หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 55 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 1990/2533 : สันติกับพระเจ้าพระผู้สร้าง สันติกับสิ่งสร้างทั้งมวล พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 1990/2533
สันติกับพระเจ้าพระผู้สร้าง สันติกับสิ่งสร้างทั้งมวล

สารของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ฉบับนี้ เกิดขึ้นจากความห่วงใยว่า สันติภาพของโลกกำลังถูกคุกคาม ไม่เพียงแต่เพราะการแข่งขันสร้างอาวุธ ความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ และความ อยุติธรรมระหว่างประชาชาติและประเทศอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่เพราะ “การไม่เคารพธรรมชาติเท่าที่ควร” โดยการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและการถดถอยอย่างรวดเร็วของคุณภาพชีวิต

เมื่อเผชิญหน้ากับความเสียหายของสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ประชาชนในทุกหนแห่งจึงเริ่มเข้าใจว่า เราไม่อาจใช้ทรัพยากรของโลกดังเช่นอดีตที่เราเคยทำอีกต่อไป ในสมัยใหม่นี้ เริ่มมีความสำนึกถึงภาวะสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ซึ่งแทนที่เราจะเพิกเฉย สิ่งที่ต้องทำคือเราต้องพัฒนาให้เกิดกิจกรรมรูปธรรมและความคิดริเริ่มมากขึ้น

สารวันสันติภาพสากล ปี 1990 ฉบับนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาระบุว่า สิ่งที่ท้าทายและกำลังเผชิญหน้าโลกของเราทุกวันนี้ ล้วนเกี่ยวเนื่องกันและเป็นสิ่งยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการแก้ไขที่ประสานสอดคล้องกัน บนพื้นฐานของโลกทัศน์ที่มีศีลธรรม

สำหรับคริสตชน โลกทัศน์ดังกล่าวมีฐานอยู่บนความเชื่อมั่นทางศาสนา ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาหวังว่า แม้ผู้ที่ไม่ได้มีความเชื่อเช่นเดียวกับท่าน ก็สามารถค้นพบพื้นฐานร่วมเพื่อการพิจารณาไตร่ตรองและการกระทำจากสารฉบับนี้ได้ด้วย

สารฉบับนี้ระบุไว้ว่า เมื่อมนุษย์หันหลังให้กับแผนการของพระผู้สร้าง ก็ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ซึ่งมีผลต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งสร้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากมนุษย์ไม่มีสันติกับพระเจ้าแล้ว แผ่นดินก็ไม่อาจมีสันติภาพได้เช่นกัน

ความรู้สึกอันลึกซึ้งที่ว่า “แผ่นดินกำลังทุกข์ทรมาน” นี้ เป็นความรู้สึกร่วมของผู้ที่มิได้มีความเชื่อในพระเจ้า ที่จริง การทำลายธรรมชาติของโลกที่มีเพิ่มมากขึ้นนี้ประจักษ์ชัดแก่ทุกผู้คน

และสารฉบับนี้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “วิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาทางศีลธรรม”
รายละเอียดหลายอย่างของปัญหาสิ่งแวดล้อมในสารฉบับนี้ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยสารกล่าวไว้ว่า การทำลายอากาศชั้นโอโซนอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบแบบเรือนกระจก (Greenhouse Effect) จนบัดนี้มาถึงขั้นวิกฤติการณ์อันเป็นผลมาจากความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม จากการเติบโตของเมืองอย่างหนาแน่น และความต้องการพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การเผาผลาญน้ำมันจากฟอสซิล การถางป่าอย่างไร้ขอบเขต การใช้ยาฆ่าวัชพืชบางชนิด น้ำยาทำความเย็น และน้ำยาขับเคลื่อน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เรารู้ดีว่ามันทำลายบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางอากาศและบรรยากาศนี้มีผลต่อการทำลายสุขภาพอนามัย ไปจนถึงความเป็นไปได้ในอนาคตที่แผ่นดินที่ต่ำจะถูกน้ำท่วม

สารยังบอกอีกว่า ในบางกรณี การเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วอาจไม่มีทางเยียวยาได้ แต่ในกรณีอื่นๆ อีกมากมายอาจหยุดยั้งได้ อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษยชาติทั้งมวล ทั้งแต่ละคน รัฐและองค์กรระหว่างประเทศ จะต้องแสดงความรับผิดชอบของตนอย่างจริงจัง

สารปี 1990 ชี้อย่างชัดเจนว่า ตัวบ่งชี้ที่ลึกที่สุดและน่าวิตกมากทางด้านศีลธรรมอันเป็นพื้นฐานของปัญหาสิ่งแวดล้อมก็คือ “การขาดความเคารพต่อชีวิต”

ซึ่งการเคารพชีวิตและเหนืออื่นใด การเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์ เป็นบรรทัดฐานชี้นำที่สูงสุด สำหรับความเจริญอย่างแท้จริงทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

สังคมที่มีสันติสุข ไม่อาจเพิกเฉยต่อการเคารพชีวิต ทั้งไม่อาจเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่า สิ่งสร้างมีบูรณภาพ

สารฉบับนี้บอกกับเราว่า วิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนทางด้านศีลธรรมให้มีความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกันในแนวใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาไปแล้ว ประเทศต่างๆ จะต้องรับผิดชอบร่วมกันให้มากขึ้น โดยเอื้อเฟื้อเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมที่มีสันติและผาสุก

สมเด็จพระสันตะปาปากล่าวย้ำในสารฉบับนี้หลายครั้งว่า “วิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องทางศีลธรรม” ซึ่งวิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อม เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน และเป็นเรื่องของคนทุกคนบนโลกนี้

สุดท้าย สารฉบับนี้ยังบอกไว้อีกว่า สังคมยุคใหม่นี้ จะหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่พบ หากเราไม่ “หวนกลับไปย้อนมองชีวิตของตนอย่างจริงจัง”

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >