิลยังพอคุยกันรู้เรื่องอยู่... ใจหนึ่งก็แอบคิดว่า เอ๋! เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายฉันหนอ หรือว่าเหนื่อยเพราะเมื่อคืนนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกังวลกลัวตื่นไม่ทันเวลานัด รถออกเดินทางต่อไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ วกวนไปตามไหล่เขาแถวๆ แม่สอด ถึงด่านตรวจห้วยยะอุ สถานที่นัดหมาย แต่ละคนลงรถมาด้วยอาการมึนงงทุลักทุเลไม่เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้น พี่เล็กหน้าซีด ตาฉันก็ลาย หูฉันก็อื้อ ตัวเบาโหวงๆ เอ๊ะ! นั่น นั่งหมดสภาพอยู่นั่น นายบาสนี่นา เป็นอะหยัง? ทำไมนั่งกองอยู่กับสัมภาระอย่างนั้นล่ะครับ หมดหล่อเลย อุตส่าห์เก๊กมาตั้งนาน ตรูไม่ไหวแล้วว้อยย....ส่วนคนอื่นๆ สภาพก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก บ้างยืนเฉยยย... บ้างก็นั่งกุมขมับอยู่อย่างนั้น งงว่าเป็นอะไรกัน รถทัวร์ก็แสนจะใจดี ใจเย็นมีน้ำใจ โดยเฉพาะขอชื่นชมหนุ่มน้อยกระเป๋ารถทัวร์นั่น ที่เข้าไปนั่งคู้ตัวอยู่ใต้ท้องรถช่วยพวกเราเต็มกำลังในการหยิบกระเป๋าออกมาทีละใบๆ ว่า อันนี้ใช่ไหม ใบนี่ใช่ไหม? อันนี้ใช่หรือไม่ๆ อยู่อย่างนั้นนานมาก พี่ไพเองก็เริ่มจะหงุดหงิดน้องๆ เรียกน้องๆ ไปช่วยตรวจเช็คกระเป๋าและสัมภาระของตัวเองที เพราะพวกพี่ไม่แน่ใจ ไม่รู้ว่าของน้องๆ ใบไหนบ้าง แต่เอ๊ะ! ไม่ว่าจะพูดเสียงดังขนาดไหน แต่ไฉนเสียงของฉันเหมือนแว่วลอยมาแต่ไกลๆ น้องๆ มาช่วยดูหน่อยสิว่า กระเป๋าของเราหรือไม่ พี่ๆ ไม่รู้ว่า ใบไหนเป็นของใคร น้องๆ และพี่ๆ บางคนไม่มีปฏิกิริยาตอบรับ ยังคงนั่งหมดสภาพอยู่อย่างนั้นเช่นเดิม ที่สุดกระเป๋าถูกวางเกลื่อนอยู่ต่อหน้า ทีนี้เช็คสิว่าของตัวเองอยู่นี่ไหม? ครบครับ ทีนี้แหละลมออกหู หูอื้ออย่างแรง ลมในท้องก็ปั่นป่วน โอ๊กอ๊ากๆ ประมาณว่า ข่อยสิ... ฮาก. นั่นแหละถึงเข้าใจสภาพของน้องๆ ว่าเป็นอะไรไป สภาพพี่นุชสิน่าขำ เหมือนคนขาดสติ สองมือยกขึ้นควานหากระเป๋าใต้ท้องรถ ส่งเสียงล่องลอย "กระเป๋าอยู่หนายๆ" หนุ่มน้อยกระเป๋ารถทัวร์ยังมีน้ำใจบริการเต็มที่ ยกมือไหว้ขอบคุณพวกเรากันอีก ซาบซึ้งจริงๆ รถทัวร์เคลื่อนไปแล้ว สักพัก พี่ๆ ลืมไว้บนรถหรือเปล่าครับ? อ้าว!.. หนุ่มน้อยคนเดิมเดินยิ้มแฉ่งถือกระเป๋ากล้องถ่ายรูป และกล้องวิดีโอมายื่นให้ เท่านั้นแหละทั้งกลุ่มแทบกรี๊ด เพราะของที่ดันลืมไว้ราคารวมกันไม่ใช่เบาเลย พวกเราจึงรู้สึกขอบพระคุณหนุ่มน้อยเป็นล้นพ้นเพราะก่อนหน้านั้นก็เห็นความน่ารักอยู่เนืองๆ แล้ว ไม่ว่าจะช่วยยกและเช็คกระเป๋าให้ (ทั้งๆ ที่พวกเราแต่ละคนดูไม่ค่อยจะสนใจสัมภาระของตนเองเลย) อย่างนี้ ต้องขอขอบพระคุณ และฝากแรงใจกำลังใจดีๆ ในการทำหน้าที่ของพนักงาน บริษัทบขส. กรุงเทพฯ - แม่สอด ด้วยแล้วค่ะ

Image 

ถึงด่านตรวจห้วยยะอุ แม่สอด ราวๆ 16.00 น. เข้าหมู่บ้านพะกา ด้วยรถของพี่ประสงค์ หินฝนทอง และผู้ใหญ่บ้านพะกา มารอต้อนรับ (พี่ประสงค์ เล่าให้ฟังทีหลัง ถึงความรู้สึกในวันที่ไปรับที่ห้วยยะอุคือ ตอนแรกที่เห็น นึกว่าน้องๆ โดนพี่อัจบังคับให้มาหรือเปล่านี่? เพราะสังเกตว่า น้องๆ ไม่สนใจ ไม่มีปฏิกิริยาตอบรับ หน้านิ่งเฉยจนพี่ประสงค์และผู้ใหญ่บ้านต้องถอยหลังตั้งหลักกันใหม่เลยทีเดียว)

หมู่บ้านพะกา อ.แม่สอด จ.ตาก อยู่ไม่ไกลจากทางหลวงนัก บรรยากาศในหมู่บ้านสองฟากฝั่งทางเข้าร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่เขียวชอุ่มตา อากาศสดชื่น พวกเราสูดหายใจเอาอากาศเข้าเต็มปอดฟื๊ดใหญ่ๆ จากนั้นก็แยกย้ายไปแต่ละบ้านโดยมีแม่บ้านมาคอยต้อนรับพวกเราด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม พวกเราถูกแบ่งออกไปอยู่ตามบ้าน 7 หลัง บางหลังมีเพียงพี่ 1 และน้อง 1 คน แต่ส่วนใหญ่น้องไปอยู่กับชาวบ้าน 2 คนพร้อมพี่ 1 คน

ค่ำนั้น เราประชุมร่วมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน พี่เล็กอธิบาย หรือเรียกว่า ปฐมนิเทศ พร้อมกับพี่ประสงค์และผู้ใหญ่บ้านช่วยแนะนำหมู่บ้านให้พวกเราฟัง ชื่อเดิมของหมู่บ้านคือ บ้านยางห้วยยะอุ (คำว่า ยาง แปลว่า กระเหรี่ยงชาวบ้านไม่ชอบ) จึงขอเปลี่ยนชื่อใหม่คือ บ้านพะกา เป็นหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ(คำว่า ปกาเกอะญอ แปลว่า คน) มีอายุมากถึง 120 ปีแล้ว มีจำนวน 121 ครัวเรือน ประชากร 500 กว่าคน ชื่อพะกานี้มาจากชื่อผู้ใหญ่บ้านคนแรก อาชีพหลักของชาวบ้านคือ เกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ข้าวโพด ปลูกถั่วเขียว เลี้ยงสัตว์ อาชีพหนึ่งที่ชาวบ้านเริ่มให้ความสนใจระยะหลังนี้คือ ปลูกมันสำปะหลังเพราะราคาดี การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ผลิตเพื่อกิน แต่ปัจจุบันผลิตเพื่อขาย เช่น ทำไร่ข้าวโพด จากปากคำชาวบ้านพบว่า การทำไร่ข้าวโพด (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) เข้ามาในชุมชนได้ประมาณ 10 ปีแล้ว มาพร้อมกับเงินทุน จากการซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และสารเคมี

แต่หลังจากพูดคุยเสร็จกำลังเดินเข้าบ้าน ไมเคิลพูดว่า "พี่ๆ พูดอะไรกัน ผมไม่รู้เรื่องเลย" ทำท่ายกสองมือขึ้นทำนองบอกใบ้แบ๊ะๆๆ... ฉันไม่ได้ยินอะไรเลยซะงั้น... ขนาดนั่งติดๆ กับพี่เล็กนะเนี๊ยะ น่าสงสารก็แต่พี่เล็กเนี่ยแหละ อุตส่าห์กัดฟันพูดซะยาวเหยียดด้วยความอ่อนระโหยโรยแรง แต่เสียงคุณเธอก็ไม่สามารถฝ่าวงล้อมของอาการหูอื้อได้เลย นี่ขนาดนั่งชิดติดกันเพียง 21 ชีวิตเท่านั้นเอง (เยาวชนฯ 12, พี่ ยส. 7, พี่ประสงค์ และผู้ใหญ่บ้าน)นัดแนะกันเรียบร้อยแยกย้ายกลับเข้าบ้านนอนหลับฝันดี

คำทักทายในเช้าแรกสุด hot คือ เมื่อคืนนอนหลับเป็นตาย หัวเหอแทบยังไม่ถึงหมอนตาก็หลับก่อนแล้ว พวกเราส่วนใหญ่ตื่นแต่เช้าช่วยเตรียมอาหาร ชาวบ้านที่นี่ตื่นแต่เช้าตรู่ (ตีสี่) หุงหาอาหาร กินข้าวเช้าเสร็จเรียบร้อย เตรียมห่อไปกินในไร่ตอนกลางวันการเดินทางเข้าไร่ต้องใช้รถอีแต๊ก...(คล้ายรถอีแต๋นใช้ไม้ทำเป็นคอกกระบะหลัง แล้วต่อเข้ากับตัวเครื่องรถไถนาคูโบต้า หรือควายเหล็ก) รถวิ่งไปตามลำธาร เส้นทางน้ำที่ไหลเป็นทางยาวไม่เห็นที่สิ้นสุด ตลอดสองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ พืชผักกินได้ บรรยากาศชุ่มฉ่ำ พวกเราสนุกสนานกับการนั่งรถอีแต๊กหย่อนขาสัมผัสความเย็นสบายของสายน้ำตลอดทาง เพียงเท่านี้ก็สุขใจแล้ว ถึงไร่ที่มองเห็นแต่ไกลเป็นทุ่งโล่ง ลักษณะที่ราบจะเป็นทุ่งนา ตามไหล่เขาจะเป็นแปลงดินที่ผ่านการไถสำหรับปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง และข้าวโพด

Image 

การร่วมกิจกรรมกับครอบครัววันนี้ เหล่าบรรดาลูกๆ ต้องไปทำฝายผันน้ำเข้านา บ้างก็ถางป่าหญ้าเตรียมดินในไร่บ้างก็ทำปุ๋ยหมัก ฯลฯ สนุกสนานดี ไม่เหนื่อย และเนื่องจากนาอยู่ไม่ห่างกันนัก พวกเราส่วนใหญ่จึงเคลื่อนพลไปกินข้าวร่วมกันกลุ่มใหญ่ที่เถียงน้อยปลายนาอย่างมีความสุข ขณะปากกินข้าวไปตาก็ลัดเลาะไปกับบรรยากาศรอบๆ บริเวณต้นไม้ใหญ่ สายน้ำที่ไหลเป็นทางยาว ฝูงควายที่เล็มหญ้าฝูงใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ พืชสัตว์รอบๆ สายน้ำนั่น มันช่างมีความสุขเสียจริงๆ เมื่อหนังท้องตึงหนังตาก็หย่อน ยังพอมีเวลาให้พักผ่อนนอนเล่นตอนกลางวันอีก บางคนก็นอนเปล บ้างก็นอนผึ่งเต็มที่บนกระท่อม พอได้เวลาบ่าย 3 แดดร่มลมตกจึงค่อยๆ ทยอยกันลงไปทำงานในไร่ต่อ นี่แหละหนา ชีวิตชาวนา ช่างคิดได้ (ฉลาดในการใช้ชีวิต) และมีอิสระเสียจริงๆ ตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อให้ร่างกายรับอากาศที่แสนจะสดชื่นในยามเช้า ตอนกลางวันแดดแรงก็ไม่ต้องหักโหมทำงานหนักสู้แดด จัดเวลานอนพักเอาแรงไว้ต่อตอนแดดอ่อนดีกว่า เช่นนี้แล้ว เมื่อเทียบกับพวกเรา ไม่ว่า อากาศจะร้อนอบอ้าวหนักหนาสาหัสอย่างไรก็ต้องสู้ แม้จะไม่ต้องไปทำงานหนักกลางแดดกลางนาก็ตาม แต่การทำงานหัวเป็นน๊อตตัวเป็นเกลียวอย่างคนในเมือง ที่ปากกัดตีนถีบก็มีให้เห็น คนบางคนแทบจะไม่มีเวลาทานข้าวด้วยซ้ำเพราะกลัวงานไม่เสร็จ ต้องรีบไปประชุม ฯลฯ... และเย็นนั้น พวกเราเดินทางกลับบ้านด้วยการลุยน้ำเก็บผักกูด มะเขือพวง มะม่วง ผักอื่นๆ หอบเต็มข้อแขน ระหว่างทางก็ได้สัมผัสกับธรรมชาติ มิตรภาพ และการช่วยเหลือกันของคนในชุมชน เพราะระหว่างทาง มีการทักทายกันของชาวบ้านด้วยใบหน้ายิ้มแย้มต้อนรับ และมีคนใจดีให้เราได้อาศัยนั่งรถอีแต๊กกลับบ้านด้วยเพราะทางอีกยาวไกลกว่าจะถึงบ้าน.

พอตกค่ำ ช่วงแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน ส่วนใหญ่สิ่งที่พวกเราได้สัมผัสและแบ่งปันในคืนนี้คือ "ประทับใจพ่อแม่ที่ไปอยู่ด้วย ท่านดูแลเอาใจใส่พวกเราอย่างดี..." "ประทับใจกับการแบ่งปันที่ชาวบ้านมีให้กัน การช่วยเหลือกันในชุมชน""การทำงานไม่ได้ลำบาก แต่เหนื่อยเพราะแดดแรง" "สภาพหมู่บ้านไม่ได้ลำบากอย่างที่คิดไว้ เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกไม่แตกต่างกับในเมืองมากนัก..." "สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ กว่าจะได้อะไรมาแต่ละอย่างไม่ใช่ง่าย ต้องแลกด้วยหยาดเหงื่อแรงกายของชาวบ้าน" "ทำให้เห็นคุณค่าของชาวนา เห็นคุณค่าของข้าวปลาอาหาร" จากการทำปุ๋ยหมักทำให้รู้ว่า "การใช้สารเคมีมันไม่ดีอย่างไร ทำลายแร่ธาตุในดิน ทำให้ดินแข็ง ที่สุดส่งผลต่อคุณภาพพืช สัตว์ และแหล่งอาหารที่อาศัยดินเป็นที่อยู่อาศัย"

กิจกรรมวันที่สอง พวกเราไปทำงานในไร่นาเหมือนเดิม มีบ้างที่ไปจับปลากันสนุกสนาน พอตกเย็นฝนตกหนักเลยทำให้ไม่สามารถมารวมกลุ่มกันได้ จึงจำเป็นที่แต่ละบ้านจะต้องทำการพูดคุยกันเองที่บ้านพร้อมพ่อกับแม่ในครอบครัว ทราบว่า น้องๆ ได้ทบทวนและเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตมากขึ้น

Image 

วันที่สาม จากกำหนดการเดิมคือ ทำฝายหมู่บ้านร่วมกัน เป็นอันต้องพับเก็บไปเพราะชาวบ้านไม่สะดวก แต่พวกเราก็ได้มารวมกลุ่มกันไปปลูกมันสำปะหลังซึ่งช่วยให้บรรยากาศการปลูกมันวันนั้นแสนสนุก แม้แดดจะร้อนแรงสักหน่อยแต่พวกเราก็สนุกกับการทำงาน หยอกล้อพูดคุยกันในกลุ่มใหญ่ งานเสร็จเอาราวๆ ก่อนเที่ยง ยังพอมีเวลาเหลือจึงนัดแนะไปชมบรรยากาศริมเมย (เขตแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จ.ตาก) แต่อาหารเที่ยงวันนั้นแสนพิเศษเพราะพวกเราได้รับเกียรติจากชาวบ้านในการเชิญไปกินเลี้ยงขึ้นบ้านใหม่ของคนในหมู่บ้าน เขาเรียกพวกเราว่า "ลูกๆ นักศึกษา" จากการสังเกตลักษณะบ้านพบว่า บ้านแต่ละบ้านอยู่ติดกันเรียงรายลดหลั่นลงมาข้างล่างซึ่งเป็นถนนเข้าหมู่บ้าน แต่ละบ้านไม่มีรั้วกั้น ไม่ต้องล็อคกุญแจอย่างแน่นหนา หรือมีคนเฝ้าให้เปลืองแรง บ้านแต่ละหลังมีใต้ถุนสูง อาจจะเพราะสภาพบ้านที่ปลูกตามไหล่เขา ซึ่งจะเอื้อต่อการไหลของน้ำ เมื่อพวกเราเดินผ่านบ้านแต่ละหลังที่มีผู้อาศัยอยู่ บ้างก็กำลังทานข้าว พูดคุยกัน จะได้ยินคำเชื้อเชิญกินข้าว ดื่มน้ำ ทักทายด้วยใบหน้าที่แย้มยิ้ม แม้ภาษาจะสื่อกันได้ไม่ค่อยถนัดนัก แต่ด้วยน้ำมิตรไมตรีต้อนรับผู้มาเยือน เราต่างสัมผัสได้ถึงความน่ารักของชาวบ้านทุกคน บ้านใหม่ปลูกด้วยไม้หลังใหญ่โต วัฒนธรรมขึ้นบ้านใหม่ของชาวบ้าน ทราบว่า พ่อบ้านแม่บ้าน และทุกคนในหมู่บ้านจะถูกเชิญให้ไปช่วยกันทำอาหารการกินร่วมกัน สังสรรค์เฮฮากัน ส่วนใต้ถุนบ้านเห็นวงคาราโอเกะวัยรุ่นน้อยใหญ่กำลังร้องเพลงปกาเกอะญอและเพลงไทยลูกทุ่งกันสนุกสนาน ทำเอาคนแอบได้ยินอมยิ้ม เพราะภาษาปกาเกอะญอช่างอ่อนหวานและงดงามจริงๆ

บรรยากาศริมเมยคล้ายตลาดใหญ่ทั่วไป มีประเภทของใช้ ของกิน ของฝาก จานชาม กะละมัง หม้อ ไห เสื้อผ้า บรรดาของฝากยอดนิยมอื่นๆ แต่ที่เห็นและแตกต่างจากที่อื่นคือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ ตู้ เตียง ประตู หน้าต่าง มีหมดราคาไม่แพงนัก เวลามีไม่มากนัก ระหว่างทางได้ไปแวะชมสวนผสมผสานซึ่งศูนย์สังคมพัฒนา นครสวรรค์ เป็นผู้ดูแล

กลับถึงที่พักราวๆ 6 โมงเย็น พวกเราก็ได้เวลาร่วมกันวิเคราะห์ไตร่ตรองประสบการณ์จากการเรียนรู้สัมผัสชีวิตร่วมกัน สรุปได้ว่า สิ่งที่พวกเราประทับใจมากคือ การต้อนรับ การดูแลเอาใจใส่อย่างอบอุ่นจากพ่อแม่และชาวบ้านที่นี่ ได้เห็นความรักความเอื้ออาทร และการช่วยเหลือกันของสมาชิกในครอบครัว รับรู้ถึงหยาดเหงื่อแรงงานที่ชาวไร่ชาวนาได้ทำ กว่าจะได้มาต้องแลกด้วยความทุกข์ยากลำบากของชาวบ้าน เพราะชาวนาต้องทำแบบนี้อยู่ทุกปี เมื่อเทียบกับพวกเราที่มาสัมผัสเพียงแค่ 3 วันเท่านั้น ยังเหนื่อยขนาดนี้ ทำให้เห็นคุณค่าของผลิตผลที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้าว อาหาร และเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ พวกเราจะนำกลับไปเป็นข้อคิดแนวปฏิบัติในการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น เห็นใจพ่อแม่ จะคิดมากขึ้นในการใช้จ่ายเงิน ไม่หลงไปกับกระแสวัตถุนิยม เห็นคุณค่าของการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้คุณค่าและเห็นความสำคัญของข้าวทุกเม็ด ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานให้มากขึ้น เข้าใจหลักในการใช้ชีวิตว่า มนุษย์เกิดมามีชีวิตหนึ่งไม่ได้ต้องการอะไรมากมายนอกเหนือจากปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตเท่านั้นเอง และเห็นว่า สิ่งสำคัญคือ นำข้อคิดบทเรียนที่ได้จากการมาเรียนรู้ความยากลำบากของชาวบ้านที่นี่ เหนืออื่นใด ต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน ที่จะมีจิตสำนึกในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า

จากนั้น พี่ประสงค์ได้เล่าให้ฟังถึงวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอ ทำให้พบว่า การดำรงชีวิตของชาวปกาเกอะญอเต็มเปี่ยมไปด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ และท้ายที่สุดพี่ประสงค์ได้แบ่งปันบทพระคัมภีร์ตอนหนึ่งที่บอกเล่าถึง อัศจรรย์แห่งการแบ่งปัน (ลก9:12-17) ขนมปังห้าก้อน กับปลาสองตัว ทำให้นึกย้อนไปถึงคำสอนเก่าแก่เช่นว่า ถ้าเรามีปลาอยู่หนึ่งตัวจะทำอย่างไรให้กินได้นานที่สุด แน่นอนไม่ใช่กลวิธีใดๆ ในการถนอมอาหาร แต่เป็นการแบ่งอาหารนั้นๆ ให้กับเพื่อนบ้าน ถึงตอนนั้นอัศจรรย์ของการแบ่งปันของเราจะไม่มีที่สิ้นสุด.

Image 

ค่ำคืนสุดท้าย พวกเราได้รับเกียรติพิเศษจากคุณพ่อมนัส ศุภลักษณ์ มาร่วมรับประทานอาหารค่ำกับพวกเราร่วมกับพ่อแม่ครอบครัวที่พวกเราไปพักอาศัย คุณพ่อได้เล่าถึงความประทับใจที่มีต่อพี่น้องชาวปกาเกอะญอจนถึงทุกวันนี้ พร้อมทั้งบรรดาลูกชายลูกสาวของพ่อแม่ก็ได้แต่งตัวด้วยการชุดเชวา (ชุดคลุมยาวสีขาว-สำหรับหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานสวมใส่) และสำหรับลูกชายก็ได้สวมเสื้อครึ่งตัวที่มีสีสันสะดุดตา พ่อแม่ดีใจเหล่าลูกๆ ก็ยิ้มแก้มแทบปริ.

เช้าวันที่ 6 ตามกำหนดการเดินทางกลับโดยรถทัวร์บริษัท บขส. กรุงเทพ-แม่สอด เวลา 08.00 น. เหล่าแม่ๆ และพวกเราต่างก็ร่วมเดินเท้าออกมาจากหมู่บ้านพะกามารอขึ้นรถที่ด่านห้วยยะอุ รถมาถึงแล้ว ลูกๆ ของแม่กำลังจะลาจากแล้ว ระหว่างก้าวขาขึ้นรถได้เหลียวหลังไปมองแม่ๆ ทั้งหลาย ภาพที่เห็นคือ สายตาแม่ๆ ที่มองลูกๆ ช่างเศร้าหมอง แม่บางคนถึงกับน้ำตาไหลเต็มหน่วยตาด้วยความคิดถึงลูกสาว ลูกชายที่กำลังจะจากลา จึงทำให้รู้สึกใจหาย และตั้งใจไว้ว่า ถ้ามีโอกาสจะแวะเวียนไปเยี่ยมท่านอีก สิ่งที่พวกลูกๆ ทำได้ตอนนี้คือ ขอให้ท่านๆ มีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงปกปักรักษาท่านให้รอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ขอให้ท่านพบเจอแต่ความโชคดีตลอดไปเทอญ.

Image 

 

***************************************************

ข้อคิดเพิ่มเติม :

1. เพื่อไม่ให้ผิดหวังกับสถานที่ที่ไม่ได้ลำบากอย่างที่คิด?เข้าใจวัยอย่างพวกเราที่อยู่ในวัยกำลังเสาะแสวงหาอยากทำอะไรให้เต็มเหนี่ยวอยู่แล้ว แต่อยากจะให้แง่คิดอีกมุมหนึ่งว่า การที่เราจะเรียนรู้อะไรได้นั้น ไม่จำเป็นจะต้องไปพบเจออะไรชนิดที่ว่า ต้องสุดๆ ปะทะแบบสุดๆ ได้ใจสุดๆ แบบนั้น แต่เราลองมองมาที่ใจเราดูสิ การอยู่นิ่งๆ คิดพิจารณาจิตใจของเราก็เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งดูว่า ตลอดช่วงเวลาที่เราไปอยู่กับชาวบ้าน ไปอยู่กับครอบครัวพ่อแม่ กระทั่งกับเพื่อนๆ ของเรานั้น เราได้ทำอะไรบ้าง การกระทำของเราได้ไปละเมิดหรือไปรุกรานคนอื่น หรือไปเป็นภาระให้คนอื่นหรือไม่ คำพูดหยอกล้อของเราได้ไปละเมิดหรือดูถูกคนอื่นหรือไม่ การพูดคุยเสียงดัง การเดินบนบ้าน การใช้ทรัพยากรของเราได้ไปเป็นภาระให้คนอื่นหรือไม่ การกินอยู่ของเราได้ไปสร้างความลำบากหรือเป็นภาระให้กับชาวบ้านหรือไม่ เช่น เราเคยชินกับการต้องเปิดพัดลมห่มผ้านอน ระหว่างอยู่กับชาวบ้านนั้น อากาศเย็นสบายถึงขั้นหนาวด้วยซ้ำ แต่เราได้สร้างภาระเรื่องค่าไฟฟ้าให้ชาวบ้านหรือไม่?

2.อยากให้ทบทวนดูว่า เคยมีสักเวลาไหมที่หยุดนิ่งฟังเสียงธรรมชาติหรือว่าคุ้นชินอยู่กับความสนุกสนานแบบในเมือง ถ้าอย่างนั้นแล้วเราจะไปเสาะแสวงหาแหล่งเรียนรู้ให้เสียเวลาไปทำไม เราลืมไปหรือเปล่าว่า เรามาที่นี่เพื่อเรียนรู้อะไร?... เคยสังเกตหรือรู้สึกไหมว่า ทำไมต้นไม้ใหญ่จึงให้ร่มเงาเย็นสบายนักแก่ผู้พักอาศัย ให้ที่พักแก่นกหนู พืชสัตว์น้อยใหญ่ กล้วยไม้ได้เกาะเกี่ยว ลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเราสิ ฉันในฐานะที่เป็นมนุษย์ มีสติปัญญาที่ชาญฉลาด เราได้ทำคุณประโยชน์อะไรอย่างนั้นบ้างหรือไม่?

3. พวกเราบางคนพูดว่า ดีใจที่ได้มาที่นี่ เพราะที่นี่สอนฉันหลายอย่าง คุณค่าการแบ่งปัน การช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน ที่พวกเราได้รับจากชาวบ้าน และอยากจะเพิ่มเติมสักหน่อยว่า การเรียนรู้จากความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เช่น บางคนอาจจะเคยชินอยู่กับความสะดวกสบาย เราจะร่วมเรียนรู้อยู่กับความเป็นจริง เช่น เราเคยอยู่นอนห้องแอร์เย็นฉ่ำ ชอบเปิดพัดลมห่มผ้าแต่เรามาลองใส่ใจสักนิดจะดีไหมว่า อากาศในหมู่บ้านเย็นสบายดีอยู่แล้ว แต่เรากลับเปิดพัดลมห่มผ้านอนตลอดคืน เราจะไม่เดินเสียงดังรบกวนคนอื่นที่อยู่กับเรา การกระทำอะไรของเราก็แล้วแต่ลองนึกย้อนกลับไปดูว่า สิ่งเล็กน้อยที่เราได้ทำนั้นมันได้ไปกระทบหรือไปรุกรานคนอื่นหรือไม่อย่างไร นี่ต่างหากที่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรตระหนักรู้และเรียนรู้ได้ตลอดทุกเมื่อ ส่วนประกอบสำคัญคือ "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"

Image

Image

 

ความคิดเห็น
:)
เขียนโดย จีรวัฒน์ เปิด 2011-07-08 09:28:49
เพิ่งเปิดเข้ามาดูครับ ไม่ได้มาอ่านสักระยะแล้ว งานเยอะ... เนื้อหาน่าอ่านเหมือนเดิมครับ ดี.. ส่งเสริมสนับสนุนให้เขียนต่อ จะได้มีอ่านต่อ...
เขียนโดย Ice เปิด 2011-05-22 15:51:09
อิจฉาคับ :roll
(:
เขียนโดย พี่นุ๊ก ยส.8 เปิด 2011-05-20 18:11:20
บทความยาวขนาดนี้ไม่น่่าเชื่อว่านุ๊กอ่านจบ ฮ่าๆ 
แอบเสียใจนิดนึงที่ไม่ได้ไปค่ายนี้ด้วย และเชื่อว่าทุกๆคนที่ได้ไปค่ายนนี้ คงจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาไม่น้อยแน่ๆเลย
รักค่าย นี่มากกกกกก
เขียนโดย AiTumM เปิด 2011-05-20 16:45:47
คนแรก อ๊ะ !! อั้ยย๊ะ

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >