หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 68 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 1987/2530 : การพัฒนาและความเป็นปึกแผ่น : กุญแจสู่สันติภาพ พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 1987/2530
การพัฒนาและความเป็นปึกแผ่น : กุญแจสู่สันติภาพ

ปี 1987
เป็นปีครบรอบ 20 ปีของการพิมพ์เผยแพร่เอกสาร “การพัฒนาประชาชาติ” (Populorum Progressio) ซึ่งเป็นสารอันเลื่องชื่อของสมเด็จพระสันตะปาปา พอล ที่ 6 และองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี 1987 นี้ เป็นปีสากลของผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัย

คำกล่าวของสมเด็จพระสันตะปาปา พอล ที่ 6 ที่ว่า “การพัฒนาเป็นนามใหม่สำหรับสันติภาพ” (การพัฒนาประชาชาติ ข้อ 76, 87) เป็นการให้ความหมายอันเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การแสวงหาสันติภาพ

ในสารฉบับปี 1987 ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2 นี้ พระองค์ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจและเชิญชวนให้ไตร่ตรองว่า สันติภาพที่แท้จริงนั้นจะคงอยู่ได้หรือ เมื่อมนุษย์ทั้งชายหญิงและเด็ก ไม่สามารถเจริญชีวิตได้อย่างเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี สันติภาพถาวรนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในโลก เมื่อความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มเดียว หรือประชาชาติกลุ่มเดียว ในขณะที่ผู้อื่นต้องสูญเสียส่วนของตนไป

สันติภาพที่แท้จริงจะสถาปนาขึ้นได้อย่างไรโดยปราศจากการสำนึกอย่างจริงจังว่า ข้อความจริงที่มหัศจรรย์ก็คือ พวกเราทุกคนเท่าเทียมกันในทางศักดิ์ศรี เท่าเทียมกันเพราะว่าเราถูกสร้างมาตามพระฉายาของพระเป็นเจ้า ซึ่งเป็นบิดาของเรา

สารฉบับนี้ได้ยกข้อความจากสารฉบับก่อน ภายใต้หัวข้อ “เหนือ-ใต้, ตะวันออก-ตะวันตก : มีสันติภาพเดียว” ซึ่งสารฉบับนี้สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2 กล่าวไว้ว่า “...เอกภาพในครอบครัวมนุษย์มีผลกระทบต่อชีวิตของเราและความผูกพันของเราต่อสันติภาพ... ทั้งนี้หมายความว่าเราผูกพันตัวเราเองต่อความเป็นปึกแผ่นใหม่ นั่นคือความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวมนุษย์...ความสัมพันธ์ใหม่ ความเป็นปึกแผ่นทางสังคมสำหรับทุกคน” (ข้อ 4)

สารฉบับปี 1987 บอกกับเราว่า เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า เราเป็นพี่น้องทั้งชายหญิงในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน เมื่อนั้นเราก็จะสามารถสร้างทัศนคติของเราต่อชีวิตอย่างสอดคล้องกับแนวทางแห่งความเป็นปึกแผ่น อันทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกัน สิ่งนี้เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องกับโครงการพื้นฐานสากล : นั่นก็คือสันติภาพ

สารปี 1987 ได้ระบุถึง “สิ่งที่เป็นอุปสรรค” ต่อความเป็นปึกแผ่นของมนุษย์ไว้หลายประการ เช่น

- ลัทธิเกลียดกลัวคนต่างด้าว โดยปิดประเทศหรือออกกฎหมายที่กีดกันคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศของตน

- อุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งสั่งสอนความเกลียดชังหรือความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระบบซึ่งตั้งเครื่องกีดขวางจอมปลอมขึ้น การเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ การกีดกันทางศาสนา การแบ่งแยกชนชั้น ยังมีอยู่ในหลายๆ สังคม ทั้งอย่างเปิดเผยและอย่างลับๆ เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำทางการเมือง สร้างการแบ่งแยกเช่นนี้ในระบบการปกครองภายในหรือนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ เมื่อนั้นอคติต่างๆ เหล่านี้ก็จะฟาดฟันลงบนแก่นของศักดิ์ศรีของมนุษย์ อคติต่างๆ จะกลายเป็นพลังสำคัญที่ทำให้เกิดการตอบโต้ ซึ่งขยายการแบ่งแยก ความเกลียดชัง การกดขี่ และสงคราม ความเลวร้ายอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ยากลำบากอย่างยิ่งต่อประชาชน และความหายนะต่อสังคม ก็คือลัทธิการก่อการร้าย

สารปี 1987 ยังระบุไว้อีกว่า นโยบายใดๆ ก็ตามที่ขัดแย้งกับศักดิ์ศรีพื้นฐานและสิทธิมนุษยชนของบุคคล หรือของกลุ่มบุคคลจะต้องได้รับการปฏิเสธ

ในทางตรงกันข้าม นโยบายและโครงการต่างๆ ที่สมควรส่งเสริม คือโครงการที่ช่วยสถาปนาความสัมพันธ์อันเปิดเผยและจริงใจระหว่างประชาชน ซึ่งทำให้เกิดพันธมิตรที่เสมอภาคกัน และรวมเอาประชาชนไว้ในความร่วมมืออันมีเกียรติ

แต่ความคิดริเริ่มดังกล่าวข้างต้น จะต้องไม่ละเลยข้อแตกต่างระหว่างประชาชนในด้านภาษา เชื้อชาติ ศาสนา สังคม หรือวัฒนธรรม ทั้งไม่ควรปฏิเสธที่จะเผชิญอุปสรรคนานาประการ ในการเอาชนะการแบ่งแยก และความอยุติธรรมที่มีอยู่มานาน และต้องให้ความสำคัญกับความพยายามทั้งหลาย ในการสร้างเอกภาพระหว่างมนุษย์ แม้ว่าจะเป็นความพยายามเล็กน้อยที่ปรากฏอยู่ก็ตาม

สารฉบับนี้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การแสวงหาความเป็นใหญ่ในทางเศรษฐกิจ การทหาร หรือการเมือง บนความสูญเสียสิทธิของชาติอื่นๆ ย่อมเป็นอันตรายต่อความสำเร็จของการพัฒนาที่แท้จริง หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นอันตรายต่อสันติภาพที่แท้จริง

สารปี 1987 กล่าวไว้ว่า ความเป็นปึกแผ่นและการพัฒนา คือ “กุญแจสำคัญ 2 ดอกสู่สันติภาพ” และทั้งสองประการนี้ คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับจุดหมายที่เราจะไปให้ถึง

“ความเป็นปึกแผ่น” เป็นคุณธรรมทางธรรมชาติ เพราะเหตุว่าสิ่งนี้ยืนยันคุณค่าของมนุษยชาติ และด้วยเหตุผลนี้ การนำไปปฏิบัติเพื่อชีวิตบนโลก และเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างนานาชาติก็เป็น จริยธรรมด้วย สายสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เรียกร้องให้เราอยู่อย่างสามัคคีกัน และให้เราส่งเสริมสิ่งที่ดีสำหรับกันและกัน ผลทางจริยธรรมจากการปฏิบัติดังกล่าวนี้ เป็นเหตุผลที่ทำให้เราเข้าใจว่าเหตุใดความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นกุญแจสำคัญสู่สันติภาพ

ส่วน “การพัฒนา” เมื่อเข้าใจความหมายที่แท้จริงครบถ้วนแล้ว ก็มิใช่เป็นเพียงการปรับปรุงสภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสภาพทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว การพัฒนาในที่สุดก็เป็นปัญหาของสันติภาพ เพราะว่าการพัฒนานั้นช่วยให้ทำสิ่งที่ดีสำหรับผู้อื่น และสำหรับครอบครัวของมนุษย์ด้วยกัน

เนื้อหาของสารกล่าวว่า ความเป็นปึกแผ่นที่แท้จริงจะไม่มีภัยจากการเอารัดเอาเปรียบ หรือการใช้โครงการพัฒนาอย่างผิดๆ เพื่อผลประโยชน์ของคนเพียงไม่กี่คน แต่การพัฒนาจะต้องกลายเป็นกระบวนการที่เกี่ยวพันกับสมาชิกต่างๆ ของครอบครัวมนุษย์เดียวกัน และปรับปรุงเขาเหล่านั้นให้ดีขึ้น

สารฉบับนี้ยังได้มองถึง “ปัญหาบางอย่างในสมัยใหม่” ที่เป็นอุปสรรคต่อสันติภาพที่แท้จริง เช่น หนี้สินภายนอกของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย การแบ่งแยกแบบใหม่ซึ่งมีอิทธิพลสูงระหว่างผู้ที่มีเทคโนโลยีและผู้ที่ไม่มีเทคโนโลยี การลดอาวุธ การแตกสลายของครอบครัว เด็กและเยาวชนถูกทอดทิ้ง ถูกบังคับให้ขายตัว ขายแรงงาน การติดยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาของบุคคลทั้งครบ

สำหรับคริสตชน เราถูกเรียกให้เป็นเหมือนพระคริสต์ เป็นผู้สร้างสันติภาพ โดยอาศัยการคืนดีกัน เป็นผู้ให้ความร่วมมือกับพระองค์ในการนำสันติภาพมาสู่โลกนี้ และคริสตชนต้องไม่ลืมคำกล่าวที่สรุปความหมายของความเป็นปึกแผ่นไว้อย่างชัดเจนที่ว่า “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นตามที่ท่านต้องการให้เขาปฏิบัติต่อท่าน” (มธ 7:12) เมื่อบัญญัตินี้ถูกละเมิด คริสตชนก็ควรรับทราบว่าเขาเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการแตกแยกและทำบาป บาปนี้มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อกลุ่มของผู้ที่มีความเชื่อและต่อสังคมทั้งหมด และเป็นการขัดเคืองพระทัยของพระเป็นเจ้าผู้ทรงสร้างชีวิตและเป็นผู้ทรงรักษาชีวิต

ในตอนท้ายของสารในปี 1987 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวคำเรียกร้องสุดท้ายไว้ว่า “ข้าพเจ้าขอร้องท่านอีกครั้งหนึ่งดังที่เคยขอร้องมาในอดีต ให้หลีกเลี่ยงจากการดำเนินการรุนแรงในการบรรลุเป้าหมายของท่าน ขอร้องท่านให้หลีกเลี่ยงการฆ่าฟันและการกระทำอันตรายต่อผู้ที่ไร้เดียงสา ขอร้องให้ท่านหยุดยั้งการทำลายโครงสร้างของสังคม หนทางแห่งความรุนแรงไม่อาจทำให้เกิดความยุติธรรมสำหรับท่านหรือใครๆ ได้”

“ข้าพเจ้าใคร่วิงวอนท่านทั้งหลาย ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน หรือกำลังทำอะไรอยู่ ให้ท่านมองเห็นหน้าพี่น้องชายหญิงในมนุษย์ทุกคน เพราะปัจจัยที่รวมเราเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น ยังมีมากกว่าสิ่งที่แยกและแบ่งเราออกจากกัน นั่นคือ “ความเป็นมนุษย์” เช่นเดียวกันนั่นเอง”


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >