หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 63 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 22 - 25 มีนาคม 2554 พิมพ์
Thursday, 28 April 2011

ชมภาพจาก

ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 9


undefinedFacebook ยส.undefined

 

 undefinedคลิกชมภาพกันเลยundefined


undefined เว็บบอร์ด : ฝากข้อความถึงเพื่อนร่วมค่ายฯ undefined

(สมัคร สมาชิกด้วยนะ)


ชม รายการแสงธรรม : ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 9

ออกอากาศ ทางช่อง 9 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2554 เวลา 04.30 - 05.00 น.

(จากเว็บ : http://tv.catholic.or.th/ )

Image


Image


ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 9

ระหว่างวันที่ 22 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

ณ มูลนิธิคุณพ่อเรย์ (ศูนย์คณะพระมหาไถ่) พัทยา ชลบุรี


ค่ายฯ ครั้งที่แล้ว (ครั้งที่ 8) ก็ใจตุ้มๆ ต่อมๆ ไปแล้วกับความกังวลเรื่องสถานที่จัดค่ายในรีสอร์ท แหล่ะนี่... ก็เป็นอีกครั้งที่คาดเดาไม่ได้ว่ากิจกรรมจะลงตัวราบรื่นดีหรือไม่ ด้วยเพราะสถานที่อันโอ่โถงเช่นศูนย์คณะพระมหาไถ่แห่งนี้ นี่! ถ้าไม่ได้รับอานิสงค์จาก คุณพ่อพิชาญ ใจเสรี (จิตตาธิการ ยส.) แล้วหล่ะก็ ค่ายฯ ยส. คงไม่มีโอกาสได้มาใช้สถานที่แห่งนี้ พวกเราชาวค่ายฯ ต้องขอยกมือไหว้งามๆ ขอขอบพระคุณในความอุปการคุณของคุณพ่อพิชาญ และบุคลากรของศูนย์คณะพระมหาไถ่ทุกท่าน ในการต้อนรับและช่วยเหลือพวกเราให้กินอิ่มนอนอุ่นตลอดช่วงการจัดค่ายฯ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านอีกครั้งนะครับ นะคะ...

และเพื่อเป็นการขอบพระคุณ เราจะขออนุญาตแนะนำสถานที่คร่าวๆ ดังนี้ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ตั้งอยู่ที่ 440 หมู่ 9 ถนนสุขุมวิท ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260 ประเทศไทย โทรศัพท์: 038-428717, 038-716628 โทรสาร: 038-716629 อีเมล์: เว็บไซต์: www.fr-ray.org เป็นองค์กรเพื่อการกุศลจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2543 โดยคุณพ่อเรย์ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เบรนเนน-พระสงฆ์ชาวอเมริกัน) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อาทิ เด็กกำพร้า เด็กตาบอด ผู้พิการ เด็กเร่ร่อน คนชรา และผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้เป็นไปตามจิตตารมณ์ของคณะพระมหาไถ่ได้อย่างยั่งยืนคือ การช่วยเหลือผู้ที่ยากลำบากให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น และเป็นผู้มีน้ำใจดีเสียสละตนเองเพื่อคืนแก่สังคมต่อไป

ทีนี้ เรามาเริ่มกิจกรรมกันเลยดีกว่า กิจกรรมแรกคือ ศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์ โดยให้แต่ละกลุ่มสีคิดค้นหา คนที่เราชอบ/ไม่ชอบ กิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้ถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่เท่า เทียมกัน คนที่เราชอบส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง สังคมให้การยอมรับ ผิดกับคนที่เราไม่ชอบ มักอยู่ในกลุ่มผู้ที่ด้อยโอกาส ขาดการดูแลใส่ใจจากสังคม เช่น หญิงบริการ คนขอทาน คนที่มีความคิดแตกต่างจากเรา จนหลายครั้งคนกลุ่มหลังนี้มักถูกพลัดตกหล่นจากการดูแลใส่ใจจากสังคม กิจกรรมต่อมาคือ กล้วยของฉันหายไปไหน สอนให้รู้ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาแม้มีสภาพภายนอกที่แตกต่างกันเช่นเดียวกับเปลือกของกล้วย ที่มีรอยตำหนิมากมาย จากการถูกกระแทก ถูกมีดบาด รอยช้ำจากการขนส่ง ฯลฯ แต่เมื่อปอกเปลือกของกล้วยออกกลับพบว่า เนื้อในของกล้วยมีสี มีกลิ่นหอม มีความอ่อนนุ่ม และบอบช้ำง่ายเหมือนๆ กัน เช่นเดียวกับความเป็นมนุษย์ แม้มีร่างกายสภาพภายนอกที่ไม่เหมือนกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้วมนุษย์ทุกคนมีคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน มีจิตใจ มีอารมณ์-ความรู้สึกที่เหมือนกัน ฉะนั้นเราไม่ควรตัดสินผู้อื่นเพียงลักษณะภายนอกที่เห็นเท่านั้น แต่ควรปฏิบัติต่อกันและกันให้สมกับที่เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา

กิจกรรม ความจำเป็น หรือ ความต้องการ ทำให้เราได้ทบทวน และเข้าใจในสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตรอดของมนุษย์ และอะไรเป็นเพียงความต้องการเท่านั้น จากการได้ทบทวนช่วยให้เราแยกแยะได้ว่า มนุษย์ทุกคนจะมีชีวิตรอดและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์นั้น สิ่งสำคัญต้องได้รับสิทธิในความเป็นมนุษย์นั่นเอง อาทิ ต้องการปัจจัยสี่เพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย รวมทั้งสิ่งจำเป็นอื่นๆ เพื่อให้สามารถมีชีวิตและเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ และการได้รับการยอมรับในสังคมสมกับความที่เกิดมาเป็นมนุษย์นั่นเอง แต่เราลองมาวิเคราะห์กันดูว่า สังคมปัจจุบัน มักหลงลืมและให้คุณค่ากับวัตถุสิ่งของมากกว่าให้คุณค่ากับความเป็นมนุษย์ของ บุคคลอื่นใช่หรือไม่ สิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่มันอยู่ในมือเรานั้น เราเคยคิดบ้างหรือไม่ว่า เส้นทางการเดินทางของวัตถุชิ้นนั้นมันเป็นมาอย่างไร มันได้ละเมิดหรือเบียดเบียนใครหรือไม่อย่างไร (ดังตัวอย่าง กว่าจะมาเป็นโทรศัพท์มือถือ จากคอลัมน์ "ไม่ซื้อ..ไม่ตาย" : นิตยสาร ฅ คน http://www.jpthai.org/board/ )

 

กิจกรรมต่อมาคือ ฐาน "เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน" ซึ่งกิจกรรมแต่ละฐาน พวกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ เช่น ฐานภาพลวงตา พวกเราช่วยกันหากระดาษตัวอักษรที่มีสีโดดเด่นต่างกัน ขนาดคำยาวสั้นไม่เท่ากัน ซึ่งถูกซ่อนไว้ตามสนามหญ้า กิจกรรมนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความยุติธรรม เพราะจากสีของกระดาษที่โดดเด่นและขนาดคำอักษรที่สั้นจะหาได้ง่ายกว่า เปรียบได้กับคนที่มีโอกาสทางสังคม มีเงินมากกว่าจะเข้าถึงโอกาสต่างๆ ได้ง่ายกว่า ฐานนี้ได้ข้อคิดในเรื่องความยุติธรรม ฐานเรือมนุษย์ ได้เรียนรู้ว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์เสมอเหมือน กัน มนุษย์ทุกคนต้องการมีชีวิตรอดเช่นเดียวกัน ในฐานะที่เป็นมนุษย์ย่อมสมควรที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ก้าวพ้นจากความเป็นสัญชาติ เชื้อชาติ สีผิว เป็นผู้ติดเชื้อ HIV ฯลฯ ฐานบันไดชีวิต... สิทธิของฉัน เป็นการเรียนรู้สิทธิด้านต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สิทธิในการดำรงชีวิต ปัจจัยสี่ สิทธิในด้านการศึกษา สิทธิในการทำงาน สิทธิในเรื่องสุขภาพ สิทธิทางการเมือง ฯลฯ ฐานช่องว่างระหว่างชนชั้น เรียนรู้เรื่องความไม่เท่าเทียมกันและความแตกต่างทางสถานะของคนในสังคม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเข้าถึงโอกาสที่ไม่เท่ากัน จึงเกิดช่องว่างที่ถ่างห่างออกจากกันมากขึ้น ทำให้เราเห็นถึงแนวทางในการช่วยเหลือกันและกัน เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำว่าจะทำได้อย่างไรบ้าง ฐานสีแห่งความสามัคคี เรียนรู้เรื่อง ความสามัคคี ช่วยเหลือกัน แม้จะมีอุปสรรคมากมายแต่เมื่อทุกคนช่วยเหลือกันผลสำเร็จก็ไม่ไกลเกินเอื้อม และยังได้ข้อคิดในการยอมรับความแตกต่างของกันและกัน ไม่กีดกันหรือนิ่งเฉยต่อผู้ที่คิดต่างจากเรา

ช่วงค่ำ พวกเราได้ชมรายการ คนค้นฅน ตอน สามเกลอ... หัวใจใหญ่ นำเสนอเรื่องราวของผู้พิการ 3 คนคือ สด เยล และจอย ข้อคิดที่ได้คือ ความเข้มแข็ง อดทน มุ่งมั่นต่อสู้ของคนเล็กๆ ที่มีร่างกายพิการด้วยโรคกล้ามเนื้อเกร็ง แต่ด้วยหัวใจที่มุ่งมั่นพยายามทำให้เส้นทางความฝันที่ทั้งสามคาดหวังจะเข้า สู่รั้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในคณะที่ตัวเองใฝ่ฝันเป็นผลสำเร็จ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ปลุกพลังให้กับคนดูซึ่งเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง มีทัศนคติที่เปิดกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงสุดท้ายที่เหล่าวิทยากร และผู้ร่วมวงเสวนา "คนเล็ก... เคลื่อนโลก" วันนั้น ช่วยตอกย้ำความรู้สึกให้คนดูได้คิดคำนึงถึงคุณค่าของการกระทำความดี คุณค่าของความเพียร พยายาม ทั้งจากสด เยล จอย สิ่งเล็กๆ ที่พวกเขาได้ทำสามารถจุดประกายเป็นพลังใจให้กับคนดูเกิดจิตสำนึก เป็นพลังขับเคลื่อนโลกได้จริงๆ ในค่ำคืนนั้นมีสายรายงานมาว่า พี่ออโต้น้ำตาไหลพรากและใครอีกหลายคนจริงม๊ะ พี่สนุ๊ก พี่แอมแปร์

 ตื่นเช้าวันที่สองพร้อมกับสายฝนโปรยปราย และเริ่มออกกำลังกายในตอนเช้าๆ อย่างนี้ ช่วยกระตุ้นความตื่นพร้อมของร่างกายก่อนทานอาหารเช้าด้วยกัน และร่วมเรียนรู้กิจกรรม เรียนรู้สิทธิของผู้พิการที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิศูนย์คณะพระมหาไถ่ พัทยา โดยแบ่งกลุ่มสัมผัสพื้นที่ 4 แห่งคือ 1.หมู่บ้านเด็กคุณพ่อเรย์ ให้ความช่วยเหลือและดูแลเอาใจใส่เด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาส อายุตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 12 ปี โดยช่วยให้เด็กๆ ได้เจริญเติบโตและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้การเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมจาก ผู้ดูแล และเด็กๆ ได้รับความรัก ความอบอุ่น และความสุขเหมือนกับอยู่ในครอบครัวปกติทั่วไป 2.บ้านเด็กพระมหาไถ่ พัทยา ให้ความช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสที่ขาดการดูแล เอาใจใส่จากครอบครัว โดยให้ที่พักอาศัยและให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ เด็กๆ ได้รับการศึกษา การรักษาพยาบาล และอาหารที่มีคุณภาพดี เป้าหมายของมูลนิธิคือการส่งเด็กกลับคืนสู่ครอบครัว และสนับสนุนให้ใช้ชีวิตในครอบครัวปกติ 3.โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา ให้การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแก่ผู้พิการทางสายตา จนถึงปัจจุบันมีนักเรียนสำเร็จการศึกษาไปมากกว่า 400 คน 4.บ้านแรกรับและงานภาคสนามเพื่อเด็กและเยาวชนพระมหาไถ่ พัทยา ซึ่งมีสถานะเป็นสถานพักพิงชั่วคราวให้กับเด็กเร่ร่อนโดยทั่วไปที่ไม่ได้ อาศัยอยู่กับครอบครัว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามทางศูนย์ได้เตรียมปัจจัย 4 สำหรับการดำรงชีพ การฟื้นฟูสภาพจิตใจ และการให้คำปรึกษา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หลังพวกเราได้สัมผัสพื้นที่จริงแล้ว ก็เป็นช่วงของการ ไตร่ตรองความคิดความรู้สึก จากการไปสัมผัสชีวิตจริง ทำให้ ได้รับรู้ตื่นตัวและมีทัศนคติมุมมองที่จะช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น ประโยชน์ที่ได้จะนำไปพัฒนาปรับปรุงตัวเองเห็นใจและช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น และค่ายฯ ครั้งนี้มีนักกวีมาร่วมค่ายกับเราด้วย ซึ่งได้ฟังบทกวีของเธอแล้วรับรู้ได้ถึงความรู้สึกที่ถูกกลั่นกรองออกมาจาก หัวใจเลยทีเดียว ขอปรบมือดังๆ ให้กับน้องเขินอาย แหม๋! ทีหลังสงสัย ยส. ต้องจัดรางวัล ปราชญ์ชาวค่ายด้วยแล้วล่ะมั้งพี่เล็ก

กิจกรรมถัดมาคือ สิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมที่พวกเราได้ใช้ความสามารถพิเศษในการวาดภาพและปั้นดินน้ำมัน เพื่อนำเสนอสถานการณ์ปัญหาการละเมิดสิทธิที่พบเห็นในสังคม ซึ่งทำให้พวกเราได้นิ่งและย้อนคิดไปถึงปัญหาต่างๆ ที่พบเห็นบ่อยๆ ไม่ว่าจะในสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ต่างๆ ทำให้เรียนรู้เห็นถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลให้ครอบครัวแตกแยก เด็กถูกกระทำทารุณ เด็กถูกทอดทิ้ง ส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาสังคมต่อไป ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงสิทธิของมนุษย์ทุกคนที่มีอยู่ตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิต ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกิจกรรมช่วงเย็นคือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เรียนรู้เนื้อหาปฏิญญาฯ ข้อต่างๆ และจับคู่บัตรภาพบัตรคำปฏิญญาฯ วันนี้ทำกิจกรรมดีๆ และมีสาระอัดแน่นจนตาลายใช่ม๊ะพวกเรา

กิจกรรมในเช้าวันต่อมา บทบาทการมีส่วนร่วมของเยาวชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้เราได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับเยาวชนที่ เกิดขึ้นขณะนั้น หาสาเหตุ/รากของปัญหา ผลกระทบ ผู้มีส่วนได้เสีย-ผู้เกี่ยวข้อง-ผู้ได้รับประโยชน์ แนวทางแก้ไข และตรงกับสิทธิเรื่องอะไร 4 เรื่อง คือ 1.ปัญหาท้องในวัยเรียน สาเหตุจากครอบครัวขาดความอบอุ่น พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลกันและกันในครอบครัว สื่อละครที่มีเนื้อหาล่อแหลม มอมเมาเยาวชนให้หลงผิดคิดง่ายๆ ด่วนได้ตามแบบอย่างในละคร ซึ่งในชีวิตจริงมันจะตรงข้ามกับละครเสมอ ฯลฯ 2.ปัญหา Social Network / สื่อออนไลน์ สาวขับซีวิคชนรถตู้บนทางด่วนฯ จะเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นรุนแรงและรวดเร็วทันใจ เพราะเกิดจากพลังของคนจำนวนมากในสังคม เพราะใครๆ ก็เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ปลุกกระแสความเกลียดชังได้ง่าย จนขาดการยั้งคิดไปว่า สิ่งที่ตนเองได้กระทำไปนั้นไปละเมิดคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ บุคคลอื่นอย่างไร เวลาโกรธเกลียดก็รุนแรงเพราะเป็นการโหมตามกระแสสังคม ซึ่งแทนที่เทคโนโลยีจะมีไว้รับใช้คน แต่คนกลับใช้วัตถุเหล่านั้นกระทำต่อกันและกันอย่างไม่ทันคิดว่าสิ่งที่เราทำ ไปนั้นมันจะมีผลอย่างไร เรามีสิทธิมากน้อยเพียงใด และถ้าจะใช้ให้เกิดประโยชน์เราควรจะทำอย่างไร 3.ปัญหาพนันออนไลน์ ปัญหาเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย แม้มีเงินน้อย และตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว วงจรของการพนันออนไลน์เป็นเหตุให้ติดจนเกิดเป็นหนี้สินตามมา ปัญหาสุขภาพจิตเกิดความสับสนในชีวิตเยาวชนขาดวิจารณญาณในการเสพสื่อ ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการดูแลบุตรหลาน 4.ปัญหาเยาวชน นักศึกษาอาชีวะตีกัน สาเหตุมาจากครอบครัว ยุคสมัยที่ผู้ปกครองไม่เวลาดูแลเอาใจใส่กันในครอบครัว อาจจะต้องทิ้งลูกหลานไว้กับสื่อ+เทคโนโลยีที่มีแต่เนื้อหานำเสนอความรุนแรง เยาวชนหลงผิดรับเอาวัฒนธรรมผิดๆ จากสื่อ การคบเพื่อน ตลอดจนการเรียนการสอนที่ขาดมิติในเชิงคุณธรรมจริยธรรม ขาดการเคารพในคุณค่าศักดิ์ศรีของผู้อื่น เยาวชนจึงตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงได้ง่าย

กิจกรรมถัดมาคือ เจตนารมณ์การปฏิบัติสิทธิในชีวิตจริง เริ่มด้วยการดู VCD โครงการดีๆ ของศูนย์คุณธรรม เพื่อเป็นตัวอย่างในการคิดกิจกรรมเพื่อสังคม จากนั้นแต่ละโรงเรียนได้ระดมความคิดทำโครงการเพื่อสังคม อาทิ โครงการ หยดน้ำสานฝัน ของ ร.ร.ยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน จะตั้งกลุ่ม ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาการทางความคิดและศักยภาพที่ดีให้กับน้องๆ ในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการ 1.justice 2.Obedience 3.Silent 4.exprience 5.prudence 6. Humility, โครงการ แสงสุดท้าย ของน้องๆ จาก ร.ร.ดาราสมุทร ศรีราชา รณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ HIV ให้เขาเข้าถึงโอกาสและไม่ให้เกิดช่องว่างในสังคม, โครงการ พัฒนาการศึกษาผ่านเทคโนโลยี ให้ข้อมูลทางด้านการศึกษากับน้องๆ ที่อยู่ห่างไกล เพื่อพัฒนาการทางด้านการศึกษาให้เท่าเทียม, โครงการ MU Take Care ของ ร.ร.มารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ปลุกจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่ใส่ใจคนในครอบครัว ใส่ใจผู้อื่น ลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม ฯลฯ

กิจกรรมค่ำคืนสุดท้ายก่อนจะอำลากันในบ่ายพรุ่งนี้คือ กิจกรรม ราตรีสัมพันธ์ มีการแสดงละครโฆษณาบอกเล่าเรื่องราวสิทธิมนุษยชนอย่างสนุกสนานสมจริง ซึ่งละครที่พวกเรานำเสนอสะท้อนปัญหาเยาวชน โดยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากละครทางโทรทัศน์ที่หนีไม่พ้น บทพระเอกนางเอก นางร้ายตัวอิจฉา ฉากฉุดกระชากลากดึง ตบตีกันตามอารมณ์ความรู้สึกเพื่อความสมจริงของผู้แสดง บทละครเหล่านี้ทำให้นึกถึงคำพูดของใครหลายคนที่ว่า ถ้าอยากรู้ว่าปัญหาสังคม ขณะนั้นเป็นอย่างไรให้สังเกตได้จากพฤติกรรมของเยาวชนนั่นเอง.... (การลอกเลียนแบบ, อิทธิพลของสื่อ)

ที่สุดก็มาถึงช่วงของการประกาศรางวัลประจำค่ายฯ คือ 1.รางวัลขวัญใจชาวค่าย ซึ่งมีชื่อผู้เข้าชิง 3 คนได้แก่ น้องมดดำ น้องตั้ม และน้องมีนา และแล้วผู้ที่ได้รับการโหวตคะแนนมากที่สุดให้เป็นขวัญใจชาวค่ายยุวสิทธิ มนุษยชน ครั้งที่ 9 ได้แก่ น้องมีนา และเช่นกัน ครั้งนี้เราได้รับเกียรติจากขวัญใจชาวค่ายฯ มาร่วมเป็นผู้มอบรางวัล 2 คนคือ น้องสนุ๊ก (ค่ายฯ 8) และพี่ออโต้ (ค่ายฯ 7) ซึ่งพี่สนุ๊ก และทีมพี่เลี้ยง ลงทุนจัดแจงหาอุปกรณ์เองเลย ไม่ว่าจะเป็นมงกุฎ สายพาน เฮ้ย! สายสะพาย ซึ่งพี่สนุ๊กเป็นผู้มอบรางวัลพิเศษให้กับน้องมีนาพร้อมน้ำตาคลอด้วยความปลาบ ปลื้มสุดๆ 2.น้ำใจงามประจำค่าย ได้แก่ น้องปราย ซึ่งช่วยเหลือและมีน้ำใจกับเพื่อนๆชาวค่ายอย่างดี 3.ดร.วิชาการ ได้แก่ น้องสา สาวน้อยหน้าหวานที่สนใจ ตั้งใจร่วมกิจกรรมตลอด สังเกตได้จากการจ้องมองอย่างไม่วางตาเวลาพวกพี่ๆ นำเสนอเนื้องาน 4.ขาแดนท์สุดๆ ได้แก่ น้องเคิร์ก หนุ่มเท้าไฟมาดเท่ห์มาพร้อมท่าส่ายสะโพกเป็นที่ถูกใจพี่โอ้และพี่มิวเขาหล่ะ 5.Over Acting ได้แก่ น้องตั้ม ผู้มุ่งมั่นในการทำกิจกรรม จนเกือบจะคว้ารางวัล ดร.วิชาการซะแล้ว 6.กวน... สุดๆ ได้แก่ น้องบีม ไม่รู้ว่าไปกวนอะไรที่ไหนใครรู้ช่วยบอกที... และกิจกรรมสุดท้ายจบลงด้วยความซาบซึ้งและประทับใจกับพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยพี่ๆ ทีมงาน ยส. และพี่เลี้ยง ในการผูกข้อมือน้องๆ โดยคาดหวังจะให้เยาวชนได้สืบทอดพันธกิจในการทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจและนำความรู้ที่ได้จากการเข้าค่ายยุวสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติให้ เกิดขึ้นในสังคมต่อไป

และแล้ววันสุดท้ายก็มาถึง ด้วยการสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ตลอด 4 วัน 3 คืน จากพี่อัจฉรา สมแสงสรวง ผู้อำนวยการฯ และพิธีมอบประกาศนียบัตร โดยครั้งนี้คุณพ่อพิชาญ ใจเสรี ได้ให้เกียรติมอบประกาศนียบัตร และให้โอวาท ให้กำลังใจและ ข้อคิดที่ดีกับพวกเราในการเข้าค่ายฯ ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเต็มกำลังความสามารถต่อไป.


-------------------------------------------------------



ความคิดเห็น
คิดถึง
เขียนโดย พี่สนุ๊ก ขวัญใจฯยส.8 เปิด 2011-04-28 22:28:45
ฮ่าๆๆ แอบเหนมีแซวหนูด้วย ว่าร้องไห้ตอนมอบตำแหน่ง ฮ่าๆๆๆๆ อยากไปค่ายสัมผัสอ่าเลยค่ะ แต่ว่าขอแล้วแม่บอกมันอันตรายจริงๆ ขอโทษด้วยน้า คิดถึงพวกพี่ๆทุกคนเลยนะคะ แล้วเอาไว้เจอกันค่ายหน้านะ ^^

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >